ศาลแพ่งเดินสายกลาง ยกคำร้องตั้งพนักงานบังคับคดี สั่งพันธมิตรฯ เปิดถนนพระราม 5 กับถนนพิษณุโลก ทุกช่องทาง ในช่วงเวลา 05.00-18.00 น.ของวันจันทร์-ศุกร์ ขณะที่ วันเสาร์-อาทิตย์ ให้ปิดการจราจรได้ตลอดทั้ง 2 วัน
วันนี้ ( 7 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลไต่สวนคำร้องของ นางวรรธนันท์ พรวนต้นไทร ครูโรงเรียนราชวินิต มัธยม กับพวก รวม 10 คน ที่ยื่นคำร้องขอศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานงานบังคับคดีให้ แกนนำพันธมิตร กับพวก จำเลย ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล ที่ให้เปิดถนนพิษณุโลก และถนนพระราม 5 ทุกช่องทางจราจรตลอดทั้งสาย และห้ามใช้เครื่องขยายเสียงรบกวนการเรียนการสอนตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. วันจันทร์ – ศุกร์ โดยฝ่ายพันธมิตรได้ยื่นคำร้องคัดค้านตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อเริ่มการไต่สวนศาลได้ตรวจคำร้องคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วได้อธิบายให้คู่ความทั้งทราบว่า ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็เข้าใจคำสั่งของศาลไปกันคนละทาง และเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ ศาลจะอธิบายคำสั่งให้ชัดเจน แต่จะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมนุมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ชุมนุมตั้งแต่เวลาเท่าใด เปิดถนนเวลาใด ใช้เสียงดังเท่าไรศาลจึงเรียกคู่ความทั้งสองฝ่ายมาสอบถาม โดย นายเมธี ใจสมุทร ทนายความโจทก์ แถลงว่า โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรเทาทุกข์เนื่องจากพวกจำเลยยังคงปิดถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5 ก่อนและหลังช่วงเวลา 07.30 – 16.30 น. ทำให้โจทก์ นักเรียน และประชาชนทั่วไปเดินทางไม่สะดวก รถโดยสารสาธารณะไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมย์ของคำสั่งคุ้มครองของศาล
ขณะที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความจำเลย แถลงว่า ตามคำสั่งศาลระบุว่า ให้จำเลยเปิดถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5 และห้ามใช้เครื่องขยายเสียงตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. โยศาลใช้คำว่า “และ” ดังนั้นคำสั่งทั้งสองข้อมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. ซึ่งฝ่ายจำเลยปฏิบัติตามแล้ว
โดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 ชี้แจ้งว่า หลังศาลมีคำสั่งคุ้มครอง พวกจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยยังมีการตั้งเวทีและกางเต็นท์กีดขวางการจราจรตามถนนต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งของผิวจราจร ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ปิดถนนสนิท ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนการใช้ถนนเป็นระบบวันเวย์
ด้านนายวิรัช โชคติวัฒน์ ผช.ผอ.ขสมก. ชี้แจ้งว่า ขสมก.ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถให้สั้นลง เพราะรถโดยสารไม่สามารถวิ่งผ่านเอาออกได้ ต้องปล่อยให้ประชาชนลงกลางทางเพื่อต่อรถโดยสารสายอื่นต่อไป หรือต้องเปลี่ยนเส้นทางเลี่ยงไปใช้ถนนศรีอยุธยา หรือถนนหลานหลวงแทน ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียเวลาเป็นชั่วโมง
ขณะที่ พล.ต.ต.ภานุ เกิดลาภผล รองผบช.น.ด้านงานจราจร ชี้แจ้งว่า เด็กนักเรียนใช้ถนนเดินทางทยอยเดินทางเข้าโรงเรียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. เพื่อเข้าเรียนเวลา 07.45 น. แต่การปิดถนนตั้งแต่เวลา 07.30 น. ทำให้นักเรียนอีกส่วนไม่สามารถเข้าโรงเรียนได้ โดยพวกจำเลยยังคงปิดถนนพิษณูโลกถึง 5 ช่องทาง หน้าทำเนียบ 3 ช่องทาง หน้า ก.พ. 2 ช่องทาง สะพานชมัยมรุเชฐ 3 ช่องทางครึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนการเดินรถเป็นระบบวันเวย์ รถสวนได้ไม่ได้ ซึ่งการปิดการจราจรบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ซึ่งทางถนนเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อการจราจรเส้นอื่นเป็นลูกโซ่
ด้าน พล.ต.จำลอง ชี้แจ้งว่า การที่ผู้ชุมนุมต้องมานั่งกินนอนกินบนถนนมีความลำบาก แต่ต้องทำเพื่อชาติเพราะเป็นหน้าที่ การชุมนุมแม้จะสร้างความรบกวนการใช้ถนนต่อประชาชนก็เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งหากไม่ชุมนุมรถก็ติดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพวกจำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ปิดช่องทางจราจรถึง 6 ช่องทางจาก 8 ช่องทางบนถนนพิษณุโลก ถนนนางเลิ้งเปิด 3 ช่องทาง พระราม 5 เปิด 2 ช่องทาง เพื่อให้โจทก์ นักเรียน ประชาชน และรถโดยสารสาธารณะ เข้าออกได้สะดวกตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. และงดใช้เครื่องขยายเสียงแล้ว หากจะให้ผู้ชุมนุมเปิดถนนพระราม 5 และพิษณุโลกทุกช่องทางจราจร ไม่สามารถทำได้เพราะปกติการชุมนุมตั้งมีที่ตั้งเวทีเพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัย และทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุม อีกทั้งยังมีสิ่งของเป็นอุปกรณ์ต่างๆและเต็นท์ไว้หลบแดดหลบฝน เพื่อชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ต่อมาศาลทำความเข้าใจกับคู่ความทั้งสองฝ่ายอีกว่า ศาลในฐานะคนกลาง ยึดหลักประนีประนอม หากศาลมีคำสั่งใดๆออกมาย่อมแน่นอนว่าจะมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ และอีกฝ่ายเสียประโยชน์ อย่างไรก็ตามศาลยึดหลักสิทธิเสรีภาพของการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ ม.63 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ แต่ก็ต้องก็ทำโดยปราศจากอาวุธ แต่วรรคสอง และ ม.63 เป็นข้อยกเว้น เป็นการจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพไม่ให้เกินขอบเขต ซึ่งเรื่องนี้ยากต่อการจัดสรรความขัดแย้งระหว่างสิทธิเสรีภาพการชุมนุม กับผู้ได้รับความเดือดร้อนไม่สะดวกในการใช้ถนนสาธารณะ จึงอยากให้คู่ความทั้งสองตกลงกันเรื่องเวลาการใช้ถนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเจรจาตกลงกันทั้งโจทก์และจำเลยไม่สามารถตกลงกันได้ โดยโจทก์ต้องการให้เปิดถนนพระราม 5 และพิษณุโลก ทุกวันทุกช่องจราจร แต่ฝ่ายจำเลยอ้างว่าไม่สามารถทำได้เพราะต้องลำบากเคลื่อนย้ายเวทีซึ่งเป็นหัวใจของการชุมนุมรวมทั้งที่เก็บสัมภาระและอุปกรณ์ต่างๆ โดยยืนยันว่า การปฏิบัติตามคำสั่งศาลแล้วและไม่มีผู้เดือดร้อนจากการชุมนุม ขณะที่ศาลต้องการให้จำเลยเปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลกทุกช่องจราจร ตั้งแต่เวลา 05.00 – 18.00 น.พร้อมอธิบายว่าศาลยึดหลักการชุมนุมตามเสรีภาพแต่ต้องมีขอบเขต ไม่ให้โจทก์และผู้ใช้ถนนสาธารณะได้รับความเดือดร้อน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันไม่ได้ ศาลจึงมีคำสั่งพักการพิจารณาคดี เป็นเวลา 15 นาที
