“ปิยะวัฒก์” แจงซ้ำอธิบดีดีเอสไอละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ปล่อยให้นายทุนรุกป่าสวงนแห่งชาติ ย้ำถอนตัวจากการทำคดีรุกป่าสบกกฝั่งขวา เชียงราย เพราะไม่อาจปฏิบัติตามคำสั่งมิชอบด้วยกฎหมายที่เท่ากับเป็นการล้มคดีไปทันทีได้ ยันใช้อำนาจในตำแหน่งทำให้หลักฐานอ่อนไร้น้ำหนัก เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงไม่ได้ อาจเข้าข่ายผิดอาญาถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิตได้
วันนี้ (18 ก.ย.) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมกรณีถอนตัวออกจากการเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในคดีพิเศษที่ 70/2550 กรณีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสบกกฝั่งขวา ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน 2549 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นอกจากจะได้รับคำสั่งให้ดำเนินคดีกับพยานสำคัญที่ให้การยืนยันว่าเห็นกลุ่มนายทุนผู้ต้องหาเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุก่อนแล้วหลายครั้ง ซึ่งคณะพนักงานสอบสวน มิอาจปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะเท่ากับเป็นการล้มคดีนี้ไปทันที เนื่องจากเมื่อพยานตกเป็นจำเลยแล้ว กฎหมาย “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน” แล้ว ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ มีความพยายามสั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญศาลด้านการวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ และขอให้มีการจัดประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายครั้ง
อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้เชี่ยวชาญศาลฯ (ดร.วิฑูรย์ ชลายนนาวิน) และมติที่ประชุมร่วมต่างเห็นพ้องต้องกันว่า พื้นที่บุกรุกเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่อธิบดีดีเอสไอ ก็ไม่ยอมรับทั้งความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และมติที่ประชุมดังกล่าว เมื่อได้ไปเตือนให้อธิบดีดีเอสไอ เร่งรัดสั่งคดี เพราะเนิ่นนานมากว่า 14 เดือนแล้ว อธิบดีดีเอสไอ ก็พูดทุกครั้งว่า ให้ว่าไปตามพยานหลักฐาน ทั้ง ๆ ที่คดีมีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนแล้วว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” แต่ก็ยังไม่ยอมสั่งคดี และจะให้จัดประชุมอีก ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบถึง 2 ครั้ง มีความพยายามที่จะให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติมให้ได้ความให้จงได้ว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งคณะพนักงานสอบสวน รับไม่ได้ เพราะพยานหลักฐานทั้งหมดรับฟังได้สอดคล้องต้องกันว่า “เป็นป่าสงวนแห่งชาติ” แม้แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และส่วนกลาง ต่างก็ยืนยันว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” จึงขอเรียนทำความเข้าใจในสภาพพื้นที่เกิดเหตุป่าสบกกฝั่งขวา ดังนี้
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวต่อไปว่า โดยป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ซึ่งสภาพเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน (ที่มีความลาดชันเกิน 35%) และพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งตามสภาพแล้วต้องถือเป็นพื้นที่ป่า เมื่อปี พ.ศ.2517 ได้มีประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 649 (พ.ศ.2517) ลงวันที่ 3 มีนาคม 2517 ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ “ให้ป่าสบกกฝั่งขวาในท้องที่ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน และตำบลปงน้อย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ” และได้มีการส่งประกาศกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวไปปิดประกาศไว้ที่ว่าการอำเภอ, ที่ว่าการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่มีการประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า “ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน ฯลฯ จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน” หลังจากที่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เขตที่ดินในตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน เป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว
นอกจากนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเรียกย่อว่า “ส.ป.ก.” ได้ดำเนินการรังวัดที่ดินให้กับราษฎรและบางรายได้จัดที่ดินและออกเอกสาร ส.ป.ก.ให้กับราษฎรไปแล้วหลายราย ต่อมาในปี พ.ศ.2538 ได้มีบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติในการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกลับคืนกรมป่าไม้ พ.ศ.2538 ลงวันที่ 14 กันยายน 2538 โดยกรมป่าไม้ และ ส.ป.ก.ได้จัดทำ “บันทึกข้อตกลงแนวทางการปฏิบัติในการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ไม่สมควรจะนำไปปฏิรูปที่ดิน” ไว้ ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างเลขาธิการ ส.ป.ก.กับอธิบดีกรมป่าไม้ หลังจากนั้น ได้จัดทำบันทึกการตรวจสอบกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากเขตที่จะทำการปฏิรูปที่ดินกลับคืนให้กับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นการดำเนินการระหว่างคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 โดยจัดทำบัญชีสรุปข้อมูลการตรวจสอบกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากเขตที่จะทำการปฏิรูปที่ดินไว้ โดยแต่ละแปลงได้ระบุลักษณะที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดิน โดยกำหนดไว้ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวางที่ 5049 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ในตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน รัฐมนตรียังไม่ได้มีการประกาศกำหนดเขตป่าเสื่อมโทรมให้เป็นเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงรายไม่เคยอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดเข้าไปทำการปลูกป่าในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ศูนย์ปฏิบัติการที่ดินป่าไม้ (เชียงราย) ไม่มีการรังวัดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวาแต่อย่างใด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้อนุญาตให้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าบางชนิดในเขตป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน เพื่อใช้สอยส่วนตัวหรือบริโภคในครัวเรือนได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามประกาศจังหวัดเชียงราย ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2517 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับไม้ของกลางในคดี
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวด้วยว่า ที่ดินในบริเวณบ้านห้วยข่อยหล่อย หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุในคดีนี้ มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ตามประกาศ กฎกระทรวง ฉบับที่ 649 (พ.ศ.2517) ลงวันที่ 3 มีนาคม 2517 แม้ว่าในปี พ.ศ.2537 จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน ฯลฯ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แม้ต่อมา ส.ป.ก. จะได้ดำเนินการรังวัดที่ดินและออกเอกสาร ส.ป.ก.ให้กับราษฎรไปแล้วหลายราย จำนวน 14 แปลง จำนวนเนื้อที่ 55-2-01 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแนวเขตที่ดินที่เกิดเหตุคดีนี้ แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 ส.ป.ก.จังหวัดเชียงรายได้มีการกันที่ดิน จำนวน 14 แปลง จำนวนเนื้อที่ 55-2-01 ไร่ ดังกล่าวกลับคืนให้กับกรมป่าไม้ ฉะนั้น พื้นที่ดินที่เกิดเหตุในคดีนี้จึงยังคงมีสภาพเป็นพื้นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวาตามเดิม คงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า “ที่ดินที่เกิดเหตุถูกเพิกถอนจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่” พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน และมาตรา 3(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีต่อไปนี้ ... ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือกฎหมายอื่น” เอกสาร ส.ป.ก.4-01 ตามพระราช-บัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น การได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก.4-01 จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามที่กำหนดในมาตรา 3(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็น “ป่า” ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484
ทั้งนี้ ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเรื่องเสร็จที่ 791/2548 จึงถือว่าที่เกิดเหตุยังไม่ได้ถูกเพิกถอนจากสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทางคดีมีพยานเอกสารกับมีพยานบุคคลคือปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงรายได้ให้การยืนยันไว้ด้วยแล้ว สำหรับประเด็นเรื่องพื้นที่เกิดเหตุยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำนวนเท่าใด คิดเป็นค่าเสียหายของรัฐจำนวนเท่าใดนั้น จากข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายตามแนวทางการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่องเสร็จที่ 791/2549 กับเรื่องเสร็จที่ 307/2549 และตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 4347/2544 สรุปได้ดังนี้
1) ที่ดินพิพาทที่อยู่ในโซนซีของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ยังมิได้มอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้ว แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที ที่พิพาทจึงยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม (ฎีกาที่ 4347/2544)
2) คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของกรมที่ดินเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โดยคณะกรรมการกำหนดเขตปฏิรูปจะมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 26(4) แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบอีก 2 ประการ คือ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น และ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ส.ป.ก.ยังมิได้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณใด พื้นที่นั้นยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม สำหรับในส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรและยังไม่มีมติเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเดิม พื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นป่าไม้ถาวรอยู่ ดังนั้น พื้นที่ป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติที่ ส.ป.ก.ยังมิได้เข้าดำเนินการ ก็ยังคงมีสถานะเป็นป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม
3) การที่มาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 กำหนดให้ ส.ป.ก.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก.ได้มานั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะให้ ส.ป.ก.ถือสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพื่อให้เอาที่ดินนั้นมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน มิได้มุ่งหมายจะให้ ส.ป.ก.มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินในกรณีทั่วไป ดังนั้น การถือกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก.จึงมิใช่เป็นกรณีที่บุคคลได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายที่ดิน และตามนัยมาตรา 4(1) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่ดินดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพียงแต่มาตรา 26(4) แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ กำหนดให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ แต่ถ้าที่ดินนั้นยังมีไม้หวงห้ามขึ้นอยู่ การดำเนินการใด ๆ กับไม้หวงห้ามดังกล่าวย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ดังนั้น ไม้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินของ ส.ป.ก. ที่จะดำเนินการอย่างไรก็ได้ และต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ด้วย เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 เป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าไปทำประโยชน์เพื่อการเกษตรเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางกฎหมายของที่ดินเดิมแต่อย่างใด (เรื่องเสร็จที่ 791/2548)
ฉะนั้น พื้นที่เกิดเหตุยังคงเป็นเขตป่าไม้หรือป่าสงวนแห่งชาติอยู่รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 917 ไร่ คิดเป็นความเสียหายที่รัฐได้รับประมาณ 91 ล้านบาทเศษ ซึ่งสอดคล้องต้องกันกับความเห็นของ ดร.วิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญของศาลในทางวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่ได้รายงานผลการตรวจสอบและให้ความเห็นไว้ว่า พื้นที่ที่ถูกบุกรุก 917 ไร่ และพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดเข้าทำประโยชน์มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2497) ต่อมามีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในลักษณะไร่เลื่อนลอย ทำแล้วทิ้งร้างไว้หลายสิบปี และทุกปี พ.ศ. ตามหลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศก็ไม่มีบ้านและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก 917 ไร่ และพื้นที่ ส.ป.ก.ทั้ง 15 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้าม คือ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ชั้น 2, 3 และอยู่ในโซน C บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่เขา ภูเขา และเขตปริมณฑล 40 เมตร และพื้นที่ ส.ป.ก.ทั้ง 14 แปลง ก็อยู่ในพื้นที่มีภาระผูกพันตามกฎหมาย และตามข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้กับ ส.ป.ก.พ.ศ.2538 และ พ.ศ.2541 ซึ่งต้องห้ามในการออก ส.ป.ก.4-01 อีกทั้งตามรายงานการประชุมการศึกษาหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ป่าสบกก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ที่อธิบดีสั่งการให้เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมและพิจารณา ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปเป็นมติว่า พื้นที่ป่าสบกกที่ ส.ป.ก.ได้กันคืนให้กรมป่าไม้แล้ว มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาจึงเป็นที่ยุติว่า “พื้นที่ป่าสบกกที่ถูกบุกรุกมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ”
