ก.ตร.ยืนตามมติเดิม คำอุทธรณ์ 3 นายพล “พัชรวาท-สุชาติ-เพิ่มศักดิ์” ฟังขึ้้น พร้อมนำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรี ให้ ครม.พิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อขัดแย้งข้อกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากเป็นเรื่องหมิ่นเหม่
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เมื่อเวลา 13.00 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) โดยมีรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ และ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม โดยมีผู้ที่แจ้งติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร รองผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.อำนวย ดิษฐกวี ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมศักดิ์ บุญทอง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง
พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ตร. กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีเรื่องพิจารณาสำคัญ 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีหนังสือถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานก.ตร. ให้ทบทวนมติก.ตร.ครั้งที่ผ่านมาที่ให้คำอุทธรณ์ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.ภ.4 พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบก.จว.อุดรธานี กรณีเป็นผู้ออกคำสั่งให้มีการสลายการชุมนุม วันที่ 7 ต.ค.51 และปล่อยปละละเลยให้กลุ่มผุ้ชุมนุมตีกัน ที่จ.อุดรธานี ฟังขึ้นขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาของ ก.ตร.เป็นไปอย่างรอบคอบ มีการเสนอข้อเท็จจริงนำข้อกฎหมายต่างๆ พิจารณา รวมทั้งข้อคิดเห็นต่างๆ ใช้เวลาในการพิจารณานานเกือบ 3 ชั่วโมง หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาประธานก็ขอความเห็นในที่ประชุมว่า ก.ตร.มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า ผลการขอความคิดเห็นในที่ประชุม ก.ตร.เสียงส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสียงเดิมจากครั้งที่แล้ว มีความเห็นเหมือนเดิมตามมติ ก.ตร.ครั้งที่ผ่านมาว่า การอุทธรณ์ของนายตำรวจทั้ง 3 นายฟังขึ้น แต่เนื่องจากการพิจารณาเรื่องนี้หมิ่นเหม่เรื่องของข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ มติ ก.ตร.วันนี้จึงเห็นควรให้ประมวลข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริงทั้งหมดที่พิจารณาในวันนี้ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบและเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่มีข้อคิดเห็นเรื่องนี้หลายประการ ซึ่งการให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความจะทำให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น โดยขั้นตอนเลขาฯ ก.ตร. จะมีหนังสือรับรองมติที่ประชุมในวันนี้อย่างเป็นทางการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของการแทรกแซงของนายกรัฐมนตรี เพราะนายกฯ เป็นผู้บริหารประเทศสูงสุดอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นเรื่องของความขัดแย้งแต่มติ ก.ตร.เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นเช่นนั้น และมติ ก.ตร.ไม่ใช่ที่สุดต้องหารือกันอีก เมื่อ ก.ตร.มีมติไปก็ต้องไปผ่านขั้นตอนของที่ประชุม ครม.และศาลรัฐธรรมนูญอีก และหากส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจาณาและสุดท้ายนายกฯส่งกลับมาให้พิจารณาอีกครั้ง ก.ตร.ก็ต้องทำ” โฆษก ตร.กล่าว
โฆษก ตร.กล่าวด้วยว่า ส่วนอีกเรื่องเป็นเรื่องที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.แจ้งต่อที่ประชุม ก.ตร. เรื่องการแต่งตั้งระดับรอง ผบก.-สว.ว่าจะให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 ม.ค. นี้ และจะให้มีผลในวันที่ 16 ก.พ. ซึ่งได้สั่งการให้ทุกหน่วยทราบแล้วและจะไม่มีการเลื่อนการแต่งตั้งออกไปอีก
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เมื่อเวลา 13.00 น. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) โดยมีรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ และ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม โดยมีผู้ที่แจ้งติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร รองผบ.ตร. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.อำนวย ดิษฐกวี ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมศักดิ์ บุญทอง ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง
พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ตร. กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีเรื่องพิจารณาสำคัญ 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องที่ใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน กรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีหนังสือถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานก.ตร. ให้ทบทวนมติก.ตร.ครั้งที่ผ่านมาที่ให้คำอุทธรณ์ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.ภ.4 พล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีตผบก.จว.อุดรธานี กรณีเป็นผู้ออกคำสั่งให้มีการสลายการชุมนุม วันที่ 7 ต.ค.51 และปล่อยปละละเลยให้กลุ่มผุ้ชุมนุมตีกัน ที่จ.อุดรธานี ฟังขึ้นขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาของ ก.ตร.เป็นไปอย่างรอบคอบ มีการเสนอข้อเท็จจริงนำข้อกฎหมายต่างๆ พิจารณา รวมทั้งข้อคิดเห็นต่างๆ ใช้เวลาในการพิจารณานานเกือบ 3 ชั่วโมง หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาประธานก็ขอความเห็นในที่ประชุมว่า ก.ตร.มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
พล.ต.ท.พงศพัศ กล่าวต่อว่า ผลการขอความคิดเห็นในที่ประชุม ก.ตร.เสียงส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสียงเดิมจากครั้งที่แล้ว มีความเห็นเหมือนเดิมตามมติ ก.ตร.ครั้งที่ผ่านมาว่า การอุทธรณ์ของนายตำรวจทั้ง 3 นายฟังขึ้น แต่เนื่องจากการพิจารณาเรื่องนี้หมิ่นเหม่เรื่องของข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ มติ ก.ตร.วันนี้จึงเห็นควรให้ประมวลข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริงทั้งหมดที่พิจารณาในวันนี้ให้นายกรัฐมนตรีรับทราบและเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารที่มีข้อคิดเห็นเรื่องนี้หลายประการ ซึ่งการให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความจะทำให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น โดยขั้นตอนเลขาฯ ก.ตร. จะมีหนังสือรับรองมติที่ประชุมในวันนี้อย่างเป็นทางการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์
“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของการแทรกแซงของนายกรัฐมนตรี เพราะนายกฯ เป็นผู้บริหารประเทศสูงสุดอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นเรื่องของความขัดแย้งแต่มติ ก.ตร.เป็นอย่างไรก็ต้องเป็นเช่นนั้น และมติ ก.ตร.ไม่ใช่ที่สุดต้องหารือกันอีก เมื่อ ก.ตร.มีมติไปก็ต้องไปผ่านขั้นตอนของที่ประชุม ครม.และศาลรัฐธรรมนูญอีก และหากส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจาณาและสุดท้ายนายกฯส่งกลับมาให้พิจารณาอีกครั้ง ก.ตร.ก็ต้องทำ” โฆษก ตร.กล่าว
โฆษก ตร.กล่าวด้วยว่า ส่วนอีกเรื่องเป็นเรื่องที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.แจ้งต่อที่ประชุม ก.ตร. เรื่องการแต่งตั้งระดับรอง ผบก.-สว.ว่าจะให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 22 ม.ค. นี้ และจะให้มีผลในวันที่ 16 ก.พ. ซึ่งได้สั่งการให้ทุกหน่วยทราบแล้วและจะไม่มีการเลื่อนการแต่งตั้งออกไปอีก