เดือนธันวาคมนับเป็นเดือนมหามงคลของชาวไทย เนื่องจากในวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีที่พิเศษเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบด้วย หน่วยงานราชการ รวมทั้งหน่วยงานเอกชนหลายแห่งจึงมีการจัดพิธีปฏิญาณตนเพื่อกระทำความดี รวมทั้งประชาชนทั่วไปก็ถือโอกาสนี้ทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ซึ่งการทำความดีนั้น ไม่จำเป็นเพียงแต่ต้องความดีเฉพาะตน แต่การนำความดีของผู้อื่นไปเผยแพร่ ก็ถือเป็นการทำความดีที่สามารถทำได้ง่าย เนื่องจากช่วยให้คนทั่วไปเห็นเป็นแบบอย่างและชื่นชมให้กระทำความดีต่อไปอีกเรื่อยๆ
คณะกรรมการข้าราชการตำรวจจริยธรรม หรือ ก.ตร.จริยธรรม เล็งเห็นว่า การกระทำความดี ควรได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ให้ได้ทราบ โดยได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการสื่อสารในสังคมออนไลน์ จึงได้มีการจัดทำโครงการ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค พิทักษ์คุณธรรม” ขึ้น พร้อมจัดกิจกรรม “คนดีมีที่ยืน” ขึ้นโดยเริ่มต้นในเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นเดือนมหามงคลนี้ เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ส่งรูปภาพ หรือบทความเกี่ยวกับผู้ทำความดีไปโพสผ่านทางระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คของ ก.ตร.จริยธรรมทั้งทางเฟซบุ๊ค ชื่อ อนุกรรมการ กตร จริยธรรม และทวิตเตอร์ @PoliceMoral และเว็บไซต์ www.police.au.edu
พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จเรตำรวจแห่งชาติ ประธานคณะอนุ ก.ตร.จริยธรรม บอกถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า หน้าที่ของ ก.ตร.ชุดนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของข้าราชการตำรวจอยู่แล้ว และเห็นว่า ควรส่งเสริมการทำความดีของข้าราชการ และประชาชนทั่วไปด้วย จึงประสานกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดทำโครงการ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค พิทักษ์คุณธรรม” ขึ้น พร้อมจัดกิจกรรม “คนดีมีที่ยืน” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่เห็นผู้กระทำความดีช่วยกันเผยแพร่ต่อสังคม โดยเฉพาะข้าราชการทุกหมู่เหล่า ไม่เพียงเฉพาะตำรวจเท่านั้น โดยสามารถเขียนเป็นเรื่องราว หรือรูปถ่าย ก็ได้
จเรตำรวจแห่งชาติบอกว่า สำหรับคัดเลือกคนดีนั้น แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง เช่น การใช้ชีวิตพอเพียง การต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ การเป็นข้าราชการที่ดี และการเป็นประชาชนผู้มีจิตอาสาอย่างจริงจังต่อเนื่อง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ด้านสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การเป็นคนดีในช่วงชุมชนประสบภัยพิบัติต่างๆ การเป็นผู้เสียสละช่วยเหลือผู้อื่นในยามฉุกเฉินและในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ช่วยติดตามจับกุมคนร้าย เป็นต้น กลุ่มที่ 3 ด้านความดี ปกติในชีวิตประจำวันที่ปรากฏในที่สาธารณะ เช่น ช่วยคนสูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ข้ามถนน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อที่นั่งให้กับคนสูงอายุ เด็ก สตรีบนรถโดยสารสาธารณะ และช่วยเหลือรถยนต์ที่จอดเสียข้างทาง เป็นต้นโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคนดี โดยคัดเลือกจาก จำนวนคลิก Like ในโซเชียลมีเดีย และมติจากคณะกรรมการบริหารโครงการ
