นายเวรสายดำ
ตำรวจน้ำ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ที่คอยดูแลและเฝ้าระวังภัยให้กับประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล แม้ภาารกิจของตำรวจน้ำ จะไม่โดดเด่น หรือเป็นข่าวพีอาร์ประชาสัมพันธ์มากนัก แต่ภารกิจของพวกเขา สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตำรวจหน่วยอื่นๆ ที่ทำหน้าที่"พิทักษ์สันติราษฎร์"ให้กับพวกเรา โดยเฉพาะการปราบปราม"โจรสลัด" อันเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของตำรวจน้ำ
จากคำบอกเล่าของ พล.ต.ต.มิสกวัน บัวรา ผู้บังคับการตำรวจน้ำ(ผบก.รน.) ถึงสถานการณ์โจรสลัดในน่านน้ำไทยว่า ถึงแม้จะมีจำนวนไม่มาก แต่บริเวณช่องแคบมะละกา ซึ่งใช้เป็นเส้นทางเดินเรือที่มีเรือบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกเป็นจำนวนมากจึงพบโจรสลัด ที่คอยดักปล้นเรือบรรทุกสินค้าที่ผ่านเส้นทางนี้โดยเรือสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเรือสินค้าของประเทศญี่ปุ่นและมักหลบหนีเข้ามาในเขตน่านน้ำของประเทศไทย และประเทศในแถบนี้ จึงได้มีการตั้งศูนย์เตือนภัยโจรสลัดขึ้นระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และญี่ปุ่นขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
หน่วยยามฝั่งของประเทศญี่ปุ่น(Japan Cost Guard หรือ JCG) ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยทางทะเลและชายฝั่งทะเล การบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในน่านน้ำประเทศ การจราจรทางน้ำ การช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเล การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านความปลอดภัย ทางทะเลระหว่างประเทศ การป้องกันและเตือนภัยทางธรรมชาติ ซึ่งมีหน้าที่ใกล้เคียงกับตำรวจน้ำของประเทศไทย
การประสานงานเพื่อร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้กันจึงมีอย่างสม่ำเสมอมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางทะเลของไทย รวมทั้งความเข้าใจในบาบาทหน้าที่การบังคับใช้กฎหมายทางทะเลได้ดีมากยิ่งขึ้นทั้งส่วนของ ตำรวจน้ำ กองทัพเรือ และขนส่งทางน้ำและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ความคุ้นเคยในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในอนาคต
ในปีนี้ทางประเทศญี่ปุ่นก็ได้ส่งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการปราบปรามโจรสลัดเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับตำรวจน้ำไทย จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้น ระหว่างหน่วยยามฝั่งของประเทศญี่ปุ่น กับตำรวจน้ำไทย โดยใช้ชื่อว่า “Semina on Comgating Piracy and Armed Robbery against Ship” ระหว่าง Japan Cost Guard ระหว่างวันที่ 17-21 ก.พ.ที่ผ่านมา และมีการฝึกปฏิบัติร่วมกันบนเรือตรวจการณ์ ของกองบังคับการตำรวจน้ำ ณ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา หน้า บก.รน.สมุทรปราการ โดยจะเป็นการฝึกร่วมเรื่องการติดตามไล่ล่า และการจับกุมโจรสลัดในเรือ การประชุมร่วม การฝึกบนเรือยามฝั่งญี่ปุ่น(ระดับผู้ปฏิบัติและทดลองข่ายการติดต่อ)
พล.ต.ต.มิสกวัน กล่าวว่า การฝึกร่วมระหว่างตำรวจน้ำของประเทศไทยและหน่วยยามฝั่งประเทศญี่ปุ่นมีการฝึกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีในการทำงาน โดยเน้นเรื่องการปราบปรามโจรสลัด ที่ก่อเหตุโจมตีเรือสินค้า โดยที่ผ่านมา หน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นได้เคยส่งเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ พร้อมเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือมาร่วมฝึกกับไทยบริเวณพัทยา เพื่อฝึกช่วยเหลือที่ถูกยึดโดยโจรสลัด โดยใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะในการส่งเจ้าหน้าที่ยึดเรือคืน
พล.ต.ต.มิสกวัน กล่าวอีกว่า ในปีนี้ ทางหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยฝึกเทคนิคในการควบคุมตัวโจรสลัดอย่างถูกวิธี การจัดชุดเข้าทำการตรวจค้นเรือต้องสงสัย และการควบคุมเรือที่ถูกยึดโดยโจรสลัดคืนมา ซึ่งเรามีเจ้าหน้าที่จากตำรวจน้ำเข้าทำการฝึก พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำมาร่วมด้วย ถือเป็นการพัฒนาการทำงานรวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามโจรสลัดในอนาคตอีกด้วย
แม้ว่าปัญหาเรื่องโจรสลัดจะไม่พบว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยตรง แต่กองบังคับการตำรวจน้ำซึ่งรับผิดชอบในการปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายในน่านน้ำไทย และดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งได้มีการประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศต่างๆ จึงถือเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือสถานการณ์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคตเป็นอย่างดี
ตำรวจน้ำ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง ที่คอยดูแลและเฝ้าระวังภัยให้กับประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล แม้ภาารกิจของตำรวจน้ำ จะไม่โดดเด่น หรือเป็นข่าวพีอาร์ประชาสัมพันธ์มากนัก แต่ภารกิจของพวกเขา สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตำรวจหน่วยอื่นๆ ที่ทำหน้าที่"พิทักษ์สันติราษฎร์"ให้กับพวกเรา โดยเฉพาะการปราบปราม"โจรสลัด" อันเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของตำรวจน้ำ
จากคำบอกเล่าของ พล.ต.ต.มิสกวัน บัวรา ผู้บังคับการตำรวจน้ำ(ผบก.รน.) ถึงสถานการณ์โจรสลัดในน่านน้ำไทยว่า ถึงแม้จะมีจำนวนไม่มาก แต่บริเวณช่องแคบมะละกา ซึ่งใช้เป็นเส้นทางเดินเรือที่มีเรือบรรทุกสินค้าผ่านเข้าออกเป็นจำนวนมากจึงพบโจรสลัด ที่คอยดักปล้นเรือบรรทุกสินค้าที่ผ่านเส้นทางนี้โดยเรือสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเรือสินค้าของประเทศญี่ปุ่นและมักหลบหนีเข้ามาในเขตน่านน้ำของประเทศไทย และประเทศในแถบนี้ จึงได้มีการตั้งศูนย์เตือนภัยโจรสลัดขึ้นระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และญี่ปุ่นขึ้นเพื่อดูแลปัญหานี้
หน่วยยามฝั่งของประเทศญี่ปุ่น(Japan Cost Guard หรือ JCG) ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยทางทะเลและชายฝั่งทะเล การบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในน่านน้ำประเทศ การจราจรทางน้ำ การช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเล การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านความปลอดภัย ทางทะเลระหว่างประเทศ การป้องกันและเตือนภัยทางธรรมชาติ ซึ่งมีหน้าที่ใกล้เคียงกับตำรวจน้ำของประเทศไทย
การประสานงานเพื่อร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้กันจึงมีอย่างสม่ำเสมอมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางทะเลของไทย รวมทั้งความเข้าใจในบาบาทหน้าที่การบังคับใช้กฎหมายทางทะเลได้ดีมากยิ่งขึ้นทั้งส่วนของ ตำรวจน้ำ กองทัพเรือ และขนส่งทางน้ำและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ความคุ้นเคยในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในอนาคต
ในปีนี้ทางประเทศญี่ปุ่นก็ได้ส่งบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการปราบปรามโจรสลัดเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับตำรวจน้ำไทย จึงได้มีการจัดสัมมนาขึ้น ระหว่างหน่วยยามฝั่งของประเทศญี่ปุ่น กับตำรวจน้ำไทย โดยใช้ชื่อว่า “Semina on Comgating Piracy and Armed Robbery against Ship” ระหว่าง Japan Cost Guard ระหว่างวันที่ 17-21 ก.พ.ที่ผ่านมา และมีการฝึกปฏิบัติร่วมกันบนเรือตรวจการณ์ ของกองบังคับการตำรวจน้ำ ณ บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา หน้า บก.รน.สมุทรปราการ โดยจะเป็นการฝึกร่วมเรื่องการติดตามไล่ล่า และการจับกุมโจรสลัดในเรือ การประชุมร่วม การฝึกบนเรือยามฝั่งญี่ปุ่น(ระดับผู้ปฏิบัติและทดลองข่ายการติดต่อ)
พล.ต.ต.มิสกวัน กล่าวว่า การฝึกร่วมระหว่างตำรวจน้ำของประเทศไทยและหน่วยยามฝั่งประเทศญี่ปุ่นมีการฝึกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีในการทำงาน โดยเน้นเรื่องการปราบปรามโจรสลัด ที่ก่อเหตุโจมตีเรือสินค้า โดยที่ผ่านมา หน่วยยามฝั่งของญี่ปุ่นได้เคยส่งเรือตรวจการณ์ขนาดใหญ่ พร้อมเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือมาร่วมฝึกกับไทยบริเวณพัทยา เพื่อฝึกช่วยเหลือที่ถูกยึดโดยโจรสลัด โดยใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะในการส่งเจ้าหน้าที่ยึดเรือคืน
พล.ต.ต.มิสกวัน กล่าวอีกว่า ในปีนี้ ทางหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยฝึกเทคนิคในการควบคุมตัวโจรสลัดอย่างถูกวิธี การจัดชุดเข้าทำการตรวจค้นเรือต้องสงสัย และการควบคุมเรือที่ถูกยึดโดยโจรสลัดคืนมา ซึ่งเรามีเจ้าหน้าที่จากตำรวจน้ำเข้าทำการฝึก พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือ กรมการขนส่งทางน้ำมาร่วมด้วย ถือเป็นการพัฒนาการทำงานรวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศในการปราบปรามโจรสลัดในอนาคตอีกด้วย
แม้ว่าปัญหาเรื่องโจรสลัดจะไม่พบว่าเกิดขึ้นในประเทศไทยโดยตรง แต่กองบังคับการตำรวจน้ำซึ่งรับผิดชอบในการปราบปรามสิ่งผิดกฎหมายในน่านน้ำไทย และดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งได้มีการประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศต่างๆ จึงถือเป็นการเตรียมความพร้อมและรับมือสถานการณ์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคตเป็นอย่างดี