ดีเอสไอรวบผู้ก่อตั้งแชร์ข้าวสาร เปิดบริษัทที่ จ.เชียงใหม่ ตุ๋นเหยื่อเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท เพิ่งสำนึกผิด เตือนผู้ประกอบการอย่าคิดเปิดบริษัทแชร์ลูกโซ่ หลังต้องหลบหนีการจับกุมหัวซุกหัวซุนไม่มีแผ่นดินอยู่แม้จะได้รับเงินจำนวนมาก
วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เวลา 12.30 น นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวการจับกุม นายรชต ชวาลาอกนิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด ผู้ต้องหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน จากกรณีหลอกลวงชักจูงประชาชนให้ร่วมลงทุนซื้อข้าวสารแล้วอ้างว่าจะจ่ายเป็นเงินปันผลและการคืนทุนพร้อมดอกเบี้ยให้ภายใน 30 วันนับจากวันลงทุนโดยแบ่งจ่ายเป็นงวดที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะของแชร์ลูกโซ่ มีผู้เสียหายทั่วประเทศกวา 1,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท โดยพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมได้ที่ร้านอินเทอร์เน็ตย่านสุวินทวงศ์ หลังหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านก่อนสำนึกผิดกลับเข้ามาในประเทศจนถูกจับกุมในที่สุด
นายรชตเปิดเผยว่า ยอมรับในทุกข้อกล่าวหาและขอโทษประชาชนที่ทำให้ต้องได้รับความเสียหาย พร้อมขอเตือนผู้ประกอบการหากคิดเปิดบริษัทในลักษณะแชร์ลูกโซ่ แม้จะได้ผลตอบแทนจำนวนมหาศาลแต่ต้องหลบหนีการจับกุมหัวซุกหัวซุนจนไม่มีแผ่นดินอยู่ ชีวิตไม่มีความสุขถึงแม้จะมีเงินจำนวนมาก และเตือนประชาชนอย่าตกเป็นเหยื่อโดยเห็นแค่เพียงผลตอบแทนจนเกิดความโลภเพิ่มเงินลงทุนไปเรื่อยๆ
สำหรับการขั้นตอนการชักชวนประชาชนให้หลงเชื่อร่วมทุน จะชักชวนบุคคลใกล้ชิดเป็นอันดับแรกมาเป็นแม่ทีม หรือผู้นำ เพื่อหาเครือข่ายร่วมลงทุนต่อ โดยมีผลตอบแทนจำนวนมากเป็นตัวล่อใจ ซึ่งการลงทุนครั้งแรกผู้ลงุทนจะต้องจ่ายเงินจำนวน 1,450 บาท และได้รับสินค้าเป็นข้าวสาร จากนั้นในระยะเวลา 30 วันจะได้รับเงินตอบแทน 1,000 บาท และในอีก 30 วันต่อมาจะได้รับเงินปันผลอีก 1,000 บาท จนทำให้มีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นในตัวบริษัท เพราะก่อนหน้านี้ตนเปิดพลาซาให้แม่ค้าจังหวัดเชียงใหม่เช่าขายสินค้า
ทั้งนี้ วันแรกของการก่อตั้งบริษัทมีเงินทุนเพียง 60,000 บาทเท่านั้น แต่อีกเพียง 22 วันต่อมาในขณะที่ตนเองป่วยเป็นไข้เลือดออกนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล กลับพบว่ามีเงินเข้าบัญชีหมุนเวียนถึง 30 ล้านบาท จนระยะเวลา 2 เดือนครึ่ง มีเงินหมุนเวียนในบัญชีถึงกว่า 1,000 ล้านบาท แต่สาเหตุที่ต้องปิดบริษัทเนื่องจากมีบริษัทลักษณะเดียวกันเปิดตัวเป็นคู่แข่งทำให้รายได้หดหาย
สำหรับคดีนี้มีผู้ต้องหารวม 15 คนจับกุมได้แล้ว 12 คน อีก 3 คนที่อยู่ระหว่างติดตามจับกุมเป็นเครือข่ายของจังหวัดอื่น นอกจากนี้ ดีเอสไอได้ประสานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อติดตามอายัดทรัยพ์ และประสานเจ้าหน้าที่ป้องปรามเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นฟ้องล้มละลายต่อไป
