ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยคดี “อดีต จนท.ราชทัณฑ์” ฟ้อง “ชูวิทย์” หมิ่นส่วยข้าวผัด 5,000 บาท เนื่องจากไม่มีผู้พิพากษา-อัยการสูงสุด เซ็นรับรองตามขั้นตอนกฎหมายก่อนยื่นฎีกา โดยคดีในศาลชั้นต้น-ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ขณะเดียวกัน “ชูวิทย์” ประนอมข้อพิพาท “วิศาล พิธีกรข่าวช่อง 3” ฟ้องหมิ่น ศาลนัดฟังผลไกล่เกลี่ยอีกครั้ง 6 พ.ค.
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 807 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 09.50 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำที่ ด.2421/2546 ที่นายธีระชัย เจษฎารักษ์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารงานอบรมและฝึกวิชาชีพ 7 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทยเป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีนายชูวิทย์เข้าร้องเรียนต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม (ขณะนั้น) พร้อมกับให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวใส่ความโจทก์ว่าเป็นผู้เรียกรับเงินจำนวน 5,000 บาท เพื่อเป็นค่าอนุญาตให้จำเลยนำข้าวผัดเข้าไปรับประทานในห้องควบคุมผู้ต้องขังบริเวณศาลอาญากรุงเทพใต้โดยคดีนี้ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนให้ยกฟ้องจำเลย ต่อมาโจทก์ ยื่นฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โดยโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 บัญญัติห้ามไม่ให้คู่ความฎีกาในคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่หากยื่นฎีกาโจทก์ต้องให้ผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งในสำนวน หรืออัยการสูงสุด ลงนามรับรองเพื่อฎีกา โดยคดีนี้ไม่ปรากฏว่าฎีกาของโจทก์มีการลงนามรับรอง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลจึงไม่อาจรับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัยได้
ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น.วันเดียวกัน หลังนายชูวิทย์ฟังคำพิพากษาแล้วจึงได้ไปห้องพิจารณาคดีที่ 810 ซึ่งศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.5066/2551 ที่นายวิศาล ดิลกวณิช ผู้ดำเนินรายการ “ข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์” สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จากกรณีเมื่อวันที่ 2-3 ต.ค.51 นายชูวิทย์จัดแถลงข่าวว่านายวิศาลพูดจากวนประสาท ไม่มีมารยาท ไม่มีจรรยาบรรณของสื่อ ขณะเกิดเหตุเป็นช่วงนายวิศาลได้เชิญนายชูวิทย์ ที่ลงสมัครผู้ว่ากทม.มาสัมภาษณ์สดที่ห้องส่งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
โดยศาลให้คู่ความทั้งสองฝ่าย ตกลงเจรจากัน ซึ่งสองฝ่ายพร้อมจะสู่การประนอมข้อพิพาท ศาลจึงกำหนดนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 6 พ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.โดยนัดฟังผลการประนอมข้อพิพาทวันเดียวกัน เวลา 13.30 น.
ภายหลังนายชูวิทย์กล่าวว่า ตนว่าสังคมไทยควรจะต้องมีใครสักคนที่กล้าพูดความจริง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมจะง่ายมาก ถ้าคนนั้นพูดความจริง โดยคดีที่ถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ตนได้พูดความจริงว่าต้องมีการจ่ายค่าข้าวผัดถึง 5,000 บาท ส่วนคดีที่นายวิศาล ยื่นฟ้องนั้น ตนได้ยอมรับผิด และได้มีการจับมือกันกับนายวิศาลแล้ว โดยศาลนัดประนอมข้อพิพาทในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ซึ่งตนกับนายวิศาลนั้น เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องเรียนสถาบันเดียวกัน แต่รุ่นห่างกัน 10 ปี
ทั้งนี้ เมื่อตนยอมรับผิดว่าขณะนั้นรู้สึกกดดัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะบันดาลโทสะ เชื่อว่านายวิศาลจะให้อภัย เพราะนายวิศาลเป็นคนใจกว้าง เป็นสื่อมวลชนที่มีความเป็นกลาง เมื่อคนทำผิด แล้วยอมรับผิดก็น่าจะให้อภัย
