ตร.แจงจัดกำลัง 18 กองร้อย ดูแลความสงบเรียบร้อยการชุมนุม พร้อมประเมินสถานการณ์ชุมนุมตลอดเวลา คุยไม่ขอกำลังทหารช่วยมั่นใจควบคุมสถานการณ์ได้ ยันมีความจำเป็นต้องยับยั้งกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เคลื่อนที่ไปทำเนียบรัฐบาล ปัดละเว้นจับกุมม็อบถ่อย ยันจะดำเนินคดีย้อนหลัง
วันนี้ (26 พ.ค.)เมื่อเวลา 08.30 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น)พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำ ตร.ทำหน้าที่รอง ผบ.ตร.มค.1 เป็นประธานการประชุมประเมินสถานการณ์ดูแลรักษาความปลอดภัยการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมี พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น.และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ตำรวจได้มีการประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ได้พยายามเจรจากับกลุ่มแกนนำเพื่อให้ย้ายการชุมนุมขึ้นไปอยู่บนทางเท้า เพื่อไม่ให้ปิดกั้นช่องทางการจราจร เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มแกนนำแจ้งว่าต้องการนำหนังสือไปยื่นที่รัฐสภา แต่ทางตำรวจได้ขอให้ทางพันธมิตรฯ ส่งตัวแทน 10 คน ประสานไปยังรัฐสภาให้ส่งตัวแทนไปรับหนังสือ อย่างไรก็ตาม กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังคงปักหลักปิดถนนอยู่
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวต่อว่า สำหรับการรักษาความปลอดภัยตำรวจได้ใช้กำลัง 18 กองร้อย โดยรักษาความปลอดภัยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จำนวน 12 กองร้อย นอกจากนั้น ได้วางกำลังที่รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล แห่งละ 3 กองร้อย นอกจากนี้หากมีการเคลื่อนการชุมนุม ก็ยังมีกำลังให้การสนับสนุน จาก ตชด.ตำรวจภูธรภาค 1, 2, 7 และสอบสวนกลาง (บช.ก.) ซึ่งจะเปลี่ยนกำลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ทางกลุ่มผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะใช้สันติวิธี หรืออหิงสา ซึ่งทางตำรวจก็พยายามพูดคุยกัน หากไปละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือเกินขอบเขตของกฎหมาย ตำรวจก็จะต้องดำเนินการตามสมควร ที่ผ่านมา ได้ขอร้องทางกลุ่มผู้ชุมนุมอย่าได้เคลื่อนไหวไปมา เพราะตำรวจดูแลความปลอดภัยได้ลำบาก อย่างไรก็ตาม ยังดีที่กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่ที่สะพานมัฆวาน โดยทางเจ้าหน้าที่ก็จะต้องดูแลต่อไป และทำอย่างไรถึงจะยุติลงได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ในการดูแลการชุมนุม พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ตำรวจมีความอดทน และให้ดูแลความปลอดภัยทุกฝ่าย ท่านก็เป็นห่วงกลุ่มผู้ชุนนุมเอง และให้ตำรวจดูแลไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งทำร้ายร่างกายกัน นอกจากนี้ นายกฐัมนตรีก็เป็นห่วงขวัญและกำลังใจของตำรวจ โดยได้เดินทางมาเยี่ยมด้วยตัวเองเมื่อคืนนี้
เมื่อถามว่า จากเหตุการณ์เมื่อวานจะต้องมีการขอกำลังเสริมจากทหารหรือไม่ พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า ตำรวจควบคุมสถานการณ์ได้ คงไม่มีเหตุการณ์บานปลาย ซึ่งในส่วนของกลุ่มที่ก่อกวนเมื่อวานได้สั่งการให้ บช.น.ดำเนินคดี ซึ่งคาดว่าได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไปหลายราย นอกจากนี้ ในเรื่องของการตรวจค้นอาวุธยอมรับว่าอาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งก็จะมีการปรับแผนต่อไป
ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง ผบช.ก.ในฐานะรอง โฆษก ตร.กล่าวว่า ตร.ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของกลุ่มผู้ชุมนุม และพยายามไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่ม ในส่วนของการยับยั้งและเจรจากับผู้ชุมนุมก่อนที่จะมีการเคลื่อนไปที่ทำเนียบรัฐบาล ก็คือ เป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำ เพราะเมื่อมีการเคลื่อนที่ประสิทธิภาพในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมของแกนนำจะลดลง เปิดช่องให้ผู้ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์และก่อความวุ่นวาย จนกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและความสงบเรียบร้อย
พล.ต.ต.สุรพล กล่าวต่อว่า จากเหตุปะทะระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มต่อต้าน ทำให้ตำรวจถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ นั้นตนขอยืนยันว่า ตำรวจต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความเร่งด่วนและผลโดยรวมของประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ เนื่องจากการทะเลาะวิวาทดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม ตำรวจจำเป็นต้องแยกฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดการปะทะรุนแรงขยายวงกว้างจนเหตุการณ์ควบคุมไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะได้มีการตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังจากสื่อมวลชนที่บันทึกภาพเหตุการณ์รวมถึงภาพจากกล้องวงจรปิด พิจารณาดำเนินคดีกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายเป็นรายบุคคล