"การที่เราเลือกเผยแพร่ความดีผ่านสังคมออนไลน์ เพราะเห็นว่าเป็นสังคมระบบใหม่ของคนในยุคปัจจุบัน ถ้ามีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์เช่นนี้ก็จะเป็นการปลูกฝังเยาวชนเหล่านี้ ให้รู้จักการมีจิตอาสามากขึ้นในอนาคต พร้อมฝากถึงประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการเผยแพร่ความดี ขอเรื่องที่ส่งมาผ่านระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คของเรานั้นขอให้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เพราะจุดประสงค์ของเรานั้นตั้งใจให้คนที่เข้ามาอ่านได้เห็นแบบอย่างที่ดีจริงๆ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติต่อไป"พล.ต.ท.สถาพรระบุ
ขณะที่ดร.นพดล บอกถึงแนวความคิดของโครงการนี้ ว่าได้มาจาก พ.ต.ท.ดร.พงษ์นคร นครสันติภาพ ที่ทำงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งได้แนะนำว่า ข้าราชการที่ดีมีอยู่เป็นจำนวนมากถือว่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ จึงน่าจะมีโครงการยกย่องเชิดชูแบบไม่จำกัดพื้นที่ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่กลุ่มข้าราชการจำนวนมากเหล่านั้นที่อาจไม่ปรากฏให้เห็นในสื่อมวลชนหรือในระบบราชการตามสายการบังคับบัญชาและอาจไม่ได้รับความดีความชอบตามสายงานของตน ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนน่าจะจัดทำโครงการโซเชียลเน็ตเวิร์คพิทักษ์คุณธรรมขึ้น
ทั้งนี้ สามารถส่งภาพถ่าย หรือเล่าเรื่อง พร้อมระบุยศ ชื่อ ตำแหน่ง สังกัดของคนทำความดี มาได้ที่ policemoral191@gmail.com หรือ thaipolicemoral@gmail.com และเว็บไซต์ www.police.au.edu โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 027191546-7 หรือ ส่งจดหมายมาที่ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 592/3 ซอยรามคำแหง 24 ถ.รามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10250
ในยามวิกฤติเช่นน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมา การรวมกลุ่มในสังคมออนไลน์ก็ได้แสดงพลังให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้จำนวนมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและจำนวนมาก หากช่วยกันสร้างสรรค์ให้สังคมออนไลน์เป็นสังคมที่ดี ช่วยกันเผยแพร่การกระทำความดี ก็จะเป็นการปลูกฝังเยาวชนที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ใช้สังคมออนไลน์ได้รู้จักจิตอาสา และการเสียสละต่อสังคมได้ต่อไปในอนาคต
คณะกรรมการข้าราชการตำรวจจริยธรรม หรือ ก.ตร.จริยธรรม เล็งเห็นว่า การกระทำความดี ควรได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่ให้ได้ทราบ โดยได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการสื่อสารในสังคมออนไลน์ จึงได้มีการจัดทำโครงการ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค พิทักษ์คุณธรรม” ขึ้น พร้อมจัดกิจกรรม “คนดีมีที่ยืน” ขึ้นโดยเริ่มต้นในเดือนธันวาคม ซึ่งถือเป็นเดือนมหามงคลนี้ เพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ส่งรูปภาพ หรือบทความเกี่ยวกับผู้ทำความดีไปโพสผ่านทางระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คของ ก.ตร.จริยธรรมทั้งทางเฟซบุ๊ค ชื่อ อนุกรรมการ กตร จริยธรรม และทวิตเตอร์ @PoliceMoral และเว็บไซต์ www.police.au.edu
พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง จเรตำรวจแห่งชาติ ประธานคณะอนุ ก.ตร.จริยธรรม บอกถึงที่มาของโครงการดังกล่าวว่า หน้าที่ของ ก.ตร.ชุดนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของข้าราชการตำรวจอยู่แล้ว และเห็นว่า ควรส่งเสริมการทำความดีของข้าราชการ และประชาชนทั่วไปด้วย จึงประสานกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดทำโครงการ “โซเชียลเน็ตเวิร์ค พิทักษ์คุณธรรม” ขึ้น พร้อมจัดกิจกรรม “คนดีมีที่ยืน” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่เห็นผู้กระทำความดีช่วยกันเผยแพร่ต่อสังคม โดยเฉพาะข้าราชการทุกหมู่เหล่า ไม่เพียงเฉพาะตำรวจเท่านั้น โดยสามารถเขียนเป็นเรื่องราว หรือรูปถ่าย ก็ได้
