“อดุลย์” เรียกผู้เชี่ยวชาญควบคุมม็อบถกมาตรการรับมือ “ปลวกแดง” ชุมนุมใหญ่ ขณะที่ “ปิยะ” เผย ผบช.น.ได้เรียกประชุมชุดสืบคดีตามล่ามือปาบึ้มแบงก์กรุงเทพ ได้ความชัดเจนตำหนิรูปพรรณคนร้ายมากขึ้น ใกล้สาวถึงตัวแล้ว ด้าน “เคทอง” ขู่ความรุนแรงผ่านคลิป น่าจะเข้าข่ายความผิดข้อหาทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว เป็นความผิดลหุโทษ
วันนี้ (3 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (สบ 10) ฝ่ายความมั่นคงและกิจการพิเศษ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) เรียกประชุมวางมาตรการรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศจะเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.นี้ โดยได้มีการเรียกผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล ภูธร ตลอดจน ฝ่ายจราจร และกฎหมาย เข้าร่วมประชุมด้วย
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการตรวจสอบความพร้อมของแต่ละหน่วยทุกวัน เพื่อที่จะเตรียมรับสถานการณ์ โดยในวันนี้ได้มีการเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล ภูธร ตลอดจ ฝ่ายจราจร และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการในการรับมือกลุ่มคนเสื้อแดงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยจะพยายามไม่ให้การชุมนุมไปกระทบการจราจรของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมีการเตรียมทางเบี่ยงรองรับ
ส่วนมาตรการตั้งด่านของตำรวจยังคงมีการดำเนินการอยู่ แต่มีการสับเปลี่ยนกำลังตามความเหมาะสม เพื่อให้กำลังไม่อ่อนล้า ซึ่งตำรวจจะพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำรอยเดือน เม.ย.2552
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.อก.บช.น.ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเช้า พล.ต.อ.อดุลย์ ได้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับทุก บช. ซึ่งแต่ละ บช.ได้แจ้งสถานการณ์เคลื่อนไหวในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากใกล้วันที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงประกาศเคลื่อนไหว หลังจากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ ได้มีการเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในแก้ไขปัญหากรณีการชุมนุมเรียกร้อง การคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล เช่น ผบก.น.1 ผบก.สส.บช.น. ผบก.จร. และในพื้นที่ภูธร อาทิ ผบก.ภ.จ.ที่มีประสบการณ์ ผบก.ทล. และตำรวจตระเวนชายแดน ตลอดจนฝ่ายจราจร และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการในการรับมือกลุ่มคนเสื้อแดงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อไปว่า การประชุมวันนี้มีการกำหนดสถานการณ์ หากมีการชุมนุมขนาดใหญ่จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และจะแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร เช่น กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมนำรถมาปิดถนน ตำรวจแต่ละหน้าที่ต้องทำอย่างไร เพื่อที่ตร.จะได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งอย่างน้อยเพื่อแจ้งให้สาธารณชนได้รับรู้ว่าขั้นตอนการทำงานของตำรวจนั้นมีการวางไว้อย่างเป็นระบบ โดยมีการจำลองสถานการณ์ร้ายแรงต่างๆ อาทิ การชุมนุมปิดถนน หรือแยกใหญ่ๆ ในพื้นที่ กทม. โดยจะต้องหายุทธวิธีเพื่อไม่ให้กระทบประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเบื้องต้นจะเริ่มจากการเจรจา
จากนั้นจะต้องแยกกลุ่มผู้ชุมนุมกับผู้ใช้รถใช้ถนนออกจากกัน ตามด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนถึงสถานการณ์ และแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสถานการณ์ ป้องกันเหตุซ้ำรอยการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.2552
“ในทางยุทธวิธี ตำรวจจะกำหนดสถานการณ์ที่ร้ายแรงไว้ก่อน แล้วแก้ไขปัญหาจากยากไปหาง่าย เหมือนเราตั้งสมมุติฐานว่ามีการปิดถนนไว้ก่อน แต่จริงๆ แล้วอาจไม่มีการปิดถนนก็ได้ ซึ่งเมื่อกำหนดสถานการณ์ว่าร้ายแรงไว้ก่อน ทำให้การแก้ปัญหาง่ายยิ่งขึ้น ส่วนสถานการณ์จากการคาดคะเนจากการข่าว ทางแกนนำเองก็มีการสงวนท่าที ขณะนี้มีการระดมทุนจากจุดต่างๆ อยู่” รองโฆษ ก.ตร.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ห้ามไม่ให้มีการปิดถนน เป็นโจทย์ที่ยากสำหรับตำรวจหรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า เป็นเงื่อนไขที่ยากในการป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมปิดถนน แต่ตำรวจจะต้องหาแนวทางป้องกันให้ได้ เพราะในบางพื้นที่ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีโรงพยาบาลอยู่หลายแห่ง หากมีการปิดถนนอาจกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉินได้
ส่วนจะห้ามไม่ให้ปิดถนนหรือไม่นั้น ตามรัฐธรรมนูญ การชุมนุมโดยปราศจากอาวุธเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบสิทธิผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย โดยหลังจากนี้สว.จร.ทุกพื้นที่ต้องไปสำรวจเส้นทางเบี่ยง เส้นทางหลีกเลี่ยง รองรับการชุมนุมปิดถนนด้วย
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุปาระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลม ว่า เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกประชุม ฝ่ายสืบสวน ซึ่งได้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ที่ถูกออกหมายจับไปแล้ว อาทิ ตำหนิรูปพรรณที่ชัดเจนมากขึ้นของคนที่ขับรถจักรยานยนต์ ลักษณะรถจักรยานยนต์ที่ใช้ก่อเหตุ รวมถึงลักษณะเครื่องแต่งกายของผู้ขับขี่และคนซ้อนท้ายมีความชัดเจนมากขึ้น มีการนำภาพจากจุดอื่นที่ไกลจากจุดเกิดเหตุที่นำมาต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการหลบหนี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแผนประทุษกรรมอื่นๆ กับ บช.ภ.1 และตำรวจสันติบาลด้วย
เมื่อถามว่าจะสามารถออกหมายจับคนร้ายที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้หรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ถ้าเอาจากข้อมูลจากที่ประชุมวานนี้ ถือว่าใกล้มากยิ่งขึ้นแล้ว เพราะเริ่มเห็นตำหนิรูปพรรณที่ชัดเจนขึ้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวถึงการดำเนินคดีต่อนายพรวัฒน์ ทองสมบูรณ์ ฉายาเคทอง ลูกน้องคนสนิท พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่ปล่อยข่าวผ่านวิดีโอคลิปวันที่ 26 ก.พ.เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตว่า ในภาพรวมกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางและสันติบาล จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยที่ผ่านมาได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปวิเคราะห์ว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดกฎหมายอะไรบ้าง ซึ่งฝ่ายกฎหมายได้สรุปมาหลายมาตรา แต่อย่างน้อยมี 1 มาตราที่น่าจะเข้าข่ายความผิด คือ ข้อหาทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ส่วนความผิดตามกฎหมายมาตราอื่นๆ ซึ่งถ้ามีเหตุและเกี่ยวพันกับที่เขาพูดก็อาจต้องผิดมาตรานั้น ก็ค่อยว่ากัน นอกจากนี้ ทราบว่านายพรวัฒน์ยังมีหมายจับเดิมกรณี กก.สส.น.3 ไปค้นบ้านและพบอาวุธ ซึ่งขณะนี้เจ้าตัวยังอยู่ระหว่างหลบหนี
วันนี้ (3 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ที่ปรึกษา (สบ 10) ฝ่ายความมั่นคงและกิจการพิเศษ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) เรียกประชุมวางมาตรการรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศจะเคลื่อนไหวชุมนุมใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.นี้ โดยได้มีการเรียกผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล ภูธร ตลอดจน ฝ่ายจราจร และกฎหมาย เข้าร่วมประชุมด้วย
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการตรวจสอบความพร้อมของแต่ละหน่วยทุกวัน เพื่อที่จะเตรียมรับสถานการณ์ โดยในวันนี้ได้มีการเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล ภูธร ตลอดจ ฝ่ายจราจร และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการในการรับมือกลุ่มคนเสื้อแดงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยจะพยายามไม่ให้การชุมนุมไปกระทบการจราจรของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมีการเตรียมทางเบี่ยงรองรับ
ส่วนมาตรการตั้งด่านของตำรวจยังคงมีการดำเนินการอยู่ แต่มีการสับเปลี่ยนกำลังตามความเหมาะสม เพื่อให้กำลังไม่อ่อนล้า ซึ่งตำรวจจะพยายามอย่างเต็มที่ในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมไม่ให้เกิดความรุนแรงซ้ำรอยเดือน เม.ย.2552
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย ผบก.อก.บช.น.ในฐานะรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงเช้า พล.ต.อ.อดุลย์ ได้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ร่วมกับทุก บช. ซึ่งแต่ละ บช.ได้แจ้งสถานการณ์เคลื่อนไหวในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากใกล้วันที่แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงประกาศเคลื่อนไหว หลังจากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ ได้มีการเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในแก้ไขปัญหากรณีการชุมนุมเรียกร้อง การคลี่คลายสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในพื้นที่นครบาล เช่น ผบก.น.1 ผบก.สส.บช.น. ผบก.จร. และในพื้นที่ภูธร อาทิ ผบก.ภ.จ.ที่มีประสบการณ์ ผบก.