ขอเบรกเรื่องไร้สาระที่ญี่ปุ่นสักงวดนึงนะครับ
เผอิญเพิ่งไปทดลองขึ้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงมาครับ มีคนใจดีเอาบัตรโดยสารฟรีมาให้ ตอนแรกก็ไม่ค่อยอยากไปเท่าไหร่ เพราะขี้เกียจตื่น แต่ไหนๆ เขาอุตส่าห์ให้มาก็ฉลองศรัทธาเสียหน่อย แถมสถานีต้นทางก็ไม่ได้ไกลจากบ้านเราเลย
อันที่จริงทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เขาได้เปิดให้ขึ้นฟรี มาตั้งแต่กลางเดือน มิถุนายน เฉพาะวันจันทร์ พุธ ศุกร์ มี ๒ ช่วงเวลา คือ ๗ – ๙ โมงเช้า และ ๕ – ๖ โมงเย็น โดยรอบสุดท้ายเพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคมที่ผ่านมา แรกๆ นี่มีคนแห่ไปรับบัตรกันเพียบเลย ใครๆ ก็เห่อ .. ผมก็ด้วย แหม... จะไม่เห่อได้ยังไง เห็นกันมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ผ่านน้ำท่วมมาด้วยกันจนเลื่อนเวลาเปิดจริงไปตั้งปีนึง พอสร้างเสร็จใครๆ ก็อยากจะลองเป็นธรรมดา และนี่ถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ผ่าน จ.นนทบุรี ด้วย
“รถไฟฟ้าสายสีม่วง” หรือ “รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม” ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมากมายเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ หรืออื่นๆ เพราะคงได้อ่านกันผ่านตามาจากหลายแหล่งที่มา (ขี้เกียจเขียนก็บอกเขาไปเถอะ) แต่ที่แน่ๆ คือเปิดให้บริการ ๖ สิงหาคมนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงสถานีเตาปูน ในเวลา ๑๔.๐๐ น. จากนั้นจะเสด็จประทับขึ้นรถไฟฟ้าพระที่นั่งไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าคลองบางไผ่ เพื่อทรงกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถไฟฟ้าขบวนแรกให้บริการผู้โดยสาร จากสถานีคลองบางไผ่มายังสถานีเตาปูน
รถไฟฟ้าสายนี้มีทั้งหมด ๑๖ สถานี ก็คือ S01 สถานีคลองบางไผ่ S02 สถานีตลาดบางใหญ่ S03 สถานีสามแยกบางใหญ่ S04 สถานีบางพลู S05 สถานีบางรักใหญ่ S06 สถานีท่าอิฐ S07 สถานีไทรม้า S08 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า S09 สถานีแยกนนทบุรี ๑ S10 สถานีศรีพรสวรรค์ S11 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี S12 สถานีกระทรวงสาธารณสุข S13 สถานีแยกติวานนท์ S14 สถานีวงศ์สว่าง S15 สถานีบางซ่อน และ S16 สถานีเตาปูน รวม ๒๓ กิโลเมตร ซึ่งสถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะขยายจากเตาปูน ไปยัง ราษฎร์บูรณะด้วย
ส่วนรถไฟเป็นรถไฟที่ผลิตจากโรงงาน J-TREC ประเทศญี่ปุ่น ให้บริการวิ่ง ๓ ตู้ ต่อ ๑ ขบวน ด้วยอัตราความเร็วไม่เกิน ๘๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง มีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถบริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่ และ มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) อยู่ที่สถานีคลองบางไผ่ ,สถานีสามแยกบางใหญ่ ,สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และ สถานีแยกนนทบุรี ๑
นั่นเป็นข้อมูลคร่าวๆ ของรถไฟเส้นทางนี้ ... และนี่คือเรื่องของผมครับ ..
