ดีเอสไอทาบทาม “วันมูหะมัดนอร์ มะทา” ฟื้นคดีฆาตกรรมทูตซาอุฯ และ การหายตัวของ “อัล รู ไวลี่” นักธุรกิจชาวซาอุฯ พร้อมกำชับลูกน้องต้องทำงานอย่างมืออาชีพ เน้นความเป็นกลาง เพื่อสางคดีอาชญากรรมสำคัญ
วันนี้ (11 มี.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อเวลา 10.00 น. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาประชุมเพื่อมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้บัญชาการสำนักคดีต่างๆ เข้าร่วมฟังอย่างพร้อมเพรียง
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ ผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมได้มอบนโยบายให้กับผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งดีเอสไอจะเน้นทำคดีที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อประชาชนและสังคม เช่น อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ คดีการเงินการธนาคาร คดีสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ คดีทุจริตคอรัปชั่น และการค้ามนุษย์ เพราะคดีเหล่านี้มีมูลค่าความเสียหายสูง และยังจะเน้นบริหารองค์กรภายในดีเอสไอ ด้วยความเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีการประชุมผู้บริหารทุกสัปดาห์ อีกทั้งทางรองปลัดกระทรวงยุติธรรมและรักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มอบหมายให้ทางดีเอสไอทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ เป็นกลางทางการเมือง มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของสากล จะทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามสอบสวนคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมคดีพิเศษ นอกจากนี้ในช่วงท้ายการประชุมได้หารือติดตามความคืบหน้าคดีสำคัญบางคดี คือคดีการฆาตกรรมนักการทูตซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 คน และการหายตัวของนายอัล รู ไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งทั้งสองคดีดังกล่าว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้หารือกับ รมว.ต่างประเทศ เพื่อสืบสวนสอบสวนและทำคดีดังกล่าวให้เป็นที่พอใจของทางการซาอุดีอาระเบีย
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวต่อว่า ดีเอสไอจะพยายามทำคดีดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพราะ คดีดังกล่าวใกล้จะหมดอายุความแล้ว โดยจะใช้คณะพนักงานสอบสวนชุดเดิมเป็นหลัก และจะแบ่งงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน รักษาการอธิบดีดีเอสไอยังได้ทาบทามบุคคลภายนอกมาเป็นคณะทำงาน เช่น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดร.อิสมาแอล ลุตฟี จะปากียา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทและเป็นที่ยอมรับในแวดวงมุสลิมทั้งในและต่างประเทศ พ.ต.อ.วีระศักดิ์ มีนะวณิชย์ ซึ่งเคยเป็นพนักงานสอบสวนในชุดแรก ทั้งนี้หวังว่าความพยายามดังกล่าวจะช่วยคลี่คลายคดีได้ยิ่งขึ้น แต่คงไม่สามารถการันตีได้ว่าคดีดังกล่าวจะสำเร็จ เพราะมีปัญหาหลายด้านทั้งด้านการรวบรวมพยานหลักฐานที่คดีดังกล่าวเกิดมานานแล้ว และติดขัดข้อกฎหมายบางประเด็น
ต่อข้อถามที่ว่า เหตุผลของการทาบทาม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเป็นคณะทำงาน โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เพราะท่านเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นมุสลิมด้วย คาดว่าจะมีองค์ความรู้ในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อถามว่าเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อให้ท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นคนเจรจาทำความเข้าใจ กรณีที่ดีเอสไอปิดคดีดังกล่าวไม่สำเร็จใช่หรือไม่ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า การเจรจาทำความเข้าใจเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ดีเอสไอได้รับมอบหมายให้สืบสวนสอบสวนคดีให้ถึงที่สุด ไม่รับประกันว่าจะได้ตัวผู้กระทำความผิด แต่รับรองว่าจะพยายามอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งทางรมว.ต่างประเทศได้กล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่า ขอให้ดีเอสไอทำคดีอย่างเต็มที่ ส่วนกระทรวงต่างประเทศจะนำข้อมูลที่ได้ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับทางการซาอุดีอาระเบีย ซึ่งคดีต่างๆเหล่านี้ทางดีเอสไอมีข้อมูลเดิมอยู่ ซึ่งทางพนักงานสอบสวนจะพยายามหาข้อสรุปให้ได้ ส่วนคดีการฆาตกรรมนักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 รายนั้น ตนไม่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดคดีได้ แต่ข้อมูลในเชิงการสืบสวนบ่งชี้ไปที่เรื่องระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พัวพันกับองค์กรนอกกฎหมายหรือกลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล
วันนี้ (11 มี.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อเวลา 10.00 น. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาประชุมเพื่อมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้บัญชาการสำนักคดีต่างๆ เข้าร่วมฟังอย่างพร้อมเพรียง
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ ผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงข่าวว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมได้มอบนโยบายให้กับผู้บริหารกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งดีเอสไอจะเน้นทำคดีที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อประชาชนและสังคม เช่น อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ คดีการเงินการธนาคาร คดีสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ คดีทุจริตคอรัปชั่น และการค้ามนุษย์ เพราะคดีเหล่านี้มีมูลค่าความเสียหายสูง และยังจะเน้นบริหารองค์กรภายในดีเอสไอ ด้วยความเป็นธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีการประชุมผู้บริหารทุกสัปดาห์ อีกทั้งทางรองปลัดกระทรวงยุติธรรมและรักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มอบหมายให้ทางดีเอสไอทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ เป็นกลางทางการเมือง มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของสากล จะทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามสอบสวนคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมคดีพิเศษ นอกจากนี้ในช่วงท้ายการประชุมได้หารือติดตามความคืบหน้าคดีสำคัญบางคดี คือคดีการฆาตกรรมนักการทูตซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 คน และการหายตัวของนายอัล รู ไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งทั้งสองคดีดังกล่าว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมารักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้หารือกับ รมว.ต่างประเทศ เพื่อสืบสวนสอบสวนและทำคดีดังกล่าวให้เป็นที่พอใจของทางการซาอุดีอาระเบีย
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวต่อว่า ดีเอสไอจะพยายามทำคดีดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพราะ คดีดังกล่าวใกล้จะหมดอายุความแล้ว โดยจะใช้คณะพนักงานสอบสวนชุดเดิมเป็นหลัก และจะแบ่งงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน รักษาการอธิบดีดีเอสไอยังได้ทาบทามบุคคลภายนอกมาเป็นคณะทำงาน เช่น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดร.อิสมาแอล ลุตฟี จะปากียา ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทและเป็นที่ยอมรับในแวดวงมุสลิมทั้งในและต่างประเทศ พ.ต.อ.วีระศักดิ์ มีนะวณิชย์ ซึ่งเคยเป็นพนักงานสอบสวนในชุดแรก ทั้งนี้หวังว่าความพยายามดังกล่าวจะช่วยคลี่คลายคดีได้ยิ่งขึ้น แต่คงไม่สามารถการันตีได้ว่าคดีดังกล่าวจะสำเร็จ เพราะมีปัญหาหลายด้านทั้งด้านการรวบรวมพยานหลักฐานที่คดีดังกล่าวเกิดมานานแล้ว และติดขัดข้อกฎหมายบางประเด็น
ต่อข้อถามที่ว่า เหตุผลของการทาบทาม นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเป็นคณะทำงาน โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า เพราะท่านเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นมุสลิมด้วย คาดว่าจะมีองค์ความรู้ในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี เมื่อถามว่าเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อให้ท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นคนเจรจาทำความเข้าใจ กรณีที่ดีเอสไอปิดคดีดังกล่าวไม่สำเร็จใช่หรือไม่ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า การเจรจาทำความเข้าใจเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ดีเอสไอได้รับมอบหมายให้สืบสวนสอบสวนคดีให้ถึงที่สุด ไม่รับประกันว่าจะได้ตัวผู้กระทำความผิด แต่รับรองว่าจะพยายามอย่างเต็มความสามารถ ซึ่งทางรมว.ต่างประเทศได้กล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่า ขอให้ดีเอสไอทำคดีอย่างเต็มที่ ส่วนกระทรวงต่างประเทศจะนำข้อมูลที่ได้ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับทางการซาอุดีอาระเบีย ซึ่งคดีต่างๆเหล่านี้ทางดีเอสไอมีข้อมูลเดิมอยู่ ซึ่งทางพนักงานสอบสวนจะพยายามหาข้อสรุปให้ได้ ส่วนคดีการฆาตกรรมนักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย จำนวน 4 รายนั้น ตนไม่สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดคดีได้ แต่ข้อมูลในเชิงการสืบสวนบ่งชี้ไปที่เรื่องระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พัวพันกับองค์กรนอกกฎหมายหรือกลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล