ผู้สมัคร ส.ส.กทม.มัชฌิมาธิปไตย ร้อง ศาลฎีกาคดีเลือกตั้ง อ้าง กกต.จัดเลือกตั้งล่วงหน้าไม่ชอบอีกคดี พร้อมขอเพิกถอนเลือกตั้งล่วงหน้าทั่วประเทศ-เลือกตั้ง ส.ส.23 ธ.ค.- ระงับการรับรองผล ส.ส.ศาลนัดฟังคำสั่ง 21 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายกฤษศักดา วัฒนพงษ์ นักกฎหมาย ในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เดินทางมายื่นคำร้อง ที่ นายกฤษศักดา นายสุรศักดิ์ หมื่นนาอาม ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 7 พรรคมัชฌิมาธิปไตย นายสราวุท ทองเพ็ญ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่มที่ 3 พรรคความหวังใหม่ พร้อมกับพวกรวม 8 คน ซึ่งเป็นผู้มาขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า กทม. เขต 5 ดอนเมือง เขต 6 บึงกุ่ม และเขต 7 มีนบุรี ร้องคัดค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้งคณะ จัดการเลือกตั้งล่วงหน้า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วไป ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 โดยมิชอบ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ.2550 ในการควบคุม ตรวจสอบความจำเป็นในการขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าตามขั้นตอน มาตรา 95
พร้อมขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่ง 1.ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-17.00 น.ทั่วประเทศ 2.ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 23 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-15.00 น.และ 3.ขอให้เพิกถอนการรับรอง ส.ส.ที่ กกต.ได้รับรองการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค.2550 และหากยังไม่ได้รับรองก็ขอให้ระงับหรือยกเลิกการรับรองสมาชิก ส.ส.ด้วย
ตามคำร้อง 10 แผ่น สรุปว่า ผู้ร้องทั้ง 8 คน เห็นว่า กกต.ผู้คัดค้านดำเนินการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-15.00 น.ทั่วประเทศ ไม่เป็นไปตามที่กำหนด คือ ไม่มีการควบคุมตรวจสอบความจำเป็นในการขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าตามขั้นตอน มาตรา 95 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.พ.ศ.2550 โดยในการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 15-16 ธ.ค.ดังกล่าว ในเขต 6 กทม.(หนองจอก คันนายาว บึงกุ่ม คลองสามวา) ปรากฏว่า มีการจัดแบบฟอร์มที่เป็นคำขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าของคณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง และแบบคำขอดังกล่าวประธานกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ได้ลงลายมือชื่ออนุญาต ไว้ล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก โดยที่ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า เพียงนำคำขอไปกรอกข้อความลงลายมือชื่อ เพื่อไปรับบัตรเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ทั้งที่การขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าดังกล่าวไม่ได้มีการสอบสวนและวินิจฉัยถึงเหตุความจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด
ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 7 กทม.(มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง บางกะปิ) ก็ปรากฏว่า ในการเลือกตั้งล่วงหน้า ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งก็เพียงนำแบบฟอร์มขอใช้สิทธิไปกรอกข้อความ และลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่มีการสอบสวน หรือวินิจฉัยจากประธานกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางก่อน แต่เมื่อผู้มาใช้สิทธิได้เลือกตั้งแล้ว จึงได้มีการเซ็นอนุญาตในภายหลัง ทั้งที่ตามมาตรา 95 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กำหนดให้ผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศ หรือผู้ที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในวันเลือกตั้ง สามารถขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งต่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.ประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบว่าผู้ที่มาขอใช้สิทธินั้นมีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่าผู้มาขอใช้สิทธิ มีเหตุจำเป็นในการขอใช้สิทธิตามที่แจ้งไว้หรือไม่
ดังนั้น เมื่อไม่มีการตรวจสอบควบคุมดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้มีการทุจริตการเลือกตั้งอย่างสะดวก ทั้งการจูงใจให้ทรัพย์สินหรือเงินทองเพื่อขนคนมาลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต ตัวอย่างเช่น เขต 5 กทม.(ดอนเมือง บางเขน สายไหม) ที่พบว่ามีกลุ่มบุคคลมาคอยนับจำนวนของผู้มาใช้สิทธิล่วงหน้าในเขต และมีการคอยรับส่งผู้มาใช้สิทธิด้วย
