ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เผยยอดผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตราย ของเทศกาลมหาสงกรานต์ โดย 3 วันที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตรวม 180 ศพ บาดเจ็บ 2,514 ราย พิษณุโลก ครองแชมป์ยอดผู้เสียชีวิตรวม 9 ศพ
วันนี้ (14 เม.ย.) นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปยอดการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ในวันที่ 13 เม.ย. ในช่วง 7 วันระวังอันตรายในเทศกาลสงกรานต์ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นรวม 1,018 ครั้ง มากกว่าปี 2550 จำนวน 53 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 76 ราย มากกว่าปี 2550 จำนวน 5 ราย บาดเจ็บ 1,103 ราย มากกว่าปี 2550 จำนวน 41 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เชียงราย 50 ครั้ง รองลงมา คือ เพชรบูรณ์ 42 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ชลบุรี 5 ราย รองลงมา จันทบุรี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และพิษณุโลก จังหวัดละ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ เชียงราย 51 ราย รองลงมา เพชรบูรณ์ 40 ราย
กรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวถึงสถิติอุบัติเหตุสะสม 3 วัน ระหว่างวันที่ 11-13 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นรวม 2,238 ครั้ง เสียชีวิตรวม 180 ราย บาดเจ็บรวม 2,514 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 106 ครั้ง จังหวัดที่จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 9 ราย รองลงมา คือ ประจวบคีรีขันธ์ 8 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 15 จังหวัด จังหวัดที่มีจำนวนผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 109 ราย รองลงมา คือเชียงใหม่ 101 ราย
นายจรัญ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 84.18 ส่วนใหญ่เกิดบนถนนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หมู่บ้าน และถนนทางตรง ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ กลางคืน โดยเฉพาะช่วงพลบค่ำ เวลา 16.00-20.00 น. ช่วงอายุผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ อายุระหว่าง 15-19 ปี มากที่สุด หรือ คิดเป็นร้อยละ 19.80 ทั่วประเทศตั้งจุดตรวจ 3,041 จุด เรียกตรวจยานพาหนะ 817,981 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 45,395 คัน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดี เนื่องจากไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด
กรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวต่อว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียเป็นตัวเลขที่มีการเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง ทำให้มั่นใจว่า มาตรการที่หลายหน่วยงานร่วมกันดำเนินการมีผลต่อการลดความสูญเสียของคนไทย ได้อย่างชัดเจน หากไม่มีกระบวนการเหล่านี้ อาจจะสูญเสียมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม จะให้มีการเพิ่มจุดตรวจจุดบริการอำนวยความสะดวกและชะลอความเร็วในการขับรถและหากพบเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และดื่มสุรามึนเมาให้นำมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ดำเนินคดีกับผู้ปกครองที่ปล่อยให้เด็กมากระทำผิดด้วย
ด้านนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขาฯศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกล่าวว่า จากสถิติดังกล่าว จะเห็นว่า พื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย รวมถึงจังหวัดที่เป็นเส้นทางผ่านไปยังภาคเหนือ เช่น พิษณุโลก เพชรบูรณ์ จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือ ให้ปรับเพิ่มจุดตรวจให้มากขึ้น ทั้งในสายหลักและสายรอง รวมถึงภายในชุมชน โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเล่นสงกรานต์ เพื่อเข้มงวดกวดขันการกระทำผิดกฏจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน
นายอนุชากล่าวฝากว่า ขอให้ผู้ใช้รถใฝช้ถนน ระมัดระวังการขับผ่านเส้นทางคดเคี้ยว ลาดชัน ขึ้น-ลงเขา เป็นพิเศษ และจากสถิติพบว่า การเมาสุราแล้วขับ เป็นสาเหตุสูงสุดของการเกิดอุบัติเหตุท้องถนน ศปถ.จึงมีแนวคิด เป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่จะกำหนดมาตรการห้ามจพหน่ายสุราช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในพื้นที่ที่ประชาชน ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์โดยเด็ดขาด
