"การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจที่ถือเป็นการแต่งตั้งล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งหากดูผิวเผิน เหมือนว่าจะไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่ามีสิ่งผิดสังเกตชวนให้สงสัย เพราะมีการเร่งรัด ผลักดันให้ร่างโครงสร้าง ตร.ฉบับนี้ ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด สอดรับกับถ้อยแถลงของ พล.ต.อ.วัชรพล ที่ระบุว่าหลักเกณฑ์การแต่งตั้งให้ใช้ พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 56 คือ ผบ.ตร.มีอำนาจในการแต่งตั้งเพราะถือเป็นเหตุพิเศษ การใช้กฎ ก.ตร.เกรงว่าจะไม่ครบถ้วน ขณะที่ตามประเพณีปฏิบัติ และด้วยมารยาท ผบ.ตร.ที่จะเกษียณอายุราชการ จะไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ แม้อำนาจจะอยู่จนถึงวันที่ 30 ก.ย. แต่จะรอให้ ผบ.ตร.คนต่อไปเป็นผู้ดำเนินการแทน หรือจะเป็นอย่างที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เคยพูดไว้ว่า “การแต่งตั้งโยกย้ายคือเรื่องผลประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัว และประโยชน์ทางการเมือง”
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง"กับการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" หน่วยราชการที่มีขนาดใหญ่ และเก่าแก่อันดับต้นๆของไทย ด้วยเป็นองค์กรที่มีกำลังพลในสังกัดกว่า 2 แสนนาย เป็นขุมกำลังขนาดมหึมา ที่ถือเป็นเสาหลักด้านความมั่นคงภายในประเทศ
แต่ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่เทอะทะ ทำให้การขับเคลื่อนผลักดันยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ทำได้อย่างเชื่องช้า นอกจากนี้การควบคุมดูแลยังทำได้ยากลำบาก เนื่องเพราะสายบังคับบัญชาที่สลับซับซ้อน ทำให้บ่อยครั้งจึงเกิดกรณีสีกากีนอกแถว ออกมาทำอะไรนอกลู่นอกทางอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่คอยบั่นทอนภาพลักษณ์ขององค์กรแห่งนี้มาโดยตลอด
จากเหตุผลข้างต้นทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการยกเครื่อง ปรับโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียใหม่...
ท่ามกลางสายตาของทุกภาคส่วนในสังคมที่ต่างจับตามองว่าการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ จะผลิกโฉมหน้าของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง
ทันทีที่“บิ๊กป๊อด” พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผงาดขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของวงการสีกากี ได้ปัดฝุ่นหยิบยกเรื่องการปรับโครงสร้างตร.ขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยได้มอบหมายให้มือขวา กุนซือฝ่ายบุ๋น อย่าง “บิ๊กกุ้ย” พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผบ.ตร.(บร.2) เป็นแม่งานหลักในการศึกษา รื้อปรับโครงสร้างตร.เทียบเคียงกับร่างโครงสร้างที่เคยทำไว้เดิมในยุค พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผบ.ตร.
