มติ 8:1 ยกฟ้อง “เนวิน” หลุดคดีทุจริตกล้ายางไม่ผิดเริ่มโครงการ ชี้ความเป็นจริงปลูกกล้ายางเริ่มนโยบายสมัยรัฐบาลทักษิณ พัฒนาการทำเกษตร ไม่ได้คิดเองทำเอง ขณะที่ คชก.-กก.ประกวดราคา-เอกชน รอดยกแผง ขณะที่ “เนวิน” น้ำตาซึม ย้ำโครงการกล้ายางทำเพื่อประชาชน-ประเทศชาติ ยันเดินหน้าภารกิจปกป้องสถาบันต่อ
วันนี้ (21 ก.ย.) เมื่อเวลา 14.10 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร คชก. จำเลยที่ 1, นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ที่ 2, นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตรฯ ที่ 3, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 4, นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ที่ 5 ในฐานะกรรมการ คชก., คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44 ในความผิดฐาน เป็น เจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ที่โทษจำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท , เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 ที่มีโทษจำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000-40,000 บาท , พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 10, 13 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 และผู้ใดหลอกลวงแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรแจ้ง เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา83 และ 86 โดยโจทก์ขอให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายด้วยจำนวน 1,349,684,361.96 ล้านบาท โดยคดีนี้จำเลยทั้ง 44 ให้การปฎิเสธ
องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาแล้ววินิจฉัยในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ปัญหาว่า คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากาษามติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนโดยละเอียดแล้วว่าจำเลยคนใดกระทำความผิดร่วมกับจำเลยคนใด และจำเลยแต่ละคนมีความผิดอย่างไร โดยระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทความผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยทั้ง 44 เข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบรรญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.158 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 8 วรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 2 โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาฯ มีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาและโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้ง 44 ได้
ข้อ 3 ปัญหาว่า นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 เป็นผู้ก่อและร่วมกับนายเนวินจำเลยที่ 4 เสนอโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงกับเกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ขัดต่อระเบียบและกฎหมายโดยมีเจตนาให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยางหรือเงิน (CESS) และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบ ด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 กรณีของจำเลยที่ 4 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 2 กรณีของจำเลยที่ 19 ว่า กรณียังฟังไม่ได้ว่า นายเนวิน จำเลยที่ 4 และ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจจริงเพื่อให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง หรือเงิน CESS และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องแต่อย่างใด เพราะได้ความว่า จำเลยที่ 4 และ 19 เสนอให้นำเงิน cess มาใช้ก่อน เพราะเวลาผ่านช่วงเวลาเสนองบประมาณแล้ว หาจะรอเสนองบประมาณก็จะทำให้โครงการล่าช้า ขณะที่ความเป็นมาของโครงการดังกล่าว เริ่มจากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรและการพัฒนาเกี่ยวกับระบบผลผลิตทางการเกษตร และให้ประเทศได้มีส่วนแบ่งการตลาดในค้ายางระดับโลกซึ่งยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งจำเลยที่ 4 และ 19 ได้เสนอโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้กระทำเพียงลำพัง แต่ยังมีองค์การอื่นเกี่ยวกับการทำสวนยาง ร่วมด้วย เช่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดังนั้น จำเลยที่ 4 และ 19 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 4 ปัญหาว่า นายสมคิด นายวราเทพ และนายสรอรรถ จำเลยที่ 1-3 และ นายอดิศัย และคณะกรรมการ คชก.ที่ 5-18 ร่วมกันมีมติในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตราช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก. ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายและเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 ว่า การที่ คชก.มีมติอนุมัติให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรวงเงิน 1,440,000,000 บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหากล้ายางอยู่ในวัตถุประสงค์ของระเบียบว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรฯ และมติของ คชก.