ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่า ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของโหราศาสตร์ เฉกเช่นหมอฟันธง หมอคอนเฟิร์ม หรือหมอดูใต้ต้นมะขามแต่อย่างใด ซึ่งหากมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวแล้วคงไม่ต้องมาเป็นนักข่าวไส้แห้งให้เมื่อยตุ้ม แค่คอยทำนายทายทักบรรดาดารา หรือนักการเมืองแค่นี้ก็รวยล้นฟ้าแล้ว อีกทั้งหากกลายไปเป็นหมอดูหมอเดาจริง ป่านนี้คงได้คอนเฟิร์มกราบตีนใครต่อใครและขึ้นศาลติดคุกหัวโตไปนานแล้วเป็นแน่แท้
ในอดีตตั้งแต่ครั้งพุทธกาล มาจวบจนยุคโบร่ำโบราณของไทยเรา ศาสตร์แห่งการตั้งชื่อดูเหมือนจะถูกนำมาใช้กันตั้งแต่ครั้งกระโน้น ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของชื่อ นัยว่าหากถูกใครเอ่ยเรียกชื่อที่ถูกตั้งมาให้ถูกโฉลกกับตนเองก็จะเป็นประหนึ่งถูกเขาอวยพรให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคลแก่ตัวเราในทุกครั้งที่ถูกเรียกชื่อ
มีเรื่องเล่าอย่างย่อๆ ว่า สามีภรรยาคู่หนึ่งแต่งงานอยู่กินกันมาตามปกติ จนกระทั่งภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรน้อยเป็นเพศชาย และเมื่อข่าวการให้กำเนิดบุตรชายของสามีภรรยาคู่นี้ รู้ไปถึงหูของอาจารย์อันเป็นที่เคารพของสามีภรรยา อาจารย์ที่ว่า จึงเดินทางมาเยี่ยมสองสามีภรรยาที่บ้าน เมื่ออาจารย์มาถึง สองสามีภรรยาก็เข้าไปคุกเข้ากราบไหว้ ท่านอาจารย์ก็ให้ศีลให้พรว่า “ขอให้ทั้งคู่อายุมั่นขวัญยืน” แต่เมื่อสองสามีภรรยา อุ้มลูกน้อยออกจับมือวันทาให้ไหว้อาจารย์ ท่านอาจารย์กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ยอมให้ศีลให้พร สองสามีภรรยาจึงสอบถามเหตุผล จนทราบความว่า ลูกน้อยที่เพิ่งเกิดมานี้จะมีชะตาชีวิตไม่ยืนยาวเหมือนพ่อแม่ แต่ยังพอมีทางแก้ไข โดยขอให้สามีภรรยา นำลูกน้อยไปถวายแก่พระพุทธองค์ และหลังจากที่สองสามีนำลูกน้อยไปถวายพระพุทธองค์ พร้อมกระทำพิธีอันเป็นสิริมงคลแล้ว พระพุทธองค์ได้ขนานนามเด็กน้อยคนนั้นว่า “อายุวัฒนะกุมาร” แปลว่า เด็กน้อยผู้มีอายุยืน
การตั้งชื่อให้ตรงข้ามกับฟากการเกิด และดวงชะตาของทารก จึงถูกนำมาใช้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของชื่อตั้งแต่นั้นมา เช่น หากเด็กคนไหนมีดวงขี้เกียจถือกำเนิดติดตัวมา ก็มักถูกตั้งชื่อให้เป็น ด.ช.ประคุณ (ปคุณ) อันมีความหมายว่า แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งตรงกันข้ามกับความขี้เกียจ หากเด็กคนไหน มีฟากการเกิดมากับความพ่ายแก้ ก็มักตั้งชื่อตรงกันข้ามเป็นการแก้เคล็ดเช่น ชัยยันต์ ชยันต์ อันมีความหมายว่า ชนะตลอดกาล หากฟากการเกิดมักมีอุปสรรค หรืออุบัติเหตุต่างๆเป็นประจำ ก็มักตั้งชื่อให้เป็น ด.ช.แคล้ว นายแคล้ว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของความเชื่อ เช่นนายแคล้ว ก็ยังไม่ได้แคล้วคลาด มาถูกยิงตายเสียก็มี คราวนี้ ลองมาดูชื่อของบรรดานักการเมือง และตำรวจ ที่มีชื่อเสียงในสังคมกันดูบ้าง แต่ดูเหมือนว่า ชื่อกับพฤติกรรมมักจะตรงกันข้ามเสมอ