ต่อมาเวลา 17.00 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่ง ระบุว่า ศาลได้ให้ทั้งสองฝ่ายชี้แจงแสดงเหตุผล รวมทั้งแสดงพยานหลักฐานต่อศาลแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมีความเจ้าใจเกี่ยวกับคำสั่งศาลไม่ตรงกันและมีปัญหาด้านการปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลจึงเห็นควรอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้คู่ความฟัง โดยศาลได้แจ้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายทราบว่า ในการอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของศาลหรือชี้ขาดปัญหาข้างต้น ศาลยึดหลักกฎหมายว่า เสรีภาพในการชุมนุมเป็นหลักการสำคัญในรัฐธรรนูญ พ.ศ.2550 ม.63 วรรคหนึ่ง แต่การใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะมีข้อจำกัดตามรัฐธรรม ม.63 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองความสะดวกแของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ขณะเดียวกันการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ตาม ม.63 วรรคสอง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นต้องไม่เป็นการลบล้างหลักการเสรีภาพการชุมนุม
ศาลเห็นว่า เพื่อเป็นการรักษาหลักการแห่งเสรีภาพในการชุมนุมกับการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะตามหลักกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามพยานที่มาศาลวันนี้ รวมทั้งตรวจดูพยานหลักฐานต่างๆและภาพถ่ายเกี่ยวกับการชุมนุม การใช้รถใช้ถนนบริเวณพื้นที่ชุมนุมบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก และคำชี้แจงของฝ่ายจำเลยทั้งหกแล้ว จึงอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาและมีคำสั่งเพิ่มเติมรวม 3 ข้อดังนี้
1ระหว่างพวกจำเลยยังชุมนุมกันอยู่บริเวณถนนพระราม5 จากแยกวัดเบญจมบิตรไปทางสะพานชมัยมรุเชฐ และ ถนนพิษณุโลก จากแยกนางเลิ้ง ไปทางสะพานชมัยมรุเชษฐ จนถุงแยกมิกสกวัน ให้จำเลยทั้ง6กับพวก เปิดพื้นที่การจราจรบนถนนพระราม 5 กับถนนพิษณุโลกทุกช่องทาง เฉพาะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 05.00 ถึง 18.00 น. เพื่อให้ประชาชนรวมทั้งพวกโจทก์ รถประจำทาง รถยนต์ พาหนะอื่นๆสัญจรได้สะดวก โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะจัดการจราจรจะจัดการจราจรให้แล่นผ่านทางเดียวหรือสวนกันก็ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นสำคัญ
และเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาได้สะดวก ในการเปิดพื้นที่ทุกช่องทางจราจรในช่วงเวลาข้างต้นนั้น
1.1 หากเวทีปราศรัย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเวทีตั้งอยู่บนถนนและกีดขวางช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิด ก็ให้จำเลยทั้งหกกับพวกดำเนินการหรือจัดการย้ายเวทีปราศรัยออกไป เพื่อไม่ให้กีดขวางช่องทางจราจร
1.2 หากช่องทางจราจรที่ต้องเปิด มีวัตถุหรือสิ่งใดอยู่ในลักษณะกีดขวางการจราจร และวัตถุหรือสิ่งนั้น จำเลยทั้งหกกับพวกจัดสร้างขึ้นไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการชุมนุม หรือเพื่อการอื่นใด ก็ให้พวกจำเลยทั้งหกกับพวกดำเนินการหรือจัดการย้ายวัตถุ สิ่งกีดขวางนั้นออกไปจากช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิด
1.3 คำสั่งศาลที่ให้พวกจำเลยทั้งหกกับพวกเปิดถนนในช่วงวันเวลาข้างต้น หมายความรวมถึง ห้ามมิให้บุคคลใดใช้พื้นที่ช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิดเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมหรือเพื่อการอื่นใดในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาได้โดยสะดวก
