“คนที่เกิดมาแล้ว มีขวานเกิดมาในปากด้วย คนพาลเมื่อกล่าวชั่ว ชื่อว่าใช้ขวานนั้นฟันตนเอง ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าใช้ปากเลือกเก็บความชั่วไว้จะไม่ได้ความสุขเพราะความชั่วนั้น” นี่คือพุทธพจน์ซึ่งปรากฏที่มาจากพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 24 หน้า 185 ทสกนิบาต อังคุตรนิกาย
จากนัยแห่งเนื้อหาสาระของพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางวาจาของคนพาลด้วยการกล่าวคำชั่ว ได้แก่ การสรรเสริญคนที่ควรติ และติคนที่ควรสรรเสริญ อันถือได้ว่าเป็นวาจาทุพภาสิต และให้โทษแก่ผู้พูดคือ หาความสุขไม่ได้ แต่เนื่องจากคำสอนข้อนี้เป็นการสอนในเชิงเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมย จึงอาจทำให้เข้าใจยากสำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับสำนวนทำนองนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขออธิบายขยายความเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
1. คำว่า คนพาล เป็นภาษามคธ มีความหมายตามพยัญชนะว่า อ่อนด้อยหรือโง่เขลาเบาปัญญา ขาดวุฒิภาวะที่คนปกติทั่วไปพึงมี และถ้าเทียบกับผู้รู้หรือที่เรียกว่าบัณฑิตแล้วจัดอยู่ในประเภทที่ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย จะทำให้ผู้คบหาอ่อนด้อยปัญญาไปด้วย
2. คำชั่ว หมายถึง คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังได้รับผลทางด้านจิตใจ และอาจถึงกับสูญเสียประโยชน์อันจะพึงได้จากการฟัง เช่น ได้ปัญญาหรือความรู้เพิ่ม เป็นต้น เป็นอย่างน้อย ถ้าอย่างมากอาจถึงขั้นถูกตัดรอนผลประโยชน์ที่ควรจะได้จากการคบหาบุคคลที่เป็นผู้รู้
จากประเด็น 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าพุทธพจน์ที่ว่านี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งสอนให้คนลดละพฤติกรรมอันเป็นพาลที่แสดงออกทางวาจา
แต่วันนี้และเวลานี้ผู้คนในสังคมไทยที่มีสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ ได้วางตัวและประพฤติตนเหินห่างจากคำสอนข้อนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรทางการเมืองที่แต่ละวันมีแต่การระรานผู้อื่น ทั้งที่เป็นนักการเมือง และมิได้เป็นนักการเมืองด้วยวาจาอันเป็นทุพภาษิต คือ คำพูดที่ไม่ถูกต้องตามกาล ไม่เป็นความจริง ไม่อ่อนหวาน ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พูดด้วยจิตมีเมตตา และที่ยิ่งกว่านี้มีอยู่ไม่น้อยที่ได้แสดงพฤติกรรมทุจริตด้วยวาจา หรือที่เรียกว่า วจีทุจริต คือ พูดเท็จ พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และพูดส่อเสียด วาทะของนายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรายการความจริงวันนี้สัญจร ซึ่งจัด ณ สนามกีฬาราชมังคลาสถาน เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2551 เป็นตัวอย่างหนึ่งที่อยู่ในขอบข่ายแห่งข้อที่ว่า สรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อความบางตอน ดังต่อไปนี้
1. คำพูดของนายวีระ ที่ว่า “พี่น้องประชาชนที่รักบ้านเมือง รักกฎหมาย จะไม่ว่าอะไรหากใช้กฎหมายกระบวนการยุติธรรมจัดการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่มีปัญหาคนที่นี่เขาลงมติว่า กระบวนการยุติธรรมที่ใช้กับท่านใช้ไม่ได้เลย”
2. คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ว่า “ไม่ใช่ เขาใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม พี่น้องคิดว่าอดีตนายกฯ คนหนึ่งเป็นที่ยอมรับชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึง 2 สมัย ครั้งล่าสุดได้ 377 จาก 500 เป็นประวัติศาสตร์ แต่กลับโดนลอบฆ่า โดนปฏิวัติ แต่การปฏิวัติเขาทำกันตอนรัฐบาลไม่ดี แต่นี่รัฐบาลกำลังมีความนิยมมาก มันฝืนความรู้สึกประชาชนส่วนใหญ่ มันถึงได้ยุ่งอย่างนี้ เพราะปฏิวัติตอนที่ประชาชนยังชื่นชมรัฐบาลอยู่”
ถ้าท่านผู้อ่านพิจารณาข้อความในคำพูดทั้งในข้อ 1 และข้อ 2 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ทั้งนายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดในทำนองไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาล และมีลักษณะหมิ่นศาล ในทำนองว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างชัดเจน