ซึ่งการพิจารณาว่า การกระทำของกลุ่มนายทุนผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องดูเจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญอันดับแรกว่า ผู้กระทำได้รู้สำนึกในการทำ และประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่ กลุ่มนายทุนผู้ต้องหาได้เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุก่อนที่จะมีการบุกรุกทำลายป่า ย่อมเห็นสภาพภูมิประเทศของพื้นที่เกิดเหตุแล้วว่า เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน และสามารถใช้วิจารณญาณได้ว่าสมควรเข้าไปบุกรุกแผ้วถางหรือไม่เพียงใด โดยเฉพาะคดีนี้บริษัทฯ มีทนายความซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาร่วมอยู่ด้วย กลุ่มนายทุนผู้ต้องหาย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า สมควรเข้าไปกระทำการบุกรุกพื้นที่เกิดเหตุหรือไม่ หากไม่ทราบก็สามารถตรวจสอบได้จากหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า พื้นที่เกิดเหตุมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ การเข้าไปบุกรุกโดยมิได้ตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่หาได้กระทำไม่ การเข้าไปบุกรุกในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกจึงเป็นการกระทำไปโดยรู้สำนึกในการกระทำ และประสงค์ต่อผลของการกระทำนั้นแล้ว แต่เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม ตรวจค้นพร้อมยึดรถแบ็คโฮของกลางไว้ ได้มีความพยายามวิ่งเต้นล้มคดีมาโดยตลอด จนในกลุ่มเจ้าของรถแบ็คโฮพูดกันทั่วไปว่า บริษัทฯ ได้เคลียร์กับผู้ใหญ่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้ว แต่เมื่อไม่สามารถเคลียร์ได้ ก็มีความพยายามร้องขอความเป็นธรรมต่างๆ นานา และร้องขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ โดยความในหนังสือร้องขอความเป็นธรรมล้วนเป็นการโต้แย้งประเด็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในรายงานการสอบสวนฯ ความลับรั่วไหลออกไปได้อย่างไร ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นย่อมรู้อยู่แก่ใจแล้ว นอกจากนั้นยังมีพฤติการณ์เข้าไปข่มขู่คุกคามพยานให้กลับคำให้การเป็นไม่เคยเห็นกลุ่มนายทุนเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุ และขอให้ให้การว่าถูกพนักงานสอบสวนคดีพิเศษบังคับให้ให้การปรักปรำกลุ่มนายทุน ทั้งๆ ที่การสอบสวนพยานดังกล่าวมีพนักงานอัยการร่วมสอบสวนด้วย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวยืนยันว่า คดีมีพยานหลักฐานชัดเจนทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” การสั่งให้ไปสอบสวนเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษด้วย ก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจปฏิบัติตามได้เช่นกัน การสอบสวนเพิ่มเติมต้องทำเพื่อให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคงเพิ่มขึ้น มิใช่ทำเพื่อให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักน้อยลง หากอธิบดีเห็นว่าเป็นเขตปฏิรูปที่ดินก็ใช้ดุลพินิจสั่งคดีไปตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการสมควรที่จะบังคับให้พนักงานสอบสวน สอบสวนไปในทางที่บิดเบือนเบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ ในตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องโทษ หรือให้ได้รับโทษน้อยลง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 200 ซึ่งมีอัตราโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต
วันนี้ (18 ก.ย.) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมกรณีถอนตัวออกจากการเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในคดีพิเศษที่ 70/2550 กรณีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสบกกฝั่งขวา ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน 2549 ถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 นอกจากจะได้รับคำสั่งให้ดำเนินคดีกับพยานสำคัญที่ให้การยืนยันว่าเห็นกลุ่มนายทุนผู้ต้องหาเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุก่อนแล้วหลายครั้ง ซึ่งคณะพนักงานสอบสวน มิอาจปฏิบัติตามคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะเท่ากับเป็นการล้มคดีนี้ไปทันที เนื่องจากเมื่อพยานตกเป็นจำเลยแล้ว กฎหมาย “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน” แล้ว ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอ มีความพยายามสั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญศาลด้านการวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ และขอให้มีการจัดประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายครั้ง
อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้เชี่ยวชาญศาลฯ (ดร.วิฑูรย์ ชลายนนาวิน) และมติที่ประชุมร่วมต่างเห็นพ้องต้องกันว่า พื้นที่บุกรุกเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่อธิบดีดีเอสไอ ก็ไม่ยอมรับทั้งความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และมติที่ประชุมดังกล่าว เมื่อได้ไปเตือนให้อธิบดีดีเอสไอ เร่งรัดสั่งคดี เพราะเนิ่นนานมากว่า 14 เดือนแล้ว อธิบดีดีเอสไอ ก็พูดทุกครั้งว่า ให้ว่าไปตามพยานหลักฐาน ทั้ง ๆ ที่คดีมีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนแล้วว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” แต่ก็ยังไม่ยอมสั่งคดี และจะให้จัดประชุมอีก ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบถึง 2 ครั้ง มีความพยายามที่จะให้พนักงานสอบสวน สอบสวนเพิ่มเติมให้ได้ความให้จงได้ว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งคณะพนักงานสอบสวน รับไม่ได้ เพราะพยานหลักฐานทั้งหมดรับฟังได้สอดคล้องต้องกันว่า “เป็นป่าสงวนแห่งชาติ” แม้แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ทั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และส่วนกลาง ต่างก็ยืนยันว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” จึงขอเรียนทำความเข้าใจในสภาพพื้นที่เกิดเหตุป่าสบกกฝั่งขวา ดังนี้
