xs
xsm
sm
md
lg

ศาลนัดไต่สวนพยานคดี “ทุจริตกล้ายาง” นัดแรก 4 มี.ค.ปีหน้า!

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ
ศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ “เนวินกับพวก” คดีทุจริตกล้ายาง 1,440 ล้านบาท นัดแรก 4 มี.ค.52 เวลา 09.30 น.กำชับ คู่ความติดตามพยานบุคคลและพยานหลักฐานให้เรียบร้อย พร้อมเปิดโอกาสให้จำเลยแถลงเปิดคดีได้ชั่วโมงครึ่ง

วันนี้ ( 18 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ศาลอกกนั่งบังลังก์ตรวจพยานหลักฐานต่อจากวันที่ 16-17 ธ.ค. นายบุญรอด ตันประเสริฐ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนทุจริตจัดซื้อต้นกล้ายางพารา 90 ล้านต้น มูลค่า 1,440 ล้านบาท พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์ นัดคู่ความเพื่อตรวจพยานหลักฐานและกำหนดทิศทางการไต่สวนต่อจากวันที่ 16 -17 ธ.ค.ที่ผ่านมาใน คดีหมายเลขดำที่ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ,นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะ คชก. นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ นายสรอรรถ กลิ่นปทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะ คชก. กับพวกรวม 44 คน

ประกอบด้วยกลุ่มคณะกรรมการกลั่นกรองเสนอโครงการต่อ ครม. คณะที่ 2 , กลุ่ม คชก. , กลุ่มคณะกรรมการบริหารโครงการ ( กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารราผลประกวดราคาซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มบริษัทเอกชน ที่มี 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในเครือซีพี , บริษัท รีสอร์ทแลนด์ จำกัด และ บริษัท เอกเจริญการเกษตร จำกัด ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ประมวลกฎหมายอาญา ม.157 , เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ จัดการหรือรักษาทรัพย์สินใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ ม.151 , ผู้ใดทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ประกอบ มาตรา 83 ,84 และ 86 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ( ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 4,10 -14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 11

ทั้งนี้ ฝ่ายจำเลยได้ส่งพยานเอกสารต่อศาล รวม 6 แฟ้ม 138 แผ่น ขณะที่โจทก์ อ้างส่งพยานต่อศาล 33 แฟ้ม และสำนวนการตรวจสอบไต่สวน อีก 2 แฟ้ม รวมทั้งสิ้น 41 แฟ้ม 501 แผ่น โดยการตรวจสอบพยานเอกสารของแต่ละฝ่าย ทนายโจทก์แถลงไม่โต้แย้งพยานเอกสารของฝ่ายจำเลย ในส่วนของที่เป็นระเบียบ คำสั่ง และเอกสารทางราชการ ที่มีการรับรอง จากหน่วยราชการ โดยที่ฝ่ายโจทก์ แถลงขอแย้งพยานเอกสารโจทก์ ในส่วนของสำนวนการตรวจสอบ ไต่สวนของคณะกรรมการ คตส. และคณะอนุกรรมการ ว่ามีเนื้อหาและสรุปความเห็นไม่ถูกต้อง รวมทั้งโต้แย้งแผนภูมิที่แสดงความสำพันธ์ระหว่างผู้เข้าเสนอราคา ซึ่ง คตส. จัดทำขึ้นเองว่าไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการโต้แย้งหนังสือ ที่เป็นการให้ข้อมูล เกี่ยวกับคดีนี้ว่าเป็นเพียงบัตรสนเท่ห์ ไม่มีผู้ร้องเรียน รวมทั้งการโต้แย้ง พยานเอกสารอื่นในอีกหลายประเด็น

