หลายคนตั้งคำถามว่า...ทำไมห้วงเวลา 2-3 วันที่ผ่านมา ได้ปรากฎข่าว การตามเช็คบิลฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ต้องหาและจำเลย คดีโกงชาติ ขายชาติ หลายคดี เกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างผิดปกติ...
เริ่มจาก 3 มิถุนายน 2551 ผลงานสุดห่วยของ"พ.ต.ท.ณรงค์ฤทธิ์ วาพันสุ"รองผกก.สส.สภ.วังน้อย ขออนุมัติหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ( ป.ป.ท.)และอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ คดีหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการทำคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
คดีนี้แปลกแต่จริง!!! เมื่อการขออนุมัติหมายจับครั้งนี้ ได้ยื่นต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งบังเอิญมากๆๆเป็นวันเดียวกันที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจราชการที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และซ้ำร้ายไปกว่านั้น "หมายจับ" ระบุว่าให้เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวนายสุนัย มโนมัยอุดม (ข้าราชการระดับสูงมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่หลบหนี และทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ)ไปส่งที่สถานีตำรวจภูธรวังน้อย ภายในอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย.2550 เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่เกินวันที่ 19 มิ.ย.2560 ลงชื่อนายอิทธิพล โชขุมา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมายจับที่ตำรวจ สภ.วังน้อย ปฎิบัติ(โดยชอบ หรือ โดยมิชอบ) ที่หลายคนมีการวิพากษ์วิจารณ์ ว่า หมายจับดั่งว่า ใครเป็นคนสั่ง ตำรวจนายไหน หรือ คนในรัฐบาล คนใดเป็นผู้สั่งการ เพื่อต้องการสร้างภาพการจับกุม นายสุนัย คาสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อล้างแค้นให้กับผู้เป็นนาย"จำเลยทักษิณ"หรือไม่?
ขณะที่มูลเหตุแห่งคดีกรณีเดียวกัน...เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ศาลแพ่งได้พิพากษายกฟ้องในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุนัย เป็นจำเลย ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 1,500 ล้านบาท กรณีที่นายสุนัย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการสอบสวนในคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ระหว่างวันที่ 19 มิ.ย.-17 ส.ค. 50 โดยศาลเห็นว่า เนื่องจากเห็นว่า ตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นตำแหน่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการละเมิด เป็นเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องรับผิดชอบ โจทก์ต้องยื่นฟ้องกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องจำเลยเป็นการเฉพาะตัว ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 ให้พิพากษายกฟ้อง
ด้าน นายสุนัย มโนมัยอุดม ออกมาพูดว่า เขาขอเวลารวบรวมพยานหลักฐานและจะเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนเพื่อต่อสู้คดี จึงมีคำถามว่า ทำไม ข้าราชการที่ทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ต้องมารับเคราะห์ เช่นนี้หรือ....
ถัดมา 4 มิถุนายน 2551 เกิดข่าว...กองปราบปรามออกหมายเรียก คตส.ในคดีหมิ่นประมาท พร้อมเตรียมออกหมายจับหากไม่ไปให้ปากคำในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ โดยกรณีนี้ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)กล่าวว่า พฤติกรรมของฝ่ายตำรวจก็พอจะทำให้มองเห็นว่าฝ่ายบริหารต้องการทำอะไร แต่ คตส.ไม่หวั่นไหว และจะทำงานจนถึงวันสุดท้าย ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พร้อมกับตั้งคำถามว่า ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าตำรวจกำลังทำอะไรอยู่ คตส.ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องบริษัททนายความของผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาท จากนั้น คตส.ถูกบริษัทดังกล่าวฟ้องกลับ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับพยายามเร่งดำเนินคดีกับ คตส.ส่วนคดี ที่ คตส.แจ้งความไปกลับไม่เห็นความคืบหน้าแม้แต่คดีเดียว ทั้งๆ ที่ คตส.เป็นองค์กรตรวจสอบตามกฎหมาย
ขณะที่ นายนายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส.ยืนยันว่า ไม่รู้สึกหวั่นไหวหรือกดดัน ขณะเดียวก็เชื่อมั่นในชั้นศาลที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้อย่างเป็นธรรม โดยเชื่อว่า กองปราบปรามจงใจกลั่นแกล้งเลือกปฏิบัติให้เกิดความเสียหาย กรณีอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานการทำงานของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะต้นทางของการสอบสวนคดี คือ ตำรวจ