โดย พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องการให้การปรับโครงสร้างตร.ครั้งนี้กลายเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ที่หมายมั่นปั้นมือให้แล้วเสร็จทันก่อนที่ตนเองจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2552
และด้วยการที่มีแบ็คอัพดีอย่าง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ทำให้พล.ต.อ.พชัรวาท กลายเป็นเสือติดปีก จะทำอะไรในยุคนี้ เรียกว่า “ไฟเขียวผ่านตลอด” เพราะมีฝ่ายการเมืองหนุนหลังอย่างเต็มสูบ
แต่ชั่วโมงนี้ประเด็นที่มาแรงแซงเรื่องการปรับโครงสร้าง นั่นก็คือ “การแต่งตั้งโยกย้าย” เนื่องจากมีการเพิ่มหน่วยงานระดับกองบัญชาการขึ้นมาใหม่ 4 หน่วยงาน กองบังคับการ 58 หน่วย ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งคนลงในโครงสร้างดังกล่าว แน่นอนว่าเมื่อมีการเพิ่มหน่วยงาน ก็จะต้องมีการเพิ่มคนทำงานเข้าไป ซึ่งครั้งนี้มีการเพิ่ม ตำแหน่งเข้ามาในโครงสร้างใหม่ ได้แก่ ผบช. 4 ตำแหน่ง รองผบช. 25 ตำแหน่ง ผบก. 58 ตำแหน่ง รองผบก. 85 ตำแหน่ง ผกก. 296 ตำแหน่ง รองผกก. 249 ตำแหน่ง สารวัตร 777 ตำแหน่ง รองสารวัตร 1,009 ตำแหน่ง ตำรวจชั้นประทวน 3,029 ตำแหน่ง การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้จึงเป็นการแต่งตั้งล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แม้ว่าพล.ต.อ.พัชรวาท จะอ้างว่าในตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมา จะมีการเกลี่ยตำแหน่งประจำสง.ผบ.ตร.ซึ่งมีตำแหน่งผบช. 10 ตำแหน่ง รองผบช.28 ตำแหน่ง ผบก. 48 ตำแหน่ง รองผบก. 30 ตำแหน่ง ผกก. 31 รองผกก. 33 ตำแหน่ง สารวัตร 30 ตำแหน่ง แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อถึงเวลาจริง ตำแหน่งดีๆ ที่มีความสำคัญ ก็ตกเป็นของบรรดาเด็กเส้นเด็กฝากของผู้มีอำนาจอย่างมิต้องสงสัย
และหากดูผิวเผิน ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่หากพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว จะพบว่า ครั้งนี้มีสิ่งผิดสังเกตชวนให้สงสัย เพราะมีเร่งรัด ผลักดันให้ร่างโครงสร้างตร.ฉบับนี้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และประกาศใช้โดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันในการแต่งตั้งโยกย้ายปรับเกลี่ยกำลังพลเข้าสู่โครงสร้างตร. ได้มีการเตรียมการไว้ก่อนหน้าที่ตัวโครงสร้างตร.จะได้รับการอนุมัติหลักการเสียอีก
ทั้งนี้ก็ เพื่อให้แต่งตั้งดำเนินให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค. เพื่อให้ผบ.ตร.สามารถอ้างเหตุผลในการใช้อำนาจตามมาตรา 56 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 ในการแต่งตั้งได้ เพราะหากล่วงเข้าสู่เดือนส.ค.ก็จะเป็นเรื่องของวาระการแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นอำนาจการแต่งตั้งระดับรองผบก.ถึงสารวัตรจะถูกกระจายไปยังผบช.ต่างๆ
สอดคล้องถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ของ พล.ต.อ.วัชรพล ที่ระบุว่า หลักเกณฑ์การแต่งตั้งให้ใช้ พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 56 คือ ผบ.ตร.มีอำนาจในการแต่งตั้งเพราะถือเป็นเหตุพิเศษ เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างตำแหน่งต่างๆ มีการกำหนดใหม่ การใช้กฎ ก.ตร.เกรงว่าจะไม่ครบถ้วน
การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 รวมถึงกฎก.ตร.ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยวาระประจำปี ระดับรองผบ.ตร.ถึงผบก.จะต้องแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ส.ค. ขณะที่ระดับรองผบก.ถึงสารวัตรจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. จะเห็นได้ว่าหากปล่อยเวลาให้เนิ่นช้า หรือแต่งตั้งโยกย้ายพร้อมกับวาระประจำปี อำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายของ พล.ต.อ.พัชรวาท จะถูกจำกัด
ขณะเดียวกันด้วยเหตุผลเรื่องความชอบธรรม เพราะตามประเพณีปฏิบัติ และด้วยมารยาท ผบ.ตร.ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ จะไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ เพราะแม้ว่า ผบ.ตร.คนเดิมจะมีอำนาจอยู่จนถึงวันที่ 30 ก.ย. แต่จะรอให้ผบ.ตร.คนต่อไปที่มารับช่วงดำเนินการเรื่องนี้แทน เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายกำลังพล ถือเป็นเรื่องอนาคต ไม่ควรที่จะให้ผบ.ตร.ที่กำลังจะเกษียณเป็นผู้ดำเนินการ ควรที่จะให้ผบ.ตร.คนใหม่เป็นผู้ดำเนินการเพราะจะเป็นที่เข้ามากุมบังเหียน รับผิดชอบการบริหารงานหน่วยงานในอนาคต ควรที่จะมีส่วนในการวางคนให้เหมาะสม
แต่เรื่องก็ไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป ในการใช้อำนาจของ ผบ.ตร.ในการพิจารณาแต่งตั้ง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 56 ได้ถูกที่ประชุม ก.ตร.ทักท้วง เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการรวบอำนาจไว้ที่ ผบ.ตร.เพื่อแต่งตั้ง จนได้ข้อสรุปในที่ประชุมให้เป็นในรูปคณะกรรมการ ที่มี ผบ.ตร.เป็นประธาน รอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ ผบช. ผบก.และ รอง ผบก.ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแต่งตั้ง
อย่างที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เคยพูดไว้ว่า “การแต่งตั้งโยกย้ายคือเรื่องผลประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัว และประโยชน์ทางการเมือง” ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ และทุกคนต่างก็ต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนเพราะที่ผ่านมาการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจทุกครั้งไม่ว่าในระดับใด จะมีเรื่องของการวิ่งเต้น โดยใช้ “เงิน” ขณะเดียวกันก็ใช้เส้นสายโดยผ่านนักการเมืองซึ่งจะมีการฝาก “ตั๋ว”
นอกจากนี้การแต่งตั้งโยกย้ายในแต่ละครั้งยังถือเป็นโอกาสในการล้างบางฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจก็ใช้โอกาสนี้ในการวางคนของตัวเองลงในพื้นที่สำคัญที่เป็นฐานเสียงตามภูมิภาคต่างๆ
โดยเฉพาะครั้งนี้มีสัญญาใจกับรัฐบาล ที่จะให้เด็กใน “ไลน์” ที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ ได้นั่งเก้าอี้ตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง ด้านการข่าว รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ทางภาคเหนือ และอีสาน รวมทั้งภาคใต้ซึ่งเป็นฐานเสียงเดิม
ขณะเดียวกันแว่วว่าในส่วนตำแหน่งประจำสง.ผบ.ตร.ที่ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประจำสำนักงานสำนักงานผู้บังคับบัญชา จะเปิดให้สามารถเลือกได้ว่าจะไปลงในตำแหน่งใดในโครงสร้างใหม่ โดยให้เขียนอันดับตำแหน่งที่ต้องการ 3 อันดับ ในโอกาสให้ประจำสำนักงานผบ.ตร.ได้มีสิทธิ์เลือกก่อน จากนั้นเป็นคิวของสำนักงานรองผบ.ตร.ที่มีอาวุโสลดหลั่นกันไป มิหนำซ้ำในตำแหน่งใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้น ต่างก็มีการกำหนด"ตัว"ไว้แล้วทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องบอกก็พอรู้ว่าเด็กใคร
เพียงเท่านี้ก็พอจะเห็นความเน่าเฟะของวงการตำรวจไทย ที่สั่งสมมายาวนาน คุณสมบัติ ความรู้ความสามารถแทบไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้นต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทุกอย่างขึ้นอยู่ว่าเป็นเด็กใคร ตั๋วใครเท่านั้น การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจจึงเสมือนเป็นเกมแห่งอำนาจและผลประโยชน์ ที่ทุกคนต่างแย่งกันตักตวง จนวินาทีสุดท้าย
แต่ที่น่าเสียดายว่าการปรับโครงสร้าง ตร.ซึ่งเสมือนเป็นผลงานชิ้นสำคัญ ที่จะเป็นการไว้ลายฝีมือของ พล.ต.อ.พัชรวาท ก่อนที่จะเปิดหมวกอำลาชีวิตราชการ แต่หากมีวาระซ่อนเร้นแล้วละก็ การปรับโครงสร้าง ตร.ครั้งนี้จะกลายเป็นผลงานชิ้น “โบว์ดำ”ที่จะถูกตำรวจรุ่นหลังกล่าวถึงอย่างไม่รู้ลืม....!
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง"กับการปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" หน่วยราชการที่มีขนาดใหญ่ และเก่าแก่อันดับต้นๆของไทย ด้วยเป็นองค์กรที่มีกำลังพลในสังกัดกว่า 2 แสนนาย เป็นขุมกำลังขนาดมหึมา ที่ถือเป็นเสาหลักด้านความมั่นคงภายในประเทศ
แต่ด้วยขนาดองค์กรที่ใหญ่เทอะทะ ทำให้การขับเคลื่อนผลักดันยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ทำได้อย่างเชื่องช้า นอกจากนี้การควบคุมดูแลยังทำได้ยากลำบาก เนื่องเพราะสายบังคับบัญชาที่สลับซับซ้อน ทำให้บ่อยครั้งจึงเกิดกรณีสีกากีนอกแถว ออกมาทำอะไรนอกลู่นอกทางอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่คอยบั่นทอนภาพลักษณ์ขององค์กรแห่งนี้มาโดยตลอด
จากเหตุผลข้างต้นทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มีการยกเครื่อง ปรับโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียใหม่...
ท่ามกลางสายตาของทุกภาคส่วนในสังคมที่ต่างจับตามองว่าการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้ จะผลิกโฉมหน้าของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน วางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กรให้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างไรบ้าง
ทันทีที่“บิ๊กป๊อด” พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผงาดขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของวงการสีกากี ได้ปัดฝุ่นหยิบยกเรื่องการปรับโครงสร้างตร.ขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยได้มอบหมายให้มือขวา กุนซือฝ่ายบุ๋น อย่าง “บิ๊กกุ้ย” พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผบ.ตร.(บร.2) เป็นแม่งานหลักในการศึกษา รื้อปรับโครงสร้างตร.เทียบเคียงกับร่างโครงสร้างที่เคยทำไว้เดิมในยุค พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผบ.ตร.
โดย พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องการให้การปรับโครงสร้างตร.ครั้งนี้กลายเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ที่หมายมั่นปั้นมือให้แล้วเสร็จทันก่อนที่ตนเองจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2552
และด้วยการที่มีแบ็คอัพดีอย่าง “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ทำให้พล.ต.อ.พชัรวาท กลายเป็นเสือติดปีก จะทำอะไรในยุคนี้ เรียกว่า “ไฟเขียวผ่านตลอด” เพราะมีฝ่ายการเมืองหนุนหลังอย่างเต็มสูบ
แต่ชั่วโมงนี้ประเด็นที่มาแรงแซงเรื่องการปรับโครงสร้าง นั่นก็คือ “การแต่งตั้งโยกย้าย” เนื่องจากมีการเพิ่มหน่วยงานระดับกองบัญชาการขึ้นมาใหม่ 4 หน่วยงาน กองบังคับการ 58 หน่วย ทำให้ต้องมีการแต่งตั้งคนลงในโครงสร้างดังกล่าว แน่นอนว่าเมื่อมีการเพิ่มหน่วยงาน ก็จะต้องมีการเพิ่มคนทำงานเข้าไป ซึ่งครั้งนี้มีการเพิ่ม ตำแหน่งเข้ามาในโครงสร้างใหม่ ได้แก่ ผบช. 4 ตำแหน่ง รองผบช. 25 ตำแหน่ง ผบก. 58 ตำแหน่ง รองผบก. 85 ตำแหน่ง ผกก. 296 ตำแหน่ง รองผกก. 249 ตำแหน่ง สารวัตร 777 ตำแหน่ง รองสารวัตร 1,009 ตำแหน่ง ตำรวจชั้นประทวน 3,029 ตำแหน่ง การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้จึงเป็นการแต่งตั้งล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แม้ว่าพล.ต.อ.พัชรวาท จะอ้างว่าในตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมา จะมีการเกลี่ยตำแหน่งประจำสง.ผบ.ตร.ซึ่งมีตำแหน่งผบช. 10 ตำแหน่ง รองผบช.28 ตำแหน่ง ผบก. 48 ตำแหน่ง รองผบก. 30 ตำแหน่ง ผกก. 31 รองผกก. 33 ตำแหน่ง สารวัตร 30 ตำแหน่ง แต่เชื่อเถอะว่าเมื่อถึงเวลาจริง ตำแหน่งดีๆ ที่มีความสำคัญ ก็ตกเป็นของบรรดาเด็กเส้นเด็กฝากของผู้มีอำนาจอย่างมิต้องสงสัย
และหากดูผิวเผิน ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรในกอไผ่ แต่หากพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว จะพบว่า ครั้งนี้มีสิ่งผิดสังเกตชวนให้สงสัย เพราะมีเร่งรัด ผลักดันให้ร่างโครงสร้างตร.ฉบับนี้ผ่านเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และประกาศใช้โดยเร็วที่สุด ขณะเดียวกันในการแต่งตั้งโยกย้ายปรับเกลี่ยกำลังพลเข้าสู่โครงสร้างตร. ได้มีการเตรียมการไว้ก่อนหน้าที่ตัวโครงสร้างตร.จะได้รับการอนุมัติหลักการเสียอีก
ทั้งนี้ก็ เพื่อให้แต่งตั้งดำเนินให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค. เพื่อให้ผบ.ตร.สามารถอ้างเหตุผลในการใช้อำนาจตามมาตรา 56 แห่งพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 ในการแต่งตั้งได้ เพราะหากล่วงเข้าสู่เดือนส.ค.ก็จะเป็นเรื่องของวาระการแต่งตั้งโยกย้ายประจำปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นอำนาจการแต่งตั้งระดับรองผบก.ถึงสารวัตรจะถูกกระจายไปยังผบช.ต่างๆ
สอดคล้องถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ของ พล.ต.อ.วัชรพล ที่ระบุว่า หลักเกณฑ์การแต่งตั้งให้ใช้ พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 56 คือ ผบ.ตร.มีอำนาจในการแต่งตั้งเพราะถือเป็นเหตุพิเศษ เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างตำแหน่งต่างๆ มีการกำหนดใหม่ การใช้กฎ ก.ตร.เกรงว่าจะไม่ครบถ้วน
การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 รวมถึงกฎก.ตร.ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยวาระประจำปี ระดับรองผบ.ตร.ถึงผบก.จะต้องแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ส.ค. ขณะที่ระดับรองผบก.ถึงสารวัตรจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย. จะเห็นได้ว่าหากปล่อยเวลาให้เนิ่นช้า หรือแต่งตั้งโยกย้ายพร้อมกับวาระประจำปี อำนาจการแต่งตั้งโยกย้ายของ พล.ต.อ.พัชรวาท จะถูกจำกัด
ขณะเดียวกันด้วยเหตุผลเรื่องความชอบธรรม เพราะตามประเพณีปฏิบัติ และด้วยมารยาท ผบ.ตร.ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ จะไม่มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ เพราะแม้ว่า ผบ.ตร.คนเดิมจะมีอำนาจอยู่จนถึงวันที่ 30 ก.ย. แต่จะรอให้ผบ.ตร.คนต่อไปที่มารับช่วงดำเนินการเรื่องนี้แทน เพราะการแต่งตั้งโยกย้ายกำลังพล ถือเป็นเรื่องอนาคต ไม่ควรที่จะให้ผบ.ตร.ที่กำลังจะเกษียณเป็นผู้ดำเนินการ ควรที่จะให้ผบ.ตร.คนใหม่เป็นผู้ดำเนินการเพราะจะเป็นที่เข้ามากุมบังเหียน รับผิดชอบการบริหารงานหน่วยงานในอนาคต ควรที่จะมีส่วนในการวางคนให้เหมาะสม