ที่ให้นำเงิน CESS มาชำระคืนเงิน คชก. มิได้ขัดหรือฝ่าฝืน พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 ม.18 (3) ประกอบ ม.7-8 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่าจำเลยที่ 1-3 และที่ 5-18 ไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 5 ปัญหาว่า นายฉกรรจ์ และคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาจำเลยที่ 19-24 ร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาตามเอกสารการประกวดราคาจ้างที่ 4/2546 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2546 โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 หรือมไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 19-24 มีเจตนาร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับจำเลยที่ 30-32 ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 19-24 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 6 ปัญหาว่า คณะกรรมการพิจารณาประกวดราคา จำเลยที่ 20-22 และที่ 25-26 ร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 30-32 ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากไต่สวนฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 20-22 และ ที่ 25-26 มีเจตนาร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 30-32 ดังที่โจทก์อ้าง จำเลยที่ 20-22 และ 25-26 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 7 ปัญหาว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาอันเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โดยจำเลยที่ 31 ไม่ได้เป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตยางชำถุงตามประกาศประกวดราคาได้ยื่นหลักฐานการแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาว่าเป็นผู้จำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งตามสัญญาซื้อขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่จำเลยที่ 31 ทำกับบริษัท ยิ่งวัฒนาไซโล จำกัด เป็นเพียงการฝากขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ไม่ใช่เป็นการซื้อขายกัน จึงเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 31 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคาของกรมวิชาการเกษตร ทั้งที่รู้ว่าตนไม่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตพันธุ์ยาง ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเสนอราคา จึงเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นเพื่อให้จำเลยที่ 30 เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับกรมวิชาการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและจำเลยที่ 32 มีได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะปลูกพันธุ์ยาง และหนังสือรับรองผลงานการซื้อขายเมล็ดพันธุ์พืช ที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.โชคจรรยา ที่จำเลยที่ 32 นำส่งต่อคณะกรรมการประกวดราคา เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่อแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 30-32 หาใช่เป็นการฉ้อโกงหรือตกลงร่วมกันเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 ตามที่โจทก์ฟ้อง
ข้อ 8 ปัญหาว่ากรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ฯ, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ฯ และบริษัท เอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30-32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยืนซองเสนอราคาโดยจำเลยที่ 30-32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายตามที่โจทก์ฟ้อง
ข้อ 9 ปัญหาว่า กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ฯ และบริษัท เอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันกระทำการโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยที่ 30 เจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้ายาง โดยนำเอกสารที่มีข้อความเท็จมาแสดง และจำเลยที่ 31-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคา อันเป็นการหลอกลวงเพื่อให้จำเลยที่ 30 ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐฯ และความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องของโจทก์หรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานเท่าที่ได้ไต่สวนมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 30 มีเจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้า โดยนำเอกสารเท็จมาแสดง โดยจำเลยที่ 30-32 ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมแต่อย่างใด จำเลยที่ 27-44 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 10 ปัญหาประการสุดท้ายว่า จำเลยทั้ง 44 ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด องค์คณะมีมติเอกฉันท์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้ง 44 กระทำความผิดตามฟ้อง ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางยังไม่ได้เสียเงิน cess ที่จะให้นำไปชำระเป็นเงินปลดดอกเบี้ยในโครงการนี้แต่อย่างใด จำเลยทั้ง 44 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินให้แก่ สกย.ตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้อง
ส่วน นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ที่ศาลออกหมายจับเมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากหลบเลี่ยงไม่มาฟังคำพิพากษาในวันนี้ ศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.50 น. ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาจบ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ และจำเลยคนอื่นๆ ทยอยเดินออกจากห้องพิจารณาคดีด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยนายเนวินได้เดินออกมาจากห้องพิจารณาคดี พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอเบ้าว่า เรื่องของคดีทั้งหมดเป็นไปตามคำพิพากษา นับจากวันนี้ไปผมว่าไม่เกิน 2 ปี จากนั้นนายเนวิน ชะงักพร้อมทั้งน้ำเสียงสั่นเครือ กล่าวต่อว่า น้ำยางจากต้นกล้ายาง 90 ล้านต้น ก็คงจะสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และเชื่อว่าผลผลิตจากยางพาราจะทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติ
