"นายจตุพร พรหมพันธุ์ จำเลยที่ 2 ได้พูดปราศรัยบนเวทีกับผู้ชุมนุม กล่าวพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูง รวมทั้งนายนิสิต สินธุไพร จำเลยที่ 8 ได้กล่าวพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูง"
"คำปราศรัยของจำเลยทั้ง 9 เป็นการยุยงปลุกปั่น ปลุกระดมให้ประชาชนเกลียดชังรัฐบาล และกระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถเชื่อถือได้ ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนทั่วไป และจากกองทัพอย่างรุนแรง"
"จำเลยกับพวก ได้กระทำการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยก่อให้เกิดความขัดแย้งของประชาชน ทั้งมิได้เป็นไปตามแนวทางสมานฉันท์ในชาติ"
นั่นคือสาระสำคัญที่อัยการได้ระบุไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวน ถอนประกันตัว "จตุพรและพวก" จำเลยในคดีก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง หลังจากที่ "จตุพร" ได้ปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.54 จนสุดท้ายหลังไต่สวน ศาลได้มีคำสั่งถอนประกัน "จตุพร พรหมพันธุ์ จำเลยที่ 2 และนิสิต สินธุไพร จำเลยที่ 8"
เหตุการครั้งนั้น เป็นผลทำให้"จตุพร พรหมพันธุ์"ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อันดับที่ 8 เขาไม่ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 จนสุดท้าย ที่ประชุมใหญ่ กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 เห็นว่า กรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ทำให้ นายจตุพร ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และทำให้ขาดจากการเป็น ส.ส.โดยพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 19 และ 20 ที่ระบุว่า บุคคลที่จะเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แม้ประเด็นเรื่องสิทธิของนายจตุพร จะยังไม่ถึงที่สุด ด้วยการชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญก็ตามที แต่นั่นคือ ปัญหาเรื่องสิทธิความเป็น ส.ส.ที่เกิดจากการถูกจองจำในเรือนจำ จากเหตุที่"จตุพร พรหมพันธ์"ถูกกล่าวหาในขณะนั้นว่า..."หมิ่นเบื้องสูง"
การกล่าวหา"จตุพร"หมิ่นเบื้องสูง ในขณะนั้น ถือว่า ไม่ใช่คดีความธรรมดา ที่ ตาสี ตาสา ขึ้นโรงพักแจ้งความจับ แต่เป็นสำนวนคดีที่"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผบ.ทบ.มอบอำนาจให้ พ.อ.จีรพล หลงประดิษฐ์ นายทหารพระธรรมนูญจากสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก กองทัพบก เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย.54 เพื่อให้ดำเนินคดี "นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายวิเชียร ขาวขำ, นายสุพร อัตถาวงศ์" ในความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีแกนนำ นปช.ทั้ง 3 คน ปราศรัยด้วยถ้อยคำที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงบนเวที นปช.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เม.ย.54
คดีนี้จุดสำคัญคือ ทั้งผู้นำทัพสีขี้ม้าคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และผู้นำทัพสีกากีที่ขณะนั้นคือ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.พูดตรงกันว่า "จตุพร หมิ่นเบื้องสูงจริง"โดยมีหลักฐานที่"พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน"เจ้าของคดีได้เบิกความต่อศาลในวันไต่สวนถอนประกันระบุไว้ชัดว่า"จากการถอดเทปคำปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น พบว่า นายจตุพร จำเลยที่ 2 ได้ปราศรัยโดยมีข้อความหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งคำปราศรัยของนายนิสิต สินธุไพร จำเลยที่ 8"
หากดูหลักฐานและพฤติการณ์การกระทำความผิดในขณะนั้น ประชาชนคนในชาติ ต่างเชื่อว่า ผู้ถูกกล่าวหาโดยเฉพาะ"จตุพร พรหมพันธ์"จะต้องถูกลงโทษแน่นอน..ประกอบกับถือเป็นสัญญาณที่ดีของคดีความ เมื่อ"ธาริต เพ็งดิษฐ์"อธิบดีดีเอสไอ(คนเดิม)ได้มีการประชุมร่วมกับ คณะพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคงของรัฐว่าด้วยการละเมิดสถาบันฯ (คดีล้มเจ้า)และได้พบว่า ผู้กระทำความผิดไม่ใช่อยู่แค่ 3 คน ตามที่ ผบ.ทบ.แจ้งความ แต่เป็น"จตุพร และพวก"รวม 19 คน คือบุคคลที่อยู่ในข่ายถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามคำขู่ของ"ธาริต"ในครั้งนั้น
ท่ามกลางการรอคอยการสั่งคดีของ ดีเอสไอ โดยมี"จตุพร พรหมพันธ์"เป็นหัวโจกคนสำคัญ แต่เมื่อเหตุการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนขั้ว "พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข"รองอธิบดีดีเอสไอ คนระบอบทักษิณ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าคุมสำนวนคดีล้มเจ้า ขณะที่"ธาริต เพ็งดิษฐ์"ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้อยู่รอดในตำแหน่ง อธิบดีดีเอสไอ คือให้เหล่าผู้ถูกกล่าวหา เลื่อนการเข้ารับทราบข้อหาไปโดยไม่มีกำหนด โดยไม่คิดว่า สิ่งที่ได้กระทำลงไป ทำให้
หลักธรรมาภิบาล ของ ดีเอสไอ กรมที่บังคับใช้กฎหมาย เสียรูปกระบวนไปหรือไม่?