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปะทะกันอีกครั้ง ตำรวจจะมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมหรือไม่ พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า ตำรวจจะต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใดๆ นำไปสู่ความรุนแรง การดำเนินการตามกฎหมาย ตำรวจก็จะใช้การพูดคุยเป็นหลัก จนเมื่อถึงการชุมนุมไปสู่ความเดือดร้อนและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งตำรวจจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายวัน และเป็นรายช่วงเหตุการณ์ และดำเนินการตามความเหมาะสม ในกรณีที่มีการทำร้ายร่างกาย ตำรวจก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งอาจมองว่าตำรวจไม่เข้าไปดำเนินการทันที แต่การใช้กำลังเข้าไปสลายความรุนแรงทันทีมันจะเป็นการยั่วยุยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนเองก็ไม่อยากเห็นความชุลมุนวุ่นวายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่าในช่วงเย็นอาจมีประชาชนมาร่วมชุมนุมเพิ่มเติมอีก ตำรวจจะมีการตั้งด่านสกัดหรือไม่ พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า การสกัดกั้นประชาชนคงไม่มี แต่จะมีการกลั้นแผงเหล็กเพื่อตรวจค้นอาวุธอย่างละเอียด
ด้าน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุมคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า สำหรับปัญหาความรุนแรงนั้น ตนไม่มีความเป็นห่วงเชื่อว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี คงมีวิธีการที่จะแก้ปัญหาได้ ในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญหากย้อนไปดูตั้งแต่เริ่มแรกจะพบว่าความตั้งใจคือการแก้ไม่กี่มาตรา และมีแนวคิดจะต้องสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) หรือคณะกรรมาธิการร่วมจากทุกฝ่ายให้มีบทบาทร่วมแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในช่วงหลังพรรคร่วมรัฐบาลก็อยากให้แก้มาตราอื่นๆด้วย จึงต้องเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเปรียบเทียบและจัดทำประชามติให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใด ส่วนที่ว่าการทำประชามติจะตอกย้ำความแตกแยกในบ้านเมืองนั้น ตนมองว่าความแตกแยกไม่น่าจะเกี่ยวกับความคิดเห็น
วันนี้ (26 พ.ค.)เมื่อเวลา 08.30 น. ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น)พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ประจำ ตร.ทำหน้าที่รอง ผบ.ตร.มค.1 เป็นประธานการประชุมประเมินสถานการณ์ดูแลรักษาความปลอดภัยการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมี พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น.และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวภายหลังการประชุม ว่า ตำรวจได้มีการประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ได้พยายามเจรจากับกลุ่มแกนนำเพื่อให้ย้ายการชุมนุมขึ้นไปอยู่บนทางเท้า เพื่อไม่ให้ปิดกั้นช่องทางการจราจร เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มแกนนำแจ้งว่าต้องการนำหนังสือไปยื่นที่รัฐสภา แต่ทางตำรวจได้ขอให้ทางพันธมิตรฯ ส่งตัวแทน 10 คน ประสานไปยังรัฐสภาให้ส่งตัวแทนไปรับหนังสือ อย่างไรก็ตาม กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ยังคงปักหลักปิดถนนอยู่
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวต่อว่า สำหรับการรักษาความปลอดภัยตำรวจได้ใช้กำลัง 18 กองร้อย โดยรักษาความปลอดภัยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จำนวน 12 กองร้อย นอกจากนั้น ได้วางกำลังที่รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล แห่งละ 3 กองร้อย นอกจากนี้หากมีการเคลื่อนการชุมนุม ก็ยังมีกำลังให้การสนับสนุน จาก ตชด.ตำรวจภูธรภาค 1, 2, 7 และสอบสวนกลาง (บช.ก.) ซึ่งจะเปลี่ยนกำลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ทางกลุ่มผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะใช้สันติวิธี หรืออหิงสา ซึ่งทางตำรวจก็พยายามพูดคุยกัน หากไปละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือเกินขอบเขตของกฎหมาย ตำรวจก็จะต้องดำเนินการตามสมควร ที่ผ่านมา ได้ขอร้องทางกลุ่มผู้ชุมนุมอย่าได้เคลื่อนไหวไปมา เพราะตำรวจดูแลความปลอดภัยได้ลำบาก อย่างไรก็ตาม ยังดีที่กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักอยู่ที่สะพานมัฆวาน โดยทางเจ้าหน้าที่ก็จะต้องดูแลต่อไป และทำอย่างไรถึงจะยุติลงได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ในการดูแลการชุมนุม พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ตำรวจมีความอดทน และให้ดูแลความปลอดภัยทุกฝ่าย ท่านก็เป็นห่วงกลุ่มผู้ชุนนุมเอง และให้ตำรวจดูแลไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งทำร้ายร่างกายกัน นอกจากนี้ นายกฐัมนตรีก็เป็นห่วงขวัญและกำลังใจของตำรวจ โดยได้เดินทางมาเยี่ยมด้วยตัวเองเมื่อคืนนี้