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวต่อไปว่า โดยป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ซึ่งสภาพเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน (ที่มีความลาดชันเกิน 35%) และพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งตามสภาพแล้วต้องถือเป็นพื้นที่ป่า เมื่อปี พ.ศ.2517 ได้มีประกาศกฎกระทรวง ฉบับที่ 649 (พ.ศ.2517) ลงวันที่ 3 มีนาคม 2517 ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ “ให้ป่าสบกกฝั่งขวาในท้องที่ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน และตำบลปงน้อย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ” และได้มีการส่งประกาศกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวไปปิดประกาศไว้ที่ว่าการอำเภอ, ที่ว่าการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ที่มีการประกาศเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า “ให้ที่ดินในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน ฯลฯ จังหวัดเชียงราย ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน” หลังจากที่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้เขตที่ดินในตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน เป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว
นอกจากนี้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเรียกย่อว่า “ส.ป.ก.” ได้ดำเนินการรังวัดที่ดินให้กับราษฎรและบางรายได้จัดที่ดินและออกเอกสาร ส.ป.ก.ให้กับราษฎรไปแล้วหลายราย ต่อมาในปี พ.ศ.2538 ได้มีบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติในการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกลับคืนกรมป่าไม้ พ.ศ.2538 ลงวันที่ 14 กันยายน 2538 โดยกรมป่าไม้ และ ส.ป.ก.ได้จัดทำ “บันทึกข้อตกลงแนวทางการปฏิบัติในการกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ไม่สมควรจะนำไปปฏิรูปที่ดิน” ไว้ ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างเลขาธิการ ส.ป.ก.กับอธิบดีกรมป่าไม้ หลังจากนั้น ได้จัดทำบันทึกการตรวจสอบกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากเขตที่จะทำการปฏิรูปที่ดินกลับคืนให้กับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นการดำเนินการระหว่างคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 โดยจัดทำบัญชีสรุปข้อมูลการตรวจสอบกันพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติออกจากเขตที่จะทำการปฏิรูปที่ดินไว้ โดยแต่ละแปลงได้ระบุลักษณะที่ไม่สมควรนำไปปฏิรูปที่ดิน โดยกำหนดไว้ในแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวางที่ 5049 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ในตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน รัฐมนตรียังไม่ได้มีการประกาศกำหนดเขตป่าเสื่อมโทรมให้เป็นเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงรายไม่เคยอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดเข้าไปทำการปลูกป่าในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ศูนย์ปฏิบัติการที่ดินป่าไม้ (เชียงราย) ไม่มีการรังวัดปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวาแต่อย่างใด ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายได้อนุญาตให้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าบางชนิดในเขตป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน เพื่อใช้สอยส่วนตัวหรือบริโภคในครัวเรือนได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามประกาศจังหวัดเชียงราย ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2517 ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับไม้ของกลางในคดี
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวด้วยว่า ที่ดินในบริเวณบ้านห้วยข่อยหล่อย หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดเหตุในคดีนี้ มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวา ตามประกาศ กฎกระทรวง ฉบับที่ 649 (พ.ศ.2517) ลงวันที่ 3 มีนาคม 2517 แม้ว่าในปี พ.ศ.2537 จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่เงิน ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน ฯลฯ จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินก็ตาม แม้ต่อมา ส.ป.ก. จะได้ดำเนินการรังวัดที่ดินและออกเอกสาร ส.ป.ก.ให้กับราษฎรไปแล้วหลายราย จำนวน 14 แปลง จำนวนเนื้อที่ 55-2-01 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในแนวเขตที่ดินที่เกิดเหตุคดีนี้ แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2538 ส.ป.ก.จังหวัดเชียงรายได้มีการกันที่ดิน จำนวน 14 แปลง จำนวนเนื้อที่ 55-2-01 ไร่ ดังกล่าวกลับคืนให้กับกรมป่าไม้ ฉะนั้น พื้นที่ดินที่เกิดเหตุในคดีนี้จึงยังคงมีสภาพเป็นพื้นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกฝั่งขวาตามเดิม คงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า “ที่ดินที่เกิดเหตุถูกเพิกถอนจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่” พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน และมาตรา 3(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในกรณีต่อไปนี้ ... ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพหรือกฎหมายอื่น” เอกสาร ส.ป.ก.4-01 ตามพระราช-บัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 เป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น การได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก.4-01 จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามที่กำหนดในมาตรา 3(2) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็น “ป่า” ตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484
ทั้งนี้ ตามบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเรื่องเสร็จที่ 791/2548 จึงถือว่าที่เกิดเหตุยังไม่ได้ถูกเพิกถอนจากสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทางคดีมีพยานเอกสารกับมีพยานบุคคลคือปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงรายได้ให้การยืนยันไว้ด้วยแล้ว สำหรับประเด็นเรื่องพื้นที่เกิดเหตุยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำนวนเท่าใด คิดเป็นค่าเสียหายของรัฐจำนวนเท่าใดนั้น จากข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายตามแนวทางการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่องเสร็จที่ 791/2549 กับเรื่องเสร็จที่ 307/2549 และตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 4347/2544 สรุปได้ดังนี้
1) ที่ดินพิพาทที่อยู่ในโซนซีของป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมป่าไม้ยังมิได้มอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน แม้จะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินออกมาแล้ว แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที ที่พิพาทจึงยังคงมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม (ฎีกาที่ 4347/2544)
2) คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของกรมที่ดินเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน โดยคณะกรรมการกำหนดเขตปฏิรูปจะมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 26(4) แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบอีก 2 ประการ คือ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น และ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ส.ป.ก.ยังมิได้เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณใด พื้นที่นั้นยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม สำหรับในส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรและยังไม่มีมติเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเดิม พื้นที่ดังกล่าวยังคงเป็นป่าไม้ถาวรอยู่ ดังนั้น พื้นที่ป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติที่ ส.ป.ก.ยังมิได้เข้าดำเนินการ ก็ยังคงมีสถานะเป็นป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม
3) การที่มาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 กำหนดให้ ส.ป.ก.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก.ได้มานั้น กฎหมายมุ่งประสงค์จะให้ ส.ป.ก.ถือสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพื่อให้เอาที่ดินนั้นมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน มิได้มุ่งหมายจะให้ ส.ป.ก.มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินในกรณีทั่วไป ดังนั้น การถือกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก.จึงมิใช่เป็นกรณีที่บุคคลได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายที่ดิน และตามนัยมาตรา 4(1) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่ดินดังกล่าวยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ เพียงแต่มาตรา 26(4) แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ กำหนดให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ แต่ถ้าที่ดินนั้นยังมีไม้หวงห้ามขึ้นอยู่ การดำเนินการใด ๆ กับไม้หวงห้ามดังกล่าวย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ดังนั้น ไม้ดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินของ ส.ป.ก. ที่จะดำเนินการอย่างไรก็ได้ และต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ด้วย เอกสาร ส.ป.ก. 4-01 เป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้บุคคลเข้าไปทำประโยชน์เพื่อการเกษตรเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางกฎหมายของที่ดินเดิมแต่อย่างใด (เรื่องเสร็จที่ 791/2548)
ฉะนั้น พื้นที่เกิดเหตุยังคงเป็นเขตป่าไม้หรือป่าสงวนแห่งชาติอยู่รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 917 ไร่ คิดเป็นความเสียหายที่รัฐได้รับประมาณ 91 ล้านบาทเศษ ซึ่งสอดคล้องต้องกันกับความเห็นของ ดร.วิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญของศาลในทางวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่ได้รายงานผลการตรวจสอบและให้ความเห็นไว้ว่า พื้นที่ที่ถูกบุกรุก 917 ไร่ และพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดเข้าทำประโยชน์มาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2497) ต่อมามีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในลักษณะไร่เลื่อนลอย ทำแล้วทิ้งร้างไว้หลายสิบปี และทุกปี พ.ศ. ตามหลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศก็ไม่มีบ้านและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก 917 ไร่ และพื้นที่ ส.ป.ก.ทั้ง 15 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้าม คือ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ชั้น 2, 3 และอยู่ในโซน C บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่เขา ภูเขา และเขตปริมณฑล 40 เมตร และพื้นที่ ส.ป.ก.ทั้ง 14 แปลง ก็อยู่ในพื้นที่มีภาระผูกพันตามกฎหมาย และตามข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้กับ ส.ป.ก.พ.ศ.2538 และ พ.ศ.2541 ซึ่งต้องห้ามในการออก ส.ป.ก.4-01 อีกทั้งตามรายงานการประชุมการศึกษาหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ป่าสบกก จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ที่อธิบดีสั่งการให้เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมและพิจารณา ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปเป็นมติว่า พื้นที่ป่าสบกกที่ ส.ป.ก.ได้กันคืนให้กรมป่าไม้แล้ว มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาจึงเป็นที่ยุติว่า “พื้นที่ป่าสบกกที่ถูกบุกรุกมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ”
ซึ่งการพิจารณาว่า การกระทำของกลุ่มนายทุนผู้ต้องหาในคดีนี้เป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องดูเจตนาของผู้กระทำผิดเป็นสำคัญอันดับแรกว่า ผู้กระทำได้รู้สำนึกในการทำ และประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่ กลุ่มนายทุนผู้ต้องหาได้เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุก่อนที่จะมีการบุกรุกทำลายป่า ย่อมเห็นสภาพภูมิประเทศของพื้นที่เกิดเหตุแล้วว่า เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน และสามารถใช้วิจารณญาณได้ว่าสมควรเข้าไปบุกรุกแผ้วถางหรือไม่เพียงใด โดยเฉพาะคดีนี้บริษัทฯ มีทนายความซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาร่วมอยู่ด้วย กลุ่มนายทุนผู้ต้องหาย่อมทราบเป็นอย่างดีว่า สมควรเข้าไปกระทำการบุกรุกพื้นที่เกิดเหตุหรือไม่ หากไม่ทราบก็สามารถตรวจสอบได้จากหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า พื้นที่เกิดเหตุมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ การเข้าไปบุกรุกโดยมิได้ตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่หาได้กระทำไม่ การเข้าไปบุกรุกในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสบกกจึงเป็นการกระทำไปโดยรู้สำนึกในการกระทำ และประสงค์ต่อผลของการกระทำนั้นแล้ว แต่เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุม ตรวจค้นพร้อมยึดรถแบ็คโฮของกลางไว้ ได้มีความพยายามวิ่งเต้นล้มคดีมาโดยตลอด จนในกลุ่มเจ้าของรถแบ็คโฮพูดกันทั่วไปว่า บริษัทฯ ได้เคลียร์กับผู้ใหญ่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้ว แต่เมื่อไม่สามารถเคลียร์ได้ ก็มีความพยายามร้องขอความเป็นธรรมต่างๆ นานา และร้องขอเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ โดยความในหนังสือร้องขอความเป็นธรรมล้วนเป็นการโต้แย้งประเด็นต่าง ๆ ที่ปรากฏในรายงานการสอบสวนฯ ความลับรั่วไหลออกไปได้อย่างไร ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นย่อมรู้อยู่แก่ใจแล้ว นอกจากนั้นยังมีพฤติการณ์เข้าไปข่มขู่คุกคามพยานให้กลับคำให้การเป็นไม่เคยเห็นกลุ่มนายทุนเข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุ และขอให้ให้การว่าถูกพนักงานสอบสวนคดีพิเศษบังคับให้ให้การปรักปรำกลุ่มนายทุน ทั้งๆ ที่การสอบสวนพยานดังกล่าวมีพนักงานอัยการร่วมสอบสวนด้วย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวยืนยันว่า คดีมีพยานหลักฐานชัดเจนทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันว่า “พื้นที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ” การสั่งให้ไปสอบสวนเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษด้วย ก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจปฏิบัติตามได้เช่นกัน การสอบสวนเพิ่มเติมต้องทำเพื่อให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคงเพิ่มขึ้น มิใช่ทำเพื่อให้พยานหลักฐานมีน้ำหนักน้อยลง หากอธิบดีเห็นว่าเป็นเขตปฏิรูปที่ดินก็ใช้ดุลพินิจสั่งคดีไปตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการสมควรที่จะบังคับให้พนักงานสอบสวน สอบสวนไปในทางที่บิดเบือนเบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ ในตำแหน่งเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องโทษ หรือให้ได้รับโทษน้อยลง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 200 ซึ่งมีอัตราโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต