“เสื้อแดง” ฟ้องอาญา “นายกฯมาร์ค-ครม.” ปฏิบัติหน้าที่มิชอบออก พ.ร.บ.ความมั่นคง ปิดทางป่วนเมือง ศาลนัดไต่สวน 9 พ.ย.นี้
วันนี้ (18 ก.ย.) เมื่อเวลา 13.30 น.นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นโจทก์ฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับพวกที่เป็นคณะรัฐมนตรี รวม 36 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า โจทก์ร่วมกับประชาชนจัดตั้งกลุ่มเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตย ชื่อกลุ่ม 20 มิถุนาประชาธิปไตย โดยในวันที่ 19 ก.ย.2552 ซึ่งเป็นวนครบรอบ 3 ปี ของการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โจทก์และกลุ่มประชาชนจัดให้มีการชุมนุมเพื่อแสดงการคัดค้านต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2-36 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี ได้บังอาจร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาโดยร่วมกันมีมติ อนุญาต หรือให้ความเห็นชอบโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กำหนดให้พื้นที่เขตดุสิต กทม.เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง โดยให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 18-22 ก.ย.2552 ส่งผลให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) มีอำนาจสั่งห้ามการเดินทาง การใช้เสินทาง ห้ามชุมนุม ฯลฯ และ จำเลยที่ 1 ยังได้สั่งการให้กำลังทหาร ตำรวจ เข้ารักษาการโดยรอบทำเนียบรัฐบาล และบ้านพักประธานองคมนตรี โดยให้มีการตั้งด่านตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะของประชาชนอย่างเข้มงวด และห้ามประชาชนไม่ให้ใช้ถนนสาธารณะบางเส้นอีกด้วย
การกระทำของจำเลยทั้ง 36 จึงเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ และประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์และประชาชนได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้า-ออก พื้นที่เขตดุสิตได้ตามปกติ จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย
ศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำที่ 3384/2552 และนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 9 พ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
ต่อมาเมื่อเวลา 17.45 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลมีคำพิพากษาในคดีที่สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมโดยปฐวี บุญรักษา ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง คณะรัฐมนตรี(ครม.) , นายกรัฐมนตรี และ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เรื่องความมั่นคงภายในราชอานาจักร ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม.. และเพิกถอน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร ฉบับลงวันที่ 15 ก.ย. 52
กรณี นายกรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 52 ให้มีผลบังคับใช้ในเขตดุสิต ระหว่างวันที่ 18 – 22 ก.ย. 52 ทั่งที่ไม่มีความจำเป็น ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ไม่ได้ชี้แจงเหตุผลว่าการณ์มีปรากฏการอันจะกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เจตนารมณ์ของพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ มีขึ้นเพื่อเป็นหลักในการดำเนินการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณ์การและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการปกป้องและรักษาความมั่นคงรวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด และกำหนดมาตรการณ์รวมทั้งกลไก การใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อให้สามารถแก้ไข สถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ
ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่ 1 ) มีมติมอบหมายให้ กอ.รมน.(จำเลยที่ 3 )ประกาศและออกข้อกำหนดตามพ.ร.บ. รักษาความมั่นคงฯ มาตรา15 และ 18 มีผลให้จำเลยที่ 2ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร ออกข้อกำหนดได้อันเป็นการใช้อำนาจบริหารงานแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจและดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้ ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 3 ขอให้มีคำสั่งยกเลิกมติ ประกาศใช้พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ฉบับลงวันที่ 15 ก.ย. 52 จึงอยู่นอกเหนือเขตอำนาจศาล มีคำสั่งให้ยกฟ้อง
วันนี้ (18 ก.ย.) เมื่อเวลา 13.30 น.นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นโจทก์ฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับพวกที่เป็นคณะรัฐมนตรี รวม 36 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า โจทก์ร่วมกับประชาชนจัดตั้งกลุ่มเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตย ชื่อกลุ่ม 20 มิถุนาประชาธิปไตย โดยในวันที่ 19 ก.ย.2552 ซึ่งเป็นวนครบรอบ 3 ปี ของการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 โจทก์และกลุ่มประชาชนจัดให้มีการชุมนุมเพื่อแสดงการคัดค้านต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2552 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2-36 ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรี ได้บังอาจร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายอาญาโดยร่วมกันมีมติ อนุญาต หรือให้ความเห็นชอบโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 กำหนดให้พื้นที่เขตดุสิต กทม.เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง โดยให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 18-22 ก.ย.2552 ส่งผลให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.รมน.) มีอำนาจสั่งห้ามการเดินทาง การใช้เสินทาง ห้ามชุมนุม ฯลฯ และ จำเลยที่ 1 ยังได้สั่งการให้กำลังทหาร ตำรวจ เข้ารักษาการโดยรอบทำเนียบรัฐบาล และบ้านพักประธานองคมนตรี โดยให้มีการตั้งด่านตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะของประชาชนอย่างเข้มงวด และห้ามประชาชนไม่ให้ใช้ถนนสาธารณะบางเส้นอีกด้วย
การกระทำของจำเลยทั้ง 36 จึงเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ และประชาชนตามรัฐธรรมนูญฯ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์และประชาชนได้รับความเสียหายไม่สามารถเข้า-ออก พื้นที่เขตดุสิตได้ตามปกติ จึงขอให้ศาลลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย
ศาลรับคำฟ้องไว้เป็นคดีดำที่ 3384/2552 และนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 9 พ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
ต่อมาเมื่อเวลา 17.45 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลมีคำพิพากษาในคดีที่สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมโดยปฐวี บุญรักษา ผู้รับมอบอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง คณะรัฐมนตรี(ครม.) , นายกรัฐมนตรี และ คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เรื่องความมั่นคงภายในราชอานาจักร ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติครม.. และเพิกถอน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร ฉบับลงวันที่ 15 ก.ย. 52
กรณี นายกรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 52 ให้มีผลบังคับใช้ในเขตดุสิต ระหว่างวันที่ 18 – 22 ก.ย. 52 ทั่งที่ไม่มีความจำเป็น ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ ไม่ได้ชี้แจงเหตุผลว่าการณ์มีปรากฏการอันจะกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เจตนารมณ์ของพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ มีขึ้นเพื่อเป็นหลักในการดำเนินการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตลอดจนบูรณ์การและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการปกป้องและรักษาความมั่นคงรวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งในท้องถิ่นของตน เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยามปกติ และในยามที่เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใด และกำหนดมาตรการณ์รวมทั้งกลไก การใช้อำนาจเป็นการเฉพาะตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์เพื่อให้สามารถแก้ไข สถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ
ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่ 1 ) มีมติมอบหมายให้ กอ.รมน.(จำเลยที่ 3 )ประกาศและออกข้อกำหนดตามพ.ร.บ. รักษาความมั่นคงฯ มาตรา15 และ 18 มีผลให้จำเลยที่ 2ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอานาจักร ออกข้อกำหนดได้อันเป็นการใช้อำนาจบริหารงานแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจและดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารได้ ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 3 ขอให้มีคำสั่งยกเลิกมติ ประกาศใช้พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ฉบับลงวันที่ 15 ก.ย. 52 จึงอยู่นอกเหนือเขตอำนาจศาล มีคำสั่งให้ยกฟ้อง