นับจากนั้นมาเส้นทางและสัญญาณของคดีล้มเจ้า ได้เกิดเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง และหนาหูมากขึ้นว่า ท้ายสุดแล้ว"ธาริต เพ็งดิษฐ์"จะสั่งไม่ฟ้องแน่นอน...
ต่อมา 10 พ.ค.2555 วันที่ประชาชนรอคอยมาถึง แต่กลับเป็นคำตอบที่ทำให้ประชาชนสิ้นหวังกับ การทำสำนวนคดีของ ดีเอสไอ เมื่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงสั่งไม่ฟ้อง นายจตุพร กับพวก โดยดีเอสไอ ให้เหตุผลว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คำกล่าวในการปราศัยครั้งนั้น ยังไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา จึงสั่งไม่ฟ้อง พร้อมส่งสำนวนไปยังอัยการฝ่ายคดีพิเศษแล้ว ซึ่งคดีนายจตุพร ถือว่าคดีเป็นที่ยุติสั่งไม่ฟ้องแล้ว
กรณีสั่งไม่ฟ้อง"จตุพร พรหมพันธ์"ส.ส.พันธุ์ดุ ผู้นี้...อดีตนายเก่าของธาริต ที่ชื่อ"สุเทพ เทือกสุบรรณ"กลับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยย้ำชัดว่า กรณีนี้ประชาชนจำนวนมากรวมถึงตนมีความคลางแคลงใจในพฤติกรรมเพราะพฤติกรรมที่ นายจตุพรและพรรคพวก ได้แสดงออกเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 54 ที่กล่าวปราศัยบทเวทีมีพฤติกรรมชัดเจนว่าเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฏหมายอาญา
"ผมไม่เข้าใจว่าดีเอสไอ ใช้ดุลพินิจอย่างไร ซึ่งผมอยากดำเนินคดีกับดีเอสไอ โดยตั้งข้อหาเบื้องต้นในใจว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คงต้องหาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายพิจารณาว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถดำเนินคดีกับดีเอสอได้ มิเช่นนั้นจะมีข้าราชการที่เอาอกเอาใจรัฐบาลและฝ่ายการเมือง โดยละทิ้งหลักการของกฏหมาย"
"ที่ผมพูดอย่างนี้จะบอกว่าผมกล่าวหาดีเอสไอ.ก็ได้ และถ้าจะดำเนินคดีกับผมก็ยินดีเพื่อจะได้ต่อสู้คดีในชั้นศาลและเปิดเผยข้อเท็จจริง และรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชที่หน่วยราชการแสดงอาการเอาอกเอาใจยอมทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขัดกับความถูกต้องและความรู้สึกของประชาชน และเชื่อว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ทำการไม่ดีเช่นนี้ต้องได้รับผลกรรมกับการกระทำ"นายสุเทพกล่าว
ประเด็นปัญหาการใช้ดุลพินิจของอธิบดีข้ารับใช้นักการเมืองผู้นี้..สุเทพ เทือกสุบรรณ พูดทิ้งท้ายว่า...นายจตุพร มีเจตนาชัดเจนหมิ่นเบื้องสูง และตนยังเชื่อว่าการวินิจฉัยของดีเอสไอไม่ถูกต้อง และความไม่ถูกต้องนี้จึงไม่ถือเป็นมาตรฐาน
จากคำสั่งคดีของ"ธาริต เพ็งดิษฐ์"ครั้งนี้ แน่นอน มีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่หากการสั่งคดีไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานและทำเพื่อความอยู่รอดของตนเอง นั่นหมายถึง จุดล่มสลายของดีเอสไอ!