ขณะที่นายวิศาลปฏิเสธที่จะกล่าวถึงเงื่อนไขการประนอมข้อพิพาท โดยระบุว่าขณะนี้กระบวนการอยู่ในชั้นศาลก็ต้องรอการประนอมข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม คดีหมิ่นประมาทนี้ถือเป็นคนละกรณีกับคดีที่ได้มีการแจ้งความข้อหาทำร้ายร่างกาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ทั้งสองจะเดินทางกลับ นายชูวิทย์และนายวิศาลได้จับมือกันเพื่อให้สื่อมวลชนถ่ายภาพด้วย
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 807 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 09.50 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีหมายเลขดำที่ ด.2421/2546 ที่นายธีระชัย เจษฎารักษ์ อดีตเจ้าหน้าที่บริหารงานอบรมและฝึกวิชาชีพ 7 กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทยเป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีนายชูวิทย์เข้าร้องเรียนต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ยุติธรรม (ขณะนั้น) พร้อมกับให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวใส่ความโจทก์ว่าเป็นผู้เรียกรับเงินจำนวน 5,000 บาท เพื่อเป็นค่าอนุญาตให้จำเลยนำข้าวผัดเข้าไปรับประทานในห้องควบคุมผู้ต้องขังบริเวณศาลอาญากรุงเทพใต้โดยคดีนี้ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนให้ยกฟ้องจำเลย ต่อมาโจทก์ ยื่นฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้อง โดยโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 บัญญัติห้ามไม่ให้คู่ความฎีกาในคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง แต่หากยื่นฎีกาโจทก์ต้องให้ผู้พิพากษาที่มีความเห็นแย้งในสำนวน หรืออัยการสูงสุด ลงนามรับรองเพื่อฎีกา โดยคดีนี้ไม่ปรากฏว่าฎีกาของโจทก์มีการลงนามรับรอง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลจึงไม่อาจรับฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัยได้
ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น.วันเดียวกัน หลังนายชูวิทย์ฟังคำพิพากษาแล้วจึงได้ไปห้องพิจารณาคดีที่ 810 ซึ่งศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำ อ.5066/2551 ที่นายวิศาล ดิลกวณิช ผู้ดำเนินรายการ “ข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์” สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชูวิทย์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 จากกรณีเมื่อวันที่ 2-3 ต.ค.51 นายชูวิทย์จัดแถลงข่าวว่านายวิศาลพูดจากวนประสาท ไม่มีมารยาท ไม่มีจรรยาบรรณของสื่อ ขณะเกิดเหตุเป็นช่วงนายวิศาลได้เชิญนายชูวิทย์ ที่ลงสมัครผู้ว่ากทม.มาสัมภาษณ์สดที่ห้องส่งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
โดยศาลให้คู่ความทั้งสองฝ่าย ตกลงเจรจากัน ซึ่งสองฝ่ายพร้อมจะสู่การประนอมข้อพิพาท ศาลจึงกำหนดนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 6 พ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.โดยนัดฟังผลการประนอมข้อพิพาทวันเดียวกัน เวลา 13.30 น.
ภายหลังนายชูวิทย์กล่าวว่า ตนว่าสังคมไทยควรจะต้องมีใครสักคนที่กล้าพูดความจริง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมจะง่ายมาก ถ้าคนนั้นพูดความจริง โดยคดีที่ถูกเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ตนได้พูดความจริงว่าต้องมีการจ่ายค่าข้าวผัดถึง 5,000 บาท ส่วนคดีที่นายวิศาล ยื่นฟ้องนั้น ตนได้ยอมรับผิด และได้มีการจับมือกันกับนายวิศาลแล้ว โดยศาลนัดประนอมข้อพิพาทในวันที่ 6 พ.ค.นี้ ซึ่งตนกับนายวิศาลนั้น เป็นรุ่นพี่รุ่นน้องเรียนสถาบันเดียวกัน แต่รุ่นห่างกัน 10 ปี
ทั้งนี้ เมื่อตนยอมรับผิดว่าขณะนั้นรู้สึกกดดัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะบันดาลโทสะ เชื่อว่านายวิศาลจะให้อภัย เพราะนายวิศาลเป็นคนใจกว้าง เป็นสื่อมวลชนที่มีความเป็นกลาง เมื่อคนทำผิด แล้วยอมรับผิดก็น่าจะให้อภัย
ขณะที่นายวิศาลปฏิเสธที่จะกล่าวถึงเงื่อนไขการประนอมข้อพิพาท โดยระบุว่าขณะนี้กระบวนการอยู่ในชั้นศาลก็ต้องรอการประนอมข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม คดีหมิ่นประมาทนี้ถือเป็นคนละกรณีกับคดีที่ได้มีการแจ้งความข้อหาทำร้ายร่างกาย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่ทั้งสองจะเดินทางกลับ นายชูวิทย์และนายวิศาลได้จับมือกันเพื่อให้สื่อมวลชนถ่ายภาพด้วย