“พีระพันธุ์” โบ้ยเป็นอำนาจสั่งการฝ่ายราชการพิจารณาเห็นควรย้าย “ทวี” ระหว่างสืบข้อเท็จจริงเงินบริจาค 258 ล้านต่อ ปชป.รั่วไหลหรือไม่ ขณะที่ปลัดยุติธรรมชี้ยังไม่จำเป็นต้องย้ายอธิบดีดีเอสไอในช่วงนี้ พร้อมให้คณะกรรมการตรวจสอบศึกษาข้อกฎหมายว่าสามารถเข้าไปดูสำนวนสอบสวนของดีเอสไอได้หรือไม่
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการสอบกรณีสำนวนสอบสวนคดีบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ถูกนำไปเปิดเผยกับฝ่ายค้านว่า ตนไม่ได้มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ แต่การตรวจสอบเป็นหน้าที่ที่ดีเอสไอจะต้องดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องทำตามขั้นตอนระเบียบราชการ ส่วนความจำเป็นในการย้ายอธิบดีดีเอสไอระหว่างที่มีการสืบสวนข้อเท็จจริงนั้น เป็นอำนาจหน้าที่สั่งการของฝ่ายราชการไม่เกี่ยวข้องกับตน ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีกระแสกดดันตนภายในพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเพียงกระแสข่าวเช่นเดียวกับกระแสข่าวโยกย้ายอธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมา
ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า หลังจากเกิดกระแสข่าวเรื่องสำนวนสอบสวนรั่วจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะหากเป็นความจริงถือว่ามีความผิด ตนจึงได้มอบหมายให้นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่กำกับดูแลดีเอสไอ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์จะสามารถรายงานความคืบหน้าได้
อย่างไรก็ตาม อาจติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายคดีพิเศษที่หากมีการตั้งคณะกรรมการจากภายนอกเข้าไปตรวจสอบจะสามารถเข้าไปดูสำนวนได้หรือไม่ ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการศึกษาข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เบื้องต้นให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง และถอดเทปการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาอย่างละเอียด จากนั้นให้นายชาญเชาวน์ รายงานผลการตรวจสอบและตนจะพิจารณาว่ามีความครบถ้วนหรือไม่ ต้องดำเนินการทางวินัยหรือไม่ หากผลการสอบสวนเชื่อได้ว่าข้อมูลมีการรั่วไหลจริงก็ถือว่าผิดวินัย
นายกิตติพงษ์กล่าวอีกว่า การตรวจสอบของคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นจะต้องเป็นกลางมากที่สุด และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง ส่วนประเด็นต่างๆ ที่มีการนำเสนอทางสื่อมวลชนเชื่อว่านายชาญเชาวน์จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลการสอบสวน โดยเบื้องต้นนายชาญเชาวน์จะต้องดูว่าสามารถตั้งคณะกรรมการจากดีเอสไอตรวจสอบได้หรือไม่ หากจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จะต้องดูว่าเข้าไปดูสำนวนการสอบสวนคดีจ่ายเงินบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ด้วย แต่เชื่อว่าน่าจะเข้าไปดูสำนวนได้โดยไม่ทำให้รูปคดีเสียหาย
ทั้งนี้ การสอบข้อเท็จจริงเรื่องข้อมูลรั่วจะไม่ดูเพียงสำนวนคดีอย่างเดียวแต่จะต้องดูพยานแวดล้อมอื่นประกอบ
นายกิตติพงษ์กล่าวด้วยว่า ระหว่างการสอบข้อเท็จจริงขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องย้ายอธิบดีดีเอสไอ หรือหัวหน้าพนักงานสอบสวน เพราะเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนวนคดี ซึ่งตนได้ย้ำให้การเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ให้มีการก้าวก่ายการทำสำนวนคดีจ่ายเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ และต้องไม่ให้มีการนำเรื่องการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง
ส่วนกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่าให้กระทรวงยุติธรรมบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม และตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยไม่จำเป็นต้องปกป้องนักการเมืองแต่สอบเพื่อให้รู้ว่ากระบวนการการทำงานของดีเอสไอโดยเฉพาะเรื่องระเบียบวินัยข้าราชการต้องทำอย่างระมัดระวังนั้น นายกิตติพงษ์เห็นว่าเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องยึดดำเนินการอยู่แล้ว