"คำปราศรัยของจำเลยทั้ง 9 เป็นการยุยงปลุกปั่น ปลุกระดมให้ประชาชนเกลียดชังรัฐบาล และกระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถเชื่อถือได้ ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนทั่วไป และจากกองทัพอย่างรุนแรง"
"จำเลยกับพวก ได้กระทำการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยก่อให้เกิดความขัดแย้งของประชาชน ทั้งมิได้เป็นไปตามแนวทางสมานฉันท์ในชาติ"
นั่นคือสาระสำคัญที่อัยการได้ระบุไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลเพื่อขอให้ศาลไต่สวน ถอนประกันตัว "จตุพรและพวก" จำเลยในคดีก่อการร้าย เผาบ้านเผาเมือง หลังจากที่ "จตุพร" ได้ปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.54 จนสุดท้ายหลังไต่สวน ศาลได้มีคำสั่งถอนประกัน "จตุพร พรหมพันธุ์ จำเลยที่ 2 และนิสิต สินธุไพร จำเลยที่ 8"
เหตุการครั้งนั้น เป็นผลทำให้"จตุพร พรหมพันธุ์"ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อันดับที่ 8 เขาไม่ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.2554 จนสุดท้าย ที่ประชุมใหญ่ กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 เห็นว่า กรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ทำให้ นายจตุพร ขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และทำให้ขาดจากการเป็น ส.ส.โดยพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 19 และ 20 ที่ระบุว่า บุคคลที่จะเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แม้ประเด็นเรื่องสิทธิของนายจตุพร จะยังไม่ถึงที่สุด ด้วยการชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญก็ตามที แต่นั่นคือ ปัญหาเรื่องสิทธิความเป็น ส.ส.ที่เกิดจากการถูกจองจำในเรือนจำ จากเหตุที่"จตุพร พรหมพันธ์"ถูกกล่าวหาในขณะนั้นว่า..."หมิ่นเบื้องสูง"
การกล่าวหา"จตุพร"หมิ่นเบื้องสูง ในขณะนั้น ถือว่า ไม่ใช่คดีความธรรมดา ที่ ตาสี ตาสา ขึ้นโรงพักแจ้งความจับ แต่เป็นสำนวนคดีที่"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผบ.ทบ.มอบอำนาจให้ พ.อ.จีรพล หลงประดิษฐ์ นายทหารพระธรรมนูญจากสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก กองทัพบก เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย.54 เพื่อให้ดำเนินคดี "นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายวิเชียร ขาวขำ, นายสุพร อัตถาวงศ์" ในความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีแกนนำ นปช.ทั้ง 3 คน ปราศรัยด้วยถ้อยคำที่เข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงบนเวที นปช.บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 เม.ย.54
คดีนี้จุดสำคัญคือ ทั้งผู้นำทัพสีขี้ม้าคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และผู้นำทัพสีกากีที่ขณะนั้นคือ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.พูดตรงกันว่า "จตุพร หมิ่นเบื้องสูงจริง"โดยมีหลักฐานที่"พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน"เจ้าของคดีได้เบิกความต่อศาลในวันไต่สวนถอนประกันระบุไว้ชัดว่า"จากการถอดเทปคำปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น พบว่า นายจตุพร จำเลยที่ 2 ได้ปราศรัยโดยมีข้อความหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งคำปราศรัยของนายนิสิต สินธุไพร จำเลยที่ 8"
หากดูหลักฐานและพฤติการณ์การกระทำความผิดในขณะนั้น ประชาชนคนในชาติ ต่างเชื่อว่า ผู้ถูกกล่าวหาโดยเฉพาะ"จตุพร พรหมพันธ์"จะต้องถูกลงโทษแน่นอน..ประกอบกับถือเป็นสัญญาณที่ดีของคดีความ เมื่อ"ธาริต เพ็งดิษฐ์"อธิบดีดีเอสไอ(คนเดิม)ได้มีการประชุมร่วมกับ คณะพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคงของรัฐว่าด้วยการละเมิดสถาบันฯ (คดีล้มเจ้า)และได้พบว่า ผู้กระทำความผิดไม่ใช่อยู่แค่ 3 คน ตามที่ ผบ.ทบ.แจ้งความ แต่เป็น"จตุพร และพวก"รวม 19 คน คือบุคคลที่อยู่ในข่ายถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามคำขู่ของ"ธาริต"ในครั้งนั้น
ท่ามกลางการรอคอยการสั่งคดีของ ดีเอสไอ โดยมี"จตุพร พรหมพันธ์"เป็นหัวโจกคนสำคัญ แต่เมื่อเหตุการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนขั้ว "พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข"รองอธิบดีดีเอสไอ คนระบอบทักษิณ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าคุมสำนวนคดีล้มเจ้า ขณะที่"ธาริต เพ็งดิษฐ์"ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้อยู่รอดในตำแหน่ง อธิบดีดีเอสไอ คือให้เหล่าผู้ถูกกล่าวหา เลื่อนการเข้ารับทราบข้อหาไปโดยไม่มีกำหนด โดยไม่คิดว่า สิ่งที่ได้กระทำลงไป ทำให้
หลักธรรมาภิบาล ของ ดีเอสไอ กรมที่บังคับใช้กฎหมาย เสียรูปกระบวนไปหรือไม่?
