"เชื่อว่า ถ้าตำรวจชั้นผู้น้อยมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสวัสดิการที่พอเพียง เรื่องที่จะไปข่มเหง รีดไถประชาชนลดน้อยลง จะไม่ให้มีระบบที่ลูกน้องส่งส่วยดูแลนาย ขอให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาทุกคนลงไปดูแลลูกน้องใต้บังคับบัญชา เจอตำรวจผู้ใหญ่จะพูดแต่เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องย้ำกันทุกครั้ง เพื่อให้นายช่วยกันดูแลสวัสดิการความเป็นอยู่ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลง ตำรวจให้ดีขึ้น" นี่คือคำกล่าวของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. ในช่วงที่เพิ่งขึ้นมารับตำแหน่งใหม่ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะจำคำสัญญาเหล่านี้ได้หรือไม่ เพราะจวบจนวันนี้ก็ล่วงเลยมาเกือบปีแล้ว ความเป็นอยู่ของตำรวจชั้นผู้น้อยก็ยังไม่ดีขึ้น
คงไม่ใช่คำต่อว่าเกินจริงเพราะแม้แต่เพราะนายตำรวจระดับผู้บัญชาการอย่าง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เองก็ยังต้องมานั่งดักรอพบ พล.ต.อ.วิเชียร ที่บริเวณทางขึ้นลิฟท์ไปสำนักงานผบ.ตร. เพื่อทวงถามเรื่องดำเนินการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการตำรวจที่ล่าช้า โดยมีตำรวจกว่า 50 นาย มายืนให้กำลังใจ แต่ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารับเอกสารจน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ต้องนั่งรออยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง จนกลายเป็นข่าวโด่งดังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ช่วงหนึ่งในการให้สัมภาษณ์ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ถึงกลับต้องระบายความในใจออกมาแทนลูกน้องว่า ข้าราชการตำรวจจำนวนมากไม่มีที่พักอาศัย โดยตำรวจบางคนต้องอาศัยอยู่ใต้บันไดหรือข้างห้องส้วม และบางคนทำงานที่กรุงเทพฯ แต่บ้านกับอยู่ที่ จ.อยุธยา ซึ่งพวกเขาถือว่าเดือดร้อนมาก แต่แทนที่ผู้ใหญ่จะช่วยกันเร่งดำเนินเรื่องให้สำเร็จเร็วๆ เพื่อที่ตำรวจชั้นผู้น้อยจะได้มีกำลังใจและมาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำอะไรกันอยู่และเรื่องก็ไม่มีความคืบหน้า
ในความเป็นจริงจำนวนตำรวจทั่วประเทศมีจำนวนกว่า 2 แสนนายในขณะที่บ้านพักของตำรวจทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 105,718 หน่วย คิดเป็นเพียงร้อยละ 50 ของจำนวนข้าราชการตำรวจเท่านั้น ถือว่ามีความขาดแคลนจำนวนมาก ทั้งนี้บ้านพักแฟลตตำรวจหลายแห่งมีอายุการใช้งาน มีสภาพชำรุดทรุดโทรม มีความจำเป็นต้องจัดสร้างเพิ่มเติมหรือจัดสร้างทดแทน
