“พิชิฏ” เครียดนอนคุกคืนแรกยังปรับสภาพไม่ได้ เรือนจำส่งเจ้าหน้าที่พูดคุย ด้านเสมียนทนายอาการปกติ อธิบดีราชทัณฑ์มั่นใจเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสบการณ์ดูแลผู้ต้องขังแรกรับ
วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ นายทรงวุฒิ วัฒนกุล ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุก นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร, น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 6 เดือนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ทำให้นายพิชิฏต้องถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีญาติเดินทางมาเยี่ยมนายพิชิฏแล้ว และพบว่านายพิชิฏมีสภาพจิตใจค่อนข้างเครียด แต่ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ต้องขังแรกรับ ซึ่งตนได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ควบคุมนายพิชิฏ แนะนำกฎระเบียบปฏิบัติของเรือนจำเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ต้องขังอื่นและใช้ชีวิตในเรือนจำได้อย่างปกติ โดยนายพิชิฏถือเป็นผู้มีความรู้ทางด้านกฎหมายหลังจากนี้ทางเรือนจำจะให้นายพิชิฏได้ใช้ความรู้ทำประโยชน์แก่ทางเรือนจำด้วย ซึ่งการปรับสภาพจิตใจของผู้ต้องขังนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ต้องขังเองด้วย บางรายก็ใช้เวลาปรับตัวไม่นาน แต่บางรายต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะปรับตัวได้
ด้าน นางอังคณึง เล็บนาค ผอ.ทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า จากการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสอบประวัติและพูดคุยกับ น.ส.ศุภศรี พบว่าไม่มีอาการผิดปกติหรือแสดงอาการเครียด จากการแสดงออกถือว่าไม่น่าเป็นห่วงจึงไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นพิเศษ โดยหลังจากนี้จะส่งเจ้าหน้าที่อบรมเรื่องกฎระเบียบของทัณฑสถานเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำได้ หลังจากนั้นจะมีคณะกรรมการจำแนกผู้ต้องขังพิจารณาแยกแดนต่อไป
ขณะที่ นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เป็นเรื่องปกติที่บุคคลทั่วไปต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำครั้งแรกจะมีอาการเครียด ซึ่งแดนแรกรับของทุกเรือนจำ ทัณฑสถานจะมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในการพูดคุยกับผู้ต้องขังให้สามารถปรับตัว และคลายความวิตกกังวลต่างๆ ได้ ซึ่งในบางรายที่มีความวิตกกังวลมากเจ้าหน้าที่อาจต้องใช้การปลอบประโลมและพูดคุยกับผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ภายหลังเรือนจำเปิดให้ญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังเวลา 08.30 น. กลุ่มญาติและเพื่อนนายพิชิฏ ชื่นบาน กว่า 20 คนเข้ามาติดต่อขอเยี่ยมนายพิชิฏ พร้อมทั้งซื้ออาหาร ผลไม้ น้ำดื่ม จากร้านสวัสดิการเรือนจำเข้ามาเยี่ยมนักโทษ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายพิชิฏซึ่งอยู่ในชุดนักโทษแดนแรกรับ สวมเสื้อสีฟ้าและกางเกงสีน้ำเงินได้เดินออกมายังห้องเยี่ยมหมายเลข 7 นายพิชิฏได้พบญาติและเพื่อน จากนั้นต่างฝ่ายต่างร้องไห้กันระงม