สดๆร้อนๆ 5 มิถุนายน 2551 เกิดข่าวเตรียมออกหมายเรียก 6 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และถือว่ามีน้ำหนักมากที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เมื่อ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.)ออกมาแสดงพฤติกรรมรับใช้(รัฐตำรวจ)อย่างชัดเจน ด้วยการแถลงเร่งรัดคดีความที่กลุ่มตรงข้ามพันธมิตรฯได้แจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง และ สน.ดุสิต ให้ดำเนินคดีกับ 6 แกนนำข้อหา ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ข้อหากีดขวางการจราจร พร้อมกับสั่งกำชับไปยังพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีให้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และหากมีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดชัดไม่ว่าจะเป็นข้อหาใดๆตามที่มีการแจ้งความไว้ให้ดำเนินการออกหมายเรียกบุคคลผู้นั้นมาสอบปากคำรับทราบข้อกล่าวหาในทันที ตามหมายเรียก 3 ครั้ง หากยังไม่มาก็ให้ออกหมายจับตามขั้นตอนกระบวนการสอบสวนต่อไป
จาก 3 คดีความข้างต้น หากย้อนกลับไปตรวจสอบตารางวันเวลา พบว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่"พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับอำนาจเต็มในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ"รัฐตำรวจ"
โดยพบว่างานสำคัญๆในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตกอยู่ในมือของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ แทบทั้งสิ้น เปรียบเหมือนเป็น ผบ.ตร.ตัวจริง ขณะที่"พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ"ผบ.ตร.นอมินี แค่นั่งตบยุงอยู่เฉย...
งานสำคัญที่"พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์"รอง ผบ.ตร.ปป.1 ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย
ดูแลกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ยุทธการณ์ฆ่าตัดตอน กำลังจะกลับคืนมา)
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (คุมกองปราบปราม รื้อคดี คตส.)
สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์
กองทะเบียนประวัติอาชญากร(ทว.)
กองพัฒนาการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
งานสืบสวนสอบสวนคดีอาญา งานสั่งคดีและงานออกคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาสำคัญ(คดีสุนัย คดีคตส.คดีพันธมิตรฯ)
งานปราบปรามการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ
งานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์
งานปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง (โจทก์กำจัดฝ่ายตรงข้าม)
งานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
งานปราบปรามการโจรกรรมทรัพย์สินทางน้ำ
งานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
งานพิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี
งานประสานงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และงานนโยบายในภาพรวมของงาน ปป.
จากภารกิจสำคัญที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ที่ได้รับมอบหมายหลังกลับมาใหญ่ในกรมปทุมวัน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่า เขาคือ รอง ผบ.ตร. หรือ ผบ.ตร.ตัวจริงกันแน่...
ประกอบกับ หากไปดูมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ก.ตร.เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ได้พิจารณารับโอน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ พร้อม พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ที่ต้องถูกย้ายพ้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 กลับมายัง ตร.กลับสวนทางกัน...
กล่าวคือ การขอมติคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)เปิดตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.และผู้ช่วยเพิ่มรวม 2 ตำแหน่งเพื่อมาทำงานด้านบริหาร ที่ขณะนั้นอ้างต่อ ก.ตร.และก.ต.ช.ว่ามีหน้างานจำนวนมาก แต่เมื่อมีการแบ่งงานครั้งนี้ กลับแบ่งงานให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดูแลงาน ปป.และถือเป็นงานสำคัญของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ....
ดังนั้น คำถามที่ตามมาคือ...ใครคือคนฟื้นรัฐตำรวจกลับคืนมา...ใครสั่งเช็คบิลฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ...นี่คือโจทก์ข้อใหญ่ที่ตำรวจดีดี ต้องคิดให้มาก มาก เพราะ"กฎแห่งกรรม"มีจริง คนดีต้องได้รับผลดี คนชั่วต้องได้รับกรรมชั่วตอบแทน....
