ทันทีที่ “นายมานิตย์ สุขอนันต์” รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ออกมาแถลงชี้แจง โดยรับรองคำพูดผู้ก่อการร้าย (จอมปั้นน้ำเป็นตัว) “จตุพร พรหมพันธุ์” กรณีให้สัมภาษณ์อ้างมีรองอธิบดีผู้พิพากษาระบุว่าสามารถเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมาได้ ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ตนเองได้ชี้แจงต่อทนายความของนายจตุพรจริง!
ไม่เพียงแค่นั้น “มานิตย์ สุขอนันต์” ยังได้อธิบายในฐานะนักกฎหมายว่า นายจตุพรสามารถเข้าร่วมชุมนุมได้ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้
จากเหตุที่เกิดขึ้น ณ ศาลอาญา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.หลัง “จตุพร พรหมพันธุ์” ชุมนุมยึดสี่แยกราชประสงค์ในวันที่ 9 ม.ค.ถือเป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ค้างคาใจ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า สิ่งที่ “มานิตย์ สุขอนันต์” ออกมาพูด ทำให้ศาลได้ประโยชน์ หรือทำให้ศาลเสียประโยชน์ โดยที่ยังไม่นับรวมคำวิพากษ์วิจารณ์กรณีศาลอนุญาตให้ประกันตัว “จตุพร” และยกคำร้องขอถอนประกันที่ดีเอสไอได้ยื่นต่อศาลในหลายครั้งหลายครา โดยอ้างเอกสิทธิ์ความเป็น ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ ปล่อยตัวชั่วคราว
ย้อนกลับไปดูเกี่ยวกับสิทธิในการต่อสู้คดีของ “จตุพร พรหมพันธุ์” ที่ศาลให้สิทธิเขาต่อสู้คดี ที่ถูก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ฟ้องร้องเป็นจำเลยต่อศาลถึง 4 สำนวน ก็ถือว่า เป็นการให้สิทธิผู้ทรงเกียรติ “จตุพร” มากโขจริงๆ
เริ่มจากสำนวนแรก คดีหมายเลขดำที่ อ.1962/2552 “จตุพร” หมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 10 พ.ค.52 กรณีขึ้นเวทีปราศรัย นปช.ที่บริเวณวัดไผ่เขียว ย่านดอนเมือง กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฆาตกรมือเปื้อนเลือด สั่งทหารฆ่าประชาชน
คดีนี้ “จตุพร” ต่อสู้ด้วยการกล่าวหา “นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน” องค์คณะผู้พิพากษาว่าไม่ให้ความเป็นธรรม และยื่นคำร้องคัดค้านการทำหน้าที่ของ “นายสมศักดิ์” เริ่มจากขอความเป็นธรรม ต่อประธานศาลฎีกา ยื่นฟ้องเป็นคู่กรณีพิพาทต่อศาลอาญา และยื่นคัดค้านต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา สุดท้ายผลการกระทำของ “จตุพร” ทำให้ “นายสมศักดิ์” ขอถอนตัวจากการเป็นผู้พิพากษาองค์คณะ และศาลอาญาได้เปลี่ยนองค์คณะใหม่ พร้อมให้โอกาส “จตุพร” ยื่นบัญชีพยานใหม่
ถัดมาคดีหมายเลขดำที่ อ.404/2552 ที่นายอภิสิทธิ์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจตุพร ในความผิดฐานหมิ่นประมาท กรณีเมื่อวันที่ 13 ม.ค.52 นายจตุพรแถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ กระทำการมิบังควรตีตนเสมอพระเจ้าแผ่นดิน โดยนั่งเก้าอี้เทียบเสมอพระเจ้าแผ่นดินในการถวายรายงานราชการ โดยผลการคัดค้านของ “จตุพร” ทำให้การนัดพิพากษา เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา ต้องยกเลิกไป
โดยศาลอ้างเหตุ จำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้าน นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน เจ้าของสำนวนเดิม พร้อมกับได้มีโอนสำนวนคดีให้องค์คณะใหม่รับผิดชอบสำนวนแทน รวมทั้งได้ให้สิทธิในการต่อสู้คดีแก่ นายจตุพร ด้วยการเปิดโอกาสให้สืบพยานเพิ่มเติมอีก 6-7 ปาก ใช้เวลา 3 นัด ศาลเลื่อนนัดพิพากษาออกไป เพื่อเริ่มกระบวนการสืบพยานจำเลยเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยศาลนัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจความพร้อมการเตรียมพยานและกำหนดวันสืบพยาน ในวันที่ 25 ม.ค. 54 เวลา 10.00 น.
