สน.ยุติธรรม เป็นโครงการที่น่าสนใจ และตั้งขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม โดยทำหน้าที่เฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดในพื้นที่ ทั้งปัญหายาเสพติด อบายมุข และสถานบันเทิงที่ผิดกฎหมาย โดย สน.ยุติธรรม ได้เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา และนำร่องในพื้นที่ กทม.จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย สน.ยุติธรรมตลิ่งชัน สน.ยุติธรรมดุสิต สน.ยุติธรรมดอนเมือง และสน.ยุติธรรมดินแดง ซึ่งในระยะแรกของโครงการนั้นทางกระทรวงยุติธรรม มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ดูแล สน.ยุติธรรม ที่เปิดใหม่ทั้ง 4 แห่ง เนื่องจากเห็นว่าดีเอสไอ เป็นหน่วยงานที่ มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญเพียงพอ
นางศิวาพร ชื่นจิตต์ศิริ ผบ.สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวว่า หลังจากกระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาดูแล สน.ยุติธรรม ตนในฐานะ ผบ.สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ จึงเปรียบเสมือนเซ็นเตอร์ในการบริหารงาน เพื่อให้โครงการเป็นรูปเป็นร่าง โดยเปิด สน.ยุติธรรม แห่งแรกที่แฟลตดินแดงเนื่องจากเห็นว่าชาวบ้านย่านแฟลตดินแดงมีความพร้อมและกระตือรือร้น แม้ว่าการดำเนินโครงการในระยะแรกจะยังไม่เต็มรูปแบบ แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากชาวบ้านพอสมควร ภายหลังจึงเปิดอย่างเป็นทางการพร้อมกันทั้ง 4 แห่งดังกล่าว
สำหรับความยากง่ายของโครงการ อยู่ที่เราจะต้องมาจัดขั้นตอนและระบบงานว่าทำอย่างไร จึงจะให้เรื่องที่ผ่านเข้ามาตามช่องทางสน.ยุติธรรม ได้รับการบริหารจัดการอย่างรวดเร็ว คือเมื่อมีผู้ร้องเรียน เข้ามายัง สน.ยุติธรรม เจ้าหน้าที่จะต้องรีบส่งเรื่องดังกล่าวมายังดีเอสไอ ให้เสร็จภายใน 1 วัน เพื่อจะได้บริหารจัดการอย่างรวดเร็ว
"เดิมนั้นเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนจะถูกส่งไปที่กระทรวงยุติธรรม แต่ขั้นการการดำเนินงานต่างๆ อาจจะไม่กระชับ เราก็มาวางระบบเสียใหม่ ว่าเมื่อมีผู้ร้องเข้ามา สน.ยุติธรรม จะต้องรีบส่งเรื่องมาให้เรา ซึ่งขั้นตอนต่างๆยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากอยู่ในระยะทดสอบขั้นตอนและวางระบบงานใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น"
นางศิวพร กล่าวต่อว่า หากประเด็นที่ชาวบ้านร้องเรียนเข้ามาไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งหรือข้อพิพาท แต่เรื่องที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการของส่วนราชการ ก็จะต้องส่งเรื่องร้องเรียนมายังเซ็นเตอร์หรือศูนย์ประสานงานของดีเอสไอภายใน 1 วัน จากนั้นเราก็จะพิจารณาว่าเรื่องๆ นี้ควรจะไปที่ไหน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ประสานงานของดีเอสไอประมาณ 2-3 คนช่วยกันพิจารณาแล้วเสนออธิบดีดีเอสไอ จากนั้นจึงจะส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) หรือหากเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิฯ เราก็จะประสานไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยขอให้แต่ละหน่วยงานแจ้งเรื่องกลับมาให้เราทราบ