ยิ่งกว่านี้ คำว่า เขา เป็นประธานในประโยคของทั้งสองข้อความ ผู้พูดหมายถึงใครที่ใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พูดในทำนองส่อเสียดด้วยว่า เป็นการใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ใช้เพื่อล้มล้างความเป็นธรรมนั่นเอง
ดังนั้นคำว่า “เขา” ในความหมายแห่งคำพูดของอดีตนายกฯ ทักษิณ จึงหมายถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออื่นใดนอกเหนือจากนี้ และนี่เองน่าจะเป็นจุดให้กองทัพหรือใครต่อใครที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปกป้องสถานะของชาติ ตามนัยแห่งกฎหมายว่าด้วยความมั่นคง จึงได้ออกมาแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ในเรื่องนี้ และการออกมาตอบโต้วาทะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคำว่า เขาใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม น่าจะชอบด้วยเหตุผลและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ถ้าย้อนไปดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ที่บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
จากนัยแห่งเนื้อหาในมาตรานี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ศาลได้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมภายใต้พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นประมุข ดังนั้น ผลการตัดสินคดีทุกๆ คดีไม่ว่าใครจะเป็นโจทก์ และใครจะเป็นจำเลย เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องยอมรับคำตัดสินของกระบวนการยุติธรรมที่เป็นไปตามหลักแห่งนิติธรรมทุกประการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงแม้จะเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้นมิต้องรับโทษ อันเป็นผลของการดำเนินการยุติธรรมที่ว่านี้แต่อย่างใด
อีกประการหนึ่ง การอ้างการได้มาซึ่งคะแนนเลือกตั้งจากประชาชนที่มีมากอย่างท่วมท้น ก็เป็นคนละเรื่องกับการที่ได้กระทำผิดกฎหมายแล้วไม่ต้องรับโทษ ในทำนองเดียวกันกับพระภิกษุผู้มีศีล และมีคนยอมรับนับถือยกมือไหว้ทุกที่ที่ได้พบเห็น แต่มาวันหนึ่งได้กระทำผิดกฎหมายด้วยการฆ่าสีกาตาย เพราะทนต่อการดูถูกเหยียดหยามในเรื่องส่วนตัวไม่ได้ ก็จะต้องถูกจับสึกและรับโทษตามกระบวนการยุติธรรม จะนำเอาอดีตที่มีคนยอมรับนับถือกราบไหว้มากมายมาปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการทางศาลเพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทษตามกฎหมายหาได้ไม่ นี่ขนาดพระผู้ทรงศีล 227 ข้อ และได้กระทำผิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ยังต้องรับโทษ ดังนั้น การที่นักการเมืองคนหนึ่งเคยได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้น และขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศแล้วมีพฤติกรรมกระทำผิดกฎหมาย มีหลักฐานพยานมากพอให้ศาลตัดสินว่ามีความผิด แต่ได้ออกมาโพนทะนาว่าไม่ผิดแล้วจะให้ใครที่ไหนเขาเชื่อและเห็นใจ จะมีอยู่บ้างก็เพียงผู้ที่ศรัทธาอาศัยในลักษณะมืดบอด คือ มองเห็นประโยชน์ส่วนตน และมองข้ามความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแก่ปวงชนโดยรวม อันเกิดจากการกระทำผิดกฎหมายของนักการเมืองที่ว่านั้นเท่านั้น
ประการสุดท้าย ที่ถือได้ว่าทั้งส่อเสียดและชี้นำให้เกิดการแตกแยกในลักษณะเป็นเพทุบาย ก็คือ การบอกว่าถูกปฏิวัติในขณะที่ได้รับความนิยมจากปวงชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพูดที่ขัดแย้งต่อตรรกะค่อนข้างมาก เพราะในข้ออ้างของผู้ทำการโค่นรัฐบาลทักษิณ ได้บอกชัดเจนว่ามีเหตุอะไรบ้าง และถ้าจำไม่ผิดการหมิ่นเบื้องสูงก็เป็นสาเหตุหนึ่ง และเป็นเหตุที่รับรู้กันทั่วๆ ไปว่ามีอยู่จริง และดูเหมือนจะมีมาตลอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ด้วยซ้ำ
ไม่ว่าผู้อ่านได้อ่านแล้วเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ว่าคำพูดในรายการความจริงวันนี้สัญจร ระหว่างนายวีระ มุสิกพงศ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะหมิ่นเหม่หรือไม่มากน้อยเท่าใด แต่ความจริงประการหนึ่งที่ปรากฏ ณ วันนี้ก็คือ ได้มีการนำคำพูดนี้มาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเกือบจะทุกวงการด้วย
แต่จากวันที่ 1 พ.ย.มาถึงวันนี้สัปดาห์กว่าแล้ว แต่ไม่เห็นมีการดำเนินการใดๆ จากรัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
จากนัยแห่งเนื้อหาสาระของพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางวาจาของคนพาลด้วยการกล่าวคำชั่ว ได้แก่ การสรรเสริญคนที่ควรติ และติคนที่ควรสรรเสริญ อันถือได้ว่าเป็นวาจาทุพภาสิต และให้โทษแก่ผู้พูดคือ หาความสุขไม่ได้ แต่เนื่องจากคำสอนข้อนี้เป็นการสอนในเชิงเปรียบเทียบ หรืออุปมาอุปไมย จึงอาจทำให้เข้าใจยากสำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับสำนวนทำนองนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงใคร่ขออธิบายขยายความเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
1. คำว่า คนพาล เป็นภาษามคธ มีความหมายตามพยัญชนะว่า อ่อนด้อยหรือโง่เขลาเบาปัญญา ขาดวุฒิภาวะที่คนปกติทั่วไปพึงมี และถ้าเทียบกับผู้รู้หรือที่เรียกว่าบัณฑิตแล้วจัดอยู่ในประเภทที่ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย จะทำให้ผู้คบหาอ่อนด้อยปัญญาไปด้วย
2. คำชั่ว หมายถึง คำพูดที่ทำให้ผู้ฟังได้รับผลทางด้านจิตใจ และอาจถึงกับสูญเสียประโยชน์อันจะพึงได้จากการฟัง เช่น ได้ปัญญาหรือความรู้เพิ่ม เป็นต้น เป็นอย่างน้อย ถ้าอย่างมากอาจถึงขั้นถูกตัดรอนผลประโยชน์ที่ควรจะได้จากการคบหาบุคคลที่เป็นผู้รู้
จากประเด็น 2 ประการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าพุทธพจน์ที่ว่านี้พระพุทธเจ้าทรงมุ่งสอนให้คนลดละพฤติกรรมอันเป็นพาลที่แสดงออกทางวาจา
แต่วันนี้และเวลานี้ผู้คนในสังคมไทยที่มีสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ ได้วางตัวและประพฤติตนเหินห่างจากคำสอนข้อนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรทางการเมืองที่แต่ละวันมีแต่การระรานผู้อื่น ทั้งที่เป็นนักการเมือง และมิได้เป็นนักการเมืองด้วยวาจาอันเป็นทุพภาษิต คือ คำพูดที่ไม่ถูกต้องตามกาล ไม่เป็นความจริง ไม่อ่อนหวาน ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พูดด้วยจิตมีเมตตา และที่ยิ่งกว่านี้มีอยู่ไม่น้อยที่ได้แสดงพฤติกรรมทุจริตด้วยวาจา หรือที่เรียกว่า วจีทุจริต คือ พูดเท็จ พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และพูดส่อเสียด วาทะของนายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในรายการความจริงวันนี้สัญจร ซึ่งจัด ณ สนามกีฬาราชมังคลาสถาน เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2551 เป็นตัวอย่างหนึ่งที่อยู่ในขอบข่ายแห่งข้อที่ว่า สรรเสริญคนที่ควรติ ติคนที่ควรสรรเสริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อความบางตอน ดังต่อไปนี้
1. คำพูดของนายวีระ ที่ว่า “พี่น้องประชาชนที่รักบ้านเมือง รักกฎหมาย จะไม่ว่าอะไรหากใช้กฎหมายกระบวนการยุติธรรมจัดการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่มีปัญหาคนที่นี่เขาลงมติว่า กระบวนการยุติธรรมที่ใช้กับท่านใช้ไม่ได้เลย”
2. คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ว่า “ไม่ใช่ เขาใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม พี่น้องคิดว่าอดีตนายกฯ คนหนึ่งเป็นที่ยอมรับชนะการเลือกตั้งถล่มทลายถึง 2 สมัย ครั้งล่าสุดได้ 377 จาก 500 เป็นประวัติศาสตร์ แต่กลับโดนลอบฆ่า โดนปฏิวัติ แต่การปฏิวัติเขาทำกันตอนรัฐบาลไม่ดี แต่นี่รัฐบาลกำลังมีความนิยมมาก มันฝืนความรู้สึกประชาชนส่วนใหญ่ มันถึงได้ยุ่งอย่างนี้ เพราะปฏิวัติตอนที่ประชาชนยังชื่นชมรัฐบาลอยู่”
ถ้าท่านผู้อ่านพิจารณาข้อความในคำพูดทั้งในข้อ 1 และข้อ 2 จะเห็นได้ชัดเจนว่า ทั้งนายวีระ มุสิกพงศ์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พูดในทำนองไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาล และมีลักษณะหมิ่นศาล ในทำนองว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างชัดเจน
ยิ่งกว่านี้ คำว่า เขา เป็นประธานในประโยคของทั้งสองข้อความ ผู้พูดหมายถึงใครที่ใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้พูดในทำนองส่อเสียดด้วยว่า เป็นการใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ใช้เพื่อล้มล้างความเป็นธรรมนั่นเอง
