สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)เป็นหน่วยงานน้องใหม่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่คาดหวังให้เป็นหน่วยงานตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมถึงข้าราชการซี 8 ลงมา แบ่งเบาภาระการทำงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่พอเริ่มหยิบจับงานก็ดูจะเริ่มมีปัญหาเมื่อการทำงานเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง กลับมีเสียงทวงถามถึงอำนาจหน้าที่ในการเข้าไปตรวจสอบ
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการป.ป.ท. เปิดเผยว่า ป.ป.ท.มีกฎหมายรองรับการทำงานอยู่ 2 ฉบับ คือ 1.พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันปราบปรามการทุจริต 2551 ที่ถือเป็นกฎหมายจัดตั้งและเป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ปปท.และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. 2.กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน ป.ป.ท. 2551 ที่เป็นการพูดถึงอำนาจหน้าที่ของ สำนักงาน ป.ป.ท.โดยตรง ปัจจุบันแม้ว่า จะยังไม่มีคณะกรรมการ ป.ป.ท.หรือบอร์ด แต่ก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง คืองานที่เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร้องเรียนให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบเรื่องต่างๆ ก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่ ปป.ท.จะต้องดำเนินการ หน้าที่ส่วนนี้เป็นหน้าที่ที่แยกออกมาจากคณะกรรมการเป็นหน้าที่ของสำนักงาน โดยตนเป็นเลขาธิการฯก็มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามที่มีการร้องเรียนหรือกล่าวหา
“ในกฎหมายฉบับนี้เขียนไว้ 2 ส่วนคือส่วนที่มีการร้องเรียนและมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการประพฤติมิชอบในภาครัฐขึ้น สำนักงาน ป.ป.ท.ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ โดยรวมแล้วก็เป็นทั้งเชิงรับและเชิงรุกคือไม่ต้องมีใครร้องเรียนแต่มีเหตุอันควรสงสัยก็เข้าไปตรวจสอบได้”นายธาริต กล่าว
นายธาริต กล่าวอีกว่า เท่าที่ผ่านมาตั้งแต่ ป.ป.ท.เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 ป.ป.ท.ได้เข้าตรวจสอบหน่วยงานรัฐแล้วหลายหน่วยงาน ส่วนใหญ่จะได้รับความร่วมมือด้วยดีมาตลอดทุกหน่วยงานของภาครัฐให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งทุกหน่วยยกเว้นกรณีมีข้อปัญหาบ้างเล็กน้อยคือ กองทุนบำเน็ญบำนาญข้าราชการ (กบข.)แต่ล่าสุดทาง กบข.ได้ส่งหนังสือตอบมาว่ายินดีให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบจึงคิดว่าไม่มีปัญหาและจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยปกติแล้วหน่วยงานของรัฐจะต้องร่วมมือในการตรวจสอบโดยไม่มีข้อขัดแย้ง
นายธาริต กล่าวด้วยว่า เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถือเป็นการตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไรแล้วเสร็จ หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดก็ถือว่าเรื่องจบ แต่ถ้าพบว่ามีมูลน่าจะมีการกระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการไต่สวนที่เทียบได้กับการสอบสวนซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท.หรือบอร์ด โดยคณะกรรมการอาจจะมอบให้เจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการแทนได้ ปัจจุบันยังไม่มีคดีเข้าสู่กระบวนการไต่สวนเลยเนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการ ดังนั้นการทำงานของ ป.ป.ท.คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ทำไปแล้วเป็นจำนวนมากมีเรื่องร้องเรียนประมาณ 500 เรื่องดำเนินการตรวจสอบในเบื้องต้นไปแล้วประมาณกว่า 100 เรื่อง
“ในจำนวนกว่า 100 เรื่องนั้นมีหลายเรื่องที่ ป.ป.ท.ดำเนินการเสร็จแล้วรายงานให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทราบแล้ว บางส่วนไม่พบความผิดทำให้คดียุติ แต่บางส่วนพบว่าน่าจะมีการกระทำความผิด จึงได้เตรียมเรื่องเพื่อรอการไต่สวนจากคณะกรรมการมาดำเนินการต่อ ซึ่งคณะกรรมการขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหาซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ เมื่อได้คณะกรรมการแล้วจะสามารถทำงานได้เต็มร้อย”นายธาริต กล่าว
