หากไปทบทวนความทรงจำและตรวจสอบปฎิทินการเมืองบ้านเรา ในห้วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าประเทศของเรา ได้เกิดเหตุการณ์เลวร้าย ทั้งภัยจากน้ำมือของมนุษย์ที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น และภัยจากธรรมชาติ ที่มาซ้ำเติมประชาชนคนไทย
7 เมษายน 2553 อดีตรัฐบาล"นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ขึ้นในค่ายทหาร "ราบ 11"เพื่อเป็นฐานบัญชาการควบคุมการชุมนุมครั้งสุดท้ายของ"ไพร่เสื้อแดง"ที่มี"นช.ทักษิณ ชินวัตร"เป็นตัวการใหญ่ คอยสั่งการอยู่นอกประเทศ โดยมีทัพคนเสื้อแดงจำนวนมากในประเทศเป็นผู้ปฎิบัติตามคำสั่ง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้คนจะเห็นภาพข่าวทีม ศอฉ.ที่มี"สุเทพ เทือกสุบรรณ"เป็นแม่ทัพ ได้ทำการแถลงข่าวความคืบหน้าในการแก้ปัญหาภัยความมั่นคงที่เกิดจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในแทบทุกครั้งของการประชุมสรุปสถานการณ์ในแต่ละวัน ส่งผลทำให้เกิดวีรบุรุษหน้าจอชื่อ"เสธ.ไก่อู"พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ผู้ทำหน้าที่โฆษก ศอฉ.ในขณะนั้น ด้วยบทบาทการทำงานที่ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ พร้อมกับท่าทีการแถลงข่าว ที่ชัดถ้อย ชัดคำ ชัดเจน ทำให้"เสธ.ไก่อู"เป็นที่กล่าวขานในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง...
ผลการกระทำของ"รัฐบาลอภิสิทธิ์" ในเวลานั้น ภายใต้โจทก์ ต้องหยุดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และหวังสร้างความปรองดองกับคนเสื้อแดง โดยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือ ส่งผลการปฎิบัติงานในภารกิจต่อสู้กับภัยมนุษย์ในครั้งนั้น กินเวลานานหลายเดือน แม้ภารกิจจะจบลง แต่ ศอฉ.ยังคงปฎิบัติภารกิจอยู่อย่างเงียบๆก่อนจะถูกปิดตัวลงเมื่อสถานการณ์ของประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553
การชุมนุมของทัพไพร่แดง ในครั้งนั้นได้มีการเคลื่อนไหวในแทบทุกวัน ของโค้งสุดท้ายการชุมนุมในสงครามครั้งสุดท้าย ของคนชื่อ"ทักษิณ ชินวัตร"ทำให้เกิดความสูญเสียเกิดขึ้นตามมา เริ่มจากเหตุการณ์ 10 เม.ย.มีการปะทะครั้งใหญ่บริเวณแยกคอกวัว ทหารหาร ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย ขณะที่ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ต้องมาตกเป็นเหยื่อของมนุษย์สายพันธ์โหดกลุ่มนี้
ภาพการรับบริจาคเลือดของคนเสื้อแดง ก่อนจะนำเลือดสดๆไปเททิ้งตามสถานที่ ที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลในขณะนั้น ทำให้ผู้คนที่พบเห็นเกิดความหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่ง หลายคนพูดว่า...บ้านนี้ เมืองนี้...มันกำลังเกิดอาเพศอะไรถึงเพียงนี้
ผลการปฎิบัติในภารกิจ ปราบปรามภัยจากน้ำมือของมนุษย์ในครั้งนั้น สุดท้ายถึงวันแตกหัก เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมไพร่แดง ปฎิเสธปรองดองกับรัฐบาล และประกาศสู้ตาย จึงเกิด"วันเผาเมือง 19 พฤศภาคม 2553" โดยที่ความเสียหายในวันนั้นทำให้โรงแรม ห้างสรรพสินค้า มินิมาร์ท อาคารพาณิชย์ ธนาคารหลายสาขา ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และศาลากลางจังหวัด หลายแห่ง ถูกเผาทำลายจนย่อยยับ ถูกสื่อตีแผ่ภาพข่าวไปทั่วโลก
แม้ผลการปฎิบัติภารกิจของรัฐบาลในครั้งนั้น ท้ายสุด แกนนำถูกจับกุม รัฐบาลจะเป็นผู้กำชัยชนะบนความย่อยยับของประเทศ สุดท้ายรัฐบาลต้องลาออก เพื่อสู่การเลือกตั้ง ทำให้ พรรคเพื่อไทย ของคนเสื้อแดง ชนะการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลสมใจ..