แต่เรื่องก็ไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป ในการใช้อำนาจของ ผบ.ตร.ในการพิจารณาแต่งตั้ง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ มาตรา 56 ได้ถูกที่ประชุม ก.ตร.ทักท้วง เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการรวบอำนาจไว้ที่ ผบ.ตร.เพื่อแต่งตั้ง จนได้ข้อสรุปในที่ประชุมให้เป็นในรูปคณะกรรมการ ที่มี ผบ.ตร.เป็นประธาน รอง ผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติ ผบช. ผบก.และ รอง ผบก.ที่เกี่ยวข้องพิจารณาแต่งตั้ง
อย่างที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เคยพูดไว้ว่า “การแต่งตั้งโยกย้ายคือเรื่องผลประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัว และประโยชน์ทางการเมือง” ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ และทุกคนต่างก็ต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนเพราะที่ผ่านมาการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจทุกครั้งไม่ว่าในระดับใด จะมีเรื่องของการวิ่งเต้น โดยใช้ “เงิน” ขณะเดียวกันก็ใช้เส้นสายโดยผ่านนักการเมืองซึ่งจะมีการฝาก “ตั๋ว”
นอกจากนี้การแต่งตั้งโยกย้ายในแต่ละครั้งยังถือเป็นโอกาสในการล้างบางฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจก็ใช้โอกาสนี้ในการวางคนของตัวเองลงในพื้นที่สำคัญที่เป็นฐานเสียงตามภูมิภาคต่างๆ
โดยเฉพาะครั้งนี้มีสัญญาใจกับรัฐบาล ที่จะให้เด็กใน “ไลน์” ที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ ได้นั่งเก้าอี้ตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความมั่นคง ด้านการข่าว รวมทั้งในพื้นที่ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ทางภาคเหนือ และอีสาน รวมทั้งภาคใต้ซึ่งเป็นฐานเสียงเดิม
ขณะเดียวกันแว่วว่าในส่วนตำแหน่งประจำสง.ผบ.ตร.ที่ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการประจำสำนักงานสำนักงานผู้บังคับบัญชา จะเปิดให้สามารถเลือกได้ว่าจะไปลงในตำแหน่งใดในโครงสร้างใหม่ โดยให้เขียนอันดับตำแหน่งที่ต้องการ 3 อันดับ ในโอกาสให้ประจำสำนักงานผบ.ตร.ได้มีสิทธิ์เลือกก่อน จากนั้นเป็นคิวของสำนักงานรองผบ.ตร.ที่มีอาวุโสลดหลั่นกันไป มิหนำซ้ำในตำแหน่งใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้น ต่างก็มีการกำหนด"ตัว"ไว้แล้วทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องบอกก็พอรู้ว่าเด็กใคร
เพียงเท่านี้ก็พอจะเห็นความเน่าเฟะของวงการตำรวจไทย ที่สั่งสมมายาวนาน คุณสมบัติ ความรู้ความสามารถแทบไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้นต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทุกอย่างขึ้นอยู่ว่าเป็นเด็กใคร ตั๋วใครเท่านั้น การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจจึงเสมือนเป็นเกมแห่งอำนาจและผลประโยชน์ ที่ทุกคนต่างแย่งกันตักตวง จนวินาทีสุดท้าย
แต่ที่น่าเสียดายว่าการปรับโครงสร้าง ตร.ซึ่งเสมือนเป็นผลงานชิ้นสำคัญ ที่จะเป็นการไว้ลายฝีมือของ พล.ต.อ.พัชรวาท ก่อนที่จะเปิดหมวกอำลาชีวิตราชการ แต่หากมีวาระซ่อนเร้นแล้วละก็ การปรับโครงสร้าง ตร.ครั้งนี้จะกลายเป็นผลงานชิ้น “โบว์ดำ”ที่จะถูกตำรวจรุ่นหลังกล่าวถึงอย่างไม่รู้ลืม....!