สำหรับการตรวจสอบพยานหลักฐาน ทนายโจทก์และจำเลยทั้ง 44 คน แถลงยอมรับข้อเท็จจริงเบื้องต้น ในส่วนที่คุ่ความไม่โต้แย้งกัน ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมาย ให้เป็นประธาน คชก. จำเลยที่ 2 เป็น รมช. จำเลยที่ 4 เป็น รมช.เกษตรฯ และจำเลยที่ 19 เป็นอธิดีกรมวิชาการเกษตร โดยคดีนี้ ได้มีการเสนอโครงการปลูกยาง เพื่อระดับรายได้ ต่อจำเลยที่ 4 เพื่อจะขออนุมัติ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่องเสนอ ครม. คณะที่ 2 โดยอนุมัติให้กรมวิชาการเกษตร ดำเนินโครงการปลูกยางพาราเพื่อยกระดับรายได้และความมั่นคงให้แก่เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ ระยะที่ 1 ปี 2547-2549 และขออนุมัติให้กรมวิชาการเกษตรใช้เงินกองทุน โครงการช่วยเหลือเกษตรกร ปลอดดอกเบี้ย จำนวน 1,440 ล้านบาท เพื่อดำเนินการผลิดต้นยางชำถุง 90 ล้านต้น โดยให้ชำระเงินคืนกองทุนภายใน 10 ปี นับจากปีที่ยางพาราให้ผลผลิต ต่อมา ครม. อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1-3 , 5-18 ได้ร่วมกันมีมติในการประชุมคณะกรรมการ อนุมัติยกเว้นมติคณะกรรมการ คชก. เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2534 ที่ห้ามไม่ให้นำเงินกองทุนรวม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรใช้แทรกแซงินค้ายางพารา โดยให้ดำเนินการ ช่วยเหลทอสินค้ายางพาราได้ตามโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ และความมั่นคงให้เกาตรกร ที่ ครม. มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินโครงการ 26 พ.ค. 46 ได้เฉพาะคราว และอนุมัติเงินทุนหมุดเงียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 1440 ลบ จากงบด้านปัจจัยการผลิตให้กระทรวงเกษตรฯ เพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยให้กรมวิชาการเกษตร กำหนดเขตปลูกยางที่เหมาะสม ในภาคตะวันอกเฉียงเหนือและภาคเหนือรวม 1 ล้านไร่ โดยให้จัดหาพันธ์ยางคุณภาพ 90 ล้านต้น ราคาต้นละ 16 บาท มอบให้สำนักงานกองทุนสงเหคราะห์ การทำสวนยาง (สกย.) นำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรโดยกำหนดเวลาดำเนินการผลิตและแจกพันธ์ยางให้เกษตรกรปี2547 จำนวน 2แสนไร่ ปี 2548 จำนวน 3 แสนไร่ ปี2549 จำนวน5แสนไร่

ต่อมากรมวิชาการเกษตร ประกาศประกวดราคาจ้างโดยจำเลยที่ 19 แต่งตั้ง จำเลยที่ 20-24 เป็นคณะกรรมการบริหารโครงการปลูกยางระยะที่ 1 และจำเลยที่ 20 -22 , 25-26 เป็นคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา ซึ่งปรากฏว่าจำเลยที่ 30 เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการประมูล และจำเลยที่ 4 ขณะนั้นรักษาราชการแทน รมว.เกษตรฯ เป็นผู้ลงนามอนุมัติรับราคาตามที่ปลัดกระทรวงเกษตรฯเสนอ

หลังการตรวจพยานหลักฐาน ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ฝ่ายจำเลยแถลงเปิดคดีด้วยวาจาต่อศาลตามที่ร้องขอโดยการแถลงเปิดคดีด้วยวาจาให้ฝ่ายจำเลยมอบให้ตัวแทนของจำเลยแต่ละกลุ่มเป็นผู้ดำเนินการแถลงโดยให้ใช้เวลารวม 1 ชั่วโมง 30 นาที ในวันสืบพยานโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 4 มี.ค. 52 โดยศาลยังได้กำชับให้โจทก์และจำเลยติดตามพยานมาศาลให้พร้อมไต่สวนตามวันเวลานัดและเพื่อให้การไต่สวนพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว ให้ฝ่ายโจทก์และจำเลยแถลงประเด็นและข้อเท็จจริงที่จะทำการไต่สวน รวมทั้งตั้งคำถามที่จะถามพยานแต่ละปาก เสนอต่อศาลก่อนวัดนัดไต่สวนพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 15 วัน

ส่วนจำนวนพยาน ศาลอนุญาตให้ฝ่ายโจทก์นำพยานขึ้นไต่สวนรวม 25 ปาก ใช้เวลา 6 นัด ส่วนจำเลยมีพยานจำเลย 92 ปาก รวม 18 นัด โดยศาลนัดไต่สวนพยานโจทก์ครั้งแรกวันที่ 4 มี.ค.2552 เวลา 09.30 น. และนัดไต่สวนพยานโจทก์ต่อเนื่องในวันที่ในวันที่ 11,13,18,21 และ 25 มี.ค.2552 และให้ไต่สวนพยานจำเลยในวันที่ 12 ,13,15,19,20,22,26,27 และ 29 พ.ค.2552 วันที่ 2,3,5,9,10,12,16 และ17 มิ.ย.2552 และไต่สวนพยานจำเลยวันที่ 19 มิ.ย.2552 โดยศาลให้กำชับคู่ความให้ประสานติดตามพยานบุคคลและพยานหลักฐานให้พร้อมในวันนัด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการพิจารณาคดี ส่วนที่จำเลยทั้ง 3 กลุ่มจะขอแถลงเปิดคดี ศาลให้เวลา 1.30 ชม. ในวันนัดไต่สวนพยานโจทก์ 14 มี.ค. 2552

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับบัญชีพยานโจทก์รายงานข่าวแจ้งว่า พยานปากแรกที่จะนำสืบคือนาย บรรเจิด สิงคะเนติ ประธานอนุคตส. ซึ่งรับผิดชอบคดีดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น