“สำหรับตัวผมเอง นับจากวันนี้ไปก็คงเหลือเรื่องเดียว จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ” นายเนวินกล่าวทั้งน้ำตา
ด้าน นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้คงไม่มีการเลี้ยงฉลองอะไร แต่จะไปรวมตัวกันที่อาคารสิริภิญโญ ถ.ศรีอยุยา
ด้าน นายสรอรรถ จำเลยที่ 3 ให้สัมภาษณ์พร้อมยิ้มด้วยความดีใจว่า วันนี้แกนนำพรรคภูมิใจไทยจะไม่ฟ้องร้องกลับ ป.ป.ช. เพราะการเมืองจบก็คือจบ จากนี้ตนจะทำหน้าที่ดูแลน้องๆ ต่อไป และหลังจากนี้ตนจะพ้นจากการถูกตัดสิทธิทางการเมืองก็จะกลับมารับใช้ทางการเมือง รับใช้ประชาชน
ขณะที่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า “ดีใจ ก็บอกแล้วว่าไม่ได้ผิดตั้งแต่ต้น”
ด้าน นายดนัย อนันติโย ทีมทนายความ ป.ป.ช. โจทก์กล่าวว่า คดีนี้ถือว่าศาลฎีกาพิจารณาสิ้นสุดแล้วแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุว่าสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันถ้ามีหลักฐาน แต่ก็เป็นการให้สิทธิฝ่ายจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ฝ่ายโจทย์ ดังนั้น ถือว่าคดีนี้จบแล้ว
เมื่อถามว่าคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีหวยบนดินในวันที่ 30 ก.ย.หรือไม่ นายดนัยกล่าวว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 คดีนี้แตกต่างกัน ดังนั้นจะเอามาใช้เป็นบรรทัดฐานได้
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ขณะที่ก่อนศาลจะอ่านคำพิพากษาจนจบ บรรดากองเชียร์จากพรรคภูมิใจไทยที่รออยู่หน้าห้องพิจารณาคดี เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายเอกพร รักความสุข บ้านเลขที่ 111 และบรรดา ส.ส.ของพรรค ซึ่งได้ชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้เดินมาแจ้งกับสื่อมวลชนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่าศาลอ่านคำพิพากษาว่าจำเลยในกลุ่มนักการเมืองหลุดคดีหมดแล้ว ศาลยกฟ้องแล้ว ทำให้บรรดากองเชียร์ต่างพูดคุยแสดงความดีใจกันใหญ่ โดยนายศุภชัยแสดงความมั่นใจว่านายเนวินหลุดคดีแน่นอนแล้ว จึงขอตัวไปรอด้านนอกศาล โดยไม่ฟังคำพิพากษาจนจบ
ชมรายงานพิเศษ ย้อนรอยทุจริตกล้ายาง
วันนี้ (21 ก.ย.) เมื่อเวลา 14.10 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร คชก. จำเลยที่ 1, นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง ที่ 2, นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีต รมว.เกษตรฯ ที่ 3, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.เกษตรและสหกรณ์ จำเลยที่ 4, นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ ที่ 5 ในฐานะกรรมการ คชก., คณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัทเอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44 ในความผิดฐาน เป็น เจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ที่โทษจำคุก 1-10 ปี หรือ ปรับ 2,000-20,000 บาท , เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 ที่มีโทษจำคุก 5-20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับ 2,000-40,000 บาท , พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 10, 13 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 และผู้ใดหลอกลวงแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรแจ้ง เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา83 และ 86 โดยโจทก์ขอให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายด้วยจำนวน 1,349,684,361.96 ล้านบาท โดยคดีนี้จำเลยทั้ง 44 ให้การปฎิเสธ
องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาแล้ววินิจฉัยในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ปัญหาว่า คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากาษามติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนไว้อย่างชัดเจนโดยละเอียดแล้วว่าจำเลยคนใดกระทำความผิดร่วมกับจำเลยคนใด และจำเลยแต่ละคนมีความผิดอย่างไร โดยระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทความผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยทั้ง 44 เข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบรรญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.158 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 8 วรรคหนึ่งแล้ว
ข้อ 2 โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาฯ มีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาและโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้ง 44 ได้
