ล็อกถล่มเมืองกรุงอีกครั้ง เมื่อ “บิ๊กเบื๊อก” พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ที่กระเด็นไปเป็น ผบช.ภาค 4 จากเหตุการณ์ 7 ตุลาเลือด คืนถิ่นเก่า กลับมาเป็น ผบช.น.อีกครั้ง แว่วว่าเจ้าตัวขอกลับมาเองกับ ผบ.ตร.โดยตรง โดยอ้างเหตุผล เป็นผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับ “พัชรวาท” ที่จะถูก ป.ป.ช.เชือด ขณะที่ตำแหน่ง ผบช.ก.ของสามีแม่เลี้ยงติ๊ก ถูกโยกสลับกับ “สมคิด บุญถนอม” เพื่อขึ้นไปคุมภาคเหนือตอนบนแทน ฮือฮาผู้การอำนาจเจริญ มาคุม บก.ศสส.นครบาลคนแรก
วานนี้ (2 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม เวลา 14.00 น.ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวาระสำคัญการประชุมการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ ตร.
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.30 น.วันเดียวกัน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้นัดหมายรอง ผบ.ตร.มาพร้อมเพื่อประชุมคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ หรือบอร์ดกลั่นกรอง ที่ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงาน ผบ.ตร.
สำหรับการแต่งตั้งครั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับเกลี่ยตำแหน่งระดับผู้บัญชาการ (ผบช.) รอง ผบช. และผู้บังคับการ (ผบก.) ลงในโครงสร้างใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฉบับล่าสุดที่จะมีผลใช้ ซึ่งโครงสร้างใหม่ ตร.นั้น มีการปรับเกลี่ยหน่วยงานต่างๆ มีหน่วยงานระดับกองบัญชาการ (บช.) หรือเทียบเท่ารวม 30 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่มีเดิม 26 หน่วย ตั้งขึ้นใหม่ 4 หน่วย คือ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานกำลังพล และสำนักงานงบประมาณและการเงิน ขณะที่หน่วยงานระดับกองบังคับการ (บก.) หรือเทียบเท่า รวม 227 หน่วยงาน เพิ่ม บก.ใหม่ 43 หน่วย เป็นการยกฐานะหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว จำนวน 36 หน่วย เช่น ศูนย์สืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล/ตำรวจภูธรภาค 1-9 ซึ่งมี รองผู้บังคับการเป็นหัวหน้า และศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 ซึ่งมีผู้กำกับการเป็นหัวหน้า เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับกองบังคับการที่ตั้งขึ้นใหม่จริงๆ มีเพียง 7 แห่ง คือ กองบังคับการอำนวยการของสำนักงานส่งกำลังบำรุง และกองบัญชาการศึกษา กองบัญชี กองตรวจสอบภายใน 2-3 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแต่งตั้งโครงสร้างใหม่นั้นจะมีการแต่งตั้ง ผู้บัญชาการ (ผบช.) ทั้งสิ้น 30 ตำแหน่ง รอง ผบช.146 ตำแหน่ง ผู้บังคับการ (ผบก.) 257 ตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งผบช. นั้นตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมา เป็นการปรับเกลี่ยมาจากตำแหน่ง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.ที่มีอยู่แล้ว ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นเป็นรอง ผบช.146 ตำแหน่ง ปรับเกลี่ยมากจากตำแหน่งรองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เช่นกัน ขณะที่ ระดับ ผบก.นั้นมีการกำหนดตำแหน่ง ผบก.มาใหม่ 10 ตำแหน่ง ทำให้การแต่งตั้งครั้งนี้นอกจากจะใช้ตำแหน่ง ผบก.ประจำมาสับเปลี่ยนแล้ว ยังมีการขยับรอง ผบก.ขึ้นมาอีก 10 ตำแหน่ง และสับเปลี่ยน ผบก.หลายตำแหน่ง ขณะที่รวมทั้งประเทศทุกระดับตำแหน่งจะต้องมีการแต่งตั้งโยกย้ายทั้งสิ้น 105,335 ตำแหน่ง สำหรับการแต่งตั้งในการปรับโครงสร้างครั้งนี้
สำหรับตำแหน่งที่คาดว่าจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายมีดังนี้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4(นรต.26) โยกคืนถิ่นกลับมาเป็น ผบช.น. สลับ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.(นรต.30) ไปแทน พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ ผบช.ภ.2 (นรต.25) ซึ่งเพิ่งถูกให้มาช่วยราชการที่ตร. จากกรณีม็อบเสื้อแดงบุกโรงแรมรอยัลคลิฟ บีช พัทยา จ.ชลบุรี ในงานประชุมอาเซียน ถูกย้ายเป็น ผบช.สำนักงานกำลังพล บช.แห่งใหม่ โดยมี พล.ต.ท.สมเดช ขาวขำ ผบช.สทส. (นรต.29 )เป็น ผบช.ภ.2 โดยมี พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรสารทูล ผบช.ภ.6 เป็นตัวสอดแทรก พล.ต.ท.ดิเรก มโนลีหกุล ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นจเรตำรวจ (สบ 8) พล.ต.ท.ประยูร อำมฤต ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบช.ยศ.คนแรก พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. สามีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู หรือแม่เลี้ยงติ๊ก โยกสลับกับ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5
พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ผบช.ศชต.คนแรก โยกเป็น ผบช.สำนักงานงบประมาณและการเงิน บช.แห่งใหม่ คนแรก โดยมี พล.ต.ท.วีรยุทธ สิทธิมาลิก ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.ที่ได้รับแรงหนุนจากกองทัพเป็น ผบช.ศชต.แทน พล.ต.ท.วรเวทย์ วินิตเนตยานนท์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.คนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โยกเป็น ผบช.ภ.8 นั่งคุมภาคใต้ตอนบนก่อนเกษียณ โดยโยก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.ภ.8 เป็น ผบช.ประจำ ทำหน้าที่ประสานนายกรัฐมนตรี
พล.ต.ต.ชัยณรงค์ วงศ์สุนทร รองจเรตำรวจ (สบ 7) โยกกลับถิ่นเก่า เป็นรอง ผบช.ภ.6 โดย พล.ต.ต.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบช.ภ.6 เป็นรอง ผบช.สกพ. พล.ต.ต.วรเทพ เมธาวัฒน์ รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.พิสุทธิ์ พุ่มพิเชษฏฐ์ รอง ผบช.สง.จตช.เป็นรองจตร.(สบ 7) พล.ต.ต.วรินทร์ บุณยะกียรติ รองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรอง จตร.(สบ 7) พล.ต.ต.สุรพล ทองประเสริฐ รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรอง ผบช.ก.
พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ ผบก.ประจำ สนง.ผู้ช่วย ผบ.ตร. โยกเป็น ผบก.ศูนย์สืบสวน บช.ภ.9 พล.ต.ต.จีระศักดิ์ ปาณินท์ ผบก.ประจำสง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.กลับไปเป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.ชลบุรี พล.ต.ต.ศักดา ชื่นภักดี ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบก.ศูนย์สืบสวน สตม.ภาคกลาง พล.ต.ต.พิทยา ศิริรักษ์ ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ศสส.สตม.ภาคใต้ พ.ต.อ.นิคม อินเฉิดฉาย รอง ผบก.จ.บุรีรัมย์ คนสนิทนายเนวิน ชิดชอบ เป็น ผบก.ศสส.บช.ภ.3
พล.ต.ต.เกริกเกียรติ แก้วศรีงาม ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.ตราด พล.ต.ต.ฌาณไชย แกล้วเขตต์การ ผบก.ประจำ สง.จตช.เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.กรกต สาริยา ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.จว.อำนาจเจริญ เป็น ผบก.ศสส.บช.น. พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ ผบก.ประจำฯ อดีตนายตำรวจติดตามนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ผบก.ตปพ.191 ขณะที่ พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูตร ผบก.ตปพ. เป็น ผบก.กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
อย่างไรก็ตาม รายชื่อที่คาดว่าจะมีการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้างต้น มีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนหลายตำแหน่งในที่ประชุมบอร์ดกลั่นกรอง ในช่วงเช้าวันที่ 3 ก.ค.2552 และก.ตร. เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการแต่งตั้งโดยเฉพาะปัจจัยจากฝ่ายการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4 ที่มีรายชื่อจะกลับมาดำรงตำแหน่ง ผบช.น.นั้น มีรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ค่อยพอใจในผลงานของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.เท่าใดนัก จึงได้แสดงความประสงค์จะให้มีการเปลี่ยนตัว ผบช.น.ใหม่ ในขณะเดียวกัน ทาง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ได้เข้าพบ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. โดยแสดงความประสงค์ที่จะขอกลับมายัง บช.น.อีกครั้ง ด้วยการยกเหตุผลว่า ได้ร่วมชะตาเดียวกัน ผบ.ตร.ที่ตกเป็นผู้ถูกร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบยปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ในคดี 7 ตุลาเลือด
วานนี้ (2 ก.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม เวลา 14.00 น.ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีวาระสำคัญการประชุมการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ตามโครงสร้างใหม่ ตร.
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 09.30 น.วันเดียวกัน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้นัดหมายรอง ผบ.ตร.มาพร้อมเพื่อประชุมคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติ หรือบอร์ดกลั่นกรอง ที่ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงาน ผบ.ตร.
สำหรับการแต่งตั้งครั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับเกลี่ยตำแหน่งระดับผู้บัญชาการ (ผบช.) รอง ผบช. และผู้บังคับการ (ผบก.) ลงในโครงสร้างใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฉบับล่าสุดที่จะมีผลใช้ ซึ่งโครงสร้างใหม่ ตร.นั้น มีการปรับเกลี่ยหน่วยงานต่างๆ มีหน่วยงานระดับกองบัญชาการ (บช.) หรือเทียบเท่ารวม 30 หน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่มีเดิม 26 หน่วย ตั้งขึ้นใหม่ 4 หน่วย คือ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานส่งกำลังบำรุง สำนักงานกำลังพล และสำนักงานงบประมาณและการเงิน ขณะที่หน่วยงานระดับกองบังคับการ (บก.) หรือเทียบเท่า รวม 227 หน่วยงาน เพิ่ม บก.ใหม่ 43 หน่วย เป็นการยกฐานะหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว จำนวน 36 หน่วย เช่น ศูนย์สืบสวนสอบสวนกองบัญชาการตำรวจนครบาล/ตำรวจภูธรภาค 1-9 ซึ่งมี รองผู้บังคับการเป็นหัวหน้า และศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 1-9 ซึ่งมีผู้กำกับการเป็นหัวหน้า เป็นต้น
ทั้งนี้ สำหรับกองบังคับการที่ตั้งขึ้นใหม่จริงๆ มีเพียง 7 แห่ง คือ กองบังคับการอำนวยการของสำนักงานส่งกำลังบำรุง และกองบัญชาการศึกษา กองบัญชี กองตรวจสอบภายใน 2-3 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแต่งตั้งโครงสร้างใหม่นั้นจะมีการแต่งตั้ง ผู้บัญชาการ (ผบช.) ทั้งสิ้น 30 ตำแหน่ง รอง ผบช.146 ตำแหน่ง ผู้บังคับการ (ผบก.) 257 ตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งผบช. นั้นตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมา เป็นการปรับเกลี่ยมาจากตำแหน่ง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.ที่มีอยู่แล้ว ขณะที่มีการเพิ่มขึ้นเป็นรอง ผบช.146 ตำแหน่ง ปรับเกลี่ยมากจากตำแหน่งรองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เช่นกัน ขณะที่ ระดับ ผบก.นั้นมีการกำหนดตำแหน่ง ผบก.มาใหม่ 10 ตำแหน่ง ทำให้การแต่งตั้งครั้งนี้นอกจากจะใช้ตำแหน่ง ผบก.ประจำมาสับเปลี่ยนแล้ว ยังมีการขยับรอง ผบก.ขึ้นมาอีก 10 ตำแหน่ง และสับเปลี่ยน ผบก.หลายตำแหน่ง ขณะที่รวมทั้งประเทศทุกระดับตำแหน่งจะต้องมีการแต่งตั้งโยกย้ายทั้งสิ้น 105,335 ตำแหน่ง สำหรับการแต่งตั้งในการปรับโครงสร้างครั้งนี้
สำหรับตำแหน่งที่คาดว่าจะมีการแต่งตั้งโยกย้ายมีดังนี้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4(นรต.26) โยกคืนถิ่นกลับมาเป็น ผบช.น. สลับ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.(นรต.30) ไปแทน พล.ต.ท.อัศวิน ณรงค์พันธ์ ผบช.ภ.2 (นรต.25) ซึ่งเพิ่งถูกให้มาช่วยราชการที่ตร. จากกรณีม็อบเสื้อแดงบุกโรงแรมรอยัลคลิฟ บีช พัทยา จ.ชลบุรี ในงานประชุมอาเซียน ถูกย้ายเป็น ผบช.สำนักงานกำลังพล บช.แห่งใหม่ โดยมี พล.ต.ท.สมเดช ขาวขำ ผบช.สทส. (นรต.29 )เป็น ผบช.ภ.2 โดยมี พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรสารทูล ผบช.ภ.6 เป็นตัวสอดแทรก พล.ต.ท.ดิเรก มโนลีหกุล ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นจเรตำรวจ (สบ 8) พล.ต.ท.ประยูร อำมฤต ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบช.ยศ.คนแรก พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. สามีนางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู หรือแม่เลี้ยงติ๊ก โยกสลับกับ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ.5
