กรมบังคับคดี ขอตำรวจ 500 นาย คุ้มกันไปรื้อชุมชนพระราม 6 ที่จะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยมีชาวบ้านราว 200 คน รวมตัวกันคัดค้าน จากนั้นเกิดการกระทบกระทั่งกันเล็กน้อย จนเจ็บกันไปทั้ง 2 ฝ่าย
วันนี้ (30 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า นายอินทร์ ดุลพินิจธรรมา หัวหน้ากองยึดทรัพย์ฝ่าย 1 กรมบังคับคดี พร้อมเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ได้เดินทางเข้ารื้อถอนบ้านเรือนประชาชนภายในชุมชนพระราม 6 และชุมชนเสาหิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงและเขตบางซื่อ กทม.เนื่องจากศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รื้อถอนตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 เป็นต้นมา โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.2 กว่า 500 นาย นำโดย พล.ต.ต.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.น.2 พ.ต.อ.พีระพงษ์ วงษ์สมาน รองผบก.น.2 คอยดูแลรักษาความปลอดภัย เนื่องจากมีชาวบ้านจำนวนกว่า 200 คน ที่ต่อต้านการรื้อถอนดังกล่าว มายืนรออยู่ในที่เกิดเหตุ
เมื่อเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้ามาภายในชุมชน ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ จนเกิดการปะทะกันเป็นเหตุให้ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย กระทั่งตัวแทนจากกรมบังคับคดีได้เข้าเจรจากับชาวบ้าน แต่ก็ยังไม่เป็นผล กลุ่มชาวบ้านยังไม่ยอมให้มีการรื้อถอน และพยายามขัดขวาง โดยมีชาวบ้านส่วนหนึ่งถ่ายภาพนิ่ง และภาพวิดีโอเอาไว้เป็นหลักฐาน
นายอินทร์ ดุลพินิจธรรมา กล่าวว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้อาศัยอยู่ภายในชุมชนพระราม 6 เมื่อวันที่ 20 เม.ย.53 ให้ย้ายออกจากชุมชนดังกล่าว เนื่องจากกำลังมีการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ปัจจุบันดำเนินการไปกว่า 50% แล้ว ซึ่งต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 เป็นต้นมา ทางกรมบังคับคดีจึงได้มีการแจ้งกับทางชาวบ้าน พร้อมกับนำหมายศาลมาติดประกาศตามขั้นตอน อีกทั้งยังมีการจ่ายเงินให้กับชาวบ้านจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นทุนในการหาที่อยู่ใหม่ แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังไม่พอใจ ซึ่งนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งจนถึงวันนี้ก็ล่วงเลยมาเป็นปีแล้ว ทางการรถไฟฯ และบริษัท เกรงว่า จะดำเนินการไม่ทัน จึงได้มีการแจ้งขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการรื้อถอนชุมชนดังกล่าว
จากการสอบถามชาวบ้านในชุมชน ให้การว่า กรมบังคับคดีได้ไล่รื้อบ้านในชุมชน โดยอ้างกฎหมายที่ไม่มีการไกล่เกลี่ย ปรองดอง ทั้งๆ ที่มีการเจรจาไปแล้ว และชาวบ้านในชุมชนก็ยินดีในการย้ายออกไป หากมีพื้นที่รองรับให้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางการรถไฟฯได้อ้างว่ามีที่ให้ชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นการชั่วคราว แต่ต่อมาก็อ้างว่า ยังไม่สามารถหาได้ และยังผลักภาระไปให้กับหน่วยงานอื่นอีก จริงๆ แล้วชาวบ้านในชุมชนยินยอมในการขยับออกจากพื้นที่ เพื่อให้การรถไฟฯได้พัฒนาโครงการ แต่ขอเรื่องความชัดเจนในเรื่องการแบ่งปันที่ดินที่เหลือจากการพัฒนาโครงการ ซึ่งการรถไฟฯได้แบ่งพื้นที่ให้เพียง 8,000 ตารางเมตร แต่เป็นการให้เพียงปากเปล่ายังไม่ได้ทำสัญญา ก็เกิดปัญหาการไล่รื้อชุมชนขึ้น ชาวบ้าน เด็ก คนพิการ สตรีมีครรภ์ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้งไร้ที่อยู่ โดยที่ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้ยังมาถูกเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีพาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขับไล่ และทำร้ายอีก
ด้าน พ.ต.อ.พีระพงษ์ กล่าวว่า ในวันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการประสานงานจากกรมบังคับคดี ให้นำกำลังเข้ามาดูแลความปลอดภัยเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการรื้อถอนชุมชน หรือขับไล่ประชาชน ส่วนเรื่องการทำร้ายก็เป็นเพียงการป้องกันตัว และระงับเหตุ ไม่มีการใช้ความรุนแรงกับประชาชน เจ้าหน้าที่พยายามปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละมุนละม่อม ช่วยเจรจา และอธิบายขั้นตอนต่างๆ ให้ชาวบ้านเข้าใจ ตนรับรู้ถึงความรู้สึกของชาวบ้านที่หวงแหนที่อยู่อาศัย แต่ในเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอน ชาวบ้านก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขณะนี้ทราบว่า เหลือเพียง 40 หลังคาเรือน ที่ยังไม่ยอมให้รื้อถอน ซึ่งหากชาวบ้านคนใดไม่ทำตามก็คงจะต้องจับกุม และดำเนินคดีไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า น่าจะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ อย่างแน่นอน