วันนี้ (14 เม.ย.) นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) สรุปยอดการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2551 ในวันที่ 13 เม.ย. ในช่วง 7 วันระวังอันตรายในเทศกาลสงกรานต์ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นรวม 1,018 ครั้ง มากกว่าปี 2550 จำนวน 53 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 76 ราย มากกว่าปี 2550 จำนวน 5 ราย บาดเจ็บ 1,103 ราย มากกว่าปี 2550 จำนวน 41 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เชียงราย 50 ครั้ง รองลงมา คือ เพชรบูรณ์ 42 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ชลบุรี 5 ราย รองลงมา จันทบุรี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และพิษณุโลก จังหวัดละ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ เชียงราย 51 ราย รองลงมา เพชรบูรณ์ 40 ราย
กรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวถึงสถิติอุบัติเหตุสะสม 3 วัน ระหว่างวันที่ 11-13 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นรวม 2,238 ครั้ง เสียชีวิตรวม 180 ราย บาดเจ็บรวม 2,514 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 106 ครั้ง จังหวัดที่จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ พิษณุโลก 9 ราย รองลงมา คือ ประจวบคีรีขันธ์ 8 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 15 จังหวัด จังหวัดที่มีจำนวนผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 109 ราย รองลงมา คือเชียงใหม่ 101 ราย
นายจรัญ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ เมาสุรา ขับรถเร็วเกินกำหนด รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 84.18 ส่วนใหญ่เกิดบนถนนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หมู่บ้าน และถนนทางตรง ส่วนช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ กลางคืน โดยเฉพาะช่วงพลบค่ำ เวลา 16.00-20.00 น. ช่วงอายุผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ อายุระหว่าง 15-19 ปี มากที่สุด หรือ คิดเป็นร้อยละ 19.80 ทั่วประเทศตั้งจุดตรวจ 3,041 จุด เรียกตรวจยานพาหนะ 817,981 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 45,395 คัน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดี เนื่องจากไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด
กรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กล่าวต่อว่า อัตราการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียเป็นตัวเลขที่มีการเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง ทำให้มั่นใจว่า มาตรการที่หลายหน่วยงานร่วมกันดำเนินการมีผลต่อการลดความสูญเสียของคนไทย ได้อย่างชัดเจน หากไม่มีกระบวนการเหล่านี้ อาจจะสูญเสียมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม จะให้มีการเพิ่มจุดตรวจจุดบริการอำนวยความสะดวกและชะลอความเร็วในการขับรถและหากพบเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และดื่มสุรามึนเมาให้นำมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ดำเนินคดีกับผู้ปกครองที่ปล่อยให้เด็กมากระทำผิดด้วย
ด้านนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เลขาฯศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกล่าวว่า จากสถิติดังกล่าว จะเห็นว่า พื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งเชียงใหม่ เชียงราย รวมถึงจังหวัดที่เป็นเส้นทางผ่านไปยังภาคเหนือ เช่น พิษณุโลก เพชรบูรณ์ จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือ ให้ปรับเพิ่มจุดตรวจให้มากขึ้น ทั้งในสายหลักและสายรอง รวมถึงภายในชุมชน โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเล่นสงกรานต์ เพื่อเข้มงวดกวดขันการกระทำผิดกฏจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน
นายอนุชากล่าวฝากว่า ขอให้ผู้ใช้รถใฝช้ถนน ระมัดระวังการขับผ่านเส้นทางคดเคี้ยว ลาดชัน ขึ้น-ลงเขา เป็นพิเศษ และจากสถิติพบว่า การเมาสุราแล้วขับ เป็นสาเหตุสูงสุดของการเกิดอุบัติเหตุท้องถนน ศปถ.จึงมีแนวคิด เป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่จะกำหนดมาตรการห้ามจพหน่ายสุราช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในพื้นที่ที่ประชาชน ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์โดยเด็ดขาด