2 คำสั่งศาลที่ให้จำเลยทั้งหกกับพวกปฏิบัติตามข้อ 1. ให้เริ่มมีผลใช้บังตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป และให้ยึดปฏิบัติต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นหากมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
3 ส่วนการใช้เครื่องขยายเสียงของจำเลยทั้งหกกับพวก เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและตั้งเวทีปราศรัย และคำสั่งศาลที่ห้ามมิให้จำเลยทั้งหกกับพวกใช้เครื่องขยายเสียงนั้น มีหมายความว่า ในระหว่างที่จำเลยทั้งหกกับพวกยังชุมนุมอยู่บนถนนพระราม5 ถนนพิษณุโลกดังกล่าว ห้ามมิให้จำเลยทั้งหกกับพวกใช้เครื่องเสียง ในลักษณะเป็นการรบกวนการเรียนการส่อนของโรงเรียนราชวินิตมัธยม เฉพาะในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 ถึง 16.30น. เท่านั้น และให้คำสั่งนี้ยังมีผลต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นหากพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนคำร้องที่โจทก์ทั้งสิบที่ขอให้ศาลหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ในชั้นนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อได้อธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ทั้งสองฝ่ายแล้ว และยังต้องรอฟังว่าได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่เพียงใด ในชั้นนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ยกคำร้องส่วนนี้
สุดท้ายในการปฏิบัติต่อกัน ศาลขอให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทก์ จำเลยทั้งหกกับพวก รวมถึงตำรวจผู้รักษากฎหมาย และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชน ให้คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย คำนึงถึงหลักความสมานฉันท์ คำนึงถึงวัฒนธรรมของ สังคมไทย ที่ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข และให้นัดชี้สองสถานในวันที่ 18 สิงหาคม นี้ เวลา 13.30 น. ตามที่ได้นัดไว้เดิม
ภายหลังศาลอ่านอธิบายคำสั่งให้พันธมิตรเปิดช่องทางจราจร พล.ต.จำลอง และแกนนำพันธมิตร ประกอบ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร ถึงกับมีสีหน้าเคร่งเครียด ทั้งที่ระหว่างรอศาลอ่านคำสั่ง แกนนำยังได้พูดคุยและมีสีหน้ายิ้มแย้ม พูดคุยกันอย่างอารมณ์ดี
ภายหลัง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. กล่าวว่า คำสั่งศาลกำหนดให้พันธมิตรต้องเปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลกทุกช่องจราจร โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ 8 กรกฎาคม เชื่อว่าพันธมิตรที่มาฟังคำสั่งในวันนี้ด้วยจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล และเคารพกติกา รวมถึงการไม่ใช้เครื่องขยายเสียงรบกวนการเรียนการสอบ ส่วนเวทีจะตั้งตรงไหนศาลไม่ได้พูดถึง
เมื่อถามว่ากังวลว่าพันธมิตรจะมาชุมนุมหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) หรือไม่ พล.ต.ท.อัศวิน กล่าวว่า ไม่กังวล ถ้ามาชุมนุมที่หน้า สตช. มีประชาชนที่เดือดร้อนเยอะ เดี๋ยวประชาชนก็ฟ้องศาลเอง ตำรวจมีหน้าที่ดูและประชาชน รวมทั้งผู้ชุมนุมให้ได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ชุมนุมจะไปชุมนุมตรงไหนก็เลือกไปที่ชอบๆและกัน
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า วันที่ 8 กรกฎาคม เวลา 05.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ศาลสั่งให้พันธมิตรเปิดถนน จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนและสื่อมวลชนไปตรวจสอบและเป็นพยานว่าพันธมิตรจะปฏิบัติตามหรือไม่
ด้านพล.ต.จำลอง กล่าวว่า ไม่รู้สึกย่อท้อ แม้ศาลจะสั่งให้เปิดถนนทุกช่องจราจร และในวันนี้เวลา 20.00 น. ห้าแกนนำพันธมิตรและทนายความจะประชุมเพื่อหาแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาลและต่อสู้คดีต่อไป
วันนี้ ( 7 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลไต่สวนคำร้องของ นางวรรธนันท์ พรวนต้นไทร ครูโรงเรียนราชวินิต มัธยม กับพวก รวม 10 คน ที่ยื่นคำร้องขอศาลแต่งตั้งเจ้าพนักงานงานบังคับคดีให้ แกนนำพันธมิตร กับพวก จำเลย ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาล ที่ให้เปิดถนนพิษณุโลก และถนนพระราม 5 ทุกช่องทางจราจรตลอดทั้งสาย และห้ามใช้เครื่องขยายเสียงรบกวนการเรียนการสอนตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. วันจันทร์ – ศุกร์ โดยฝ่ายพันธมิตรได้ยื่นคำร้องคัดค้านตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อเริ่มการไต่สวนศาลได้ตรวจคำร้องคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วได้อธิบายให้คู่ความทั้งทราบว่า ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็เข้าใจคำสั่งของศาลไปกันคนละทาง และเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ ศาลจะอธิบายคำสั่งให้ชัดเจน แต่จะต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมนุมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ชุมนุมตั้งแต่เวลาเท่าใด เปิดถนนเวลาใด ใช้เสียงดังเท่าไรศาลจึงเรียกคู่ความทั้งสองฝ่ายมาสอบถาม โดย นายเมธี ใจสมุทร ทนายความโจทก์ แถลงว่า โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรเทาทุกข์เนื่องจากพวกจำเลยยังคงปิดถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5 ก่อนและหลังช่วงเวลา 07.30 – 16.30 น. ทำให้โจทก์ นักเรียน และประชาชนทั่วไปเดินทางไม่สะดวก รถโดยสารสาธารณะไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมย์ของคำสั่งคุ้มครองของศาล
ขณะที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความจำเลย แถลงว่า ตามคำสั่งศาลระบุว่า ให้จำเลยเปิดถนนพิษณุโลกและถนนพระราม 5 และห้ามใช้เครื่องขยายเสียงตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. โยศาลใช้คำว่า “และ” ดังนั้นคำสั่งทั้งสองข้อมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. ซึ่งฝ่ายจำเลยปฏิบัติตามแล้ว
โดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 ชี้แจ้งว่า หลังศาลมีคำสั่งคุ้มครอง พวกจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยยังมีการตั้งเวทีและกางเต็นท์กีดขวางการจราจรตามถนนต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งของผิวจราจร ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ปิดถนนสนิท ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนการใช้ถนนเป็นระบบวันเวย์
ด้านนายวิรัช โชคติวัฒน์ ผช.ผอ.ขสมก. ชี้แจ้งว่า ขสมก.ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถให้สั้นลง เพราะรถโดยสารไม่สามารถวิ่งผ่านเอาออกได้ ต้องปล่อยให้ประชาชนลงกลางทางเพื่อต่อรถโดยสารสายอื่นต่อไป หรือต้องเปลี่ยนเส้นทางเลี่ยงไปใช้ถนนศรีอยุธยา หรือถนนหลานหลวงแทน ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียเวลาเป็นชั่วโมง