วันนี้ (30 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า นายอินทร์ ดุลพินิจธรรมา หัวหน้ากองยึดทรัพย์ฝ่าย 1 กรมบังคับคดี พร้อมเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี ได้เดินทางเข้ารื้อถอนบ้านเรือนประชาชนภายในชุมชนพระราม 6 และชุมชนเสาหิน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงและเขตบางซื่อ กทม.เนื่องจากศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รื้อถอนตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 เป็นต้นมา โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.น.2 กว่า 500 นาย นำโดย พล.ต.ต.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบก.น.2 พ.ต.อ.พีระพงษ์ วงษ์สมาน รองผบก.น.2 คอยดูแลรักษาความปลอดภัย เนื่องจากมีชาวบ้านจำนวนกว่า 200 คน ที่ต่อต้านการรื้อถอนดังกล่าว มายืนรออยู่ในที่เกิดเหตุ
เมื่อเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้ามาภายในชุมชน ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ จนเกิดการปะทะกันเป็นเหตุให้ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย กระทั่งตัวแทนจากกรมบังคับคดีได้เข้าเจรจากับชาวบ้าน แต่ก็ยังไม่เป็นผล กลุ่มชาวบ้านยังไม่ยอมให้มีการรื้อถอน และพยายามขัดขวาง โดยมีชาวบ้านส่วนหนึ่งถ่ายภาพนิ่ง และภาพวิดีโอเอาไว้เป็นหลักฐาน
นายอินทร์ ดุลพินิจธรรมา กล่าวว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้อาศัยอยู่ภายในชุมชนพระราม 6 เมื่อวันที่ 20 เม.ย.53 ให้ย้ายออกจากชุมชนดังกล่าว เนื่องจากกำลังมีการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ปัจจุบันดำเนินการไปกว่า 50% แล้ว ซึ่งต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 เป็นต้นมา ทางกรมบังคับคดีจึงได้มีการแจ้งกับทางชาวบ้าน พร้อมกับนำหมายศาลมาติดประกาศตามขั้นตอน อีกทั้งยังมีการจ่ายเงินให้กับชาวบ้านจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นทุนในการหาที่อยู่ใหม่ แต่ชาวบ้านบางส่วนก็ยังไม่พอใจ ซึ่งนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งจนถึงวันนี้ก็ล่วงเลยมาเป็นปีแล้ว ทางการรถไฟฯ และบริษัท เกรงว่า จะดำเนินการไม่ทัน จึงได้มีการแจ้งขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการรื้อถอนชุมชนดังกล่าว
จากการสอบถามชาวบ้านในชุมชน ให้การว่า กรมบังคับคดีได้ไล่รื้อบ้านในชุมชน โดยอ้างกฎหมายที่ไม่มีการไกล่เกลี่ย ปรองดอง ทั้งๆ ที่มีการเจรจาไปแล้ว และชาวบ้านในชุมชนก็ยินดีในการย้ายออกไป หากมีพื้นที่รองรับให้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางการรถไฟฯได้อ้างว่ามีที่ให้ชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นการชั่วคราว แต่ต่อมาก็อ้างว่า ยังไม่สามารถหาได้ และยังผลักภาระไปให้กับหน่วยงานอื่นอีก จริงๆ แล้วชาวบ้านในชุมชนยินยอมในการขยับออกจากพื้นที่ เพื่อให้การรถไฟฯได้พัฒนาโครงการ แต่ขอเรื่องความชัดเจนในเรื่องการแบ่งปันที่ดินที่เหลือจากการพัฒนาโครงการ ซึ่งการรถไฟฯได้แบ่งพื้นที่ให้เพียง 8,000 ตารางเมตร แต่เป็นการให้เพียงปากเปล่ายังไม่ได้ทำสัญญา ก็เกิดปัญหาการไล่รื้อชุมชนขึ้น ชาวบ้าน เด็ก คนพิการ สตรีมีครรภ์ ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้งไร้ที่อยู่ โดยที่ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร วันนี้ยังมาถูกเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีพาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขับไล่ และทำร้ายอีก
ด้าน พ.ต.อ.พีระพงษ์ กล่าวว่า ในวันนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการประสานงานจากกรมบังคับคดี ให้นำกำลังเข้ามาดูแลความปลอดภัยเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการรื้อถอนชุมชน หรือขับไล่ประชาชน ส่วนเรื่องการทำร้ายก็เป็นเพียงการป้องกันตัว และระงับเหตุ ไม่มีการใช้ความรุนแรงกับประชาชน เจ้าหน้าที่พยายามปฏิบัติหน้าที่ด้วยความละมุนละม่อม ช่วยเจรจา และอธิบายขั้นตอนต่างๆ ให้ชาวบ้านเข้าใจ ตนรับรู้ถึงความรู้สึกของชาวบ้านที่หวงแหนที่อยู่อาศัย แต่ในเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้รื้อถอน ชาวบ้านก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขณะนี้ทราบว่า เหลือเพียง 40 หลังคาเรือน ที่ยังไม่ยอมให้รื้อถอน ซึ่งหากชาวบ้านคนใดไม่ทำตามก็คงจะต้องจับกุม และดำเนินคดีไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า น่าจะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ อย่างแน่นอน