หลายคนอาจสงสัยว่าเรื่องที่พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ นำมากล่าวอ้างนั้นเกินจริงหรือไม่ ซึ่งจากการลงไปสอบถามตำรวจชั้นประทวน ในสังกัดกองบัญชาการสันติบาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลรักษาความปลอดภัยใน ตร. เองสภาพความเป็นอยู่ก็ไม่ต่างจากที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ยกตัวอย่างมากสักเท่าไร
กองร้อยโรงนอนสันติบาล ที่ตั้งอยู่ที่อาคาร5 ชั้น 3 สภาพทรุดโทรมหนัก ห้องแคบๆ ขนาด 3x4 เมตรประมาณ 10 ห้องถูกใช้เป็นที่ซุกหัวนอน มีเตียงเหล็กเก่า 2 ชั้นยัดเยียดภายในแต่ละห้องถึง 2 เตียง ตู้เหล็กสำหรับใส่เสื้อผ้า และห้องน้ำรวมที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาดเหมือนไม่มีใครดูแล ทางเดินระเบียงรกเต็มไปด้วยเสื้อผ้าที่นำมาตากจนแทบไม่มีที่เดินยิ่งกว่าชุมชนแออัดบางแห่ง โรงนอนรวมขนาดใหญ่ที่เคยอยู่ชั้นเดียวกันก็ถูกขอคืนพื้นที่ เพื่อไปปรับปรุงอาคาร ทำให้บางคนที่นอนห้องนั้น ต้องมาขออาศัยอยู่กับเพื่อนในห้องเล็ก
ตำรวจสันติบาลชั้นผู้น้อยนายหนึ่งที่ต้องอาศัยที่แห่งนี้หลับนอน เล่าว่า ตัวเขาเองเพิ่งมารับราชการได้ไม่นาน บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดทางภาคอิสาน รายได้รวมทุกอย่าง ประมาณ 9,500 บาท หากต้องออกไปเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่เอง อย่างต่ำก็ 2-3 พันบาทไหนจะค่าใช้จ่ายอีก ก็คงไม่พอ เพราะค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ก็สูง
"รู้สึกน้อยใจและเสียกำลังใจในเรื่องนี้ เพราะงานปกติที่ทำ ก็ต้องรับผิดชอบ ยิ่งช่วงที่มีการชุมนุมก็ถูกเรียกไปช่วยเป็นหน่วยปราบจลาจล ถือว่างานค่อนข้างหนัก แต่ผลตอบแทนน้อย แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องนี้ ดีที่ตอนนี้ยังไม่แต่งงานมีครอบครัว หากถึงตอนนั้นอาจต้องตัดสินใจขอย้ายกลับบ้านเกิด อย่างน้อยก็ยังได้อยู่บ้านไม่ต้องเสียค่าเช่า"
ส่วนจะทำเรื่องขอพักอาศัยในแฟลตตำรวจนั้น ตำรวจนายนี้ เปิดอกว่า เหมือนจะไม่มีหวัง เพราะหลักเกณฑ์การขอแฟลต ต้องไปลงชื่อจองไว้ แล้วเขาก็จะไล่ตามอาวุโส แต่คิดแล้วว่าคงไม่ได้ เพียงแต่ลงชื่อไว้ตามสิทธิ์ เพราะรุ่นพี่ในหน่วยก็บอกว่า เคยขอมานานถึง 7-8 ปี แล้วก็ยังไม่ได้เลย อีกกรณีที่จะได้แฟลตก็คือ มีความเดือดร้อนหรือจำเป็นจริงๆ ก็อาจมีการข้ามคิวให้ แต่เอาเข้าจริงส่วนนี้มักจะตกเป็นของเด็กนาย!