เมื่อถามว่า จากเหตุการณ์เมื่อวานจะต้องมีการขอกำลังเสริมจากทหารหรือไม่ พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า ตำรวจควบคุมสถานการณ์ได้ คงไม่มีเหตุการณ์บานปลาย ซึ่งในส่วนของกลุ่มที่ก่อกวนเมื่อวานได้สั่งการให้ บช.น.ดำเนินคดี ซึ่งคาดว่าได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับไปหลายราย นอกจากนี้ ในเรื่องของการตรวจค้นอาวุธยอมรับว่าอาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งก็จะมีการปรับแผนต่อไป
ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รอง ผบช.ก.ในฐานะรอง โฆษก ตร.กล่าวว่า ตร.ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของกลุ่มผู้ชุมนุม และพยายามไม่ให้เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่ม ในส่วนของการยับยั้งและเจรจากับผู้ชุมนุมก่อนที่จะมีการเคลื่อนไปที่ทำเนียบรัฐบาล ก็คือ เป็นความจำเป็นที่จะต้องกระทำ เพราะเมื่อมีการเคลื่อนที่ประสิทธิภาพในการควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมของแกนนำจะลดลง เปิดช่องให้ผู้ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์และก่อความวุ่นวาย จนกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและความสงบเรียบร้อย
พล.ต.ต.สุรพล กล่าวต่อว่า จากเหตุปะทะระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มต่อต้าน ทำให้ตำรวจถูกกล่าวหาว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ นั้นตนขอยืนยันว่า ตำรวจต้องปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความเร่งด่วนและผลโดยรวมของประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ เนื่องจากการทะเลาะวิวาทดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม ตำรวจจำเป็นต้องแยกฝ่ายเพื่อไม่ให้เกิดการปะทะรุนแรงขยายวงกว้างจนเหตุการณ์ควบคุมไม่อยู่ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะได้มีการตรวจสอบเหตุการณ์ย้อนหลังจากสื่อมวลชนที่บันทึกภาพเหตุการณ์รวมถึงภาพจากกล้องวงจรปิด พิจารณาดำเนินคดีกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายเป็นรายบุคคล
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากมีการปะทะกันอีกครั้ง ตำรวจจะมีการใช้กำลังสลายการชุมนุมหรือไม่ พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า ตำรวจจะต้องใช้ความอดทนอดกลั้น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใดๆ นำไปสู่ความรุนแรง การดำเนินการตามกฎหมาย ตำรวจก็จะใช้การพูดคุยเป็นหลัก จนเมื่อถึงการชุมนุมไปสู่ความเดือดร้อนและกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งตำรวจจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายวัน และเป็นรายช่วงเหตุการณ์ และดำเนินการตามความเหมาะสม ในกรณีที่มีการทำร้ายร่างกาย ตำรวจก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งอาจมองว่าตำรวจไม่เข้าไปดำเนินการทันที แต่การใช้กำลังเข้าไปสลายความรุนแรงทันทีมันจะเป็นการยั่วยุยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งประชาชนเองก็ไม่อยากเห็นความชุลมุนวุ่นวายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่าในช่วงเย็นอาจมีประชาชนมาร่วมชุมนุมเพิ่มเติมอีก ตำรวจจะมีการตั้งด่านสกัดหรือไม่ พล.ต.ต.สุรพล กล่าวว่า การสกัดกั้นประชาชนคงไม่มี แต่จะมีการกลั้นแผงเหล็กเพื่อตรวจค้นอาวุธอย่างละเอียด
ด้าน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุมคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า สำหรับปัญหาความรุนแรงนั้น ตนไม่มีความเป็นห่วงเชื่อว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี คงมีวิธีการที่จะแก้ปัญหาได้ ในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญหากย้อนไปดูตั้งแต่เริ่มแรกจะพบว่าความตั้งใจคือการแก้ไม่กี่มาตรา และมีแนวคิดจะต้องสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) หรือคณะกรรมาธิการร่วมจากทุกฝ่ายให้มีบทบาทร่วมแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในช่วงหลังพรรคร่วมรัฐบาลก็อยากให้แก้มาตราอื่นๆด้วย จึงต้องเอารัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเปรียบเทียบและจัดทำประชามติให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญฉบับใด ส่วนที่ว่าการทำประชามติจะตอกย้ำความแตกแยกในบ้านเมืองนั้น ตนมองว่าความแตกแยกไม่น่าจะเกี่ยวกับความคิดเห็น