มาถึงปัจจุบัน 8 ตุลาคม 2554 "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"นายกรัฐมนตรี จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ขึ้นที่ ท่าอากาศยานดอนเมือง บริเวณชั้น 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ภายใต้ภารกิจหยุดภัยธรรมชาติ เข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดของประเทศ โดยมี"พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก"รมว.ยุติธรรม เป็นแม่ทัพใหญ่
ทุกวันหลังประชุมสรุปสถานการณ์ "นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา"โฆษก ศปภ.จะรับหน้าที่กำกับเวทีแถลงข่าว แต่แทนที่เขาจะใช้เวทีแห่งนี้ แจ้งเกิดในภารกิจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขา แต่เขาต้องเป็นดาวดับ เมื่อผลงานกลับทำให้ประชาชนสับสน โดยหลายครั้ง ของการสรุปผลของ ศปภ.และแถลงข่าวให้ประชาชนรับทราบว่าขณะนี้ ศปภ.ควบคุมสถานการณ์น้ำท่วมได้แล้ว แต่พอตกเย็นในวันเดียวกัน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ
ท่าอากาศยานดอนเมือง ศูนย์บัญชาการของ ศปภ.จะด้วยเหตุ"บังเอิญหรือตั้งใจ" มิทราบได้? เมื่อพบว่าครั้งอดีต รัฐบาลน้องเขย"นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ตั้งแต่ กันยายน พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดทำเนียบแบบเบ็จเสร็จ ทำให้"สมชาย"ถูกบันทึกเป็น "นายกฯไร้ทำเนียบ"เมื่อเขาไม่มีโอกาสแม้แต่สักวันเดียวที่จะได้นั่งเก้าอี้ นายกรัฐมนตรี ในตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ แม้ภารกิจ การต่อสู้กับภัยธรรมชาติ ของ ศปภ.จะยังไม่จบลง แต่จากรูปการและสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือว่า หนักพอดู เมื่อศูนย์บัญชาการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองกำลังจะถูกน้ำท่วม และจะบังเอิญอีกหรือไม่ กับการใช้สถานที่เดียวกัน คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นศูนย์บัญชาการ และต้องพบกับความพ่ายแพ้กับภัยธรรมชาติ เหมือนกับรัฐบาล"สมชาย"ในครั้งนั้น
จาก 2 เหตุการณ์ 2 ภารกิจ ที่แตกต่างกัน ภารกิจแรก สู้กับภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ภารกิจหลังสู้กับภัยจากธรรมชาติ แน่นอน ภัยจากน้ำมือมนุษย์เราสามารถที่จะหยุดยั้งมันได้ หากมนุษย์กลุ่มก่อเหตุมีจิตสำนึกในความรักชาติ รักบ้านเมือง แต่หากมนุษย์เหล่านั้นไร้ซึ่งจิตใต้สำนึก ไม่รักชาติ ไม่รักบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือ...เหตุการณ์เผาบ้านเมืองเมือง...
ขณะที่ภัยธรรมชาติ ถือเป็นการยากที่จะหยุดยั้งมันได้ แต่มนุษย์เราก็สามารถที่จะทำให้ภัยที่จะรุนแรง กลับกลายเป็นภัยที่เบาบางลง และลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย หากผู้นำใช้ความฉลาดในการการบริหารจัดการน้ำได้อย่างถูกต้อง
ส่วนท้ายสุด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ จะเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติลงโทษ "ฟ้าส่งน้ำดับไฟ-ฟ้าส่งน้ำล้างเลือด"หรือไม่? คงขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละคน!
