ดีเอสไอเตือนภัยแก๊งหลอกลวงซื้อขายทองคำล่วงหน้า พฤติการณ์กระทำความผิดไม่ได้แตกต่างจากแชร์น้ำมัน ล่าสุด เหยื่อร้องดีเอสไอสูญเงินไปแล้วกว่า 1 ล้านบาท
วันนี้ (8 ก.พ.) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เปิดเผยว่า หลังจาก ดีเอสไอ ได้ทำการสืบสวนจับกุมผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะแชร์ลูกโซ่มาตั้งแต่กลางปี 2550 ไม่ว่าจะเป็นแชร์ข้าวสาร แชร์ก๋วยเตี๋ยว แชร์ยางพารา และ แชร์น้ำมัน โดยดีเอสไอจับกุมดำเนินคดีเรื่อยมา ล่าสุด พบว่า คดีแชร์เกิดขึ้นทั้งหมดประมาณ 33 คดี ส่งฟ้องไปแล้วประมาณ 15 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และจะสรุปสำนวนภายในเร็วๆ นี้ อีกประมาณ 4-5 คดี นอกจากนี้ ยังได้ประเมินมูลค่าความเสียหาย 1,300 ล้านบาทเศษ จับกุมผู้ต้องหา 126 ราย มีผู้เสียหายมาพบพนักงานสอบสวนแล้วประมาณกว่า 6,000 คน
อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจขณะนี้ พบว่า มีการหลอกลวงซื้อขายทองคำล่วงหน้าโดยพฤติกรรมคือ จะมีการชักชวนให้ทำธุรกิจเก็งกำไรซื้อขายทองคำล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ แล้วมีการหลอกลวงให้ผู้ลงทุนหลงเชื่อว่ามีความมั่นคง มีผลตอบแทนสูงโดยใช้วิธีการให้ลูกค้านำเงินมาลงทุนไว้แล้ว บริษัทจะตัดสินใจในการเทรดดิ้งสั่งซื้อทองคำ จะเห็นว่า พฤติการณ์กระทำความผิดไม่ได้แตกต่างจากแชร์น้ำมัน แต่ก็พบว่า มีนักลงทุนหลายรายหลงเชื่อ คิดว่า บริษัทมีความน่าเชื่อถือให้ผลตอบแทนสูง โดยให้ผลตอบแทนกำไรจากหุ้นหุ้นละ 150 บาท ซึ่งมีผู้เสียหายรายหนึ่งเข้ามาร้องเรียนกับดีเอสไอ ว่า ถูกหลอกหลวงในเล่นแชร์ทองคำ สูญเสียเงินไป 1 ล้านกว่าบาท
นอกจากนี้ ผู้เสียหายบางรายได้ไปแจ้งความไว้ที่ สภ.ปากเกร็ด ซึ่งดีเอสไอได้ประสานกับ สภ.ปากเกร็ด เพื่อตรวจสอบว่ามีผู้เสียหายจำนวนเท่าใด เพราะคดีที่ดีเอสไอมีอำนาจนั้นจะต้องมีผู้เสียหายอย่างน้อย 50 ราย มูลค่าความเสียหาย 20 ล้านบาท อย่างหนึ่งอย่างใด ลักษณะแผนประทุษกรรมดังกล่าวคล้ายกับการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ คือเจ้าหน้าที่ต้องไปตรวจสอบว่าบริษัทที่กระทำความผิดได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.หรือไม่ เป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยหรือไม่ และมีการนำเงินไปลงทุนในการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าตามที่กล่าวอ้างหรือไม่
“คิดว่ามีอีกหลายคดี หลายบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาแล้วผิดกฎหมาย ถามว่าประชาชนจะรู้หรือไม่ ว่าบริษัทได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและเป็นสมาชิกตลาดอนุพันธ์ซื้อขายล่วงหน้า และส่งคำขอหรือเงินสั่งซื้อไปต่างประเทศหรือไม่ ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิ์รู้เลย แต่กรณีแชร์น้ำมันที่เราตรวจสอบพบว่าไม่ได้ทำธุรกิจจริง เป็นการหลอกลวง แต่นำธุรกิจนั้นมาบังหน้า อาศัยช่องว่างกฎหมายฉบับอื่นมากระทำผิด นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตหลอกให้คนมาซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต เช่น หลอกให้คนนำเงินมาลงทุนเกี่ยวกับแบนเนอร์ (Banner) ติดป้ายโฆษณาต่างๆ หลอกว่าจะให้ผลตอบแทนในราคาสูง หรือการเช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตแล้วให้บริษัทต่างๆ เช่าต่อ อ้างว่า จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า10 เท่า ให้ค่าแนะนำสมาชิก หรือค่านายหน้า เพื่อดึงดูดประชาชนให้หลงเชื่อได้ง่าย ซึ่งจะมีการพัฒนารูปแบบไปเรื่อยๆ เพราะแทบจะไม่ต้องลงทุนในการตั้งบริษัทเลย เพียงเช่าพื้นที่ว่างบนเว็บไซต์แล้วทำโฆษณาขายสินค้า โดยจ้างโปรแกรมเมอร์เขียนเว็บไซต์ก็ได้ หรือกระทำความผิดแชร์ลูกโซ่แล้วเข้าไปแอบแฝงในธุรกิจที่ถูกกฎหมาย” ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวย้ำ
