ศาลยกฟ้อง “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส” ปฏิบัติหน้าที่มิชอบบุกรุกบ้าน “ปอ ประตูน้ำ” ยามวิกาล โดยไม่มีหลักฐานยันชันเจน ส่วนจำเลยที่ 2-4 คนละ 3 ปี ปรับ 3 พันบาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี
วันนี้ (15 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.464/2549 ที่นายไพรจิตร ธรรมโรจน์พินิจ หรือ ปอ ประตูน้ำ อายุ 68 ปี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติ, พ.ต.อ.สมบัติ ศุภชีวะ รอง ผบก.บช.ปส., พ.ต.อ.สุพจน์ เกษมชัยนันท์ รอง ผบก.ภ.จ.นนทบุรี และ พ.ต.ต.อาทร วิเศษสาทร พนักงานสอบสวน บช.ปส. ทั้งหมดเป็นยศและตำแหน่งในขณะนั้น ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ จากกรณีการตรวจค้น จับกุมบ่อนการพนันย่านประตูน้ำ
ตามโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ก.พ.49 บรรยายความผิดว่า เมื่อวันที่ 6 ก.พ.49 ระหว่างเวลา 19.00-22.00 น.จำเลยทั้งสี่กับพวกที่ยังไม่ได้ฟ้อง ร่วมกันกระทำความผิดกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 หัวหน้าชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับสถานบริการและอบายมุข ได้สั่งการใช้ให้จำเลยที่ 2-4 บุกรุกเข้าไปตรวจค้นบ้านเลขที่ 487/53 ซอยวัฒนศิลป์ ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ อันเป็นที่พักของโจทก์ในเวลากลางคืนโดยไม่มีอำนาจเข้าตรวจค้นได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2-4 ร่วมกันบุกรุก ปีนรั้วประตูบ้านจนขาด แตกหักเสียหายใช้ไม่ได้ ทำให้เสียทรัพย์ ทั้งที่คนดูแลบ้านของโจทก์ได้ห้ามปรามไม่ไห้ปีนรั้วเข้าบริเวณบ้าน แต่จำเลยที่ 2-4 อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยอมแสดงบัตรและไม่แสดงหมายค้นให้ดู ก่อนจะแจ้งโจทก์ทราบ พร้อมไปดูที่เกิดเหตุ จากนั้นโจทก์ได้โต้เถียงกับ จำเลยที่ 2-4 เนื่องจากไม่มีหมายค้นมาแสดง ต่อมาจำเลยที่ 2-4 ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและตามมาที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยสื่อมวลชนจำนวนมาก การกระทำของจำเลยทั้งสี่ เป็นการการบุกรุกและทำลายทรัพย์สินอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157, 358, 364, 365(2)
ศาลพิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานโจทก์แล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานหลายปากที่เบิกความสอดคล้องและสมเหตุสมผลว่า ในวันที่ 6 ก.พ.49 เวลา 19.00 น. เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ จำเลยที่ 2-4 ปีนรั้วเข้าไปในบ้านหลังเกิดเหตุ ก่อนจะใช้เหล็กงัดประตูให้พวกที่อยู่ด้านนอกเข้าไปด้านใน โดยไม่ได้แสดงหมายค้น เมื่อโจทก์ไปดูที่เกิดเหตุจึงขอดูหมายค้น เมื่อไม่มีหมายแสดงจะไล่ให้จำเลยที่ 2-4 ออกไปนอกบ้าน โดยจำเลยที่ 2-4 ได้โทรศัพท์ตามจำเลยที่ 1 ไปยังที่เกิดเหตุ ซึ่งโจทก์มีการบันทึกภาพวีดิโอไว้เป็นหลักฐาน แม้จำเลยที่ 2-3 เบิกความว่าได้แสดงหมายค้นให้คนดูแลบ้านของโจทก์ดูแล้ว ซึ่งขัดกับคำเบิกความของพยานโจทก์ที่เบิกความว่า จำเลยที่ 2-3 ถามเพียงว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของใคร เห็นว่าหากมีการแสดงหมายค้น โจทก์ควรจะบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน จำเลยที่ 2-3 จึงมีความผิดเมื่อไม่แสดงหมายค้นในเวลากลางคืน ส่วนจำเลยที่ 4 นั้น โจทก์เบิกความว่าจดจำจำเลยที่ 4 