พล.ต.ท.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ผบช.ศชต.คนแรก โยกเป็น ผบช.สำนักงานงบประมาณและการเงิน บช.แห่งใหม่ คนแรก โดยมี พล.ต.ท.วีรยุทธ สิทธิมาลิก ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.ที่ได้รับแรงหนุนจากกองทัพเป็น ผบช.ศชต.แทน พล.ต.ท.วรเวทย์ วินิตเนตยานนท์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.คนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โยกเป็น ผบช.ภ.8 นั่งคุมภาคใต้ตอนบนก่อนเกษียณ โดยโยก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.ภ.8 เป็น ผบช.ประจำ ทำหน้าที่ประสานนายกรัฐมนตรี
พล.ต.ต.ชัยณรงค์ วงศ์สุนทร รองจเรตำรวจ (สบ 7) โยกกลับถิ่นเก่า เป็นรอง ผบช.ภ.6 โดย พล.ต.ต.ชัยยง กีรติขจร รอง ผบช.ภ.6 เป็นรอง ผบช.สกพ. พล.ต.ต.วรเทพ เมธาวัฒน์ รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. เป็นรอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.พิสุทธิ์ พุ่มพิเชษฏฐ์ รอง ผบช.สง.จตช.เป็นรองจตร.(สบ 7) พล.ต.ต.วรินทร์ บุณยะกียรติ รองผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรอง จตร.(สบ 7) พล.ต.ต.สุรพล ทองประเสริฐ รอง ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็นรอง ผบช.ก.
พล.ต.ต.สุชาติ ธีระสวัสดิ์ ผบก.ประจำ สนง.ผู้ช่วย ผบ.ตร. โยกเป็น ผบก.ศูนย์สืบสวน บช.ภ.9 พล.ต.ต.จีระศักดิ์ ปาณินท์ ผบก.ประจำสง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.กลับไปเป็นนายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.ชลบุรี พล.ต.ต.ศักดา ชื่นภักดี ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบก.ศูนย์สืบสวน สตม.ภาคกลาง พล.ต.ต.พิทยา ศิริรักษ์ ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ศสส.สตม.ภาคใต้ พ.ต.อ.นิคม อินเฉิดฉาย รอง ผบก.จ.บุรีรัมย์ คนสนิทนายเนวิน ชิดชอบ เป็น ผบก.ศสส.บช.ภ.3
พล.ต.ต.เกริกเกียรติ แก้วศรีงาม ผบก.ประจำ สง.ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.ตราด พล.ต.ต.ฌาณไชย แกล้วเขตต์การ ผบก.ประจำ สง.จตช.เป็น ผบก.จต. พล.ต.ต.กรกต สาริยา ผบก.ประจำ สง.ผบ.ตร.เป็น ผบก.ภ.จว.อำนาจเจริญ พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.จว.อำนาจเจริญ เป็น ผบก.ศสส.บช.น. พล.ต.ต.ธนพล สนเทศ ผบก.ประจำฯ อดีตนายตำรวจติดตามนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็น ผบก.ตปพ.191 ขณะที่ พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูตร ผบก.ตปพ. เป็น ผบก.กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
อย่างไรก็ตาม รายชื่อที่คาดว่าจะมีการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้างต้น มีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนหลายตำแหน่งในที่ประชุมบอร์ดกลั่นกรอง ในช่วงเช้าวันที่ 3 ก.ค.2552 และก.ตร. เนื่องจากการแต่งตั้งครั้งนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการแต่งตั้งโดยเฉพาะปัจจัยจากฝ่ายการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.ภ.4 ที่มีรายชื่อจะกลับมาดำรงตำแหน่ง ผบช.น.นั้น มีรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ค่อยพอใจในผลงานของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.เท่าใดนัก จึงได้แสดงความประสงค์จะให้มีการเปลี่ยนตัว ผบช.น.ใหม่ ในขณะเดียวกัน ทาง พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ได้เข้าพบ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. โดยแสดงความประสงค์ที่จะขอกลับมายัง บช.น.อีกครั้ง ด้วยการยกเหตุผลว่า ได้ร่วมชะตาเดียวกัน ผบ.ตร.ที่ตกเป็นผู้ถูกร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบยปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ในคดี 7 ตุลาเลือด