เริ่มจาก 3 มิถุนายน 2551 ผลงานสุดห่วยของ"พ.ต.ท.ณรงค์ฤทธิ์ วาพันสุ"รองผกก.สส.สภ.วังน้อย ขออนุมัติหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ( ป.ป.ท.)และอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ คดีหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการทำคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
คดีนี้แปลกแต่จริง!!! เมื่อการขออนุมัติหมายจับครั้งนี้ ได้ยื่นต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งบังเอิญมากๆๆเป็นวันเดียวกันที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางไปตรวจราชการที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และซ้ำร้ายไปกว่านั้น "หมายจับ" ระบุว่าให้เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวนายสุนัย มโนมัยอุดม (ข้าราชการระดับสูงมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่หลบหนี และทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ)ไปส่งที่สถานีตำรวจภูธรวังน้อย ภายในอายุความ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย.2550 เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่เกินวันที่ 19 มิ.ย.2560 ลงชื่อนายอิทธิพล โชขุมา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หมายจับที่ตำรวจ สภ.วังน้อย ปฎิบัติ(โดยชอบ หรือ โดยมิชอบ) ที่หลายคนมีการวิพากษ์วิจารณ์ ว่า หมายจับดั่งว่า ใครเป็นคนสั่ง ตำรวจนายไหน หรือ คนในรัฐบาล คนใดเป็นผู้สั่งการ เพื่อต้องการสร้างภาพการจับกุม นายสุนัย คาสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อล้างแค้นให้กับผู้เป็นนาย"จำเลยทักษิณ"หรือไม่?
ขณะที่มูลเหตุแห่งคดีกรณีเดียวกัน...เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2551 ศาลแพ่งได้พิพากษายกฟ้องในคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุนัย เป็นจำเลย ฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 1,500 ล้านบาท กรณีที่นายสุนัย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการสอบสวนในคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ระหว่างวันที่ 19 มิ.ย.-17 ส.ค. 50 โดยศาลเห็นว่า เนื่องจากเห็นว่า ตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นตำแหน่งของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการละเมิด เป็นเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องรับผิดชอบ โจทก์ต้องยื่นฟ้องกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์ฟ้องจำเลยเป็นการเฉพาะตัว ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ. 2539 ให้พิพากษายกฟ้อง
ด้าน นายสุนัย มโนมัยอุดม ออกมาพูดว่า เขาขอเวลารวบรวมพยานหลักฐานและจะเข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวนเพื่อต่อสู้คดี จึงมีคำถามว่า ทำไม ข้าราชการที่ทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ต้องมารับเคราะห์ เช่นนี้หรือ....
ถัดมา 4 มิถุนายน 2551 เกิดข่าว...กองปราบปรามออกหมายเรียก คตส.ในคดีหมิ่นประมาท พร้อมเตรียมออกหมายจับหากไม่ไปให้ปากคำในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ โดยกรณีนี้ นายอุดม เฟื่องฟุ้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)กล่าวว่า พฤติกรรมของฝ่ายตำรวจก็พอจะทำให้มองเห็นว่าฝ่ายบริหารต้องการทำอะไร แต่ คตส.ไม่หวั่นไหว และจะทำงานจนถึงวันสุดท้าย ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ได้รับแต่งตั้งเข้ามาตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ พร้อมกับตั้งคำถามว่า ตนไม่เข้าใจเหมือนกันว่าตำรวจกำลังทำอะไรอยู่ คตส.ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องบริษัททนายความของผู้ถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาท จากนั้น คตส.ถูกบริษัทดังกล่าวฟ้องกลับ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับพยายามเร่งดำเนินคดีกับ คตส.ส่วนคดี ที่ คตส.แจ้งความไปกลับไม่เห็นความคืบหน้าแม้แต่คดีเดียว ทั้งๆ ที่ คตส.เป็นองค์กรตรวจสอบตามกฎหมาย
ขณะที่ นายนายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส.ยืนยันว่า ไม่รู้สึกหวั่นไหวหรือกดดัน ขณะเดียวก็เชื่อมั่นในชั้นศาลที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้อย่างเป็นธรรม โดยเชื่อว่า กองปราบปรามจงใจกลั่นแกล้งเลือกปฏิบัติให้เกิดความเสียหาย กรณีอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงมาตรฐานการทำงานของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะต้นทางของการสอบสวนคดี คือ ตำรวจ