ตำรวจชั้นผู้น้อยอีกนายที่ขอปกปิดสังกัด แต่ก็อยู่ภายใน ตร. เช่นกันเปิดเผยว่า ต้องอาศัยนอนภายในสำนักงาน แต่ก็ใช่ว่าจะสุขสบายเพราะไม่มีที่นอน-ห้องน้ำ เวลานอนก็ต้องใช้ถุงนอน แอร์เปิดได้บางครั้งเพราะเกรงใจหน่วยงานที่ต้องเป็นผู้เสียค่าไฟ เวลาตื่นนอนก็ต้องเร็วกว่าปกติ เพราะแม่บ้านจะมาทำความสะอาดสำนักงานตั้งแต่เช้ามืด ส่วนการอาบน้ำก็ต้องนำสายอย่างมาต่อกับท่อในห้องน้ำเอง แต่ก็ดีกว่าต้องไปอยู่อพาร์ทเในท์ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ทั้งที่มีรายได้แค่ประมาณ 1 หมื่นบาทต่อเดือน และส่วนหนึ่งยังต้องส่งให้ครอบครัวที่อยู่ทางภาคเหนือ แม้จะเคยเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนที่เพิ่งจบอบรมรุ่นเดียวกันถึง 12 คนแต่ก็แออัดเกินไป จึงต้องออกมา อาศัยอยู่แบบนี้ไปก่อน
“หลังจบปริญญาตรี และมีการเปิดรับสมัครตำรวจและสอบติด ก็วาดฝันว่าจะมีอนาคตที่ดี มีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้สุขสบายไปตลอดชีวิต แต่เมื่อต้องมาทำงานเผชิญความเป็นจริงอย่างนี้ ก็รู้สึกท้อใจ เพราะเมื่อถึงเวลาทำงาน ผมก็ทำตามคำสั่งเต็มที่ แต่เรื่องนี้ผู้ใหญ่กลับไม่ดูแลสนใจ ได้ยินเรื่องที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ออกมาต่อสู้เรื่องแฟลตตำรวจให้ลูกน้องก็รู้สึกดี อยากให้นายทุกคนเป็นแบบนี้ ลูกน้องจะได้มีกำลังใจทำงาน แม้ว่าเรื่องการขอแฟลตจะดูมีความหวังเลือนราง เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็คงต้องขอย้ายกลับไปอยู่ภูมิลำเนา” ตำรวจชั้นผู้น้อยนายนี้ ระบายความใน
สุดท้าย ความหวังของตำรวจผู้น้อยเหล่านี้ คงต้องฝากไว้ที่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจว่า จะใส่ใจเรื่องนี้จริงจังแค่ไหน เพราะหากเป็นอย่างที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ออกมาแฉว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติที่คอยทำหน้าที่เสนองานให้กับพล.ต.อ.วิเชียร ที่ไม่มีความจริงใจในการทำงาน ไม่ยอมเสนอโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ ทำให้เรื่องนี้ ผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับทราบในตอนแรกนั้น ก็คงต้องมีการชำระสะสางกันใหม่ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนพูดสร้างความหวังให้ลูกน้องไปวันๆ
ต้องอย่าลืมว่าเพราะตำรวจชั้นผู้น้อยเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ใหญ่ บางครั้งต้องอดทนความยากลำบาก การเสี่ยงอันตราย องค์กรตำรวจจึงขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี
คงไม่ใช่คำต่อว่าเกินจริงเพราะแม้แต่เพราะนายตำรวจระดับผู้บัญชาการอย่าง พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. เองก็ยังต้องมานั่งดักรอพบ พล.ต.อ.วิเชียร ที่บริเวณทางขึ้นลิฟท์ไปสำนักงานผบ.ตร. เพื่อทวงถามเรื่องดำเนินการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการตำรวจที่ล่าช้า โดยมีตำรวจกว่า 50 นาย มายืนให้กำลังใจ แต่ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมารับเอกสารจน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ต้องนั่งรออยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง จนกลายเป็นข่าวโด่งดังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ช่วงหนึ่งในการให้สัมภาษณ์ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ถึงกลับต้องระบายความในใจออกมาแทนลูกน้องว่า ข้าราชการตำรวจจำนวนมากไม่มีที่พักอาศัย โดยตำรวจบางคนต้องอาศัยอยู่ใต้บันไดหรือข้างห้องส้วม และบางคนทำงานที่กรุงเทพฯ แต่บ้านกับอยู่ที่ จ.