หลังจากรอคอยกันมาร่วม 2 ปี ในที่สุดคดีจำนำข้าวทั้งสองคดี คือคดีของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคดีระบายข้าวแบบจีทูจี ของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ก็เข้ามาถึงโค้งสุดท้าย ว่าจะมีจุดหมายปลายทางชัดเจนเมื่อไร
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดวันสืบพยานนัดสุดท้าย ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 หรือวันอังคารที่จะถึงนี้ โดยเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถแถลงการณ์ได้
และสำคัญที่สุด คือการกำหนดวันอ่านคำพิพากษาไว้ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ซึ่งตรงกับวันศุกร์พร้อมกันทั้งสองคดี ซึ่งจะถือเป็นวันประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยอีกครั้ง ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ถือว่าเป็นศาลสูงสุด จะมีคำพิพากษาให้อดีตนายกรัฐมนตรีต้องโทษจำคุกเป็นรายที่สองหรือไม่
หลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยพิพากษาให้นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอต้องโทษจำคุกในคดีที่ดินรัชดาฯ มาแล้ว เว้นเสียแต่ในคดีนั้นจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา จึงเป็นเพียงคำพิพากษาที่ยังไม่สามารถบังคับจำเลยได้
ก่อนหน้านี้ ทีมทนายความของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์พยายามที่จะยืดเวลาการตัดสินคดีไปอีกสักระยะ โดยการเสนอคำร้องต่อศาลฎีกา ขอให้ส่งประเด็นเรื่องกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 5 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 นั้นจะไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี 2560 หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า ในคดีนี้ ศาลได้ให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายเต็มที่ในการนำพยานบุคคลไต่สวน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามหลักกฎหมายแล้ว ดังนั้น ที่จำเลยยื่นขอส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยบทกฎหมายเรื่องดุลพินิจศาลในการไต่สวนพยาน จึงไม่มีเหตุให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกคำร้องนั้น
ซึ่งฝ่ายทนายความของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ไม่ยอมแพ้ ขออุทธรณ์คำสั่งไม่ส่งคำโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดังกล่าว ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขอให้ศาลเพิกถอน และส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีกครั้งเพราะการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของคู่ความที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
ทำไมทนายฝ่ายจำเลยจึงต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งๆ ที่หากพิจารณาแล้ว ประเด็นที่จะส่งก็เป็นเรื่องหยุมหยิม ที่รัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติถ้อยคำไว้แตกต่างจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพียงคำเดียว
ถ้ามองว่าฝ่ายจำเลยเห็นว่ามีลุ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับไม่ได้ เพื่อให้คดีไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ก็บอกตรงๆ ว่าหวังยากอยู่
สิ่งที่ทีมกฎหมายฝ่ายจำเลยประสงค์ แท้จริงแล้วคงจะหวังว่าเพื่ออย่างน้อยก็ได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีการโต้แย้งประเด็นเรื่องกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แล้วศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้ ศาลที่ดำเนินคดีอยู่นั้นจะยังอ่านคำพิพากษาไม่ได้ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ขาดประเด็นดังกล่าวลงมา
ส่วนที่ว่า จะหวังให้การอ่านคำพิพากษาเลื่อนออกไปด้วยเหตุใด หรือเพื่อเตรียมตัวอะไรนั้น ก็เป็นเรื่องสุดจะคาดเดา
แต่จับสัญญาณดูแล้ว กระแสแห่งคดีของฝ่ายจำเลยนั้นดูไม่ดีเท่าไรนัก
การที่ศาลกำหนดนัดอ่านคำพิพากษาคดีจำนำข้าวทั้งสองคดีพร้อมกัน ก็มีผู้วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะผลของคดีทั้งสองสืบเนื่องกัน หากอ่านไม่พร้อมกัน ก็จะทำให้จำเลยในอีกคดีคาดเดาผลของคำพิพากษาได้ และอาจจะหนีไม่มาฟังการอ่านคำพิพากษาในคดีของตัวเอง
นั่นคือ ผู้วิเคราะห์มองว่า การอ่านคำพิพากษาสองคดีในวันเดียวกันนั้นเป็น “สัญญาณไม่ดี” ของฝ่ายจำเลยทั้งคู่
และก็เป็นที่ฮือฮาอย่างยิ่ง เมื่อ “กุนซือ” กฎหมายคนสำคัญอย่างอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์อาจจะใช้สิทธิอุทธรณ์คดีได้ตาม กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฉบับใหม่
แต่หลังจากการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 25 สิงหา ก็ให้ใช้สิทธิยื่นประกันตัวไปก่อน
ที่ทำให้หลายฝ่ายตีความกันไปใหญ่ ว่าเพราะถ้าจะต้องมีการประกันตัวหรือยื่นอุทธรณ์นั้นแปลว่าคำพิพากษาออกมาในแนวทางว่าจำเลยจะต้อง “ติดคุก”
รวมทั้งล่าสุดก็เรื่องการใช้คดีบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ในคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายจากกรณีจำนำข้าว ซึ่งจริงๆ มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคับคดีมีอำนาจยึดทรัพย์จากคดีจำนำข้าว มาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว หรือเกือบหนึ่งปี แต่ก็ไม่มีการดำเนินการอะไร
โดยล่าสุดก่อนหน้านี้ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน อาจารย์วิษณุ เครืองาม ยังเพิ่งออกมาให้สัมภาษณ์อยู่ว่า “ยังหาทรัพย์ที่จะยึดไม่เจอ” จึงยังดำเนินการอะไรไม่ได้
แต่ก็ปรากฏว่าเมื่อต้นสัปดาห์นี้เอง ก็เกิดหา “ทรัพย์ที่จะยึด” เจอจนได้ โดยที่กรมบังคับคดีได้ทำการอายัดบัญชีของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ทั้ง 12 บัญชีไว้ เพื่อรอการยึดทรัพย์ตามขั้นตอนต่อไป
จนเจ้าตัวเองออกมาร้องแรกแหกกระเชอผ่านทางทวิตเตอร์ ว่ามีการยึดและถอนเงินในบัญชีที่ถูกอายัดไว้ไปแล้ว
เรียกว่าในชั่วเวลาไม่ถึงสองอาทิตย์ สถานการณ์นั้นเปลี่ยนไปเร็วมาก ซึ่งแต่ละกระแสแต่ละทิศทาง ก็เหมือนจะชี้ไปชัดเจนว่าคดีนี้น่าจะจบลงอย่างไร
ก็ไม่แปลกใจที่มีข่าวว่าทางฝ่ายจำเลย จะต้องระดมมวลชน “แฟนคลับ” มาให้กำลังใจในวันอ่านคำพิพากษา ซึ่งก็ต้องวัดความสามารถกันว่า ทางฝ่าย คสช. ที่ขณะนี้จริงๆ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการใช้บังคับคำสั่ง คสช. เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองอยู่ จะสามารถจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในวันอ่านคำพิพากษาได้แค่ไหน
และที่ต้องลุ้นกันกว่านั้น คือ จะมีตัวจำเลยมาศาลในวันอ่านคำพิพากษาหรือไม่
หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง ที่แม้จะมีคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีตัวจำเลยมาติดคุกจริง
ดังนั้น ช่วงเวลาไม่ถึงเดือนต่อจากนี้ จึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายห้ามพลาด ห้ามกะพริบตา เพราะความเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามวัน ว่าประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องจำนำข้าวของอดีตนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทยนี้ จะจบลงอย่างไร.
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดวันสืบพยานนัดสุดท้าย ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 หรือวันอังคารที่จะถึงนี้ โดยเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถแถลงการณ์ได้
และสำคัญที่สุด คือการกำหนดวันอ่านคำพิพากษาไว้ ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 ซึ่งตรงกับวันศุกร์พร้อมกันทั้งสองคดี ซึ่งจะถือเป็นวันประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยอีกครั้ง ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ถือว่าเป็นศาลสูงสุด จะมีคำพิพากษาให้อดีตนายกรัฐมนตรีต้องโทษจำคุกเป็นรายที่สองหรือไม่
หลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยพิพากษาให้นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอต้องโทษจำคุกในคดีที่ดินรัชดาฯ มาแล้ว เว้นเสียแต่ในคดีนั้นจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา จึงเป็นเพียงคำพิพากษาที่ยังไม่สามารถบังคับจำเลยได้
ก่อนหน้านี้ ทีมทนายความของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์พยายามที่จะยืดเวลาการตัดสินคดีไปอีกสักระยะ โดยการเสนอคำร้องต่อศาลฎีกา ขอให้ส่งประเด็นเรื่องกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คือ มาตรา 5 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 นั้นจะไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปี 2560 หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า ในคดีนี้ ศาลได้ให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายเต็มที่ในการนำพยานบุคคลไต่สวน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามหลักกฎหมายแล้ว ดังนั้น ที่จำเลยยื่นขอส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยบทกฎหมายเรื่องดุลพินิจศาลในการไต่สวนพยาน จึงไม่มีเหตุให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยกคำร้องนั้น