7 เมษายน 2553 อดีตรัฐบาล"นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ขึ้นในค่ายทหาร "ราบ 11"เพื่อเป็นฐานบัญชาการควบคุมการชุมนุมครั้งสุดท้ายของ"ไพร่เสื้อแดง"ที่มี"นช.ทักษิณ ชินวัตร"เป็นตัวการใหญ่ คอยสั่งการอยู่นอกประเทศ โดยมีทัพคนเสื้อแดงจำนวนมากในประเทศเป็นผู้ปฎิบัติตามคำสั่ง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้คนจะเห็นภาพข่าวทีม ศอฉ.ที่มี"สุเทพ เทือกสุบรรณ"เป็นแม่ทัพ ได้ทำการแถลงข่าวความคืบหน้าในการแก้ปัญหาภัยความมั่นคงที่เกิดจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในแทบทุกครั้งของการประชุมสรุปสถานการณ์ในแต่ละวัน ส่งผลทำให้เกิดวีรบุรุษหน้าจอชื่อ"เสธ.ไก่อู"พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ผู้ทำหน้าที่โฆษก ศอฉ.ในขณะนั้น ด้วยบทบาทการทำงานที่ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ พร้อมกับท่าทีการแถลงข่าว ที่ชัดถ้อย ชัดคำ ชัดเจน ทำให้"เสธ.ไก่อู"เป็นที่กล่าวขานในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง...
ผลการกระทำของ"รัฐบาลอภิสิทธิ์" ในเวลานั้น ภายใต้โจทก์ ต้องหยุดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และหวังสร้างความปรองดองกับคนเสื้อแดง โดยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือ ส่งผลการปฎิบัติงานในภารกิจต่อสู้กับภัยมนุษย์ในครั้งนั้น กินเวลานานหลายเดือน แม้ภารกิจจะจบลง แต่ ศอฉ.ยังคงปฎิบัติภารกิจอยู่อย่างเงียบๆก่อนจะถูกปิดตัวลงเมื่อสถานการณ์ของประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553
การชุมนุมของทัพไพร่แดง ในครั้งนั้นได้มีการเคลื่อนไหวในแทบทุกวัน ของโค้งสุดท้ายการชุมนุมในสงครามครั้งสุดท้าย ของคนชื่อ"ทักษิณ ชินวัตร"ทำให้เกิดความสูญเสียเกิดขึ้นตามมา เริ่มจากเหตุการณ์ 10 เม.ย.มีการปะทะครั้งใหญ่บริเวณแยกคอกวัว ทหารหาร ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย ขณะที่ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ต้องมาตกเป็นเหยื่อของมนุษย์สายพันธ์โหดกลุ่มนี้
ภาพการรับบริจาคเลือดของคนเสื้อแดง ก่อนจะนำเลือดสดๆไปเททิ้งตามสถานที่ ที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลในขณะนั้น ทำให้ผู้คนที่พบเห็นเกิดความหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่ง หลายคนพูดว่า...บ้านนี้ เมืองนี้...มันกำลังเกิดอาเพศอะไรถึงเพียงนี้
ผลการปฎิบัติในภารกิจ ปราบปรามภัยจากน้ำมือของมนุษย์ในครั้งนั้น สุดท้ายถึงวันแตกหัก เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมไพร่แดง ปฎิเสธปรองดองกับรัฐบาล และประกาศสู้ตาย จึงเกิด"วันเผาเมือง 19 พฤศภาคม 2553" โดยที่ความเสียหายในวันนั้นทำให้โรงแรม ห้างสรรพสินค้า มินิมาร์ท อาคารพาณิชย์ ธนาคารหลายสาขา ในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด และศาลากลางจังหวัด หลายแห่ง ถูกเผาทำลายจนย่อยยับ ถูกสื่อตีแผ่ภาพข่าวไปทั่วโลก
แม้ผลการปฎิบัติภารกิจของรัฐบาลในครั้งนั้น ท้ายสุด แกนนำถูกจับกุม รัฐบาลจะเป็นผู้กำชัยชนะบนความย่อยยับของประเทศ สุดท้ายรัฐบาลต้องลาออก เพื่อสู่การเลือกตั้ง ทำให้ พรรคเพื่อไทย ของคนเสื้อแดง ชนะการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลสมใจ..