นับจากนั้นมาเส้นทางและสัญญาณของคดีล้มเจ้า ได้เกิดเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง และหนาหูมากขึ้นว่า ท้ายสุดแล้ว"ธาริต เพ็งดิษฐ์"จะสั่งไม่ฟ้องแน่นอน...
ต่อมา 10 พ.ค.2555 วันที่ประชาชนรอคอยมาถึง แต่กลับเป็นคำตอบที่ทำให้ประชาชนสิ้นหวังกับ การทำสำนวนคดีของ ดีเอสไอ เมื่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงสั่งไม่ฟ้อง นายจตุพร กับพวก โดยดีเอสไอ ให้เหตุผลว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คำกล่าวในการปราศัยครั้งนั้น ยังไม่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา จึงสั่งไม่ฟ้อง พร้อมส่งสำนวนไปยังอัยการฝ่ายคดีพิเศษแล้ว ซึ่งคดีนายจตุพร ถือว่าคดีเป็นที่ยุติสั่งไม่ฟ้องแล้ว
กรณีสั่งไม่ฟ้อง"จตุพร พรหมพันธ์"ส.ส.พันธุ์ดุ ผู้นี้...อดีตนายเก่าของธาริต ที่ชื่อ"สุเทพ เทือกสุบรรณ"กลับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยย้ำชัดว่า กรณีนี้ประชาชนจำนวนมากรวมถึงตนมีความคลางแคลงใจในพฤติกรรมเพราะพฤติกรรมที่ นายจตุพรและพรรคพวก ได้แสดงออกเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 54 ที่กล่าวปราศัยบทเวทีมีพฤติกรรมชัดเจนว่าเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฏหมายอาญา
"ผมไม่เข้าใจว่าดีเอสไอ ใช้ดุลพินิจอย่างไร ซึ่งผมอยากดำเนินคดีกับดีเอสไอ โดยตั้งข้อหาเบื้องต้นในใจว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คงต้องหาผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายพิจารณาว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถดำเนินคดีกับดีเอสอได้ มิเช่นนั้นจะมีข้าราชการที่เอาอกเอาใจรัฐบาลและฝ่ายการเมือง โดยละทิ้งหลักการของกฏหมาย"
"ที่ผมพูดอย่างนี้จะบอกว่าผมกล่าวหาดีเอสไอ.ก็ได้ และถ้าจะดำเนินคดีกับผมก็ยินดีเพื่อจะได้ต่อสู้คดีในชั้นศาลและเปิดเผยข้อเท็จจริง และรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเวชที่หน่วยราชการแสดงอาการเอาอกเอาใจยอมทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขัดกับความถูกต้องและความรู้สึกของประชาชน และเชื่อว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ทำการไม่ดีเช่นนี้ต้องได้รับผลกรรมกับการกระทำ"นายสุเทพกล่าว
ประเด็นปัญหาการใช้ดุลพินิจของอธิบดีข้ารับใช้นักการเมืองผู้นี้..สุเทพ เทือกสุบรรณ พูดทิ้งท้ายว่า...นายจตุพร มีเจตนาชัดเจนหมิ่นเบื้องสูง และตนยังเชื่อว่าการวินิจฉัยของดีเอสไอไม่ถูกต้อง และความไม่ถูกต้องนี้จึงไม่ถือเป็นมาตรฐาน
จากคำสั่งคดีของ"ธาริต เพ็งดิษฐ์"ครั้งนี้ แน่นอน มีทั้งผู้เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่หากการสั่งคดีไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานและทำเพื่อความอยู่รอดของตนเอง นั่นหมายถึง จุดล่มสลายของดีเอสไอ!