ซึ่งฝ่ายทนายความของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็ไม่ยอมแพ้ ขออุทธรณ์คำสั่งไม่ส่งคำโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดังกล่าว ว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขอให้ศาลเพิกถอน และส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีกครั้งเพราะการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของคู่ความที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
ทำไมทนายฝ่ายจำเลยจึงต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งๆ ที่หากพิจารณาแล้ว ประเด็นที่จะส่งก็เป็นเรื่องหยุมหยิม ที่รัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติถ้อยคำไว้แตกต่างจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพียงคำเดียว
ถ้ามองว่าฝ่ายจำเลยเห็นว่ามีลุ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับไม่ได้ เพื่อให้คดีไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ก็บอกตรงๆ ว่าหวังยากอยู่
สิ่งที่ทีมกฎหมายฝ่ายจำเลยประสงค์ แท้จริงแล้วคงจะหวังว่าเพื่ออย่างน้อยก็ได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปก่อนสักระยะหนึ่ง เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีการโต้แย้งประเด็นเรื่องกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แล้วศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้ ศาลที่ดำเนินคดีอยู่นั้นจะยังอ่านคำพิพากษาไม่ได้ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ขาดประเด็นดังกล่าวลงมา
ส่วนที่ว่า จะหวังให้การอ่านคำพิพากษาเลื่อนออกไปด้วยเหตุใด หรือเพื่อเตรียมตัวอะไรนั้น ก็เป็นเรื่องสุดจะคาดเดา
แต่จับสัญญาณดูแล้ว กระแสแห่งคดีของฝ่ายจำเลยนั้นดูไม่ดีเท่าไรนัก
การที่ศาลกำหนดนัดอ่านคำพิพากษาคดีจำนำข้าวทั้งสองคดีพร้อมกัน ก็มีผู้วิเคราะห์ว่า เป็นเพราะผลของคดีทั้งสองสืบเนื่องกัน หากอ่านไม่พร้อมกัน ก็จะทำให้จำเลยในอีกคดีคาดเดาผลของคำพิพากษาได้ และอาจจะหนีไม่มาฟังการอ่านคำพิพากษาในคดีของตัวเอง
นั่นคือ ผู้วิเคราะห์มองว่า การอ่านคำพิพากษาสองคดีในวันเดียวกันนั้นเป็น “สัญญาณไม่ดี” ของฝ่ายจำเลยทั้งคู่
และก็เป็นที่ฮือฮาอย่างยิ่ง เมื่อ “กุนซือ” กฎหมายคนสำคัญอย่างอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์อาจจะใช้สิทธิอุทธรณ์คดีได้ตาม กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฉบับใหม่
แต่หลังจากการอ่านคำพิพากษาในวันที่ 25 สิงหา ก็ให้ใช้สิทธิยื่นประกันตัวไปก่อน
ที่ทำให้หลายฝ่ายตีความกันไปใหญ่ ว่าเพราะถ้าจะต้องมีการประกันตัวหรือยื่นอุทธรณ์นั้นแปลว่าคำพิพากษาออกมาในแนวทางว่าจำเลยจะต้อง “ติดคุก”
รวมทั้งล่าสุดก็เรื่องการใช้คดีบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้ชดใช้ในคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายจากกรณีจำนำข้าว ซึ่งจริงๆ มีคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคับคดีมีอำนาจยึดทรัพย์จากคดีจำนำข้าว มาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว หรือเกือบหนึ่งปี แต่ก็ไม่มีการดำเนินการอะไร
โดยล่าสุดก่อนหน้านี้ เมื่อปลายเดือนมิถุนายน อาจารย์วิษณุ เครืองาม ยังเพิ่งออกมาให้สัมภาษณ์อยู่ว่า “ยังหาทรัพย์ที่จะยึดไม่เจอ” จึงยังดำเนินการอะไรไม่ได้
แต่ก็ปรากฏว่าเมื่อต้นสัปดาห์นี้เอง ก็เกิดหา “ทรัพย์ที่จะยึด” เจอจนได้ โดยที่กรมบังคับคดีได้ทำการอายัดบัญชีของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ทั้ง 12 บัญชีไว้ เพื่อรอการยึดทรัพย์ตามขั้นตอนต่อไป
จนเจ้าตัวเองออกมาร้องแรกแหกกระเชอผ่านทางทวิตเตอร์ ว่ามีการยึดและถอนเงินในบัญชีที่ถูกอายัดไว้ไปแล้ว
เรียกว่าในชั่วเวลาไม่ถึงสองอาทิตย์ สถานการณ์นั้นเปลี่ยนไปเร็วมาก ซึ่งแต่ละกระแสแต่ละทิศทาง ก็เหมือนจะชี้ไปชัดเจนว่าคดีนี้น่าจะจบลงอย่างไร
ก็ไม่แปลกใจที่มีข่าวว่าทางฝ่ายจำเลย จะต้องระดมมวลชน “แฟนคลับ” มาให้กำลังใจในวันอ่านคำพิพากษา ซึ่งก็ต้องวัดความสามารถกันว่า ทางฝ่าย คสช. ที่ขณะนี้จริงๆ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างการใช้บังคับคำสั่ง คสช. เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองอยู่ จะสามารถจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยในวันอ่านคำพิพากษาได้แค่ไหน
และที่ต้องลุ้นกันกว่านั้น คือ จะมีตัวจำเลยมาศาลในวันอ่านคำพิพากษาหรือไม่
หรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิมอีกครั้ง ที่แม้จะมีคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีตัวจำเลยมาติดคุกจริง
ดังนั้น ช่วงเวลาไม่ถึงเดือนต่อจากนี้ จึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายห้ามพลาด ห้ามกะพริบตา เพราะความเปลี่ยนแปลงอาจจะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามวัน ว่าประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องจำนำข้าวของอดีตนายกฯ หญิงคนแรกของประเทศไทยนี้ จะจบลงอย่างไร.