ภายหลัง นายกฤษศักดา ผู้ร้อง กล่าวว่า ในการยื่นคำร้องวันนี้ตนได้ยื่นพยานเอกสารและพยานวัตถุ เป็นวีซีดีและภาพถ่าย เพื่อให้ศาลพิจารณาด้วย ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้คดีดำหมายเลขที่ ลต.5/2551 โดยศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ศาลฎีกา สนามหลวง นายกฤษศักดา วัฒนพงษ์ นักกฎหมาย ในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เดินทางมายื่นคำร้อง ที่ นายกฤษศักดา นายสุรศักดิ์ หมื่นนาอาม ผู้สมัคร ส.ส.กทม.เขต 7 พรรคมัชฌิมาธิปไตย นายสราวุท ทองเพ็ญ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบสัดส่วนกลุ่มที่ 3 พรรคความหวังใหม่ พร้อมกับพวกรวม 8 คน ซึ่งเป็นผู้มาขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า กทม. เขต 5 ดอนเมือง เขต 6 บึงกุ่ม และเขต 7 มีนบุรี ร้องคัดค้าน คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้งคณะ จัดการเลือกตั้งล่วงหน้า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วไป ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 โดยมิชอบ ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) พ.ศ.2550 ในการควบคุม ตรวจสอบความจำเป็นในการขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าตามขั้นตอน มาตรา 95
พร้อมขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่ง 1.ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-17.00 น.ทั่วประเทศ 2.ขอให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 23 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-15.00 น.และ 3.ขอให้เพิกถอนการรับรอง ส.ส.ที่ กกต.ได้รับรองการเลือกตั้งวันที่ 23 ธ.ค.2550 และหากยังไม่ได้รับรองก็ขอให้ระงับหรือยกเลิกการรับรองสมาชิก ส.ส.ด้วย
ตามคำร้อง 10 แผ่น สรุปว่า ผู้ร้องทั้ง 8 คน เห็นว่า กกต.ผู้คัดค้านดำเนินการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง วันที่ 15-16 ธ.ค.2550 เวลา 08.00-15.00 น.ทั่วประเทศ ไม่เป็นไปตามที่กำหนด คือ ไม่มีการควบคุมตรวจสอบความจำเป็นในการขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าตามขั้นตอน มาตรา 95 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.พ.ศ.2550 โดยในการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 15-16 ธ.ค.ดังกล่าว ในเขต 6 กทม.(หนองจอก คันนายาว บึงกุ่ม คลองสามวา) ปรากฏว่า มีการจัดแบบฟอร์มที่เป็นคำขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าของคณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้ง และแบบคำขอดังกล่าวประธานกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลาง ได้ลงลายมือชื่ออนุญาต ไว้ล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก โดยที่ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า เพียงนำคำขอไปกรอกข้อความลงลายมือชื่อ เพื่อไปรับบัตรเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ทั้งที่การขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าดังกล่าวไม่ได้มีการสอบสวนและวินิจฉัยถึงเหตุความจำเป็นตามขั้นตอนของกฎหมายแต่อย่างใด
ขณะที่เขตเลือกตั้งที่ 7 กทม.(มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง บางกะปิ) ก็ปรากฏว่า ในการเลือกตั้งล่วงหน้า ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งก็เพียงนำแบบฟอร์มขอใช้สิทธิไปกรอกข้อความ และลงลายมือชื่อ โดยที่ยังไม่มีการสอบสวน หรือวินิจฉัยจากประธานกรรมการประจำที่เลือกตั้งกลางก่อน แต่เมื่อผู้มาใช้สิทธิได้เลือกตั้งแล้ว จึงได้มีการเซ็นอนุญาตในภายหลัง ทั้งที่ตามมาตรา 95 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.กำหนดให้ผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศ หรือผู้ที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในวันเลือกตั้ง สามารถขอใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งต่อ กกต.ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่ง กกต.ประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบว่าผู้ที่มาขอใช้สิทธินั้นมีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้นหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่าผู้มาขอใช้สิทธิ มีเหตุจำเป็นในการขอใช้สิทธิตามที่แจ้งไว้หรือไม่
ดังนั้น เมื่อไม่มีการตรวจสอบควบคุมดังกล่าวจึงเปิดโอกาสให้มีการทุจริตการเลือกตั้งอย่างสะดวก ทั้งการจูงใจให้ทรัพย์สินหรือเงินทองเพื่อขนคนมาลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต ตัวอย่างเช่น เขต 5 กทม.(ดอนเมือง บางเขน สายไหม) ที่พบว่ามีกลุ่มบุคคลมาคอยนับจำนวนของผู้มาใช้สิทธิล่วงหน้าในเขต และมีการคอยรับส่งผู้มาใช้สิทธิด้วย
ภายหลัง นายกฤษศักดา ผู้ร้อง กล่าวว่า ในการยื่นคำร้องวันนี้ตนได้ยื่นพยานเอกสารและพยานวัตถุ เป็นวีซีดีและภาพถ่าย เพื่อให้ศาลพิจารณาด้วย ซึ่งศาลรับคำฟ้องไว้คดีดำหมายเลขที่ ลต.5/2551 โดยศาลนัดฟังคำสั่งในวันที่ 21 ม.ค.นี้ เวลา 10.00 น.