มาถึงปัจจุบัน 8 ตุลาคม 2554 "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"นายกรัฐมนตรี จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ขึ้นที่ ท่าอากาศยานดอนเมือง บริเวณชั้น 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ภายใต้ภารกิจหยุดภัยธรรมชาติ เข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดของประเทศ โดยมี"พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก"รมว.ยุติธรรม เป็นแม่ทัพใหญ่
ทุกวันหลังประชุมสรุปสถานการณ์ "นายวิม รุ่งวัฒนะจินดา"โฆษก ศปภ.จะรับหน้าที่กำกับเวทีแถลงข่าว แต่แทนที่เขาจะใช้เวทีแห่งนี้ แจ้งเกิดในภารกิจครั้งสำคัญที่สุดในชีวิตของเขา แต่เขาต้องเป็นดาวดับ เมื่อผลงานกลับทำให้ประชาชนสับสน โดยหลายครั้ง ของการสรุปผลของ ศปภ.และแถลงข่าวให้ประชาชนรับทราบว่าขณะนี้ ศปภ.ควบคุมสถานการณ์น้ำท่วมได้แล้ว แต่พอตกเย็นในวันเดียวกัน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ
ท่าอากาศยานดอนเมือง ศูนย์บัญชาการของ ศปภ.จะด้วยเหตุ"บังเอิญหรือตั้งใจ" มิทราบได้? เมื่อพบว่าครั้งอดีต รัฐบาลน้องเขย"นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์"นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ตั้งแต่ กันยายน พ.ศ. 2551 จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดทำเนียบแบบเบ็จเสร็จ ทำให้"สมชาย"ถูกบันทึกเป็น "นายกฯไร้ทำเนียบ"เมื่อเขาไม่มีโอกาสแม้แต่สักวันเดียวที่จะได้นั่งเก้าอี้ นายกรัฐมนตรี ในตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ แม้ภารกิจ การต่อสู้กับภัยธรรมชาติ ของ ศปภ.จะยังไม่จบลง แต่จากรูปการและสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ถือว่า หนักพอดู เมื่อศูนย์บัญชาการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองกำลังจะถูกน้ำท่วม และจะบังเอิญอีกหรือไม่ กับการใช้สถานที่เดียวกัน คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นศูนย์บัญชาการ และต้องพบกับความพ่ายแพ้กับภัยธรรมชาติ เหมือนกับรัฐบาล"สมชาย"ในครั้งนั้น
จาก 2 เหตุการณ์ 2 ภารกิจ ที่แตกต่างกัน ภารกิจแรก สู้กับภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ ภารกิจหลังสู้กับภัยจากธรรมชาติ แน่นอน ภัยจากน้ำมือมนุษย์เราสามารถที่จะหยุดยั้งมันได้ หากมนุษย์กลุ่มก่อเหตุมีจิตสำนึกในความรักชาติ รักบ้านเมือง แต่หากมนุษย์เหล่านั้นไร้ซึ่งจิตใต้สำนึก ไม่รักชาติ ไม่รักบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือ...เหตุการณ์เผาบ้านเมืองเมือง...
ขณะที่ภัยธรรมชาติ ถือเป็นการยากที่จะหยุดยั้งมันได้ แต่มนุษย์เราก็สามารถที่จะทำให้ภัยที่จะรุนแรง กลับกลายเป็นภัยที่เบาบางลง และลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย หากผู้นำใช้ความฉลาดในการการบริหารจัดการน้ำได้อย่างถูกต้อง
ส่วนท้ายสุด เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ จะเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติลงโทษ "ฟ้าส่งน้ำดับไฟ-ฟ้าส่งน้ำล้างเลือด"หรือไม่? คงขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละคน!