“หมอพรทิพย์” พร้อมอาจารย์จากเทคโนพระจอมเกล้าธนบุรี ตรวจพิสูจน์คลิปเสียงนายกรัฐมนตรีแล้ว พบว่า มีการตัดต่อถึง 62 ครั้ง และยังพบว่า มีการนำเสียงจากรายการเชื่อมั่นประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 มาตัดต่อ
วันนี้ (28 ส.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น.ที่กระทรวงยุติธรรม พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นายสมโชค บุญกำเนิด รอง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา รศ.ดร.นิพนธ์ เจริญกิจการ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ดร.สันติธรรม พรหมอ่อน อาจารย์คณะวิศวคอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แถลงข่าวการพิสูจน์คลิปตัดต่อเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริง
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ กล่าวว่า เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ประสานผ่านมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ดำเนินการตรวจสอบคลิปเสียงดังกล่าว ว่า มีการตัดต่อหรือไม่ จากนั้นจึงประสานไปยังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านไอที ให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว และจากการตรวจสอบของอาจารย์ทั้ง 3 ท่านโดยใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ไฟล์ตัดต่อเสียง ชื่อโปรแกรม AUDACITY พบว่า คลิปดังกล่าวมีคลื่นเสียงดังไม่ต่อเนื่อง มีช่วงที่หยุดเงียบ ตะกุกตะกัก ทั้งหมด 62 ช่วง แต่หากเป็นเสียงออริจินอล ที่ไม่ได้ตัดต่อเสียง ก็จะต้องได้ยินเสียงแบ็กกราวด์ หรือเสียงสิ่งแวดล้อมดังต่อเนื่องกัน จะไม่มีช่วงหยุดเงียบเหมือนไฟล์เสียงตัดต่อ
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ กล่าวต่อว่า แม้หูของมนุษย์จะฟังคลิปดังกล่าวเหมือนเสียงดังต่อเนื่องกัน ไม่พบความผิดปกติอะไร แต่เมื่อใช้โปรแกรมดังกล่าว ก็ตรวจพบว่า มีช่วงเงียบที่เกิดจากการตัดต่อถึง 62 ช่วง ดังนั้น เทคโนโลยีดังกล่าวจึงสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่า คลิปเสียงมีการตัดต่ออย่างแน่นอน นอกจากนี้ จากข้อเท็จจริงที่ว่าการพูดของคนเราในแต่ละครั้ง จะไม่เหมือนกัน เมื่อคณะอาจารย์จากเทคโนฯบางมด ได้ทำการตรวจสอบคำพูดทั้งหมดที่ปรากฏภายในคลิปดังกล่าว พบคำว่า “พัทยาเนี่ย” เมื่อค้นหาดูจึงพบว่าตรงกับประโยคที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 ที่มีการนำมาใช้ในการตัดต่อเสียงในครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ได้พิสูจน์ว่าเสียงในคลิปเป็นเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือไม่ และมาจากต้นตอไหน ทราบเพียงข้อมูลว่าเป็นไฟล์เสียงที่มีการตัดต่อแล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องสืบหาที่มาของคลิปดังกล่าวต่อไป
วันนี้ (28 ส.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น.ที่กระทรวงยุติธรรม พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ นายสมโชค บุญกำเนิด รอง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา รศ.ดร.นิพนธ์ เจริญกิจการ อาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ ดร.สันติธรรม พรหมอ่อน อาจารย์คณะวิศวคอมพิวเตอร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แถลงข่าวการพิสูจน์คลิปตัดต่อเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริง
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ กล่าวว่า เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ประสานผ่านมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ดำเนินการตรวจสอบคลิปเสียงดังกล่าว ว่า มีการตัดต่อหรือไม่ จากนั้นจึงประสานไปยังสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านไอที ให้กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว และจากการตรวจสอบของอาจารย์ทั้ง 3 ท่านโดยใช้ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ไฟล์ตัดต่อเสียง ชื่อโปรแกรม AUDACITY พบว่า คลิปดังกล่าวมีคลื่นเสียงดังไม่ต่อเนื่อง มีช่วงที่หยุดเงียบ ตะกุกตะกัก ทั้งหมด 62 ช่วง แต่หากเป็นเสียงออริจินอล ที่ไม่ได้ตัดต่อเสียง ก็จะต้องได้ยินเสียงแบ็กกราวด์ หรือเสียงสิ่งแวดล้อมดังต่อเนื่องกัน จะไม่มีช่วงหยุดเงียบเหมือนไฟล์เสียงตัดต่อ
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ กล่าวต่อว่า แม้หูของมนุษย์จะฟังคลิปดังกล่าวเหมือนเสียงดังต่อเนื่องกัน ไม่พบความผิดปกติอะไร แต่เมื่อใช้โปรแกรมดังกล่าว ก็ตรวจพบว่า มีช่วงเงียบที่เกิดจากการตัดต่อถึง 62 ช่วง ดังนั้น เทคโนโลยีดังกล่าวจึงสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่า คลิปเสียงมีการตัดต่ออย่างแน่นอน นอกจากนี้ จากข้อเท็จจริงที่ว่าการพูดของคนเราในแต่ละครั้ง จะไม่เหมือนกัน เมื่อคณะอาจารย์จากเทคโนฯบางมด ได้ทำการตรวจสอบคำพูดทั้งหมดที่ปรากฏภายในคลิปดังกล่าว พบคำว่า “พัทยาเนี่ย” เมื่อค้นหาดูจึงพบว่าตรงกับประโยคที่นายกรัฐมนตรีเคยพูดในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 ที่มีการนำมาใช้ในการตัดต่อเสียงในครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ไม่ได้พิสูจน์ว่าเสียงในคลิปเป็นเสียงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือไม่ และมาจากต้นตอไหน ทราบเพียงข้อมูลว่าเป็นไฟล์เสียงที่มีการตัดต่อแล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องสืบหาที่มาของคลิปดังกล่าวต่อไป