วันนี้ (11 มิ.ย.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เวลา 12.30 น นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวการจับกุม นายรชต ชวาลาอกนิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด ผู้ต้องหาร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน จากกรณีหลอกลวงชักจูงประชาชนให้ร่วมลงทุนซื้อข้าวสารแล้วอ้างว่าจะจ่ายเป็นเงินปันผลและการคืนทุนพร้อมดอกเบี้ยให้ภายใน 30 วันนับจากวันลงทุนโดยแบ่งจ่ายเป็นงวดที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะของแชร์ลูกโซ่ มีผู้เสียหายทั่วประเทศกวา 1,000 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท โดยพนักงานสอบสวนสามารถจับกุมได้ที่ร้านอินเทอร์เน็ตย่านสุวินทวงศ์ หลังหลบหนีไปยังประเทศเพื่อนบ้านก่อนสำนึกผิดกลับเข้ามาในประเทศจนถูกจับกุมในที่สุด
นายรชตเปิดเผยว่า ยอมรับในทุกข้อกล่าวหาและขอโทษประชาชนที่ทำให้ต้องได้รับความเสียหาย พร้อมขอเตือนผู้ประกอบการหากคิดเปิดบริษัทในลักษณะแชร์ลูกโซ่ แม้จะได้ผลตอบแทนจำนวนมหาศาลแต่ต้องหลบหนีการจับกุมหัวซุกหัวซุนจนไม่มีแผ่นดินอยู่ ชีวิตไม่มีความสุขถึงแม้จะมีเงินจำนวนมาก และเตือนประชาชนอย่าตกเป็นเหยื่อโดยเห็นแค่เพียงผลตอบแทนจนเกิดความโลภเพิ่มเงินลงทุนไปเรื่อยๆ
สำหรับการขั้นตอนการชักชวนประชาชนให้หลงเชื่อร่วมทุน จะชักชวนบุคคลใกล้ชิดเป็นอันดับแรกมาเป็นแม่ทีม หรือผู้นำ เพื่อหาเครือข่ายร่วมลงทุนต่อ โดยมีผลตอบแทนจำนวนมากเป็นตัวล่อใจ ซึ่งการลงทุนครั้งแรกผู้ลงุทนจะต้องจ่ายเงินจำนวน 1,450 บาท และได้รับสินค้าเป็นข้าวสาร จากนั้นในระยะเวลา 30 วันจะได้รับเงินตอบแทน 1,000 บาท และในอีก 30 วันต่อมาจะได้รับเงินปันผลอีก 1,000 บาท จนทำให้มีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก ประกอบกับการสร้างความเชื่อมั่นในตัวบริษัท เพราะก่อนหน้านี้ตนเปิดพลาซาให้แม่ค้าจังหวัดเชียงใหม่เช่าขายสินค้า
ทั้งนี้ วันแรกของการก่อตั้งบริษัทมีเงินทุนเพียง 60,000 บาทเท่านั้น แต่อีกเพียง 22 วันต่อมาในขณะที่ตนเองป่วยเป็นไข้เลือดออกนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล กลับพบว่ามีเงินเข้าบัญชีหมุนเวียนถึง 30 ล้านบาท จนระยะเวลา 2 เดือนครึ่ง มีเงินหมุนเวียนในบัญชีถึงกว่า 1,000 ล้านบาท แต่สาเหตุที่ต้องปิดบริษัทเนื่องจากมีบริษัทลักษณะเดียวกันเปิดตัวเป็นคู่แข่งทำให้รายได้หดหาย
สำหรับคดีนี้มีผู้ต้องหารวม 15 คนจับกุมได้แล้ว 12 คน อีก 3 คนที่อยู่ระหว่างติดตามจับกุมเป็นเครือข่ายของจังหวัดอื่น นอกจากนี้ ดีเอสไอได้ประสานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อติดตามอายัดทรัยพ์ และประสานเจ้าหน้าที่ป้องปรามเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง เพื่อยื่นฟ้องล้มละลายต่อไป