ข้อ 3 ปัญหาว่า นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงษ์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 เป็นผู้ก่อและร่วมกับนายเนวินจำเลยที่ 4 เสนอโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงกับเกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ขัดต่อระเบียบและกฎหมายโดยมีเจตนาให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยางหรือเงิน (CESS) และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบ ด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 กรณีของจำเลยที่ 4 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 2 กรณีของจำเลยที่ 19 ว่า กรณียังฟังไม่ได้ว่า นายเนวิน จำเลยที่ 4 และ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร จำเลยที่ 19 มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจจริงเพื่อให้มีการใช้เงินรายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง หรือเงิน CESS และเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโดยมิชอบด้วยการปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามที่โจทก์ฟ้องแต่อย่างใด เพราะได้ความว่า จำเลยที่ 4 และ 19 เสนอให้นำเงิน cess มาใช้ก่อน เพราะเวลาผ่านช่วงเวลาเสนองบประมาณแล้ว หาจะรอเสนองบประมาณก็จะทำให้โครงการล่าช้า ขณะที่ความเป็นมาของโครงการดังกล่าว เริ่มจากนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงรและการพัฒนาเกี่ยวกับระบบผลผลิตทางการเกษตร และให้ประเทศได้มีส่วนแบ่งการตลาดในค้ายางระดับโลกซึ่งยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งจำเลยที่ 4 และ 19 ได้เสนอโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้กระทำเพียงลำพัง แต่ยังมีองค์การอื่นเกี่ยวกับการทำสวนยาง ร่วมด้วย เช่น สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ดังนั้น จำเลยที่ 4 และ 19 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 4 ปัญหาว่า นายสมคิด นายวราเทพ และนายสรอรรถ จำเลยที่ 1-3 และ นายอดิศัย และคณะกรรมการ คชก.ที่ 5-18 ร่วมกันมีมติในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตราช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก. ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายและเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 ว่า การที่ คชก.มีมติอนุมัติให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรวงเงิน 1,440,000,000 บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหากล้ายางอยู่ในวัตถุประสงค์ของระเบียบว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรฯ และมติของ คชก.ที่ให้นำเงิน CESS มาชำระคืนเงิน คชก. มิได้ขัดหรือฝ่าฝืน พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 ม.18 (3) ประกอบ ม.7-8 และมีมติด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 1 ว่าจำเลยที่ 1-3 และที่ 5-18 ไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 5 ปัญหาว่า นายฉกรรจ์ และคณะกรรมการบริหารโครงการและพิจารณาประกวดราคาจำเลยที่ 19-24 ร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาตามเอกสารการประกวดราคาจ้างที่ 4/2546 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2546 โดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 หรือมไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 19-24 มีเจตนาร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับจำเลยที่ 30-32 ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 19-24 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 6 ปัญหาว่า คณะกรรมการพิจารณาประกวดราคา จำเลยที่ 20-22 และที่ 25-26 ร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 30-32 ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาโดยไม่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากไต่สวนฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 20-22 และ ที่ 25-26 มีเจตนาร่วมกันละเลยการตรวจสอบคุณสมบัติและความเกี่ยวข้องในเชิงผลประโยชน์ร่วมกันของจำเลยที่ 30-32 ดังที่โจทก์อ้าง จำเลยที่ 20-22 และ 25-26 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 7 ปัญหาว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา จำเลยที่ 30-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกาศประกวดราคาอันเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง โดยจำเลยที่ 31 ไม่ได้เป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตยางชำถุงตามประกาศประกวดราคาได้ยื่นหลักฐานการแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาว่าเป็นผู้จำหน่ายพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งตามสัญญาซื้อขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่จำเลยที่ 31 ทำกับบริษัท ยิ่งวัฒนาไซโล จำกัด เป็นเพียงการฝากขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ไม่ใช่เป็นการซื้อขายกัน จึงเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 31 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคาของกรมวิชาการเกษตร ทั้งที่รู้ว่าตนไม่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตพันธุ์ยาง ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเสนอราคา จึงเป็นการกีดกันผู้เสนอราคารายอื่นเพื่อให้จำเลยที่ 30 เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับกรมวิชาการเกษตร โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมและจำเลยที่ 32 มีได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะปลูกพันธุ์ยาง และหนังสือรับรองผลงานการซื้อขายเมล็ดพันธุ์พืช ที่ออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.โชคจรรยา ที่จำเลยที่ 32 นำส่งต่อคณะกรรมการประกวดราคา เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่อแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 30-32 หาใช่เป็นการฉ้อโกงหรือตกลงร่วมกันเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 ตามที่โจทก์ฟ้อง