ดังนั้นชาวบ้านร้องเรียนมายัง สน.ยุติธรรมพื้นที่ ใช้เวลาเพียง 1 วัน จากนั้นพอส่งเรื่องมายังเซ็นเตอร์ก็จะต้องส่งเรื่องไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน จากนั้นภายในระยะเวลา 5 วัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานกลับมาให้เราทราบว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนรวดเร็วและเราทราบได้ทันทีว่า ขณะนี้เรื่องร้องเรียนอยู่ที่ใคร หลังจากนั้นเราจะรายงานกลับไปยัง สน.ยุติธรรม โดยอาจจะติดต่อผ่านระบบอีเมล์ เพื่อรายงานให้ทาง สน.ยุติธรรม ได้รับทราบว่าเรื่องของผู้ร้องถูกส่งไปยังหน่วยงานไหน เนื่องจากเราได้กำหนดไว้ว่า สน.ยุติธรรมในพื้นที่ จะต้องแจ้งผลการดำเนินการเบื้องต้น ให้ผู้ร้องทราบภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
ที่ผ่านมามีการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ ค่อนข้างดี ดูได้จากจำนวนประชาชนที่เริ่มเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามีหลายเรื่องปะปนกัน เช่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ยาเสพติด หรือเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนที่ถูกกระทบ
เรื่องบางอย่าง เช่น การมั่วสุมยาเสพติด อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่งานของกระทรวงยุติธรรม แต่ขณะนี้เรามีหน่วยงาน ป.ป.ท.ที่สามารถจะไปประสานงานหรือกำกับเจ้าหน้าที่ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมาก็มีเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ประชาชนแจ้งเข้ามาหลายเรื่อง ซึ่งเราก็แจ้งเรื่องไปยัง ป.ป.ส. แต่บางเรื่องก็สามารถประสานกับท้องที่ได้ บางพื้นที่เช่น สน.ดินแดง มีปัญหาเยอะ ก็เป็นช่องทางที่ทำให้เขาเห็นว่าช่องทางยุติธรรมอยู่ใกล้ตัวเขา สามารถเข้าไปถึงและหากเรื่องใดไม่สามารถส่งต่อไปหน่วยงานอื่นได้แล้ว ต้องเยียวยาอย่างเดียว ก็จะรีบส่งเรื่องไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อให้การเยียวยาต่อไป
นางศิวพร กล่าวต่อว่า ชาวบ้านที่ร้องเรียนผ่านช่องทางสน.ยุติธรรมจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าให้เขาเดินเข้าไปหาหน่วยงานราชการด้วยตนเอง ก็อาจจะไม่รู้ว่าต้องไปติดต่อหน่วยงานไหน แต่ถ้าเข้ามาที่สน.ยุติธรรม ปัญหาเรื่องร้องเรียนจะถูกบริหารจัดการไปเอง
นอกจากนี้ยังมีหลายเรื่องที่ไกล่เกลี่ยจบ เช่น การพิพาทเรื่องทางเดินเข้าหมู่บ้าน ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน ดังนั้นปัญหาข้อพิพาทเล็กๆน้อยๆ มักจะไกล่เกลี่ยจบที่ สน.ยุติธรรม เนื่องจากคณะกรรมการ สน.ยุติธรรม จะเลือกมาจากคนในชุมชน จึงรู้จักคนในพื้นที่และรู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้น จะต้องเชิญใครมาเป็นตัวกลาง มาไกล่เกลี่ยเรื่องก็จบไม่ต้องพิพาทกัน ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้วจะต้องเข้าไปช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน โดย สน.ยุติธรรม จะมีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่งอยู่ด้วย เพื่อคอยทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานราชการ
สน.ยุติธรรม เป็นเสมือนหน่วยงานที่ไปช่วยดูแลชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งบางครั้งเขาไม่สามารถแสวงหาความเป็นธรรมในเรื่องราวต่างๆได้ เพราะไม่รู้ช่องทาง ไม่รู้ขั้นตอนหรือ กระบวนการ เช่น การที่ประชาชนคนหนึ่งเดินเข้าไปติดต่อที่หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะมองว่าเรื่องเล็กน้อย แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นเรื่องใหญ่ได้ ซึ่ง สน.ยุติธรรม จะเข้ามาช่วยชาวบ้านในประเด็นนี้ เพราะ สน.ยุติธรรม มีจุดเด่น คือ การดำเนินงานและส่งต่อมีความรวดเร็ว รวมทั้งสามารถประสานงานกับหน่วยงานราชการได้
“เขาสามารถเดินเข้ามาแล้วไม่ถูกปฏิเสธ หลายครั้งเขาติดต่อกับราชการ แล้วไม่รู้ว่าเรื่องเขาได้รับการพิจารณาหรือดูแลแค่ไหน แต่เราสามารถบอกได้ว่าตอนนี้เรื่องอยู่ตรงนี้ อยู่ขั้นตอนไหน นโยบายที่ สน.ยุติธรรม ได้รับจากผู้ใหญ่ในกระทรวงยุติธรรม คือไม่ให้ปฏิเสธ ทุกเรื่องให้รับไว้ก่อน แล้วค่อยหาทางเยียวยาเขาให้ได้ หรือทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด ส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องดี เป็นช่องทางหนึ่ง ที่สร้างความอบอุ่นให้กับประชาชน คือเขารู้สึกว่ามีที่พึ่งได้ หรือถ้าเข้าใจผิดเราก็ชี้แจง ให้คำปรึกษา เขาก็สบายใจ”
ส่วน สน.ยุติธรรมในต่างจังหวัด ตอนนี้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว 1 แห่ง คือ สน.ยุติธรรมเกาะยาว จ.พังงา เนื่องจากชาวบ้านมีความพร้อมมีความเข้มแข้ง และอยากให้เปิด สน.ยุติธรรม ก็ได้เข้าไปดูแลเรื่องการสรรหาคณะกรรมการ สน.ยุติธรรม โดยชาวบ้านสรรหาตัวแทนหมู่บ้านๆ ละ 2 คน แล้วมาเลือกเพิ่มอีกให้ได้ เป็น 7 คน กระทรวงยุติธรรมก็จัดเจ้าหน้าที่ให้อีก 2 คน รวมเป็น 9 คนครบตามกำหนด จากนั้นก็จัดหาสถานที่ตั้ง สน.ยุติธรรม เมื่อเรียบร้อยจึงทำการเปิดอย่างเป็นทางการ
"ที่เกาะยาวมีปัญหาหลายเรื่องๆ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการตั้ง สน.ยุติธรรม ไม่ได้มีการมุ่งเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะทำงานตามกรอบที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง คือ การไกล่เกลี่ย การให้บริการความยุติธรรม โดยไม่ได้คำนึงว่าพื้นที่นั้นมีปัญหาเรื่องอะไร เช่น บางคนบอกว่า กระทรวงยุติธรรม เปิดสน.ยุติธรรม เพราะพื้นที่นั้นมีปัญหายาเสพติด บอกเลยว่าไม่ใช่ เพราะกระทรวงยุติธรรมจะพิจารณาตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ไม่ได้เปิดสน.ยุติธรรมเพื่อรองรับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ตอนนี้ก็ที่เปิดอย่างเป็นทางการในกรุงเทพ แล้ว 4 แห่งและเกาะยาว จ.พังงา อีก 1 แห่ง โดยมีกำหนดจะเปิดเพิ่มอีกประมาณ 20 แห่งในต่างจังหวัด"
นางศิวพร กล่าวทิ้งท้าย ถึงจุดอ่อนที่เห็นตอนนี้คือการประชาสัมพันธ์ที่ยังน้อยอยู่ โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องบูม ทุกอย่างจะค่อยๆ พัฒนาไปโดยระบบของมันเอง เพียงแต่ว่าที่สุดแล้วจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ต้องมาวิเคราะห์กันอีกที ส่วนเรื่องงบประมาณที่ตั้งไว้ ขณะนี้ยังไม่ถือว่าเป็นปัญหา เพราะที่ทำอยู่ตอนนี้แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้ใช้งบประมาณของกระทรวงเลย คือ ระยะเริ่มแรก ดีเอสไอ พยายามสนับสนุนในหลายๆ เรื่อง เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ แต่อนาคตถ้ามีงบประมาณก็ดีกว่านี้ ส่วนการทำงานนั้นเมื่อได้รับมอบหมายมาตนก็จะพยายามทำให้สำเร็จ และเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐบาลใหม่ก็คงจะสนับสนุนเช่นกัน