อยุธยา ซึ่งพวกเขาถือว่าเดือดร้อนมาก แต่แทนที่ผู้ใหญ่จะช่วยกันเร่งดำเนินเรื่องให้สำเร็จเร็วๆ เพื่อที่ตำรวจชั้นผู้น้อยจะได้มีกำลังใจและมาช่วยทำงานให้มีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังทำอะไรกันอยู่และเรื่องก็ไม่มีความคืบหน้า
ในความเป็นจริงจำนวนตำรวจทั่วประเทศมีจำนวนกว่า 2 แสนนายในขณะที่บ้านพักของตำรวจทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 105,718 หน่วย คิดเป็นเพียงร้อยละ 50 ของจำนวนข้าราชการตำรวจเท่านั้น ถือว่ามีความขาดแคลนจำนวนมาก ทั้งนี้บ้านพักแฟลตตำรวจหลายแห่งมีอายุการใช้งาน มีสภาพชำรุดทรุดโทรม มีความจำเป็นต้องจัดสร้างเพิ่มเติมหรือจัดสร้างทดแทน
หลายคนอาจสงสัยว่าเรื่องที่พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ นำมากล่าวอ้างนั้นเกินจริงหรือไม่ ซึ่งจากการลงไปสอบถามตำรวจชั้นประทวน ในสังกัดกองบัญชาการสันติบาลซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลรักษาความปลอดภัยใน ตร. เองสภาพความเป็นอยู่ก็ไม่ต่างจากที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ยกตัวอย่างมากสักเท่าไร
กองร้อยโรงนอนสันติบาล ที่ตั้งอยู่ที่อาคาร5 ชั้น 3 สภาพทรุดโทรมหนัก ห้องแคบๆ ขนาด 3x4 เมตรประมาณ 10 ห้องถูกใช้เป็นที่ซุกหัวนอน มีเตียงเหล็กเก่า 2 ชั้นยัดเยียดภายในแต่ละห้องถึง 2 เตียง ตู้เหล็กสำหรับใส่เสื้อผ้า และห้องน้ำรวมที่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาดเหมือนไม่มีใครดูแล ทางเดินระเบียงรกเต็มไปด้วยเสื้อผ้าที่นำมาตากจนแทบไม่มีที่เดินยิ่งกว่าชุมชนแออัดบางแห่ง โรงนอนรวมขนาดใหญ่ที่เคยอยู่ชั้นเดียวกันก็ถูกขอคืนพื้นที่ เพื่อไปปรับปรุงอาคาร ทำให้บางคนที่นอนห้องนั้น ต้องมาขออาศัยอยู่กับเพื่อนในห้องเล็ก
ตำรวจสันติบาลชั้นผู้น้อยนายหนึ่งที่ต้องอาศัยที่แห่งนี้หลับนอน เล่าว่า ตัวเขาเองเพิ่งมารับราชการได้ไม่นาน บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดทางภาคอิสาน รายได้รวมทุกอย่าง ประมาณ 9,500 บาท หากต้องออกไปเช่าอพาร์ทเม้นท์อยู่เอง อย่างต่ำก็ 2-3 พันบาทไหนจะค่าใช้จ่ายอีก ก็คงไม่พอ เพราะค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ก็สูง
"รู้สึกน้อยใจและเสียกำลังใจในเรื่องนี้ เพราะงานปกติที่ทำ ก็ต้องรับผิดชอบ ยิ่งช่วงที่มีการชุมนุมก็ถูกเรียกไปช่วยเป็นหน่วยปราบจลาจล ถือว่างานค่อนข้างหนัก แต่ผลตอบแทนน้อย แต่ผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องนี้ ดีที่ตอนนี้ยังไม่แต่งงานมีครอบครัว หากถึงตอนนั้นอาจต้องตัดสินใจขอย้ายกลับบ้านเกิด อย่างน้อยก็ยังได้อยู่บ้านไม่ต้องเสียค่าเช่า"
ส่วนจะทำเรื่องขอพักอาศัยในแฟลตตำรวจนั้น ตำรวจนายนี้ เปิดอกว่า เหมือนจะไม่มีหวัง เพราะหลักเกณฑ์การขอแฟลต ต้องไปลงชื่อจองไว้ แล้วเขาก็จะไล่ตามอาวุโส แต่คิดแล้วว่าคงไม่ได้ เพียงแต่ลงชื่อไว้ตามสิทธิ์ เพราะรุ่นพี่ในหน่วยก็บอกว่า เคยขอมานานถึง 7-8 ปี แล้วก็ยังไม่ได้เลย อีกกรณีที่จะได้แฟลตก็คือ มีความเดือดร้อนหรือจำเป็นจริงๆ ก็อาจมีการข้ามคิวให้ แต่เอาเข้าจริงส่วนนี้มักจะตกเป็นของเด็กนาย!