“ทักษิณ” อันแปลและมีความหมายว่า ทิศใต้ บางครั้งใครจะรู้ว่า ผู้ที่ขนานนามให้กับ “ทักษิณ” อาจจะดูฤกษ์เกิด คำนวนดวงชะตาดูแล้วว่า เจ้าเด็กน้อยหน้าเหลี่ยมผู้นี้ โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นที่รักของคนเกือบทั้งแผ่นดิน แต่อาจจะมีเพียงคนที่อยู่ทางทิศใต้เท่านั้น ที่อาจจะไม่รักเจ้าเด็กน้อยหน้าเหลี่ยมผู้นี้ อย่ากระนั้นเลย ตั้งชื่อให้เป็นมงคลนามแก่มันว่า “ทักษิณ” เสียเถิด เพื่อเป็นการแก้เคล็ด เผื่อคนใต้จะรักมันบ้าง เหมือนฟ้าลิขิต สวรรค์แกล้ง ทั้งคนกรุง(คนเหนือจะเรียกชาวกรุงเทพฯว่าคนใต้) และคนปักษ์ใต้ ก็ออกมาตะโกนเรียกชื่อมันกลางถนนตั้งแต่ปี 2549 โน่น
“สมัคร” ที่แปลว่า เต็มใจ เข้าพวกด้วยความเต็มใจ นอกจากจะใช้ “สมัคร” เดี่ยวๆ แล้ว ยังมักใช้คู่กับสมัครพรรคพวก (เต็มใจเข้าพวกด้วย) หรือสมัครสมาน ที่มีความหมายว่า เต็มใจเพื่อเชื่อมสามัคคี ก็หันกลับไปมองพฤติกรรมกันเองก็แล้วกันว่า เต็มใจเข้าพวกด้วยกับใคร เต็มใจเพื่อเชื่อมสามัคคีด้วยการประกาศพ.ร.บ.ฉุกเฉิน และยัดข้อหากบฏให้กับคนกู้ชาติ ซึ่งคนตั้งชื่ออาจจะรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า ไอ้หมอนี่ ดวงมันคงจะไม่ยอมสมัครสมานสามัคคีกับใคร ฉะนั้นตั้งชื่อให้มันว่า “สมัคร”เสียเถิด
“สมชาย” ชื่อนี้ แทบไม่ต้องแปล ความหมายคงต้อง ทำอะไรให้สมกับความเป็นชายชาตรี แต่ที่ผ่านมา มันตรงข้ามกับชื่อทุกอย่าง ทั้งสั่งเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่า แม้จะก้าวขึ้นถึงขั้นเป็นผู้นำประเทศ แต่การสั่งการกลับอยู่ภายใต้เงากระโปรงของภรรยา ผู้ตั้งชื่อ คงดูดวงแล้วว่า เจ้าหมอนี่มันมีดวงมนุษย์ผู้หญิงอยู่ เลยตั้งให้ชื่อ“สมชาย”ดีกว่า จะได้ให้มันสำนึกถึงควาามเป็นลูกผู้ชายเสียบ้าง
“พัชรวาท” หากแปลตามตัวพยัญชนะ ก็จะได้ความหมายว่า “คำพูดอันประเสริฐ” คำพูดประดุจดั่งเพชร แต่ที่ผ่านมา แม้จะถูกเด้งไปช่วยราชการ ก็ยังไม่มี“วาทะดั่งเพชร”ออกมาซักคำเดียว แต่สุดท้าย ก็กลับมาใหญ่อีกครั้ง ส่วนจะเป็น“วาทะดั่งเพชร”ของใครนั้น ไปสืบเสาะกันเอาเอง
“ปทีป” แปลว่า “แสงสว่าง” โดยไม่แน่ว่า แสงสว่างดวงนี้หรือเปล่าที่จะสาดส่องความรุ่งเรืองให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้หลุดพ้นจากแดนสนธยาก็เป็นได้ หรือผู้ขนานนามให้ อาจจะตรวจดวงชะตาดูแล้วว่า ต้องตั้งชื่อให้ตรงกันข้ามกับความมืดมิดซักหน่อย อย่างน้อยๆก็สว่างขึ้นมาช่วงระยะเวลาสั้นๆแล้ว