ดังนั้นคำว่า “เขา” ในความหมายแห่งคำพูดของอดีตนายกฯ ทักษิณ จึงหมายถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออื่นใดนอกเหนือจากนี้ และนี่เองน่าจะเป็นจุดให้กองทัพหรือใครต่อใครที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปกป้องสถานะของชาติ ตามนัยแห่งกฎหมายว่าด้วยความมั่นคง จึงได้ออกมาแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ในเรื่องนี้ และการออกมาตอบโต้วาทะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคำว่า เขาใช้กระบวนการยุติความเป็นธรรม น่าจะชอบด้วยเหตุผลและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ถ้าย้อนไปดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ที่บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
จากนัยแห่งเนื้อหาในมาตรานี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ศาลได้ดำเนินกระบวนการยุติธรรมภายใต้พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นประมุข ดังนั้น ผลการตัดสินคดีทุกๆ คดีไม่ว่าใครจะเป็นโจทก์ และใครจะเป็นจำเลย เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยจะต้องยอมรับคำตัดสินของกระบวนการยุติธรรมที่เป็นไปตามหลักแห่งนิติธรรมทุกประการ
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงแม้จะเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้นมิต้องรับโทษ อันเป็นผลของการดำเนินการยุติธรรมที่ว่านี้แต่อย่างใด
อีกประการหนึ่ง การอ้างการได้มาซึ่งคะแนนเลือกตั้งจากประชาชนที่มีมากอย่างท่วมท้น ก็เป็นคนละเรื่องกับการที่ได้กระทำผิดกฎหมายแล้วไม่ต้องรับโทษ ในทำนองเดียวกันกับพระภิกษุผู้มีศีล และมีคนยอมรับนับถือยกมือไหว้ทุกที่ที่ได้พบเห็น แต่มาวันหนึ่งได้กระทำผิดกฎหมายด้วยการฆ่าสีกาตาย เพราะทนต่อการดูถูกเหยียดหยามในเรื่องส่วนตัวไม่ได้ ก็จะต้องถูกจับสึกและรับโทษตามกระบวนการยุติธรรม จะนำเอาอดีตที่มีคนยอมรับนับถือกราบไหว้มากมายมาปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการทางศาลเพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทษตามกฎหมายหาได้ไม่ นี่ขนาดพระผู้ทรงศีล 227 ข้อ และได้กระทำผิดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ยังต้องรับโทษ ดังนั้น การที่นักการเมืองคนหนึ่งเคยได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้น และขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศแล้วมีพฤติกรรมกระทำผิดกฎหมาย มีหลักฐานพยานมากพอให้ศาลตัดสินว่ามีความผิด แต่ได้ออกมาโพนทะนาว่าไม่ผิดแล้วจะให้ใครที่ไหนเขาเชื่อและเห็นใจ จะมีอยู่บ้างก็เพียงผู้ที่ศรัทธาอาศัยในลักษณะมืดบอด คือ มองเห็นประโยชน์ส่วนตน และมองข้ามความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแก่ปวงชนโดยรวม อันเกิดจากการกระทำผิดกฎหมายของนักการเมืองที่ว่านั้นเท่านั้น
ประการสุดท้าย ที่ถือได้ว่าทั้งส่อเสียดและชี้นำให้เกิดการแตกแยกในลักษณะเป็นเพทุบาย ก็คือ การบอกว่าถูกปฏิวัติในขณะที่ได้รับความนิยมจากปวงชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพูดที่ขัดแย้งต่อตรรกะค่อนข้างมาก เพราะในข้ออ้างของผู้ทำการโค่นรัฐบาลทักษิณ ได้บอกชัดเจนว่ามีเหตุอะไรบ้าง และถ้าจำไม่ผิดการหมิ่นเบื้องสูงก็เป็นสาเหตุหนึ่ง และเป็นเหตุที่รับรู้กันทั่วๆ ไปว่ามีอยู่จริง และดูเหมือนจะมีมาตลอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ด้วยซ้ำ
ไม่ว่าผู้อ่านได้อ่านแล้วเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ว่าคำพูดในรายการความจริงวันนี้สัญจร ระหว่างนายวีระ มุสิกพงศ์ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะหมิ่นเหม่หรือไม่มากน้อยเท่าใด แต่ความจริงประการหนึ่งที่ปรากฏ ณ วันนี้ก็คือ ได้มีการนำคำพูดนี้มาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และเกือบจะทุกวงการด้วย
แต่จากวันที่ 1 พ.ย.มาถึงวันนี้สัปดาห์กว่าแล้ว แต่ไม่เห็นมีการดำเนินการใดๆ จากรัฐบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการรักษาความมั่นคงของประเทศ