ทั้งนี้ นายพิชิฏได้กล่าวกับบรรดาญาติว่าเมื่อคืนนอนไม่หลับ มีอาการเครียด และกล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่แฟร์ ถ้าเป็นจริงจะไม่ว่าเลย และขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันดูแลเรื่องทั้งหมด โดยทางเรือนจำให้เวลาเยี่ยม 15 นาที จากนั้นญาติต้องเดินออกจากห้องเยี่ยม และญาติได้ฝากเจ้าหน้าที่เรือนจำให้ช่วยดูแลนายพิชิฏด้วย
วันเดียวกัน ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 กล่าวว่า ได้สอบถาม สน.ชนะสงคราม เกี่ยวกับเรื่องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองได้ตัดสินจำคุกทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เอาเงินจำนวน 2 ล้านบาทไปให้กับเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา คนละ 6 เดือน จำนวน 3 คน ว่ายังไม่มีเจ้าหน้าที่ได้รับมอบอำนาจมาแจ้งความดำนินคดีให้สินบนฯ จึงได้สั่งการให้ไปประสานกับทางศาลฎีกา เพื่อขอทราบว่าจะมาแจ้งความที่ สน.ชนะสงคราม หรือกองปราบปราม ถ้ามาแจ้งที่ สน.ชนะสงคราม จะลงไปควบคุมดูแลด้วยตนเอง
ผบก.น.1 กล่าวต่อว่า สำหรับคดีนี้ไม่ใช่คดีที่จำเป็นต้องสอบพยานอะไรมาก มีตัวละครอยู่ไม่กี่ตัว ตนเองหรืออาจจะเป็นรอง ผบก.น.1 ที่จะมอบหมายลงไปดูแลการสอบสวนคดีนี้ สำหรับคดีแรกเป็นเรื่องการละเมิดอำนาจศาล ที่ศาลลงโทษจำคุก 6 เดือน มีทนายความ 1 คน เสมียน 1 คน และผู้ประสานงานคดี 1 คน รวมจำนวน 3 คน เมื่อศาลลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลก็แสดงว่าศาลเห็นคล้ายๆ ความผิดซึ่งหน้าศาลหรือผู้พบเห็นที่ชัดเจน ศาลจึงได้ลงโทษ ในส่วนนี้ชัดเจนแล้วก็คงเหลือในส่วนที่จะเป็นคดีลูกโซ่ จากการที่ละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือประวิงการกระทำใด อันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 1 หมื่น 4 พันบาท
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ศาลจะต้องมาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อไป จากการตรวจสอบไปยังสน.ชนะสงคราม ยังไม่มีใครมาแจ้งความ เมื่อมาแจ้งความก็จะต้องสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งตัวละครเท่าที่ดูไม่น่าจะเกิน 6 ปาก ไม่ใช่คดีใหญ่โตอะไรมาก จนต้องระดมพนักงานสอบสวนทำคดี ถ้ามาแจ้งความร้องทุกข์กับ สน.ชนะสงคราม ก็พร้อมรับทำคดีอยู่แล้ว เคยทำคดีที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นประจำ เป็นงานปกติไม่มีปัญหาอะไร เราจัดเตรียมพนักงานสอบสวนที่อาวุโสมีความรู้ความสามารถเอาไว้รับคดี ซึ่งไม่หนักใจอะไร เพราะเป็นคดีที่มีการติดสินบนเจ้าพนักงานตุลาการหรือศาลจริงหรือไม่ ถ้าผิดจริงก็ว่าไปจะผิดตามข้อหานี้ ส่วนมูลเหตุของการติดสินบนในคดีความเรื่องซื้อขายที่ดินรัชดาฯ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้
สำหรับ นายธนา ซึ่งเป็นผู้ประสานงานคดี ไม่มาฟังตัดสินของศาลและถูกหมายจับของศาลฎีกาเมื่อวานนี้นั้น ผบก.น.1 กล่าวว่า หมายจับศาลเมื่อออกแล้วตำรวจหน่วยใดพบเจอตัวก็จับกุมได้ทันที ซึ่งทางศาลจะส่งประกาศสืบจับไปให้ สตช. ทางแผนกทะเบียนประวัติอาชญากร จะแจ้งให้ตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศทราบว่าบุคคลผู้นี้มีหมายจับของศาล ถ้าพบเจอตัวให้จับตัวส่งศาลได้ทันที
"ทนายชั่ว"หลานหญิงอ้อยังล่องหน!
เปิดคำพิพากษาสินบนศาล “ทักษิณ-พจมาน” น่ารู้เห็น?
จำคุก 6 เดือน แก๊งทนายแม้วติดสินบนศาล!
วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ นายทรงวุฒิ วัฒนกุล ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลฎีกาตัดสินจำคุก นายพิชิฏ ชื่นบาน ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร, น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ เสมียนทนายความ และนายธนา ตันศิริ ผู้ประสานงานคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นเวลา 6 เดือนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ทำให้นายพิชิฏต้องถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีญาติเดินทางมาเยี่ยมนายพิชิฏแล้ว และพบว่านายพิชิฏมีสภาพจิตใจค่อนข้างเครียด แต่ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ต้องขังแรกรับ ซึ่งตนได้แนะนำให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ควบคุมนายพิชิฏ แนะนำกฎระเบียบปฏิบัติของเรือนจำเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ต้องขังอื่นและใช้ชีวิตในเรือนจำได้อย่างปกติ โดยนายพิชิฏถือเป็นผู้มีความรู้ทางด้านกฎหมายหลังจากนี้ทางเรือนจำจะให้นายพิชิฏได้ใช้ความรู้ทำประโยชน์แก่ทางเรือนจำด้วย ซึ่งการปรับสภาพจิตใจของผู้ต้องขังนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้ต้องขังเองด้วย บางรายก็ใช้เวลาปรับตัวไม่นาน แต่บางรายต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะปรับตัวได้
ด้าน นางอังคณึง เล็บนาค ผอ.ทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า จากการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปสอบประวัติและพูดคุยกับ น.ส.ศุภศรี พบว่าไม่มีอาการผิดปกติหรือแสดงอาการเครียด จากการแสดงออกถือว่าไม่น่าเป็นห่วงจึงไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นพิเศษ โดยหลังจากนี้จะส่งเจ้าหน้าที่อบรมเรื่องกฎระเบียบของทัณฑสถานเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังสามารถปรับตัวใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำได้ หลังจากนั้นจะมีคณะกรรมการจำแนกผู้ต้องขังพิจารณาแยกแดนต่อไป
ขณะที่ นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า เป็นเรื่องปกติที่บุคคลทั่วไปต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำครั้งแรกจะมีอาการเครียด ซึ่งแดนแรกรับของทุกเรือนจำ ทัณฑสถานจะมีเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญในการพูดคุยกับผู้ต้องขังให้สามารถปรับตัว และคลายความวิตกกังวลต่างๆ ได้ ซึ่งในบางรายที่มีความวิตกกังวลมากเจ้าหน้าที่อาจต้องใช้การปลอบประโลมและพูดคุยกับผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ภายหลังเรือนจำเปิดให้ญาติเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังเวลา 08.30 น. กลุ่มญาติและเพื่อนนายพิชิฏ ชื่นบาน กว่า 20 คนเข้ามาติดต่อขอเยี่ยมนายพิชิฏ พร้อมทั้งซื้ออาหาร ผลไม้ น้ำดื่ม จากร้านสวัสดิการเรือนจำเข้ามาเยี่ยมนักโทษ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายพิชิฏซึ่งอยู่ในชุดนักโทษแดนแรกรับ สวมเสื้อสีฟ้าและกางเกงสีน้ำเงินได้เดินออกมายังห้องเยี่ยมหมายเลข 7 นายพิชิฏได้พบญาติและเพื่อน จากนั้นต่างฝ่ายต่างร้องไห้กันระงม
ทั้งนี้ นายพิชิฏได้กล่าวกับบรรดาญาติว่าเมื่อคืนนอนไม่หลับ มีอาการเครียด และกล่าวว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่แฟร์ ถ้าเป็นจริงจะไม่ว่าเลย และขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันดูแลเรื่องทั้งหมด โดยทางเรือนจำให้เวลาเยี่ยม 15 นาที จากนั้นญาติต้องเดินออกจากห้องเยี่ยม และญาติได้ฝากเจ้าหน้าที่เรือนจำให้ช่วยดูแลนายพิชิฏด้วย
วันเดียวกัน ที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผบก.น.1 กล่าวว่า ได้สอบถาม สน.ชนะสงคราม เกี่ยวกับเรื่องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองได้ตัดสินจำคุกทนายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เอาเงินจำนวน 2 ล้านบาทไปให้กับเจ้าหน้าที่ศาลฎีกา คนละ 6 เดือน จำนวน 3 คน ว่ายังไม่มีเจ้าหน้าที่ได้รับมอบอำนาจมาแจ้งความดำนินคดีให้สินบนฯ จึงได้สั่งการให้ไปประสานกับทางศาลฎีกา เพื่อขอทราบว่าจะมาแจ้งความที่ สน.ชนะสงคราม หรือกองปราบปราม ถ้ามาแจ้งที่ สน.ชนะสงคราม จะลงไปควบคุมดูแลด้วยตนเอง
ผบก.น.1 กล่าวต่อว่า สำหรับคดีนี้ไม่ใช่คดีที่จำเป็นต้องสอบพยานอะไรมาก มีตัวละครอยู่ไม่กี่ตัว ตนเองหรืออาจจะเป็นรอง ผบก.น.1 ที่จะมอบหมายลงไปดูแลการสอบสวนคดีนี้ สำหรับคดีแรกเป็นเรื่องการละเมิดอำนาจศาล ที่ศาลลงโทษจำคุก 6 เดือน มีทนายความ 1 คน เสมียน 1 คน และผู้ประสานงานคดี 1 คน รวมจำนวน 3 คน เมื่อศาลลงโทษในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลก็แสดงว่าศาลเห็นคล้ายๆ ความผิดซึ่งหน้าศาลหรือผู้พบเห็นที่ชัดเจน ศาลจึงได้ลงโทษ ในส่วนนี้ชัดเจนแล้วก็คงเหลือในส่วนที่จะเป็นคดีลูกโซ่ จากการที่ละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 167 ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือประวิงการกระทำใด อันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 1 หมื่น 4 พันบาท
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ศาลจะต้องมาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อไป จากการตรวจสอบไปยังสน.ชนะสงคราม ยังไม่มีใครมาแจ้งความ เมื่อมาแจ้งความก็จะต้องสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งตัวละครเท่าที่ดูไม่น่าจะเกิน 6 ปาก ไม่ใช่คดีใหญ่โตอะไรมาก จนต้องระดมพนักงานสอบสวนทำคดี ถ้ามาแจ้งความร้องทุกข์กับ สน.ชนะสงคราม ก็พร้อมรับทำคดีอยู่แล้ว เคยทำคดีที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อยู่เป็นประจำ เป็นงานปกติไม่มีปัญหาอะไร เราจัดเตรียมพนักงานสอบสวนที่อาวุโสมีความรู้ความสามารถเอาไว้รับคดี ซึ่งไม่หนักใจอะไร เพราะเป็นคดีที่มีการติดสินบนเจ้าพนักงานตุลาการหรือศาลจริงหรือไม่ ถ้าผิดจริงก็ว่าไปจะผิดตามข้อหานี้ ส่วนมูลเหตุของการติดสินบนในคดีความเรื่องซื้อขายที่ดินรัชดาฯ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับคดีนี้
สำหรับ นายธนา ซึ่งเป็นผู้ประสานงานคดี ไม่มาฟังตัดสินของศาลและถูกหมายจับของศาลฎีกาเมื่อวานนี้นั้น ผบก.น.1 กล่าวว่า หมายจับศาลเมื่อออกแล้วตำรวจหน่วยใดพบเจอตัวก็จับกุมได้ทันที ซึ่งทางศาลจะส่งประกาศสืบจับไปให้ สตช. ทางแผนกทะเบียนประวัติอาชญากร จะแจ้งให้ตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศทราบว่าบุคคลผู้นี้มีหมายจับของศาล ถ้าพบเจอตัวให้จับตัวส่งศาลได้ทันที
"ทนายชั่ว"หลานหญิงอ้อยังล่องหน!
เปิดคำพิพากษาสินบนศาล “ทักษิณ-พจมาน” น่ารู้เห็น?
จำคุก 6 เดือน แก๊งทนายแม้วติดสินบนศาล!