“จงรัก” ... เฮ้อ...แปลกันตรงตัว โดยไม่ต้องตีความ ฟากการเกิดอาจจะตกที่นั่ง คนเกลียดคนชังทั้งบ้านทั้งเมืองก็เป็นได้ คนตั้งชื่อ จึงต้องแก้เคล็ดให้เป็น“จงรัก” เหมือนเป็นเชิงบังคับ ต้องรักๆคนคนนี้ให้ได้ (นึกถึงขายหัวเราะมุก “โอม..จงลง” เหมือนกัน) สุดท้าย กับการจ้อหน้าจอ และข้อหาก่อการร้าย บอกตรงๆว่า จงรักไม่ลงจริงๆ
“สุชาติ” แปลว่า เกิดดี เกิดมาดี เกิดจากที่ดี แต่เมื่อดูเคล็ดที่บรรดานักตั้งชื่อ ที่มักตั้งสิ่งที่ตรงข้ามให้แล้ว เชื่อเหลือเกินว่า ต้องเกิดมาจากที่ไม่ดีแน่ เช่นเกิดมาจากนรก เกิดมาจากกำเนิดที่ไม่ใช่เผ่าพันธุ์มนุษย์ เลยต้องตั้งชื่อแก้เคล็ดให้ว่า"สุชาติ" ถึงจะมีความหมายว่า เกิดมาดีจริงๆ
“อำนวย” น่าจะมีความหมายว่า คอยช่วยให้ความสะดวก จริงๆแล้ว คอยอำนวยความสะดวกให้ฝ่ายไหนไม่รู้ รู้แต่ว่า คอยอำนวยความสะดวกในข้อหาต่างๆให้อยู่เรื่อย ฟากการเกิดจึงไม่น่าจะอำนวยให้กับใครเท่าไรนัก สังเกตได้จาก ขนาดเป็นถึงนายพล คนขับรถยังแทบไม่มี
สุดท้าย ชื่อนั้นสำคัญไฉน คงไม่ได้อยู่ที่ชื่อ หากอยู่ที่การกระทำเป็นหลัก โดยเฉพาะการกระทำในสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและบ้านเมือง ใช่เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องและตนเองเป็นหลัก หากเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้จะตั้งชื่อเพื่อแก้เคล็ดให้เพราะพริ้งเพียงใด ก็ไม่อาจที่จะเยียวยาจิตใจอันโสมมของตนเองไปได้
ในอดีตตั้งแต่ครั้งพุทธกาล มาจวบจนยุคโบร่ำโบราณของไทยเรา ศาสตร์แห่งการตั้งชื่อดูเหมือนจะถูกนำมาใช้กันตั้งแต่ครั้งกระโน้น ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของชื่อ นัยว่าหากถูกใครเอ่ยเรียกชื่อที่ถูกตั้งมาให้ถูกโฉลกกับตนเองก็จะเป็นประหนึ่งถูกเขาอวยพรให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสิริมงคลแก่ตัวเราในทุกครั้งที่ถูกเรียกชื่อ
มีเรื่องเล่าอย่างย่อๆ ว่า สามีภรรยาคู่หนึ่งแต่งงานอยู่กินกันมาตามปกติ จนกระทั่งภรรยาได้ให้กำเนิดบุตรน้อยเป็นเพศชาย และเมื่อข่าวการให้กำเนิดบุตรชายของสามีภรรยาคู่นี้ รู้ไปถึงหูของอาจารย์อันเป็นที่เคารพของสามีภรรยา อาจารย์ที่ว่า จึงเดินทางมาเยี่ยมสองสามีภรรยาที่บ้าน เมื่ออาจารย์มาถึง สองสามีภรรยาก็เข้าไปคุกเข้ากราบไหว้ ท่านอาจารย์ก็ให้ศีลให้พรว่า “ขอให้ทั้งคู่อายุมั่นขวัญยืน” แต่เมื่อสองสามีภรรยา อุ้มลูกน้อยออกจับมือวันทาให้ไหว้อาจารย์ ท่านอาจารย์กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ยอมให้ศีลให้พร สองสามีภรรยาจึงสอบถามเหตุผล จนทราบความว่า ลูกน้อยที่เพิ่งเกิดมานี้จะมีชะตาชีวิตไม่ยืนยาวเหมือนพ่อแม่ แต่ยังพอมีทางแก้ไข โดยขอให้สามีภรรยา นำลูกน้อยไปถวายแก่พระพุทธองค์ และหลังจากที่สองสามีนำลูกน้อยไปถวายพระพุทธองค์ พร้อมกระทำพิธีอันเป็นสิริมงคลแล้ว พระพุทธองค์ได้ขนานนามเด็กน้อยคนนั้นว่า “อายุวัฒนะกุมาร” แปลว่า เด็กน้อยผู้มีอายุยืน
การตั้งชื่อให้ตรงข้ามกับฟากการเกิด และดวงชะตาของทารก จึงถูกนำมาใช้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของชื่อตั้งแต่นั้นมา เช่น หากเด็กคนไหนมีดวงขี้เกียจถือกำเนิดติดตัวมา ก็มักถูกตั้งชื่อให้เป็น ด.ช.ประคุณ (ปคุณ) อันมีความหมายว่า แคล่วคล่องว่องไว ซึ่งตรงกันข้ามกับความขี้เกียจ หากเด็กคนไหน มีฟากการเกิดมากับความพ่ายแก้ ก็มักตั้งชื่อตรงกันข้ามเป็นการแก้เคล็ดเช่น ชัยยันต์ ชยันต์ อันมีความหมายว่า ชนะตลอดกาล หากฟากการเกิดมักมีอุปสรรค หรืออุบัติเหตุต่างๆเป็นประจำ ก็มักตั้งชื่อให้เป็น ด.ช.แคล้ว นายแคล้ว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของความเชื่อ เช่นนายแคล้ว ก็ยังไม่ได้แคล้วคลาด มาถูกยิงตายเสียก็มี คราวนี้ ลองมาดูชื่อของบรรดานักการเมือง และตำรวจ ที่มีชื่อเสียงในสังคมกันดูบ้าง แต่ดูเหมือนว่า ชื่อกับพฤติกรรมมักจะตรงกันข้ามเสมอ
“ทักษิณ” อันแปลและมีความหมายว่า ทิศใต้ บางครั้งใครจะรู้ว่า ผู้ที่ขนานนามให้กับ “ทักษิณ” อาจจะดูฤกษ์เกิด คำนวนดวงชะตาดูแล้วว่า เจ้าเด็กน้อยหน้าเหลี่ยมผู้นี้ โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นที่รักของคนเกือบทั้งแผ่นดิน แต่อาจจะมีเพียงคนที่อยู่ทางทิศใต้เท่านั้น ที่อาจจะไม่รักเจ้าเด็กน้อยหน้าเหลี่ยมผู้นี้ อย่ากระนั้นเลย ตั้งชื่อให้เป็นมงคลนามแก่มันว่า “ทักษิณ” เสียเถิด เพื่อเป็นการแก้เคล็ด เผื่อคนใต้จะรักมันบ้าง เหมือนฟ้าลิขิต สวรรค์แกล้ง ทั้งคนกรุง(คนเหนือจะเรียกชาวกรุงเทพฯว่าคนใต้) และคนปักษ์ใต้ ก็ออกมาตะโกนเรียกชื่อมันกลางถนนตั้งแต่ปี 2549 โน่น
“สมัคร” ที่แปลว่า เต็มใจ เข้าพวกด้วยความเต็มใจ นอกจากจะใช้ “สมัคร” เดี่ยวๆ แล้ว ยังมักใช้คู่กับสมัครพรรคพวก (เต็มใจเข้าพวกด้วย) หรือสมัครสมาน ที่มีความหมายว่า เต็มใจเพื่อเชื่อมสามัคคี ก็หันกลับไปมองพฤติกรรมกันเองก็แล้วกันว่า เต็มใจเข้าพวกด้วยกับใคร เต็มใจเพื่อเชื่อมสามัคคีด้วยการประกาศพ.ร.บ.ฉุกเฉิน และยัดข้อหากบฏให้กับคนกู้ชาติ ซึ่งคนตั้งชื่ออาจจะรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า ไอ้หมอนี่ ดวงมันคงจะไม่ยอมสมัครสมานสามัคคีกับใคร ฉะนั้นตั้งชื่อให้มันว่า “สมัคร”เสียเถิด