สดๆร้อนๆ 5 มิถุนายน 2551 เกิดข่าวเตรียมออกหมายเรียก 6 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และถือว่ามีน้ำหนักมากที่จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น เมื่อ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.)ออกมาแสดงพฤติกรรมรับใช้(รัฐตำรวจ)อย่างชัดเจน ด้วยการแถลงเร่งรัดคดีความที่กลุ่มตรงข้ามพันธมิตรฯได้แจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.นางเลิ้ง และ สน.ดุสิต ให้ดำเนินคดีกับ 6 แกนนำข้อหา ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ข้อหากีดขวางการจราจร พร้อมกับสั่งกำชับไปยังพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีให้ดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และหากมีหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดชัดไม่ว่าจะเป็นข้อหาใดๆตามที่มีการแจ้งความไว้ให้ดำเนินการออกหมายเรียกบุคคลผู้นั้นมาสอบปากคำรับทราบข้อกล่าวหาในทันที ตามหมายเรียก 3 ครั้ง หากยังไม่มาก็ให้ออกหมายจับตามขั้นตอนกระบวนการสอบสวนต่อไป
จาก 3 คดีความข้างต้น หากย้อนกลับไปตรวจสอบตารางวันเวลา พบว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่"พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" พี่ชายคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับอำนาจเต็มในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ"รัฐตำรวจ"
โดยพบว่างานสำคัญๆในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตกอยู่ในมือของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ แทบทั้งสิ้น เปรียบเหมือนเป็น ผบ.ตร.ตัวจริง ขณะที่"พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ"ผบ.ตร.นอมินี แค่นั่งตบยุงอยู่เฉย...
งานสำคัญที่"พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์"รอง ผบ.ตร.ปป.1 ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วย
ดูแลกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (ยุทธการณ์ฆ่าตัดตอน กำลังจะกลับคืนมา)
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (คุมกองปราบปราม รื้อคดี คตส.)
สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์
กองทะเบียนประวัติอาชญากร(ทว.)
กองพัฒนาการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
งานสืบสวนสอบสวนคดีอาญา งานสั่งคดีและงานออกคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาสำคัญ(คดีสุนัย คดีคตส.คดีพันธมิตรฯ)
งานปราบปรามการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ
งานปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และจักรยานยนต์
งานปราบปรามผู้มีอิทธิพลและมือปืนรับจ้าง (โจทก์กำจัดฝ่ายตรงข้าม)
งานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
งานปราบปรามการโจรกรรมทรัพย์สินทางน้ำ
งานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
งานพิทักษ์เด็ก เยาวชน และสตรี
งานประสานงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และงานนโยบายในภาพรวมของงาน ปป.
จากภารกิจสำคัญที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ที่ได้รับมอบหมายหลังกลับมาใหญ่ในกรมปทุมวัน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่า เขาคือ รอง ผบ.ตร. หรือ ผบ.ตร.ตัวจริงกันแน่...
ประกอบกับ หากไปดูมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ก.ตร.เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ได้พิจารณารับโอน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ พร้อม พล.ต.ท.ชลอ ชูวงษ์ ที่ต้องถูกย้ายพ้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 กลับมายัง ตร.กลับสวนทางกัน...
กล่าวคือ การขอมติคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)เปิดตำแหน่ง รอง ผบ.ตร.และผู้ช่วยเพิ่มรวม 2 ตำแหน่งเพื่อมาทำงานด้านบริหาร ที่ขณะนั้นอ้างต่อ ก.ตร.และก.ต.ช.ว่ามีหน้างานจำนวนมาก แต่เมื่อมีการแบ่งงานครั้งนี้ กลับแบ่งงานให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดูแลงาน ปป.และถือเป็นงานสำคัญของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ....
ดังนั้น คำถามที่ตามมาคือ...ใครคือคนฟื้นรัฐตำรวจกลับคืนมา...ใครสั่งเช็คบิลฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ...นี่คือโจทก์ข้อใหญ่ที่ตำรวจดีดี ต้องคิดให้มาก มาก เพราะ"กฎแห่งกรรม"มีจริง คนดีต้องได้รับผลดี คนชั่วต้องได้รับกรรมชั่วตอบแทน....