นางศิวาพร ชื่นจิตต์ศิริ ผบ.สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวว่า หลังจากกระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาดูแล สน.ยุติธรรม ตนในฐานะ ผบ.สำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ จึงเปรียบเสมือนเซ็นเตอร์ในการบริหารงาน เพื่อให้โครงการเป็นรูปเป็นร่าง โดยเปิด สน.ยุติธรรม แห่งแรกที่แฟลตดินแดงเนื่องจากเห็นว่าชาวบ้านย่านแฟลตดินแดงมีความพร้อมและกระตือรือร้น แม้ว่าการดำเนินโครงการในระยะแรกจะยังไม่เต็มรูปแบบ แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากชาวบ้านพอสมควร ภายหลังจึงเปิดอย่างเป็นทางการพร้อมกันทั้ง 4 แห่งดังกล่าว
สำหรับความยากง่ายของโครงการ อยู่ที่เราจะต้องมาจัดขั้นตอนและระบบงานว่าทำอย่างไร จึงจะให้เรื่องที่ผ่านเข้ามาตามช่องทางสน.ยุติธรรม ได้รับการบริหารจัดการอย่างรวดเร็ว คือเมื่อมีผู้ร้องเรียน เข้ามายัง สน.ยุติธรรม เจ้าหน้าที่จะต้องรีบส่งเรื่องดังกล่าวมายังดีเอสไอ ให้เสร็จภายใน 1 วัน เพื่อจะได้บริหารจัดการอย่างรวดเร็ว
"เดิมนั้นเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนจะถูกส่งไปที่กระทรวงยุติธรรม แต่ขั้นการการดำเนินงานต่างๆ อาจจะไม่กระชับ เราก็มาวางระบบเสียใหม่ ว่าเมื่อมีผู้ร้องเข้ามา สน.ยุติธรรม จะต้องรีบส่งเรื่องมาให้เรา ซึ่งขั้นตอนต่างๆยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ เนื่องจากอยู่ในระยะทดสอบขั้นตอนและวางระบบงานใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น"
นางศิวพร กล่าวต่อว่า หากประเด็นที่ชาวบ้านร้องเรียนเข้ามาไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งหรือข้อพิพาท แต่เรื่องที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการของส่วนราชการ ก็จะต้องส่งเรื่องร้องเรียนมายังเซ็นเตอร์หรือศูนย์ประสานงานของดีเอสไอภายใน 1 วัน จากนั้นเราก็จะพิจารณาว่าเรื่องๆ นี้ควรจะไปที่ไหน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ประสานงานของดีเอสไอประมาณ 2-3 คนช่วยกันพิจารณาแล้วเสนออธิบดีดีเอสไอ จากนั้นจึงจะส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) หรือหากเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิฯ เราก็จะประสานไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยขอให้แต่ละหน่วยงานแจ้งเรื่องกลับมาให้เราทราบ
ดังนั้นชาวบ้านร้องเรียนมายัง สน.ยุติธรรมพื้นที่ ใช้เวลาเพียง 1 วัน จากนั้นพอส่งเรื่องมายังเซ็นเตอร์ก็จะต้องส่งเรื่องไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 วัน จากนั้นภายในระยะเวลา 5 วัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานกลับมาให้เราทราบว่าได้ทำอะไรไปบ้าง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนรวดเร็วและเราทราบได้ทันทีว่า ขณะนี้เรื่องร้องเรียนอยู่ที่ใคร หลังจากนั้นเราจะรายงานกลับไปยัง สน.ยุติธรรม โดยอาจจะติดต่อผ่านระบบอีเมล์ เพื่อรายงานให้ทาง สน.ยุติธรรม ได้รับทราบว่าเรื่องของผู้ร้องถูกส่งไปยังหน่วยงานไหน เนื่องจากเราได้กำหนดไว้ว่า สน.ยุติธรรมในพื้นที่ จะต้องแจ้งผลการดำเนินการเบื้องต้น ให้ผู้ร้องทราบภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน
ที่ผ่านมามีการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ ค่อนข้างดี ดูได้จากจำนวนประชาชนที่เริ่มเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามีหลายเรื่องปะปนกัน เช่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ยาเสพติด หรือเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนที่ถูกกระทบ
เรื่องบางอย่าง เช่น การมั่วสุมยาเสพติด อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่งานของกระทรวงยุติธรรม แต่ขณะนี้เรามีหน่วยงาน ป.ป.ท.ที่สามารถจะไปประสานงานหรือกำกับเจ้าหน้าที่ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมาก็มีเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ประชาชนแจ้งเข้ามาหลายเรื่อง ซึ่งเราก็แจ้งเรื่องไปยัง ป.ป.ส. แต่บางเรื่องก็สามารถประสานกับท้องที่ได้ บางพื้นที่เช่น สน.ดินแดง มีปัญหาเยอะ ก็เป็นช่องทางที่ทำให้เขาเห็นว่าช่องทางยุติธรรมอยู่ใกล้ตัวเขา สามารถเข้าไปถึงและหากเรื่องใดไม่สามารถส่งต่อไปหน่วยงานอื่นได้แล้ว ต้องเยียวยาอย่างเดียว ก็จะรีบส่งเรื่องไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อให้การเยียวยาต่อไป
นางศิวพร กล่าวต่อว่า ชาวบ้านที่ร้องเรียนผ่านช่องทางสน.ยุติธรรมจะได้รับการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าให้เขาเดินเข้าไปหาหน่วยงานราชการด้วยตนเอง ก็อาจจะไม่รู้ว่าต้องไปติดต่อหน่วยงานไหน แต่ถ้าเข้ามาที่สน.ยุติธรรม ปัญหาเรื่องร้องเรียนจะถูกบริหารจัดการไปเอง
นอกจากนี้ยังมีหลายเรื่องที่ไกล่เกลี่ยจบ เช่น การพิพาทเรื่องทางเดินเข้าหมู่บ้าน ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน ดังนั้นปัญหาข้อพิพาทเล็กๆน้อยๆ มักจะไกล่เกลี่ยจบที่ สน.ยุติธรรม เนื่องจากคณะกรรมการ สน.ยุติธรรม จะเลือกมาจากคนในชุมชน จึงรู้จักคนในพื้นที่และรู้ว่าเมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้น จะต้องเชิญใครมาเป็นตัวกลาง มาไกล่เกลี่ยเรื่องก็จบไม่ต้องพิพาทกัน ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงยุติธรรมอยู่แล้วจะต้องเข้าไปช่วยเหลืออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน โดย สน.ยุติธรรม จะมีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่งอยู่ด้วย เพื่อคอยทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานราชการ
สน.ยุติธรรม เป็นเสมือนหน่วยงานที่ไปช่วยดูแลชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งบางครั้งเขาไม่สามารถแสวงหาความเป็นธรรมในเรื่องราวต่างๆได้ เพราะไม่รู้ช่องทาง ไม่รู้ขั้นตอนหรือ กระบวนการ เช่น การที่ประชาชนคนหนึ่งเดินเข้าไปติดต่อที่หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะมองว่าเรื่องเล็กน้อย แต่หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นเรื่องใหญ่ได้ ซึ่ง สน.ยุติธรรม จะเข้ามาช่วยชาวบ้านในประเด็นนี้ เพราะ สน.ยุติธรรม มีจุดเด่น คือ การดำเนินงานและส่งต่อมีความรวดเร็ว รวมทั้งสามารถประสานงานกับหน่วยงานราชการได้