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมได้รับการสรรหาเป็นคณะกรรมการนั้น นายธาริต บอกว่า นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม จะเป็นประธานสรรหาซึ่งจะต้องมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 7 คน มาจากการสรรหา 6 คน และเป็นโดยตำแหน่ง 1 คน คือ เลขาธิการ ป.ป.ช.โดยคุณสมบัติของคณะกรรมการจะต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.คือมีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ยอมรับของคนทั่วไป ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ซี 10 ขึ้นไปและเมื่อได้รับแต่งตั้งห้ามประกอบอาชีพอื่นใดทั้งสิ้น ต้องเป็นกลางทางการเมืองปราศจากประโยชน์ทับซ้อน คือจะต้องทำงานให้ ปปท.อย่างเดียวไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นใดได้
นายธาริต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีคดีที่ ป.ป.ท.ตรวจสอบในเบื้องต้นและสามารถส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานอื่นดำเนินการต่อได้แล้วเช่น คดีซานติก้าผับ และนมโรงเรียน ที่ได้ส่งเรื่องให้ ดีเอสไอ ตำรวจ กทม.กระทรวงการคลังไปแก้ไขดำเนินการต่อ จนทำให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ กทม.มีการสอบสวนทางตำรวจ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น แต่ในส่วนที่จะต้องรอคณะกรรมการทำการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดทางวินัยหรืออาญาที่ไม่สามารถส่งให้หน่วยงานอื่นดำเนินการต่อได้ ซึ่งส่วนใหญ่ในขณะนี้ ป.ป.ท.จะส่งเรื่องที่มีมูลความผิดทางวินัยให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ
สำหรับความคืบหน้าคดีที่ ป.ป.ท.เข้าไปตรวจสอบ นายธาริต เปิดเผยว่า มีความคืบหน้าไปแล้วหลายคดี เช่นนมโรงเรียน ครม.มีมติให้เป็นการค้าเสรีและส่ง ป.ป.ช.ดำเนินการทางวินัยต่อแล้ว คดีซานติก้าถือว่ายังไม่จบเพราะได้ร้องทุกข์ให้ดีเอสไอดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคดีใหญ่ๆที่เตรียมดำเนินคดีทั้งรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย คดีเกี่ยวกับอบายมุข สถานบริการผิดกฎหมาย ตู้ม้าตู้เกมที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล จะส่งหนังสือเวียนว่าต้องไม่ให้มีอีกแล้วในทุกพื้นที่หลังจากที่ ป.ป.ท.ได้แถลงข่าวการเข้าไปสุ่มตรวจก่อนหน้านี้ โดยขณะนี้ ตนได้สรุปรายงานเบื้องต้นที่มีผลการสุ่มตรวจในพื้นที่ต่างๆ รอบ 2 รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหาหลายแนวทางให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตัดสินใจเลือกวิธีดำเนินการแล้ว
จนถึงขณะนี้เชื่อว่า ป.ป.ท.จะไม่ใช่เสือกระดาษอย่างที่หลายคนคิด เพราะแม้จะเริ่มทำงานก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่เล่นเอาหลายหน่วยงานภาครัฐเริ่มรู้สึกสะอึกสะเทือนกันไปตามๆกัน และหากอีก 2 เดือนข้างหน้า ป.ป.ท.มีคณะกรรมการเต็มตัวแล้วก็น่าติดตามว่าการทำงานจะยิ่งเข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการป.ป.ท. เปิดเผยว่า ป.ป.ท.มีกฎหมายรองรับการทำงานอยู่ 2 ฉบับ คือ 1.พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันปราบปรามการทุจริต 2551 ที่ถือเป็นกฎหมายจัดตั้งและเป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ปปท.และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. 2.กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน ป.ป.ท. 2551 ที่เป็นการพูดถึงอำนาจหน้าที่ของ สำนักงาน ป.ป.ท.โดยตรง ปัจจุบันแม้ว่า จะยังไม่มีคณะกรรมการ ป.ป.ท.หรือบอร์ด แต่ก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง คืองานที่เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร้องเรียนให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบเรื่องต่างๆ ก็ถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่ ปป.ท.จะต้องดำเนินการ หน้าที่ส่วนนี้เป็นหน้าที่ที่แยกออกมาจากคณะกรรมการเป็นหน้าที่ของสำนักงาน โดยตนเป็นเลขาธิการฯก็มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามที่มีการร้องเรียนหรือกล่าวหา
“ในกฎหมายฉบับนี้เขียนไว้ 2 ส่วนคือส่วนที่มีการร้องเรียนและมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการประพฤติมิชอบในภาครัฐขึ้น สำนักงาน ป.ป.ท.ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ โดยรวมแล้วก็เป็นทั้งเชิงรับและเชิงรุกคือไม่ต้องมีใครร้องเรียนแต่มีเหตุอันควรสงสัยก็เข้าไปตรวจสอบได้”นายธาริต กล่าว
นายธาริต กล่าวอีกว่า เท่าที่ผ่านมาตั้งแต่ ป.ป.ท.เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551 ป.ป.ท.ได้เข้าตรวจสอบหน่วยงานรัฐแล้วหลายหน่วยงาน ส่วนใหญ่จะได้รับความร่วมมือด้วยดีมาตลอดทุกหน่วยงานของภาครัฐให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งทุกหน่วยยกเว้นกรณีมีข้อปัญหาบ้างเล็กน้อยคือ กองทุนบำเน็ญบำนาญข้าราชการ (กบข.)แต่ล่าสุดทาง กบข.ได้ส่งหนังสือตอบมาว่ายินดีให้ ป.ป.ท.ตรวจสอบจึงคิดว่าไม่มีปัญหาและจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยปกติแล้วหน่วยงานของรัฐจะต้องร่วมมือในการตรวจสอบโดยไม่มีข้อขัดแย้ง