ตำรวจชั้นผู้น้อยอีกนายที่ขอปกปิดสังกัด แต่ก็อยู่ภายใน ตร. เช่นกันเปิดเผยว่า ต้องอาศัยนอนภายในสำนักงาน แต่ก็ใช่ว่าจะสุขสบายเพราะไม่มีที่นอน-ห้องน้ำ เวลานอนก็ต้องใช้ถุงนอน แอร์เปิดได้บางครั้งเพราะเกรงใจหน่วยงานที่ต้องเป็นผู้เสียค่าไฟ เวลาตื่นนอนก็ต้องเร็วกว่าปกติ เพราะแม่บ้านจะมาทำความสะอาดสำนักงานตั้งแต่เช้ามืด ส่วนการอาบน้ำก็ต้องนำสายอย่างมาต่อกับท่อในห้องน้ำเอง แต่ก็ดีกว่าต้องไปอยู่อพาร์ทเในท์ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง ทั้งที่มีรายได้แค่ประมาณ 1 หมื่นบาทต่อเดือน และส่วนหนึ่งยังต้องส่งให้ครอบครัวที่อยู่ทางภาคเหนือ แม้จะเคยเช่าบ้านอยู่กับเพื่อนที่เพิ่งจบอบรมรุ่นเดียวกันถึง 12 คนแต่ก็แออัดเกินไป จึงต้องออกมา อาศัยอยู่แบบนี้ไปก่อน
“หลังจบปริญญาตรี และมีการเปิดรับสมัครตำรวจและสอบติด ก็วาดฝันว่าจะมีอนาคตที่ดี มีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้สุขสบายไปตลอดชีวิต แต่เมื่อต้องมาทำงานเผชิญความเป็นจริงอย่างนี้ ก็รู้สึกท้อใจ เพราะเมื่อถึงเวลาทำงาน ผมก็ทำตามคำสั่งเต็มที่ แต่เรื่องนี้ผู้ใหญ่กลับไม่ดูแลสนใจ ได้ยินเรื่องที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ออกมาต่อสู้เรื่องแฟลตตำรวจให้ลูกน้องก็รู้สึกดี อยากให้นายทุกคนเป็นแบบนี้ ลูกน้องจะได้มีกำลังใจทำงาน แม้ว่าเรื่องการขอแฟลตจะดูมีความหวังเลือนราง เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็คงต้องขอย้ายกลับไปอยู่ภูมิลำเนา” ตำรวจชั้นผู้น้อยนายนี้ ระบายความใน
สุดท้าย ความหวังของตำรวจผู้น้อยเหล่านี้ คงต้องฝากไว้ที่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจตัดสินใจว่า จะใส่ใจเรื่องนี้จริงจังแค่ไหน เพราะหากเป็นอย่างที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ออกมาแฉว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติที่คอยทำหน้าที่เสนองานให้กับพล.ต.อ.วิเชียร ที่ไม่มีความจริงใจในการทำงาน ไม่ยอมเสนอโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยข้าราชการตำรวจ ทำให้เรื่องนี้ ผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับทราบในตอนแรกนั้น ก็คงต้องมีการชำระสะสางกันใหม่ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนพูดสร้างความหวังให้ลูกน้องไปวันๆ
ต้องอย่าลืมว่าเพราะตำรวจชั้นผู้น้อยเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ใหญ่ บางครั้งต้องอดทนความยากลำบาก การเสี่ยงอันตราย องค์กรตำรวจจึงขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี