“อัยการสูงสุด” ประชุมคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง “เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส” ครั้งแรก และเรียก “เสรีพิศุทธ์” รับทราบข้อกล่าวหาสัปดาห์หน้า ชี้โทษหนักถึงไล่ออก-โทษเบาแค่ตักเตือน
วันนี้ (14 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด สนามหลวง นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ช่วยราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เรียก พล.ต.ท.จงรัก จุฑานนท์ ผช.ผบ.ตร พล.ต.ท.ธีรเดช รอดโพธิ์ทอง จเรตำรวจเขตตรวจราชการที่ 8 นายนัที เปรมรัศมี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ ประชุมครั้งแรกโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง จึงเสร็จสิ้น
ภายหลังการประชุม นายชัยเกษม กล่าวว่า การประชุมวันนี้เป็นการประชุมนัดแรกหลังทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม เป็นการประชุมวางกรอบการสอบสวนตามแนวทางของกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เบื้องต้นคณะกรรมการจะทำหนังสือขอเอกสารหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อตรวจสอบการกระทำของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ที่อนุมัติงบประมาณจัดซื้อรถตู้ประจำ สตช.มูลค่า 5,800 ล้านบาท การใช้ถ้อยคำมิบังควรในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา และการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจโดยที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่นายกรัฐมนตรีให้สอบสวนวินัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มีมูลความจริงหรือไม่ โดยตามขั้นตอนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งเป็นประธานสอบสวนวินัย ดังนั้น ในสัปดาห์หน้าจะเชิญ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มารับทราบข้อกล่าวหา แต่ในวันดังกล่าวจะยังไม่ให้ชี้แจง เพราะคณะกรรมการต้องใช้เวลาพิจารณาพยานหลักฐาน ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ต้องใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานกลับมาชี้แจงข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กฎ ก.ตร.กำหนดไว้
“คณะกรรมการจะดูว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ทำผิดวินัยหรือไม่ และถ้าผิดๆ แค่ไหนหรืออาจจะไม่ผิดเลย และบทลงโทษก็จะต้องยึดตามกฎหมายข้าราชการตำรวจ โทษเบาสุดแค่ตักเตือนสูงสุดถึงขั้นปลดหรือไล่ออก” อัยการสูงสุด
นายชัยเกษม กล่าวว่า การแต่งตั้งให้เป็นประธานสอบสวน นายกรัฐมนตรี ไม่เคยทาบทามมาก่อนล่วงหน้า และไม่เคยโทรศัพท์มาสั่งการให้สอบสวน รวมทั้งหลังรับทราบคำสั่งก็ไม่เคยเดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีความจำเป็น และระหว่างการสอบสวนก็ไม่ต้องแจ้งความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบจนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น หรือครบกำหนดเวลา แต่เมื่อสั่งให้ตนทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนก็ต้องทำไปตามหน้าที่ ซึ่งการสอบสวนวินัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ผบ.ตร.ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นสอบสวนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจสอบสวนตำรวจด้วยกัน
“ผมไม่รู้สึกกดดันหรือหนักใจที่ต้องสอบ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ และไม่ได้กลัวถูกฟ้องเพราะถ้าสอบสวนไปตามข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา ไม่ได้กลั่นแกล้งใครเราก็ไม่ต้องกลัวที่จะถูกฟ้อง การสอบสวนวินัยคนไม่ใช่เรื่องสนุกแต่เมื่อถูกกำหนดให้มาเป็นคนสอบสวนก็ต้องสอบ และคดีนี้พยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นเอกสาร ถ้ามีพยานบุคคลก็สามารถเรียกมาให้การได้” อัยการสูงสุด กล่าว
นายชัยเกษม กล่าวว่า การสอบสวนวินัยครั้งนี้จะไม่มีการตั้งอนุกรรมการ เพราะในคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนเอง ดังนั้น ในการสอบสวนจะไม่มีการมอบหมายกรรมการคนใดคนหนึ่งไปรับผิดชอบรวบรวมเอกสารแต่จะร่วมกันพิจารณา
วันนี้ (14 มี.ค.) เวลา 14.00 น.ที่สำนักงานอัยการสูงสุด สนามหลวง นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ช่วยราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่ง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้เรียก พล.ต.ท.จงรัก จุฑานนท์ ผช.ผบ.ตร พล.ต.ท.ธีรเดช รอดโพธิ์ทอง จเรตำรวจเขตตรวจราชการที่ 8 นายนัที เปรมรัศมี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ ประชุมครั้งแรกโดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง จึงเสร็จสิ้น
ภายหลังการประชุม นายชัยเกษม กล่าวว่า การประชุมวันนี้เป็นการประชุมนัดแรกหลังทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม เป็นการประชุมวางกรอบการสอบสวนตามแนวทางของกฎคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เบื้องต้นคณะกรรมการจะทำหนังสือขอเอกสารหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อตรวจสอบการกระทำของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ที่อนุมัติงบประมาณจัดซื้อรถตู้ประจำ สตช.มูลค่า 5,800 ล้านบาท การใช้ถ้อยคำมิบังควรในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา และการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจโดยที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่นายกรัฐมนตรีให้สอบสวนวินัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มีมูลความจริงหรือไม่ โดยตามขั้นตอนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งเป็นประธานสอบสวนวินัย ดังนั้น ในสัปดาห์หน้าจะเชิญ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ มารับทราบข้อกล่าวหา แต่ในวันดังกล่าวจะยังไม่ให้ชี้แจง เพราะคณะกรรมการต้องใช้เวลาพิจารณาพยานหลักฐาน ขณะเดียวกัน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ต้องใช้เวลารวบรวมพยานหลักฐานกลับมาชี้แจงข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กฎ ก.ตร.กำหนดไว้
“คณะกรรมการจะดูว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ทำผิดวินัยหรือไม่ และถ้าผิดๆ แค่ไหนหรืออาจจะไม่ผิดเลย และบทลงโทษก็จะต้องยึดตามกฎหมายข้าราชการตำรวจ โทษเบาสุดแค่ตักเตือนสูงสุดถึงขั้นปลดหรือไล่ออก” อัยการสูงสุด
นายชัยเกษม กล่าวว่า การแต่งตั้งให้เป็นประธานสอบสวน นายกรัฐมนตรี ไม่เคยทาบทามมาก่อนล่วงหน้า และไม่เคยโทรศัพท์มาสั่งการให้สอบสวน รวมทั้งหลังรับทราบคำสั่งก็ไม่เคยเดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีความจำเป็น และระหว่างการสอบสวนก็ไม่ต้องแจ้งความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบจนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น หรือครบกำหนดเวลา แต่เมื่อสั่งให้ตนทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนก็ต้องทำไปตามหน้าที่ ซึ่งการสอบสวนวินัย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ผบ.ตร.ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นสอบสวนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจสอบสวนตำรวจด้วยกัน
“ผมไม่รู้สึกกดดันหรือหนักใจที่ต้องสอบ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ และไม่ได้กลัวถูกฟ้องเพราะถ้าสอบสวนไปตามข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา ไม่ได้กลั่นแกล้งใครเราก็ไม่ต้องกลัวที่จะถูกฟ้อง การสอบสวนวินัยคนไม่ใช่เรื่องสนุกแต่เมื่อถูกกำหนดให้มาเป็นคนสอบสวนก็ต้องสอบ และคดีนี้พยานหลักฐานส่วนใหญ่เป็นเอกสาร ถ้ามีพยานบุคคลก็สามารถเรียกมาให้การได้” อัยการสูงสุด กล่าว
นายชัยเกษม กล่าวว่า การสอบสวนวินัยครั้งนี้จะไม่มีการตั้งอนุกรรมการ เพราะในคำสั่งนายกรัฐมนตรีกำหนดให้คณะกรรมการสอบสวนเอง ดังนั้น ในการสอบสวนจะไม่มีการมอบหมายกรรมการคนใดคนหนึ่งไปรับผิดชอบรวบรวมเอกสารแต่จะร่วมกันพิจารณา