“เขาสามารถเดินเข้ามาแล้วไม่ถูกปฏิเสธ หลายครั้งเขาติดต่อกับราชการ แล้วไม่รู้ว่าเรื่องเขาได้รับการพิจารณาหรือดูแลแค่ไหน แต่เราสามารถบอกได้ว่าตอนนี้เรื่องอยู่ตรงนี้ อยู่ขั้นตอนไหน นโยบายที่ สน.ยุติธรรม ได้รับจากผู้ใหญ่ในกระทรวงยุติธรรม คือไม่ให้ปฏิเสธ ทุกเรื่องให้รับไว้ก่อน แล้วค่อยหาทางเยียวยาเขาให้ได้ หรือทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด ส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องดี เป็นช่องทางหนึ่ง ที่สร้างความอบอุ่นให้กับประชาชน คือเขารู้สึกว่ามีที่พึ่งได้ หรือถ้าเข้าใจผิดเราก็ชี้แจง ให้คำปรึกษา เขาก็สบายใจ”
ส่วน สน.ยุติธรรมในต่างจังหวัด ตอนนี้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว 1 แห่ง คือ สน.ยุติธรรมเกาะยาว จ.พังงา เนื่องจากชาวบ้านมีความพร้อมมีความเข้มแข้ง และอยากให้เปิด สน.ยุติธรรม ก็ได้เข้าไปดูแลเรื่องการสรรหาคณะกรรมการ สน.ยุติธรรม โดยชาวบ้านสรรหาตัวแทนหมู่บ้านๆ ละ 2 คน แล้วมาเลือกเพิ่มอีกให้ได้ เป็น 7 คน กระทรวงยุติธรรมก็จัดเจ้าหน้าที่ให้อีก 2 คน รวมเป็น 9 คนครบตามกำหนด จากนั้นก็จัดหาสถานที่ตั้ง สน.ยุติธรรม เมื่อเรียบร้อยจึงทำการเปิดอย่างเป็นทางการ
"ที่เกาะยาวมีปัญหาหลายเรื่องๆ เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตามการตั้ง สน.ยุติธรรม ไม่ได้มีการมุ่งเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่จะทำงานตามกรอบที่กำหนดไว้ทุกเรื่อง คือ การไกล่เกลี่ย การให้บริการความยุติธรรม โดยไม่ได้คำนึงว่าพื้นที่นั้นมีปัญหาเรื่องอะไร เช่น บางคนบอกว่า กระทรวงยุติธรรม เปิดสน.ยุติธรรม เพราะพื้นที่นั้นมีปัญหายาเสพติด บอกเลยว่าไม่ใช่ เพราะกระทรวงยุติธรรมจะพิจารณาตามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ ไม่ได้เปิดสน.ยุติธรรมเพื่อรองรับปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ตอนนี้ก็ที่เปิดอย่างเป็นทางการในกรุงเทพ แล้ว 4 แห่งและเกาะยาว จ.พังงา อีก 1 แห่ง โดยมีกำหนดจะเปิดเพิ่มอีกประมาณ 20 แห่งในต่างจังหวัด"
นางศิวพร กล่าวทิ้งท้าย ถึงจุดอ่อนที่เห็นตอนนี้คือการประชาสัมพันธ์ที่ยังน้อยอยู่ โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องบูม ทุกอย่างจะค่อยๆ พัฒนาไปโดยระบบของมันเอง เพียงแต่ว่าที่สุดแล้วจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ต้องมาวิเคราะห์กันอีกที ส่วนเรื่องงบประมาณที่ตั้งไว้ ขณะนี้ยังไม่ถือว่าเป็นปัญหา เพราะที่ทำอยู่ตอนนี้แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้ใช้งบประมาณของกระทรวงเลย คือ ระยะเริ่มแรก ดีเอสไอ พยายามสนับสนุนในหลายๆ เรื่อง เช่น อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ แต่อนาคตถ้ามีงบประมาณก็ดีกว่านี้ ส่วนการทำงานนั้นเมื่อได้รับมอบหมายมาตนก็จะพยายามทำให้สำเร็จ และเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับประชาชน รัฐบาลใหม่ก็คงจะสนับสนุนเช่นกัน