ทล. และตำรวจตระเวนชายแดน ตลอดจนฝ่ายจราจร และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการในการรับมือกลุ่มคนเสื้อแดงให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อไปว่า การประชุมวันนี้มีการกำหนดสถานการณ์ หากมีการชุมนุมขนาดใหญ่จะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง และจะแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร เช่น กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมนำรถมาปิดถนน ตำรวจแต่ละหน้าที่ต้องทำอย่างไร เพื่อที่ตร.จะได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งอย่างน้อยเพื่อแจ้งให้สาธารณชนได้รับรู้ว่าขั้นตอนการทำงานของตำรวจนั้นมีการวางไว้อย่างเป็นระบบ โดยมีการจำลองสถานการณ์ร้ายแรงต่างๆ อาทิ การชุมนุมปิดถนน หรือแยกใหญ่ๆ ในพื้นที่ กทม. โดยจะต้องหายุทธวิธีเพื่อไม่ให้กระทบประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งเบื้องต้นจะเริ่มจากการเจรจา
จากนั้นจะต้องแยกกลุ่มผู้ชุมนุมกับผู้ใช้รถใช้ถนนออกจากกัน ตามด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนถึงสถานการณ์ และแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสถานการณ์ ป้องกันเหตุซ้ำรอยการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.2552
“ในทางยุทธวิธี ตำรวจจะกำหนดสถานการณ์ที่ร้ายแรงไว้ก่อน แล้วแก้ไขปัญหาจากยากไปหาง่าย เหมือนเราตั้งสมมุติฐานว่ามีการปิดถนนไว้ก่อน แต่จริงๆ แล้วอาจไม่มีการปิดถนนก็ได้ ซึ่งเมื่อกำหนดสถานการณ์ว่าร้ายแรงไว้ก่อน ทำให้การแก้ปัญหาง่ายยิ่งขึ้น ส่วนสถานการณ์จากการคาดคะเนจากการข่าว ทางแกนนำเองก็มีการสงวนท่าที ขณะนี้มีการระดมทุนจากจุดต่างๆ อยู่” รองโฆษ ก.ตร.กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ห้ามไม่ให้มีการปิดถนน เป็นโจทย์ที่ยากสำหรับตำรวจหรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า เป็นเงื่อนไขที่ยากในการป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมปิดถนน แต่ตำรวจจะต้องหาแนวทางป้องกันให้ได้ เพราะในบางพื้นที่ เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีโรงพยาบาลอยู่หลายแห่ง หากมีการปิดถนนอาจกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉินได้
ส่วนจะห้ามไม่ให้ปิดถนนหรือไม่นั้น ตามรัฐธรรมนูญ การชุมนุมโดยปราศจากอาวุธเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบสิทธิผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย โดยหลังจากนี้สว.จร.ทุกพื้นที่ต้องไปสำรวจเส้นทางเบี่ยง เส้นทางหลีกเลี่ยง รองรับการชุมนุมปิดถนนด้วย
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามคนร้ายที่ก่อเหตุปาระเบิดใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลม ว่า เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.ได้เรียกประชุม ฝ่ายสืบสวน ซึ่งได้ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากผู้ที่ถูกออกหมายจับไปแล้ว อาทิ ตำหนิรูปพรรณที่ชัดเจนมากขึ้นของคนที่ขับรถจักรยานยนต์ ลักษณะรถจักรยานยนต์ที่ใช้ก่อเหตุ รวมถึงลักษณะเครื่องแต่งกายของผู้ขับขี่และคนซ้อนท้ายมีความชัดเจนมากขึ้น มีการนำภาพจากจุดอื่นที่ไกลจากจุดเกิดเหตุที่นำมาต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางการหลบหนี มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแผนประทุษกรรมอื่นๆ กับ บช.ภ.1 และตำรวจสันติบาลด้วย
เมื่อถามว่าจะสามารถออกหมายจับคนร้ายที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้หรือไม่ พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ถ้าเอาจากข้อมูลจากที่ประชุมวานนี้ ถือว่าใกล้มากยิ่งขึ้นแล้ว เพราะเริ่มเห็นตำหนิรูปพรรณที่ชัดเจนขึ้น
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวถึงการดำเนินคดีต่อนายพรวัฒน์ ทองสมบูรณ์ ฉายาเคทอง ลูกน้องคนสนิท พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่ปล่อยข่าวผ่านวิดีโอคลิปวันที่ 26 ก.พ.เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตว่า ในภาพรวมกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางและสันติบาล จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยที่ผ่านมาได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปวิเคราะห์ว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดกฎหมายอะไรบ้าง ซึ่งฝ่ายกฎหมายได้สรุปมาหลายมาตรา แต่อย่างน้อยมี 1 มาตราที่น่าจะเข้าข่ายความผิด คือ ข้อหาทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ส่วนความผิดตามกฎหมายมาตราอื่นๆ ซึ่งถ้ามีเหตุและเกี่ยวพันกับที่เขาพูดก็อาจต้องผิดมาตรานั้น ก็ค่อยว่ากัน นอกจากนี้ ทราบว่านายพรวัฒน์ยังมีหมายจับเดิมกรณี กก.สส.น.3 ไปค้นบ้านและพบอาวุธ ซึ่งขณะนี้เจ้าตัวยังอยู่ระหว่างหลบหนี