ขณะที่ พล.ต.ต.ภานุ เกิดลาภผล รองผบช.น.ด้านงานจราจร ชี้แจ้งว่า เด็กนักเรียนใช้ถนนเดินทางทยอยเดินทางเข้าโรงเรียนตั้งแต่เวลา 06.00 น. เพื่อเข้าเรียนเวลา 07.45 น. แต่การปิดถนนตั้งแต่เวลา 07.30 น. ทำให้นักเรียนอีกส่วนไม่สามารถเข้าโรงเรียนได้ โดยพวกจำเลยยังคงปิดถนนพิษณูโลกถึง 5 ช่องทาง หน้าทำเนียบ 3 ช่องทาง หน้า ก.พ. 2 ช่องทาง สะพานชมัยมรุเชฐ 3 ช่องทางครึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนการเดินรถเป็นระบบวันเวย์ รถสวนได้ไม่ได้ ซึ่งการปิดการจราจรบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ซึ่งทางถนนเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อการจราจรเส้นอื่นเป็นลูกโซ่
ด้าน พล.ต.จำลอง ชี้แจ้งว่า การที่ผู้ชุมนุมต้องมานั่งกินนอนกินบนถนนมีความลำบาก แต่ต้องทำเพื่อชาติเพราะเป็นหน้าที่ การชุมนุมแม้จะสร้างความรบกวนการใช้ถนนต่อประชาชนก็เพียงส่วนหนึ่ง ซึ่งหากไม่ชุมนุมรถก็ติดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพวกจำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ปิดช่องทางจราจรถึง 6 ช่องทางจาก 8 ช่องทางบนถนนพิษณุโลก ถนนนางเลิ้งเปิด 3 ช่องทาง พระราม 5 เปิด 2 ช่องทาง เพื่อให้โจทก์ นักเรียน ประชาชน และรถโดยสารสาธารณะ เข้าออกได้สะดวกตั้งแต่เวลา 07.30 – 16.30 น. และงดใช้เครื่องขยายเสียงแล้ว หากจะให้ผู้ชุมนุมเปิดถนนพระราม 5 และพิษณุโลกทุกช่องทางจราจร ไม่สามารถทำได้เพราะปกติการชุมนุมตั้งมีที่ตั้งเวทีเพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัย และทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุม อีกทั้งยังมีสิ่งของเป็นอุปกรณ์ต่างๆและเต็นท์ไว้หลบแดดหลบฝน เพื่อชุมนุมตามสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ต่อมาศาลทำความเข้าใจกับคู่ความทั้งสองฝ่ายอีกว่า ศาลในฐานะคนกลาง ยึดหลักประนีประนอม หากศาลมีคำสั่งใดๆออกมาย่อมแน่นอนว่าจะมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ และอีกฝ่ายเสียประโยชน์ อย่างไรก็ตามศาลยึดหลักสิทธิเสรีภาพของการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ ม.63 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ แต่ก็ต้องก็ทำโดยปราศจากอาวุธ แต่วรรคสอง และ ม.63 เป็นข้อยกเว้น เป็นการจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพไม่ให้เกินขอบเขต ซึ่งเรื่องนี้ยากต่อการจัดสรรความขัดแย้งระหว่างสิทธิเสรีภาพการชุมนุม กับผู้ได้รับความเดือดร้อนไม่สะดวกในการใช้ถนนสาธารณะ จึงอยากให้คู่ความทั้งสองตกลงกันเรื่องเวลาการใช้ถนน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเจรจาตกลงกันทั้งโจทก์และจำเลยไม่สามารถตกลงกันได้ โดยโจทก์ต้องการให้เปิดถนนพระราม 5 และพิษณุโลก ทุกวันทุกช่องจราจร แต่ฝ่ายจำเลยอ้างว่าไม่สามารถทำได้เพราะต้องลำบากเคลื่อนย้ายเวทีซึ่งเป็นหัวใจของการชุมนุมรวมทั้งที่เก็บสัมภาระและอุปกรณ์ต่างๆ โดยยืนยันว่า การปฏิบัติตามคำสั่งศาลแล้วและไม่มีผู้เดือดร้อนจากการชุมนุม ขณะที่ศาลต้องการให้จำเลยเปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลกทุกช่องจราจร ตั้งแต่เวลา 05.00 – 18.00 น.พร้อมอธิบายว่าศาลยึดหลักการชุมนุมตามเสรีภาพแต่ต้องมีขอบเขต ไม่ให้โจทก์และผู้ใช้ถนนสาธารณะได้รับความเดือดร้อน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันไม่ได้ ศาลจึงมีคำสั่งพักการพิจารณาคดี เป็นเวลา 15 นาที
ต่อมาเวลา 17.00 น. ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่ง ระบุว่า ศาลได้ให้ทั้งสองฝ่ายชี้แจงแสดงเหตุผล รวมทั้งแสดงพยานหลักฐานต่อศาลแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมีความเจ้าใจเกี่ยวกับคำสั่งศาลไม่ตรงกันและมีปัญหาด้านการปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลจึงเห็นควรอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้คู่ความฟัง โดยศาลได้แจ้งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายทราบว่า ในการอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของศาลหรือชี้ขาดปัญหาข้างต้น ศาลยึดหลักกฎหมายว่า เสรีภาพในการชุมนุมเป็นหลักการสำคัญในรัฐธรรนูญ พ.ศ.2550 ม.63 วรรคหนึ่ง แต่การใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะมีข้อจำกัดตามรัฐธรรม ม.63 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองความสะดวกแของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ขณะเดียวกันการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ตาม ม.63 วรรคสอง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นต้องไม่เป็นการลบล้างหลักการเสรีภาพการชุมนุม
ศาลเห็นว่า เพื่อเป็นการรักษาหลักการแห่งเสรีภาพในการชุมนุมกับการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะตามหลักกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามพยานที่มาศาลวันนี้ รวมทั้งตรวจดูพยานหลักฐานต่างๆและภาพถ่ายเกี่ยวกับการชุมนุม การใช้รถใช้ถนนบริเวณพื้นที่ชุมนุมบนถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก และคำชี้แจงของฝ่ายจำเลยทั้งหกแล้ว จึงอธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาและมีคำสั่งเพิ่มเติมรวม 3 ข้อดังนี้
1ระหว่างพวกจำเลยยังชุมนุมกันอยู่บริเวณถนนพระราม5 จากแยกวัดเบญจมบิตรไปทางสะพานชมัยมรุเชฐ และ ถนนพิษณุโลก จากแยกนางเลิ้ง ไปทางสะพานชมัยมรุเชษฐ จนถุงแยกมิกสกวัน ให้จำเลยทั้ง6กับพวก เปิดพื้นที่การจราจรบนถนนพระราม 5 กับถนนพิษณุโลกทุกช่องทาง เฉพาะในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 05.00 ถึง 18.00 น. เพื่อให้ประชาชนรวมทั้งพวกโจทก์ รถประจำทาง รถยนต์ พาหนะอื่นๆสัญจรได้สะดวก โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะจัดการจราจรจะจัดการจราจรให้แล่นผ่านทางเดียวหรือสวนกันก็ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นสำคัญ
และเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาได้สะดวก ในการเปิดพื้นที่ทุกช่องทางจราจรในช่วงเวลาข้างต้นนั้น
1.1 หากเวทีปราศรัย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเวทีตั้งอยู่บนถนนและกีดขวางช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิด ก็ให้จำเลยทั้งหกกับพวกดำเนินการหรือจัดการย้ายเวทีปราศรัยออกไป เพื่อไม่ให้กีดขวางช่องทางจราจร
1.2 หากช่องทางจราจรที่ต้องเปิด มีวัตถุหรือสิ่งใดอยู่ในลักษณะกีดขวางการจราจร และวัตถุหรือสิ่งนั้น จำเลยทั้งหกกับพวกจัดสร้างขึ้นไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการชุมนุม หรือเพื่อการอื่นใด ก็ให้พวกจำเลยทั้งหกกับพวกดำเนินการหรือจัดการย้ายวัตถุ สิ่งกีดขวางนั้นออกไปจากช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิด
1.3 คำสั่งศาลที่ให้พวกจำเลยทั้งหกกับพวกเปิดถนนในช่วงวันเวลาข้างต้น หมายความรวมถึง ห้ามมิให้บุคคลใดใช้พื้นที่ช่องทางจราจรบนถนนที่ต้องเปิดเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมหรือเพื่อการอื่นใดในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ในการสัญจรไปมาได้โดยสะดวก
2 คำสั่งศาลที่ให้จำเลยทั้งหกกับพวกปฏิบัติตามข้อ 1. ให้เริ่มมีผลใช้บังตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป และให้ยึดปฏิบัติต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นหากมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