นายธาริต กล่าวด้วยว่า เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถือเป็นการตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไรแล้วเสร็จ หากไม่พบว่ามีการกระทำความผิดก็ถือว่าเรื่องจบ แต่ถ้าพบว่ามีมูลน่าจะมีการกระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการไต่สวนที่เทียบได้กับการสอบสวนซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท.หรือบอร์ด โดยคณะกรรมการอาจจะมอบให้เจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการแทนได้ ปัจจุบันยังไม่มีคดีเข้าสู่กระบวนการไต่สวนเลยเนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการ ดังนั้นการทำงานของ ป.ป.ท.คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ทำไปแล้วเป็นจำนวนมากมีเรื่องร้องเรียนประมาณ 500 เรื่องดำเนินการตรวจสอบในเบื้องต้นไปแล้วประมาณกว่า 100 เรื่อง
“ในจำนวนกว่า 100 เรื่องนั้นมีหลายเรื่องที่ ป.ป.ท.ดำเนินการเสร็จแล้วรายงานให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทราบแล้ว บางส่วนไม่พบความผิดทำให้คดียุติ แต่บางส่วนพบว่าน่าจะมีการกระทำความผิด จึงได้เตรียมเรื่องเพื่อรอการไต่สวนจากคณะกรรมการมาดำเนินการต่อ ซึ่งคณะกรรมการขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสรรหาซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ เมื่อได้คณะกรรมการแล้วจะสามารถทำงานได้เต็มร้อย”นายธาริต กล่าว
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมได้รับการสรรหาเป็นคณะกรรมการนั้น นายธาริต บอกว่า นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม จะเป็นประธานสรรหาซึ่งจะต้องมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 7 คน มาจากการสรรหา 6 คน และเป็นโดยตำแหน่ง 1 คน คือ เลขาธิการ ป.ป.ช.โดยคุณสมบัติของคณะกรรมการจะต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.คือมีความซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์ยอมรับของคนทั่วไป ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ซี 10 ขึ้นไปและเมื่อได้รับแต่งตั้งห้ามประกอบอาชีพอื่นใดทั้งสิ้น ต้องเป็นกลางทางการเมืองปราศจากประโยชน์ทับซ้อน คือจะต้องทำงานให้ ปปท.อย่างเดียวไม่สามารถประกอบอาชีพอื่นใดได้
นายธาริต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีคดีที่ ป.ป.ท.ตรวจสอบในเบื้องต้นและสามารถส่งให้เจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานอื่นดำเนินการต่อได้แล้วเช่น คดีซานติก้าผับ และนมโรงเรียน ที่ได้ส่งเรื่องให้ ดีเอสไอ ตำรวจ กทม.กระทรวงการคลังไปแก้ไขดำเนินการต่อ จนทำให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ กทม.มีการสอบสวนทางตำรวจ และกระทรวงการคลัง เป็นต้น แต่ในส่วนที่จะต้องรอคณะกรรมการทำการไต่สวนเพื่อชี้มูลความผิดทางวินัยหรืออาญาที่ไม่สามารถส่งให้หน่วยงานอื่นดำเนินการต่อได้ ซึ่งส่วนใหญ่ในขณะนี้ ป.ป.ท.จะส่งเรื่องที่มีมูลความผิดทางวินัยให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ
สำหรับความคืบหน้าคดีที่ ป.ป.ท.เข้าไปตรวจสอบ นายธาริต เปิดเผยว่า มีความคืบหน้าไปแล้วหลายคดี เช่นนมโรงเรียน ครม.มีมติให้เป็นการค้าเสรีและส่ง ป.ป.ช.ดำเนินการทางวินัยต่อแล้ว คดีซานติก้าถือว่ายังไม่จบเพราะได้ร้องทุกข์ให้ดีเอสไอดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคดีใหญ่ๆที่เตรียมดำเนินคดีทั้งรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย คดีเกี่ยวกับอบายมุข สถานบริการผิดกฎหมาย ตู้ม้าตู้เกมที่ยังคงมีอยู่แม้ว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล จะส่งหนังสือเวียนว่าต้องไม่ให้มีอีกแล้วในทุกพื้นที่หลังจากที่ ป.ป.ท.ได้แถลงข่าวการเข้าไปสุ่มตรวจก่อนหน้านี้ โดยขณะนี้ ตนได้สรุปรายงานเบื้องต้นที่มีผลการสุ่มตรวจในพื้นที่ต่างๆ รอบ 2 รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหาหลายแนวทางให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตัดสินใจเลือกวิธีดำเนินการแล้ว
จนถึงขณะนี้เชื่อว่า ป.ป.ท.จะไม่ใช่เสือกระดาษอย่างที่หลายคนคิด เพราะแม้จะเริ่มทำงานก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่เล่นเอาหลายหน่วยงานภาครัฐเริ่มรู้สึกสะอึกสะเทือนกันไปตามๆกัน และหากอีก 2 เดือนข้างหน้า ป.ป.ท.มีคณะกรรมการเต็มตัวแล้วก็น่าติดตามว่าการทำงานจะยิ่งเข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่