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการสอบกรณีสำนวนสอบสวนคดีบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ ถูกนำไปเปิดเผยกับฝ่ายค้านว่า ตนไม่ได้มีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ แต่การตรวจสอบเป็นหน้าที่ที่ดีเอสไอจะต้องดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องทำตามขั้นตอนระเบียบราชการ ส่วนความจำเป็นในการย้ายอธิบดีดีเอสไอระหว่างที่มีการสืบสวนข้อเท็จจริงนั้น เป็นอำนาจหน้าที่สั่งการของฝ่ายราชการไม่เกี่ยวข้องกับตน ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีกระแสกดดันตนภายในพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีเพียงกระแสข่าวเช่นเดียวกับกระแสข่าวโยกย้ายอธิบดีดีเอสไอที่ผ่านมา
ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า หลังจากเกิดกระแสข่าวเรื่องสำนวนสอบสวนรั่วจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะหากเป็นความจริงถือว่ามีความผิด ตนจึงได้มอบหมายให้นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่กำกับดูแลดีเอสไอ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ คาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์จะสามารถรายงานความคืบหน้าได้
อย่างไรก็ตาม อาจติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายคดีพิเศษที่หากมีการตั้งคณะกรรมการจากภายนอกเข้าไปตรวจสอบจะสามารถเข้าไปดูสำนวนได้หรือไม่ ขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการศึกษาข้อกฎหมายดังกล่าว แต่เบื้องต้นให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง และถอดเทปการอภิปรายไม่ไว้วางใจในรัฐสภาอย่างละเอียด จากนั้นให้นายชาญเชาวน์ รายงานผลการตรวจสอบและตนจะพิจารณาว่ามีความครบถ้วนหรือไม่ ต้องดำเนินการทางวินัยหรือไม่ หากผลการสอบสวนเชื่อได้ว่าข้อมูลมีการรั่วไหลจริงก็ถือว่าผิดวินัย
นายกิตติพงษ์กล่าวอีกว่า การตรวจสอบของคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นจะต้องเป็นกลางมากที่สุด และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง ส่วนประเด็นต่างๆ ที่มีการนำเสนอทางสื่อมวลชนเชื่อว่านายชาญเชาวน์จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลการสอบสวน โดยเบื้องต้นนายชาญเชาวน์จะต้องดูว่าสามารถตั้งคณะกรรมการจากดีเอสไอตรวจสอบได้หรือไม่ หากจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการจากหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงยุติธรรม จะต้องดูว่าเข้าไปดูสำนวนการสอบสวนคดีจ่ายเงินบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ได้หรือไม่ด้วย แต่เชื่อว่าน่าจะเข้าไปดูสำนวนได้โดยไม่ทำให้รูปคดีเสียหาย
ทั้งนี้ การสอบข้อเท็จจริงเรื่องข้อมูลรั่วจะไม่ดูเพียงสำนวนคดีอย่างเดียวแต่จะต้องดูพยานแวดล้อมอื่นประกอบ
นายกิตติพงษ์กล่าวด้วยว่า ระหว่างการสอบข้อเท็จจริงขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องย้ายอธิบดีดีเอสไอ หรือหัวหน้าพนักงานสอบสวน เพราะเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนวนคดี ซึ่งตนได้ย้ำให้การเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ให้มีการก้าวก่ายการทำสำนวนคดีจ่ายเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ และต้องไม่ให้มีการนำเรื่องการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง
ส่วนกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่าให้กระทรวงยุติธรรมบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม และตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยไม่จำเป็นต้องปกป้องนักการเมืองแต่สอบเพื่อให้รู้ว่ากระบวนการการทำงานของดีเอสไอโดยเฉพาะเรื่องระเบียบวินัยข้าราชการต้องทำอย่างระมัดระวังนั้น นายกิตติพงษ์เห็นว่าเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องยึดดำเนินการอยู่แล้ว