คดีนี้ ทนายความของนายจตุพร จะนำนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รวมทั้งนักวิชาการเสื้อแดง และข้าราชการสำนักพระราชวัง ขึ้นเป็นพยานในศาลเพื่อให้การช่วยเหลือ “จตุพร พรหมพันธุ์”
ดังนั้น จากเหตุที่ศาลโดย “นายมานิตย์ สุขอนันต์” รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการชุมนุม ทั้งที่เงื่อนไขศาลระบุชัดว่า “ห้ามจำเลยที่ 2 (จตุพร) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการชุมนุม หรือกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมเกินกว่า 5 คน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล” และ “หรือทำการเผยแพร่ข่าวสารต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือต่อสาธารณะในเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการพูดหรืออภิปรายในรัฐสภาในฐานะเป็น ส.ส.”
วันนี้ สิทธิการชุมนุมของ “จตุพร” ได้ทำให้ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์เขาได้รับความ เดือดร้อนและเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยด่วน รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อการยื่นหลักฐานถอนประกันตัว แม้ “ธาริต เพ็งดิษฐ์” จะส่งสัญญาณว่าเตรียมยื่นถอนประกันตัวนายจตุพร ในวันนี้ (11 ม.ค.) ก็ตามที
ขณะที่สิทธิการต่อสู้คดีของ “จตุพร” ทำให้การพิพากษาโทษต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด เปิดโอกาสให้สืบพยานใหม่ ทั้งๆ ที่กระบวนการสืบพยานได้เสร็จสิ้นกระบวนความแล้ว เหมือนกับเป็นการตอกย้ำว่า การต่อสู้คดีของ “จตุพร กับ อภิสิทธิ์” ในช่วงที่ผ่านมา จตุพร เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก “นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน” เจ้าของสำนวนเดิม
ดังนั้น ท้ายสุด-สุดท้าย การให้สิทธิ “จตุพร พรหมพันธุ์” ถือเป็นการสมควรหรือไม่? และสิทธิทั้ง 2 กรณีที่ “จตุพร” ได้รับจะส่งผลทำให้สถาบันศาลสถิตยุติธรรมเสื่อมลงหรือไม่? นั่นถือเป็นโจทก์ข้อใหญ่ที่บุคลากรในสถาบันตุลาการต้องพึงใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยให้รอบคอบ และตีความในเล่ห์กลของผู้ก่อการร้าย “จตุพร” ให้แตกฉาน!!! ก่อนที่เหล่าท่านๆ จะตกเป็นเหยื่อของ “จตุพร” โดยไม่เจตนา!
ไม่เพียงแค่นั้น “มานิตย์ สุขอนันต์” ยังได้อธิบายในฐานะนักกฎหมายว่า นายจตุพรสามารถเข้าร่วมชุมนุมได้ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้
จากเหตุที่เกิดขึ้น ณ ศาลอาญา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.หลัง “จตุพร พรหมพันธุ์” ชุมนุมยึดสี่แยกราชประสงค์ในวันที่ 9 ม.ค.ถือเป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ค้างคาใจ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า สิ่งที่ “มานิตย์ สุขอนันต์” ออกมาพูด ทำให้ศาลได้ประโยชน์ หรือทำให้ศาลเสียประโยชน์ โดยที่ยังไม่นับรวมคำวิพากษ์วิจารณ์กรณีศาลอนุญาตให้ประกันตัว “จตุพร” และยกคำร้องขอถอนประกันที่ดีเอสไอได้ยื่นต่อศาลในหลายครั้งหลายครา โดยอ้างเอกสิทธิ์ความเป็น ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ ปล่อยตัวชั่วคราว
ย้อนกลับไปดูเกี่ยวกับสิทธิในการต่อสู้คดีของ “จตุพร พรหมพันธุ์” ที่ศาลให้สิทธิเขาต่อสู้คดี ที่ถูก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ฟ้องร้องเป็นจำเลยต่อศาลถึง 4 สำนวน ก็ถือว่า เป็นการให้สิทธิผู้ทรงเกียรติ “จตุพร” มากโขจริงๆ
เริ่มจากสำนวนแรก คดีหมายเลขดำที่ อ.1962/2552 “จตุพร” หมิ่นประมาท เมื่อวันที่ 10 พ.ค.52 กรณีขึ้นเวทีปราศรัย นปช.ที่บริเวณวัดไผ่เขียว ย่านดอนเมือง กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฆาตกรมือเปื้อนเลือด สั่งทหารฆ่าประชาชน
