รวบหนุ่มใหญ่แอบอ้างเป็นคนสนิทตำรวจระดับสูงใน สตช.สามารถช่วยให้ตำรวจชั้นประทวน และสัญญาบัตรเลื่อน หรือโยกย้ายตำแหน่งได้ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อโอนเงินค่าซื้อขายตำแหน่งหลายราย ขณะที่เจ้าตัวยอมรับได้เข้าเว็บไซต์ สตช.ดูรายชื่อ-หมายเลขโทรศัพท์ของหน้าห้องตำรวจระดับสูง แล้วเข้าบอร์ดสนทนา เพื่อทำความรู้จักกับตำรวจที่ต้องการโยกย้าย แล้วแลกเบอร์โทร.ไว้หลอกผู้เสียหายให้โอนเงินว่าช่วยวิ่งเต้นได้
วันนี้ (3 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ กองปราบปราม พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.อดินันท์ ชัยนันท์ รอง ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.จารุวัฒน์ พาหุมันโต สว.กก.1 บก.ป.แถลงการจับกุม นายกิตติ กองมงคล อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/210 แขวงและเขตคันนายาว กทม.ตามหมายจับศาลจังหวัดเดชอุดม ข้อหาฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น พร้อมของกลางสมุดเงินฝากธนาคารต่างๆ จำนวน 8 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 7 ใบ กุญแจรถยนต์ 5 ดอก ซิมการ์ดโทรศัพท์ 18 อัน และกล้องยี่ห้อพานาโซนิค จับกุมได้ที่ห้องเลขที่ 508 ซาร่าเรสเด้นท์ ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มีตำรวจทั้งระดับสัญญาบัตรและชั้นประทวน ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ร้องเรียนกับพนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ว่า มีผู้แอบอ้างเป็นคนสนิทของนายตำรวจระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจประจำปี 2553-2554 สามารถช่วยเหลือให้เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายในตำแหน่งที่ต้องการได้ แต่จะต้องจ่ายเงินเป็นค่าดำเนินการในการซื้อขายตำแหน่ง โดยระดับสารวัตร เป็นเงิน 50,000 บาท ระดับ รองผู้กำกับการ 150,000 บาท และระดับผู้กำกับการ 200,000 บาท
พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า คนร้ายจะให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าซื้อขายตำแหน่งผ่านบัญชีธนาคารของ นางชนิตา กองมงคล ภรรยาของ นายกิตติ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ตำรวจ บก.ป.เคยจับกุมในความผิดลักษณะเดียวกันนี้เมื่อปี 2552 มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยครั้งนั้นมีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัด บช.ตชด.ที่อยากย้ายข้ามสังกัดไปยัง บช.ภ.ต่างๆ ต้องสูญเงินรายละ 40,000 บาท และคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ส่วนนางชนิตา จากการตรวจสอบพบว่าถูกนำชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารไปใช้โดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดใดๆ ร่วมกับนายกิตติ
จากการสอบสวน นายกิตติ รับสารภาพว่า ตนเข้าไปในเว็บไซต์กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดูรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของหน้าห้องนายตำรวจระดับสูง จากนั้นก็จะเข้าไปในบอร์ดสนทนาเพื่อตรวจสอบว่ามีนายตำรวจรายใดเขียนข้อความในทำนองที่อยากจะขอโยกย้ายบ้าง แล้วก็เข้าไปสนทนาทำความรู้จัก พร้อมกับแลกหมายเลขโทรศัพท์เอาไว้ เมื่อทราบแน่ชัดว่า ทางผู้เสียหายอยากได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายก็จะแอบอ้างว่ารู้จักกับนายตำรวจดะดับสูงและจะช่วยวิ่งเต้นให้ โดยจะให้เหยื่อโอนเงินมาก่อน
นายกิตติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจครั้งนี้มีผู้หลงเชื่อตน 3 ราย ที่โอนเงินมาให้แล้ว แต่คำสั่งออกช้าจึงถูกผู้เสียหายทวงถามอยู่บ่อยๆ ซึ่งเมื่อเวลาเนิ่นนานไป ตนเกรงว่า ผู้เสียหายอาจจะรู้ตัวว่าถูกหลอก จึงหลบหนีไป ก่อนจะมาถูกติดตามจับกุมดังกล่าว โดยตำรวจที่จับกุมก็เป็นชุดเดียวกับที่ตนเคยถูกจับกุมดำเนินคดี
ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี รับไว้ดำเนินคดีต่อไป
วันนี้ (3 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ กองปราบปราม พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.อดินันท์ ชัยนันท์ รอง ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.จารุวัฒน์ พาหุมันโต สว.กก.1 บก.ป.แถลงการจับกุม นายกิตติ กองมงคล อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/210 แขวงและเขตคันนายาว กทม.ตามหมายจับศาลจังหวัดเดชอุดม ข้อหาฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น พร้อมของกลางสมุดเงินฝากธนาคารต่างๆ จำนวน 8 เล่ม บัตรเอทีเอ็ม 7 ใบ กุญแจรถยนต์ 5 ดอก ซิมการ์ดโทรศัพท์ 18 อัน และกล้องยี่ห้อพานาโซนิค จับกุมได้ที่ห้องเลขที่ 508 ซาร่าเรสเด้นท์ ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ มีตำรวจทั้งระดับสัญญาบัตรและชั้นประทวน ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ร้องเรียนกับพนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ว่า มีผู้แอบอ้างเป็นคนสนิทของนายตำรวจระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจประจำปี 2553-2554 สามารถช่วยเหลือให้เลื่อนตำแหน่ง หรือโยกย้ายในตำแหน่งที่ต้องการได้ แต่จะต้องจ่ายเงินเป็นค่าดำเนินการในการซื้อขายตำแหน่ง โดยระดับสารวัตร เป็นเงิน 50,000 บาท ระดับ รองผู้กำกับการ 150,000 บาท และระดับผู้กำกับการ 200,000 บาท
พล.ต.ต.สุพิศาล กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบพบว่า คนร้ายจะให้ผู้เสียหายโอนเงินค่าซื้อขายตำแหน่งผ่านบัญชีธนาคารของ นางชนิตา กองมงคล ภรรยาของ นายกิตติ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ตำรวจ บก.ป.เคยจับกุมในความผิดลักษณะเดียวกันนี้เมื่อปี 2552 มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยครั้งนั้นมีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสังกัด บช.ตชด.ที่อยากย้ายข้ามสังกัดไปยัง บช.ภ.ต่างๆ ต้องสูญเงินรายละ 40,000 บาท และคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ส่วนนางชนิตา จากการตรวจสอบพบว่าถูกนำชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารไปใช้โดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดใดๆ ร่วมกับนายกิตติ
จากการสอบสวน นายกิตติ รับสารภาพว่า ตนเข้าไปในเว็บไซต์กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดูรายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของหน้าห้องนายตำรวจระดับสูง จากนั้นก็จะเข้าไปในบอร์ดสนทนาเพื่อตรวจสอบว่ามีนายตำรวจรายใดเขียนข้อความในทำนองที่อยากจะขอโยกย้ายบ้าง แล้วก็เข้าไปสนทนาทำความรู้จัก พร้อมกับแลกหมายเลขโทรศัพท์เอาไว้ เมื่อทราบแน่ชัดว่า ทางผู้เสียหายอยากได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายก็จะแอบอ้างว่ารู้จักกับนายตำรวจดะดับสูงและจะช่วยวิ่งเต้นให้ โดยจะให้เหยื่อโอนเงินมาก่อน
นายกิตติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจครั้งนี้มีผู้หลงเชื่อตน 3 ราย ที่โอนเงินมาให้แล้ว แต่คำสั่งออกช้าจึงถูกผู้เสียหายทวงถามอยู่บ่อยๆ ซึ่งเมื่อเวลาเนิ่นนานไป ตนเกรงว่า ผู้เสียหายอาจจะรู้ตัวว่าถูกหลอก จึงหลบหนีไป ก่อนจะมาถูกติดตามจับกุมดังกล่าว โดยตำรวจที่จับกุมก็เป็นชุดเดียวกับที่ตนเคยถูกจับกุมดำเนินคดี
ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี รับไว้ดำเนินคดีต่อไป