ข้อ 8 ปัญหาว่ากรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ฯ, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ฯ และบริษัท เอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยื่นซองเสนอราคาผลิตกล้ายางชำถุง โดยจำเลยที่ 30-32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกันโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันยืนซองเสนอราคาโดยจำเลยที่ 30-32 มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร เชิงทุน และในเชิงถือหุ้นไขว้กันในลักษณะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นการขัดขวางการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยฝ่าฝืนต่อระเบียบและกฎหมายตามที่โจทก์ฟ้อง
ข้อ 9 ปัญหาว่า กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ฯ, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ฯ และบริษัท เอกเจริญฯ จำเลยที่ 27-44 ร่วมกันกระทำการโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยจำเลยที่ 30 เจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้ายาง โดยนำเอกสารที่มีข้อความเท็จมาแสดง และจำเลยที่ 31-32 นำหลักฐานแสดงคุณสมบัติของการประกวดราคาอันเป็นเท็จมาแสดงว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามประกวดราคา อันเป็นการหลอกลวงเพื่อให้จำเลยที่ 30 ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐฯ และความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องของโจทก์หรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ว่า พยานหลักฐานเท่าที่ได้ไต่สวนมาฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 30 มีเจตนาปกปิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับใช้เป็นแปลงเพาะต้นกล้า โดยนำเอกสารเท็จมาแสดง โดยจำเลยที่ 30-32 ตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อให้จำเลยที่ 30 มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมแต่อย่างใด จำเลยที่ 27-44 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
ข้อ 10 ปัญหาประการสุดท้ายว่า จำเลยทั้ง 44 ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด องค์คณะมีมติเอกฉันท์ว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้ง 44 กระทำความผิดตามฟ้อง ประกอบกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางยังไม่ได้เสียเงิน cess ที่จะให้นำไปชำระเป็นเงินปลดดอกเบี้ยในโครงการนี้แต่อย่างใด จำเลยทั้ง 44 จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินให้แก่ สกย.ตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้อง
ส่วน นายอดิศัย โพธารามิก อดีต รมว.พาณิชย์ จำเลยที่ 5 ที่ศาลออกหมายจับเมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากหลบเลี่ยงไม่มาฟังคำพิพากษาในวันนี้ ศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.50 น. ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาจบ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ และจำเลยคนอื่นๆ ทยอยเดินออกจากห้องพิจารณาคดีด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม โดยนายเนวินได้เดินออกมาจากห้องพิจารณาคดี พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอเบ้าว่า เรื่องของคดีทั้งหมดเป็นไปตามคำพิพากษา นับจากวันนี้ไปผมว่าไม่เกิน 2 ปี จากนั้นนายเนวิน ชะงักพร้อมทั้งน้ำเสียงสั่นเครือ กล่าวต่อว่า น้ำยางจากต้นกล้ายาง 90 ล้านต้น ก็คงจะสร้างรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และเชื่อว่าผลผลิตจากยางพาราจะทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติ
“สำหรับตัวผมเอง นับจากวันนี้ไปก็คงเหลือเรื่องเดียว จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ” นายเนวินกล่าวทั้งน้ำตา
ด้าน นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากนี้คงไม่มีการเลี้ยงฉลองอะไร แต่จะไปรวมตัวกันที่อาคารสิริภิญโญ ถ.ศรีอยุยา
ด้าน นายสรอรรถ จำเลยที่ 3 ให้สัมภาษณ์พร้อมยิ้มด้วยความดีใจว่า วันนี้แกนนำพรรคภูมิใจไทยจะไม่ฟ้องร้องกลับ ป.ป.ช. เพราะการเมืองจบก็คือจบ จากนี้ตนจะทำหน้าที่ดูแลน้องๆ ต่อไป และหลังจากนี้ตนจะพ้นจากการถูกตัดสิทธิทางการเมืองก็จะกลับมารับใช้ทางการเมือง รับใช้ประชาชน
ขณะที่ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า “ดีใจ ก็บอกแล้วว่าไม่ได้ผิดตั้งแต่ต้น”
ด้าน นายดนัย อนันติโย ทีมทนายความ ป.ป.ช. โจทก์กล่าวว่า คดีนี้ถือว่าศาลฎีกาพิจารณาสิ้นสุดแล้วแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุว่าสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันถ้ามีหลักฐาน แต่ก็เป็นการให้สิทธิฝ่ายจำเลยเท่านั้นไม่ใช่ฝ่ายโจทย์ ดังนั้น ถือว่าคดีนี้จบแล้ว
เมื่อถามว่าคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีหวยบนดินในวันที่ 30 ก.ย.หรือไม่ นายดนัยกล่าวว่า ข้อเท็จจริงของทั้ง 2 คดีนี้แตกต่างกัน ดังนั้นจะเอามาใช้เป็นบรรทัดฐานได้
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ขณะที่ก่อนศาลจะอ่านคำพิพากษาจนจบ บรรดากองเชียร์จากพรรคภูมิใจไทยที่รออยู่หน้าห้องพิจารณาคดี เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายเอกพร รักความสุข บ้านเลขที่ 111 และบรรดา ส.ส.ของพรรค ซึ่งได้ชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำพิพากษาผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้เดินมาแจ้งกับสื่อมวลชนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่าศาลอ่านคำพิพากษาว่าจำเลยในกลุ่มนักการเมืองหลุดคดีหมดแล้ว ศาลยกฟ้องแล้ว ทำให้บรรดากองเชียร์ต่างพูดคุยแสดงความดีใจกันใหญ่ โดยนายศุภชัยแสดงความมั่นใจว่านายเนวินหลุดคดีแน่นอนแล้ว จึงขอตัวไปรอด้านนอกศาล โดยไม่ฟังคำพิพากษาจนจบ
ชมรายงานพิเศษ ย้อนรอยทุจริตกล้ายาง