คดีนี้ “จตุพร” ต่อสู้ด้วยการกล่าวหา “นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน” องค์คณะผู้พิพากษาว่าไม่ให้ความเป็นธรรม และยื่นคำร้องคัดค้านการทำหน้าที่ของ “นายสมศักดิ์” เริ่มจากขอความเป็นธรรม ต่อประธานศาลฎีกา ยื่นฟ้องเป็นคู่กรณีพิพาทต่อศาลอาญา และยื่นคัดค้านต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา สุดท้ายผลการกระทำของ “จตุพร” ทำให้ “นายสมศักดิ์” ขอถอนตัวจากการเป็นผู้พิพากษาองค์คณะ และศาลอาญาได้เปลี่ยนองค์คณะใหม่ พร้อมให้โอกาส “จตุพร” ยื่นบัญชีพยานใหม่
ถัดมาคดีหมายเลขดำที่ อ.404/2552 ที่นายอภิสิทธิ์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจตุพร ในความผิดฐานหมิ่นประมาท กรณีเมื่อวันที่ 13 ม.ค.52 นายจตุพรแถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ กระทำการมิบังควรตีตนเสมอพระเจ้าแผ่นดิน โดยนั่งเก้าอี้เทียบเสมอพระเจ้าแผ่นดินในการถวายรายงานราชการ โดยผลการคัดค้านของ “จตุพร” ทำให้การนัดพิพากษา เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา ต้องยกเลิกไป
โดยศาลอ้างเหตุ จำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้าน นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน เจ้าของสำนวนเดิม พร้อมกับได้มีโอนสำนวนคดีให้องค์คณะใหม่รับผิดชอบสำนวนแทน รวมทั้งได้ให้สิทธิในการต่อสู้คดีแก่ นายจตุพร ด้วยการเปิดโอกาสให้สืบพยานเพิ่มเติมอีก 6-7 ปาก ใช้เวลา 3 นัด ศาลเลื่อนนัดพิพากษาออกไป เพื่อเริ่มกระบวนการสืบพยานจำเลยเพิ่มเติมอีกครั้ง โดยศาลนัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจความพร้อมการเตรียมพยานและกำหนดวันสืบพยาน ในวันที่ 25 ม.ค. 54 เวลา 10.00 น.
คดีนี้ ทนายความของนายจตุพร จะนำนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รวมทั้งนักวิชาการเสื้อแดง และข้าราชการสำนักพระราชวัง ขึ้นเป็นพยานในศาลเพื่อให้การช่วยเหลือ “จตุพร พรหมพันธุ์”
ดังนั้น จากเหตุที่ศาลโดย “นายมานิตย์ สุขอนันต์” รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการชุมนุม ทั้งที่เงื่อนไขศาลระบุชัดว่า “ห้ามจำเลยที่ 2 (จตุพร) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการชุมนุม หรือกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมเกินกว่า 5 คน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงาน หรือการดำเนินคดีในศาล” และ “หรือทำการเผยแพร่ข่าวสารต่อบุคคล กลุ่มบุคคล หรือต่อสาธารณะในเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการพูดหรืออภิปรายในรัฐสภาในฐานะเป็น ส.ส.”
วันนี้ สิทธิการชุมนุมของ “จตุพร” ได้ทำให้ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์เขาได้รับความ เดือดร้อนและเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยด่วน รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อการยื่นหลักฐานถอนประกันตัว แม้ “ธาริต เพ็งดิษฐ์” จะส่งสัญญาณว่าเตรียมยื่นถอนประกันตัวนายจตุพร ในวันนี้ (11 ม.ค.) ก็ตามที
ขณะที่สิทธิการต่อสู้คดีของ “จตุพร” ทำให้การพิพากษาโทษต้องเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด เปิดโอกาสให้สืบพยานใหม่ ทั้งๆ ที่กระบวนการสืบพยานได้เสร็จสิ้นกระบวนความแล้ว เหมือนกับเป็นการตอกย้ำว่า การต่อสู้คดีของ “จตุพร กับ อภิสิทธิ์” ในช่วงที่ผ่านมา จตุพร เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก “นายสมศักดิ์ วงศ์ยืน” เจ้าของสำนวนเดิม
ดังนั้น ท้ายสุด-สุดท้าย การให้สิทธิ “จตุพร พรหมพันธุ์” ถือเป็นการสมควรหรือไม่? และสิทธิทั้ง 2 กรณีที่ “จตุพร” ได้รับจะส่งผลทำให้สถาบันศาลสถิตยุติธรรมเสื่อมลงหรือไม่? นั่นถือเป็นโจทก์ข้อใหญ่ที่บุคลากรในสถาบันตุลาการต้องพึงใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยให้รอบคอบ และตีความในเล่ห์กลของผู้ก่อการร้าย “จตุพร” ให้แตกฉาน!!! ก่อนที่เหล่าท่านๆ จะตกเป็นเหยื่อของ “จตุพร” โดยไม่เจตนา!