ได้ว่าอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย เพราะจำเลยที่ 4 จ้องหน้าโจทก์ ขณะถูกไล่ออกไปนอกบ้าน เห็นว่าจำเลยที่ 2-4 ร่วมกันกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้ จำเลยที่ 2-4 กระทำผิดหรือไม่ เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2-4 แต่จะสรุปว่าเป็นคนสั่งให้จำเลยที่ 2-4 ไปตรวจค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นนั้นคงไม่ได้ โดยโจทก์ได้เข้าไปต่อว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสอบถามข้อเท็จจริงว่ามีหมายค้นหรือไม่ แต่ไม่ได้สอบถาม จึงเป็นผู้สนับสนุนที่จะต้องได้รับผิดทางอาญานั้น ยังเป็นที่น่าสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2-4 จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1
พิพากษาว่า จำเลยที่ 2-4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นบทลงโทษหนักสุด ให้ลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2-4 คนละ 3 ปี ปรับ 3 พันบาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
ภายหลังศาลมีคำพิพากษาจำคุก และจำเลยที่ 2-4 ได้ชำระค่าปรับแล้ว พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คำพิพากษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ทั้งนี้คงต้องยื่นอุทธรณ์ไปตามกระบวนการของกฎหมาย เพราะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปตรวจค้นมีหมายค้นจากศาลแขวงดุสิต สามารถตรวจค้นได้ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนเสร็จสิ้นการตรวจค้น ซึ่งในวันเกิดเหตุตนไม่ได้ร่วมตรวจค้น แต่เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาถูกล้อม จึงต้องไปดูที่เกิดเหตุ ซึ่งต้องขอบคุณศาลที่ยกฟ้องตนด้วย
วันนี้ (15 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลอาญา ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อ.464/2549 ที่นายไพรจิตร ธรรมโรจน์พินิจ หรือ ปอ ประตูน้ำ อายุ 68 ปี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส จเรตำรวจแห่งชาติ, พ.ต.อ.สมบัติ ศุภชีวะ รอง ผบก.บช.ปส., พ.ต.อ.สุพจน์ เกษมชัยนันท์ รอง ผบก.ภ.จ.นนทบุรี และ พ.ต.ต.อาทร วิเศษสาทร พนักงานสอบสวน บช.ปส. ทั้งหมดเป็นยศและตำแหน่งในขณะนั้น ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ จากกรณีการตรวจค้น จับกุมบ่อนการพนันย่านประตูน้ำ
ตามโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 14 ก.พ.49 บรรยายความผิดว่า เมื่อวันที่ 6 ก.พ.49 ระหว่างเวลา 19.00-22.00 น.จำเลยทั้งสี่กับพวกที่ยังไม่ได้ฟ้อง ร่วมกันกระทำความผิดกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 หัวหน้าชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามผู้มีอิทธิพลที่กระทำความผิดเกี่ยวกับสถานบริการและอบายมุข ได้สั่งการใช้ให้จำเลยที่ 2-4 บุกรุกเข้าไปตรวจค้นบ้านเลขที่ 487/53 ซอยวัฒนศิลป์ ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ อันเป็นที่พักของโจทก์ในเวลากลางคืนโดยไม่มีอำนาจเข้าตรวจค้นได้ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2-4 ร่วมกันบุกรุก ปีนรั้วประตูบ้านจนขาด แตกหักเสียหายใช้ไม่ได้ ทำให้เสียทรัพย์ ทั้งที่คนดูแลบ้านของโจทก์ได้ห้ามปรามไม่ไห้ปีนรั้วเข้าบริเวณบ้าน แต่จำเลยที่ 2-4 อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยอมแสดงบัตรและไม่แสดงหมายค้นให้ดู ก่อนจะแจ้งโจทก์ทราบ พร้อมไปดูที่เกิดเหตุ จากนั้นโจทก์ได้โต้เถียงกับ จำเลยที่ 2-4 เนื่องจากไม่มีหมายค้นมาแสดง ต่อมาจำเลยที่ 2-4 ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบและตามมาที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยสื่อมวลชนจำนวนมาก การกระทำของจำเลยทั้งสี่ เป็นการการบุกรุกและทำลายทรัพย์สินอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง ขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157, 358, 364, 365(2)
ศาลพิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานโจทก์แล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานหลายปากที่เบิกความสอดคล้องและสมเหตุสมผลว่า ในวันที่ 6 ก.พ.49 เวลา 19.00 น. เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ จำเลยที่ 2-4 ปีนรั้วเข้าไปในบ้านหลังเกิดเหตุ ก่อนจะใช้เหล็กงัดประตูให้พวกที่อยู่ด้านนอกเข้าไปด้านใน โดยไม่ได้แสดงหมายค้น เมื่อโจทก์ไปดูที่เกิดเหตุจึงขอดูหมายค้น เมื่อไม่มีหมายแสดงจะไล่ให้จำเลยที่ 2-4 ออกไปนอกบ้าน โดยจำเลยที่ 2-4 ได้โทรศัพท์ตามจำเลยที่ 1 ไปยังที่เกิดเหตุ ซึ่งโจทก์มีการบันทึกภาพวีดิโอไว้เป็นหลักฐาน แม้จำเลยที่ 2-3 เบิกความว่าได้แสดงหมายค้นให้คนดูแลบ้านของโจทก์ดูแล้ว ซึ่งขัดกับคำเบิกความของพยานโจทก์ที่เบิกความว่า จำเลยที่ 2-3 ถามเพียงว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของใคร เห็นว่าหากมีการแสดงหมายค้น โจทก์ควรจะบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน จำเลยที่ 2-3 จึงมีความผิดเมื่อไม่แสดงหมายค้นในเวลากลางคืน ส่วนจำเลยที่ 4 นั้น โจทก์เบิกความว่าจดจำจำเลยที่ 4 ได้ว่าอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย เพราะจำเลยที่ 4 จ้องหน้าโจทก์ ขณะถูกไล่ออกไปนอกบ้าน เห็นว่าจำเลยที่ 2-4 ร่วมกันกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้ จำเลยที่ 2-4 กระทำผิดหรือไม่ เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2-4 แต่จะสรุปว่าเป็นคนสั่งให้จำเลยที่ 2-4 ไปตรวจค้นในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายค้นนั้นคงไม่ได้ โดยโจทก์ได้เข้าไปต่อว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 น่าจะสอบถามข้อเท็จจริงว่ามีหมายค้นหรือไม่ แต่ไม่ได้สอบถาม จึงเป็นผู้สนับสนุนที่จะต้องได้รับผิดทางอาญานั้น ยังเป็นที่น่าสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2-4 จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1
พิพากษาว่า จำเลยที่ 2-4 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นบทลงโทษหนักสุด ให้ลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2-4 คนละ 3 ปี ปรับ 3 พันบาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
ภายหลังศาลมีคำพิพากษาจำคุก และจำเลยที่ 2-4 ได้ชำระค่าปรับแล้ว พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวว่า คำพิพากษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ทั้งนี้คงต้องยื่นอุทธรณ์ไปตามกระบวนการของกฎหมาย เพราะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปตรวจค้นมีหมายค้นจากศาลแขวงดุสิต สามารถตรวจค้นได้ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนเสร็จสิ้นการตรวจค้น ซึ่งในวันเกิดเหตุตนไม่ได้ร่วมตรวจค้น แต่เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาถูกล้อม จึงต้องไปดูที่เกิดเหตุ ซึ่งต้องขอบคุณศาลที่ยกฟ้องตนด้วย