วันนี้ (8 ก.พ.) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เปิดเผยว่า หลังจาก ดีเอสไอ ได้ทำการสืบสวนจับกุมผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะแชร์ลูกโซ่มาตั้งแต่กลางปี 2550 ไม่ว่าจะเป็นแชร์ข้าวสาร แชร์ก๋วยเตี๋ยว แชร์ยางพารา และ แชร์น้ำมัน โดยดีเอสไอจับกุมดำเนินคดีเรื่อยมา ล่าสุด พบว่า คดีแชร์เกิดขึ้นทั้งหมดประมาณ 33 คดี ส่งฟ้องไปแล้วประมาณ 15 คดี อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล และจะสรุปสำนวนภายในเร็วๆ นี้ อีกประมาณ 4-5 คดี นอกจากนี้ ยังได้ประเมินมูลค่าความเสียหาย 1,300 ล้านบาทเศษ จับกุมผู้ต้องหา 126 ราย มีผู้เสียหายมาพบพนักงานสอบสวนแล้วประมาณกว่า 6,000 คน
อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจขณะนี้ พบว่า มีการหลอกลวงซื้อขายทองคำล่วงหน้าโดยพฤติกรรมคือ จะมีการชักชวนให้ทำธุรกิจเก็งกำไรซื้อขายทองคำล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ แล้วมีการหลอกลวงให้ผู้ลงทุนหลงเชื่อว่ามีความมั่นคง มีผลตอบแทนสูงโดยใช้วิธีการให้ลูกค้านำเงินมาลงทุนไว้แล้ว บริษัทจะตัดสินใจในการเทรดดิ้งสั่งซื้อทองคำ จะเห็นว่า พฤติการณ์กระทำความผิดไม่ได้แตกต่างจากแชร์น้ำมัน แต่ก็พบว่า มีนักลงทุนหลายรายหลงเชื่อ คิดว่า บริษัทมีความน่าเชื่อถือให้ผลตอบแทนสูง โดยให้ผลตอบแทนกำไรจากหุ้นหุ้นละ 150 บาท ซึ่งมีผู้เสียหายรายหนึ่งเข้ามาร้องเรียนกับดีเอสไอ ว่า ถูกหลอกหลวงในเล่นแชร์ทองคำ สูญเสียเงินไป 1 ล้านกว่าบาท
นอกจากนี้ ผู้เสียหายบางรายได้ไปแจ้งความไว้ที่ สภ.ปากเกร็ด ซึ่งดีเอสไอได้ประสานกับ สภ.ปากเกร็ด เพื่อตรวจสอบว่ามีผู้เสียหายจำนวนเท่าใด เพราะคดีที่ดีเอสไอมีอำนาจนั้นจะต้องมีผู้เสียหายอย่างน้อย 50 ราย มูลค่าความเสียหาย 20 ล้านบาท อย่างหนึ่งอย่างใด ลักษณะแผนประทุษกรรมดังกล่าวคล้ายกับการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ คือเจ้าหน้าที่ต้องไปตรวจสอบว่าบริษัทที่กระทำความผิดได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.หรือไม่ เป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยหรือไม่ และมีการนำเงินไปลงทุนในการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าตามที่กล่าวอ้างหรือไม่
“คิดว่ามีอีกหลายคดี หลายบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมาแล้วผิดกฎหมาย ถามว่าประชาชนจะรู้หรือไม่ ว่าบริษัทได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและเป็นสมาชิกตลาดอนุพันธ์ซื้อขายล่วงหน้า และส่งคำขอหรือเงินสั่งซื้อไปต่างประเทศหรือไม่ ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิ์รู้เลย แต่กรณีแชร์น้ำมันที่เราตรวจสอบพบว่าไม่ได้ทำธุรกิจจริง เป็นการหลอกลวง แต่นำธุรกิจนั้นมาบังหน้า อาศัยช่องว่างกฎหมายฉบับอื่นมากระทำผิด นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตหลอกให้คนมาซื้อขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต เช่น หลอกให้คนนำเงินมาลงทุนเกี่ยวกับแบนเนอร์ (Banner) ติดป้ายโฆษณาต่างๆ หลอกว่าจะให้ผลตอบแทนในราคาสูง หรือการเช่าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตแล้วให้บริษัทต่างๆ เช่าต่อ อ้างว่า จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า10 เท่า ให้ค่าแนะนำสมาชิก หรือค่านายหน้า เพื่อดึงดูดประชาชนให้หลงเชื่อได้ง่าย ซึ่งจะมีการพัฒนารูปแบบไปเรื่อยๆ เพราะแทบจะไม่ต้องลงทุนในการตั้งบริษัทเลย เพียงเช่าพื้นที่ว่างบนเว็บไซต์แล้วทำโฆษณาขายสินค้า โดยจ้างโปรแกรมเมอร์เขียนเว็บไซต์ก็ได้ หรือกระทำความผิดแชร์ลูกโซ่แล้วเข้าไปแอบแฝงในธุรกิจที่ถูกกฎหมาย” ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวย้ำ