จเรตำรวจแห่งชาติบอกว่า สำหรับคัดเลือกคนดีนั้น แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง เช่น การใช้ชีวิตพอเพียง การต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ การเป็นข้าราชการที่ดี และการเป็นประชาชนผู้มีจิตอาสาอย่างจริงจังต่อเนื่อง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 ด้านสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การเป็นคนดีในช่วงชุมชนประสบภัยพิบัติต่างๆ การเป็นผู้เสียสละช่วยเหลือผู้อื่นในยามฉุกเฉินและในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ช่วยติดตามจับกุมคนร้าย เป็นต้น กลุ่มที่ 3 ด้านความดี ปกติในชีวิตประจำวันที่ปรากฏในที่สาธารณะ เช่น ช่วยคนสูงอายุ เด็ก ผู้พิการ ข้ามถนน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อที่นั่งให้กับคนสูงอายุ เด็ก สตรีบนรถโดยสารสาธารณะ และช่วยเหลือรถยนต์ที่จอดเสียข้างทาง เป็นต้นโดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคนดี โดยคัดเลือกจาก จำนวนคลิก Like ในโซเชียลมีเดีย และมติจากคณะกรรมการบริหารโครงการ
"การที่เราเลือกเผยแพร่ความดีผ่านสังคมออนไลน์ เพราะเห็นว่าเป็นสังคมระบบใหม่ของคนในยุคปัจจุบัน ถ้ามีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์เช่นนี้ก็จะเป็นการปลูกฝังเยาวชนเหล่านี้ ให้รู้จักการมีจิตอาสามากขึ้นในอนาคต พร้อมฝากถึงประชาชนที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการเผยแพร่ความดี ขอเรื่องที่ส่งมาผ่านระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คของเรานั้นขอให้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เพราะจุดประสงค์ของเรานั้นตั้งใจให้คนที่เข้ามาอ่านได้เห็นแบบอย่างที่ดีจริงๆ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติต่อไป"พล.ต.ท.สถาพรระบุ
ขณะที่ดร.นพดล บอกถึงแนวความคิดของโครงการนี้ ว่าได้มาจาก พ.ต.ท.ดร.พงษ์นคร นครสันติภาพ ที่ทำงานที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งได้แนะนำว่า ข้าราชการที่ดีมีอยู่เป็นจำนวนมากถือว่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ จึงน่าจะมีโครงการยกย่องเชิดชูแบบไม่จำกัดพื้นที่ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่กลุ่มข้าราชการจำนวนมากเหล่านั้นที่อาจไม่ปรากฏให้เห็นในสื่อมวลชนหรือในระบบราชการตามสายการบังคับบัญชาและอาจไม่ได้รับความดีความชอบตามสายงานของตน ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนน่าจะจัดทำโครงการโซเชียลเน็ตเวิร์คพิทักษ์คุณธรรมขึ้น
ทั้งนี้ สามารถส่งภาพถ่าย หรือเล่าเรื่อง พร้อมระบุยศ ชื่อ ตำแหน่ง สังกัดของคนทำความดี มาได้ที่ policemoral191@gmail.com หรือ thaipolicemoral@gmail.com และเว็บไซต์ www.police.au.edu โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 027191546-7 หรือ ส่งจดหมายมาที่ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 592/3 ซอยรามคำแหง 24 ถ.รามคำแหง หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10250
ในยามวิกฤติเช่นน้ำท่วม ในช่วงที่ผ่านมา การรวมกลุ่มในสังคมออนไลน์ก็ได้แสดงพลังให้เห็นแล้วว่า สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้จำนวนมาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและจำนวนมาก หากช่วยกันสร้างสรรค์ให้สังคมออนไลน์เป็นสังคมที่ดี ช่วยกันเผยแพร่การกระทำความดี ก็จะเป็นการปลูกฝังเยาวชนที่เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ใช้สังคมออนไลน์ได้รู้จักจิตอาสา และการเสียสละต่อสังคมได้ต่อไปในอนาคต