3 ส่วนการใช้เครื่องขยายเสียงของจำเลยทั้งหกกับพวก เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและตั้งเวทีปราศรัย และคำสั่งศาลที่ห้ามมิให้จำเลยทั้งหกกับพวกใช้เครื่องขยายเสียงนั้น มีหมายความว่า ในระหว่างที่จำเลยทั้งหกกับพวกยังชุมนุมอยู่บนถนนพระราม5 ถนนพิษณุโลกดังกล่าว ห้ามมิให้จำเลยทั้งหกกับพวกใช้เครื่องเสียง ในลักษณะเป็นการรบกวนการเรียนการส่อนของโรงเรียนราชวินิตมัธยม เฉพาะในช่วงวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 ถึง 16.30น. เท่านั้น และให้คำสั่งนี้ยังมีผลต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นหากพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนคำร้องที่โจทก์ทั้งสิบที่ขอให้ศาลหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ในชั้นนี้ ศาลเห็นว่า เมื่อได้อธิบายคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาให้ทั้งสองฝ่ายแล้ว และยังต้องรอฟังว่าได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่เพียงใด ในชั้นนี้จึงไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ยกคำร้องส่วนนี้
สุดท้ายในการปฏิบัติต่อกัน ศาลขอให้ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายโจทก์ จำเลยทั้งหกกับพวก รวมถึงตำรวจผู้รักษากฎหมาย และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชน ให้คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย คำนึงถึงหลักความสมานฉันท์ คำนึงถึงวัฒนธรรมของ สังคมไทย ที่ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข และให้นัดชี้สองสถานในวันที่ 18 สิงหาคม นี้ เวลา 13.30 น. ตามที่ได้นัดไว้เดิม
ภายหลังศาลอ่านอธิบายคำสั่งให้พันธมิตรเปิดช่องทางจราจร พล.ต.จำลอง และแกนนำพันธมิตร ประกอบ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร ถึงกับมีสีหน้าเคร่งเครียด ทั้งที่ระหว่างรอศาลอ่านคำสั่ง แกนนำยังได้พูดคุยและมีสีหน้ายิ้มแย้ม พูดคุยกันอย่างอารมณ์ดี
ภายหลัง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. กล่าวว่า คำสั่งศาลกำหนดให้พันธมิตรต้องเปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลกทุกช่องจราจร โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ 8 กรกฎาคม เชื่อว่าพันธมิตรที่มาฟังคำสั่งในวันนี้ด้วยจะปฏิบัติตามคำสั่งศาล และเคารพกติกา รวมถึงการไม่ใช้เครื่องขยายเสียงรบกวนการเรียนการสอบ ส่วนเวทีจะตั้งตรงไหนศาลไม่ได้พูดถึง
เมื่อถามว่ากังวลว่าพันธมิตรจะมาชุมนุมหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) หรือไม่ พล.ต.ท.อัศวิน กล่าวว่า ไม่กังวล ถ้ามาชุมนุมที่หน้า สตช. มีประชาชนที่เดือดร้อนเยอะ เดี๋ยวประชาชนก็ฟ้องศาลเอง ตำรวจมีหน้าที่ดูและประชาชน รวมทั้งผู้ชุมนุมให้ได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ชุมนุมจะไปชุมนุมตรงไหนก็เลือกไปที่ชอบๆและกัน
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า วันที่ 8 กรกฎาคม เวลา 05.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ศาลสั่งให้พันธมิตรเปิดถนน จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนและสื่อมวลชนไปตรวจสอบและเป็นพยานว่าพันธมิตรจะปฏิบัติตามหรือไม่
ด้านพล.ต.จำลอง กล่าวว่า ไม่รู้สึกย่อท้อ แม้ศาลจะสั่งให้เปิดถนนทุกช่องจราจร และในวันนี้เวลา 20.00 น. ห้าแกนนำพันธมิตรและทนายความจะประชุมเพื่อหาแนวทางการปฏิบัติตามคำสั่งศาลและต่อสู้คดีต่อไป