“สมชาย” ชื่อนี้ แทบไม่ต้องแปล ความหมายคงต้อง ทำอะไรให้สมกับความเป็นชายชาตรี แต่ที่ผ่านมา มันตรงข้ามกับชื่อทุกอย่าง ทั้งสั่งเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่า แม้จะก้าวขึ้นถึงขั้นเป็นผู้นำประเทศ แต่การสั่งการกลับอยู่ภายใต้เงากระโปรงของภรรยา ผู้ตั้งชื่อ คงดูดวงแล้วว่า เจ้าหมอนี่มันมีดวงมนุษย์ผู้หญิงอยู่ เลยตั้งให้ชื่อ“สมชาย”ดีกว่า จะได้ให้มันสำนึกถึงควาามเป็นลูกผู้ชายเสียบ้าง
“พัชรวาท” หากแปลตามตัวพยัญชนะ ก็จะได้ความหมายว่า “คำพูดอันประเสริฐ” คำพูดประดุจดั่งเพชร แต่ที่ผ่านมา แม้จะถูกเด้งไปช่วยราชการ ก็ยังไม่มี“วาทะดั่งเพชร”ออกมาซักคำเดียว แต่สุดท้าย ก็กลับมาใหญ่อีกครั้ง ส่วนจะเป็น“วาทะดั่งเพชร”ของใครนั้น ไปสืบเสาะกันเอาเอง
“ปทีป” แปลว่า “แสงสว่าง” โดยไม่แน่ว่า แสงสว่างดวงนี้หรือเปล่าที่จะสาดส่องความรุ่งเรืองให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้หลุดพ้นจากแดนสนธยาก็เป็นได้ หรือผู้ขนานนามให้ อาจจะตรวจดวงชะตาดูแล้วว่า ต้องตั้งชื่อให้ตรงกันข้ามกับความมืดมิดซักหน่อย อย่างน้อยๆก็สว่างขึ้นมาช่วงระยะเวลาสั้นๆแล้ว
“จงรัก” ... เฮ้อ...แปลกันตรงตัว โดยไม่ต้องตีความ ฟากการเกิดอาจจะตกที่นั่ง คนเกลียดคนชังทั้งบ้านทั้งเมืองก็เป็นได้ คนตั้งชื่อ จึงต้องแก้เคล็ดให้เป็น“จงรัก” เหมือนเป็นเชิงบังคับ ต้องรักๆคนคนนี้ให้ได้ (นึกถึงขายหัวเราะมุก “โอม..จงลง” เหมือนกัน) สุดท้าย กับการจ้อหน้าจอ และข้อหาก่อการร้าย บอกตรงๆว่า จงรักไม่ลงจริงๆ
“สุชาติ” แปลว่า เกิดดี เกิดมาดี เกิดจากที่ดี แต่เมื่อดูเคล็ดที่บรรดานักตั้งชื่อ ที่มักตั้งสิ่งที่ตรงข้ามให้แล้ว เชื่อเหลือเกินว่า ต้องเกิดมาจากที่ไม่ดีแน่ เช่นเกิดมาจากนรก เกิดมาจากกำเนิดที่ไม่ใช่เผ่าพันธุ์มนุษย์ เลยต้องตั้งชื่อแก้เคล็ดให้ว่า"สุชาติ" ถึงจะมีความหมายว่า เกิดมาดีจริงๆ
“อำนวย” น่าจะมีความหมายว่า คอยช่วยให้ความสะดวก จริงๆแล้ว คอยอำนวยความสะดวกให้ฝ่ายไหนไม่รู้ รู้แต่ว่า คอยอำนวยความสะดวกในข้อหาต่างๆให้อยู่เรื่อย ฟากการเกิดจึงไม่น่าจะอำนวยให้กับใครเท่าไรนัก สังเกตได้จาก ขนาดเป็นถึงนายพล คนขับรถยังแทบไม่มี
สุดท้าย ชื่อนั้นสำคัญไฉน คงไม่ได้อยู่ที่ชื่อ หากอยู่ที่การกระทำเป็นหลัก โดยเฉพาะการกระทำในสิ่งที่ดีงาม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและบ้านเมือง ใช่เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้องและตนเองเป็นหลัก หากเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้จะตั้งชื่อเพื่อแก้เคล็ดให้เพราะพริ้งเพียงใด ก็ไม่อาจที่จะเยียวยาจิตใจอันโสมมของตนเองไปได้