ผมมาถึงสถานีคลองบางไผ่ ราวๆ ๘ โมงเศษ ขึ้นไปบนสถานีก็มีพนักงาน รฟม.มาต้อนรับด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างดี (ตั้งแต่คนตรวจกระเป๋าเลยทีเดียว) เจ้าหน้าที่รับบัตรโดยสารและให้เข้าผ่านทางช่องปกติ ตัวอาคารตกแต่งด้วยสีม่วงสมกับชื่อสาย มีป้ายบอกทางทั้งขาขึ้น และขาลงอย่างชัดเจนเหมือนกับสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ โชคดีที่พอผมเข้าไปในขบวนนั้น ไม่นานนักรถไฟก็ออก สังเกตว่า วันนี้มีผู้โดยสารมาขึ้นฟรีกันราวๆ ๑๐๐ คนได้ หลายคนดูตื่นเต้นโดยเฉพาะคนชรา เด็ก และคนพิการ
ภายในรถไฟก็เหมือนกับรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่เหนือประตูรถมีป้ายบอกเส้นทางพร้อมไฟกระพริบถึงตำแหน่งของรถไฟว่าอยู่ที่สถานีไหน สิ่งที่ผมชอบคือ การเขียนชื่อสถานีใช้การทับศัพท์ภาษาไทยแทบทุกสถานที่ (ตรงนี้บริษัทที่ทำเส้นทางป้ายรถเมล์ควรมาดูไว้เป็นตัวอย่าง) บนสถานีทุกสถานีมีประตูกั้นระหว่างชานชาลา กับตัวรถไฟอีกชั้น ๑ ด้วย แต่หลายครั้งที่พบก็คือคนขับขับจอดไม่ตรงกับประตูกั้น (บางสถานีประตูกั้นก็ไม่เปิดออกซะงั้น) มีช่วงสถานีสะพานพระนั่งเกล้าฯ ที่รถไฟหยุดรอค่อนข้างนาน แต่พอเริ่มเดินเครื่องรถกลับขับอย่างผิดปกติ มีการเหวี่ยงตรงโค้งช่วงที่จะถึงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี บางจังหวะมีกระตุกเหมือนแตะเบรกอยู่บ่อยครั้ง
รถไฟขับอย่างช้าๆ กว่ารถไฟฟ้าปกติ ใช้เวลา ๑ สถานีราวๆ ๕ - ๑๐ นาที ได้ กว่าจะถึงสถานีเตาปูนก็ปาไปประมาณ ๔๕ นาที คือรู้สึกว่านานจริงๆ ภายหลังมีน้องผู้เชียวชาญด้านการคมนาคมมาบอกว่า น่าจะเป็นเพราะเขาทดสอบระบบด้วยการขับขี่แบบแมนนวล เผื่อในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งหาเป็นช่วงปกติคงใช้ระบบออโต้เมติกทำงาน
ข้อดีอีกอย่างที่พบจากการนั่งก็คือทำให้เห็นแถวบ้านเราในมุมสูง จึงได้รู้ว่า เออ มุมสวยๆ จากธรรมชาติมันก็มีเยอะเหมือนกันนะ เช่นเดียวกับหมู่บ้านจัดสรรที่มากมาย บรรยากาศแบบนี้จะพบเห็นในตั้งแต่ช่วงสถานีคลองบางไผ่ – สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ครับ นอกนั้นก็เหมือนในเมืองปกติ
สุดเส้นทางที่สถานีเตาปูน ที่นี่เป็นจุดเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน หรือ สายเฉลิมรัชมงคล จากที่ไปแอบส่อง เพราะเขาเอาฉากกั้นไว้ดูแล้วตรงจุดเชื่อมต่อน่าจะเสร็จเกือบ ๑๐๐% แล้วนะ ทั้งรางก็มี ทางกั้น ตัวอาคาร ดูเหมือนเสร็จพร้อมกับสถานีนี้ไปแล้วด้วยซ้ำ แต่ที่น่าฉงนก็คือ ... จุดเชื่อมต่อที่เป็นสายสีน้ำเงิน แต่ดันไม่มีการทาสีให้เป็นสีน้ำเงิน? ทั้งสถานีกลายเป็นสีม่วงไปหมด คือ มันตลกอ่ะ อย่างที่ญี่ปุ่น (ขออนุญาตยกตัวอย่าง) ในสถานีรถไฟใต้ดินแม้จะเป็นชื่อเดียวกัน แต่ตัวจุดเชื่อมต่อจะใช้สีของสายนั้นๆ เพื่อให้ผู้โดยสารที่เดินทางสามารถเข้าใจได้ว่า ชานชาลานี้คือไปสายสีน้ำเงินนะ อันนี้คือไปสีม่วงนะ ...อันนี้ก็ไม่รู้เขาจะแก้กันหรือเปล่า?
อีกจุดที่น่าจะมีปัญหา และเขาพยายามแก้ก็คือการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากสถานีเตาปูน ไปยังสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ จนถึงขนาดที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จำต้องงัด ม.๔๔ มาใช้ สาระสำคัญ คือให้คณะกรรมการคัดเลือก และคณะกรรมการกำกับดูแล โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาการดำเนินการในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน และเมื่อได้ข้อยุติแล้วให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการนี้ ให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดำเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายนี้กับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยให้ดำเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
แต่ระหว่างที่เปิดใช้งานสายสีม่วงก็หาวิธีการอื่นเชื่อมต่อไปก่อน ซึ่งทาง รฟม.ก็มีให้ผู้โดยสารเลือก ๒ วิธี วิธีแรก ไปต่อรถไฟ ที่สถานี MRT บางซ่อน โดยให้เดินไปยังสถานีรถไฟบางซ่อน ไปลงที่สถานีรถไฟบางซื่อ แล้วเดินไปต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยจะใช้รถไฟดีเซลรางปรับอากาศมาวิ่งฟรี ก็ดูน่าจะเร็วดี แต่!! ไม่ได้มีทุกวันนะครับ ... ให้บริการเฉพาะจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๐๖.๓๐ น. – ๐๙.๓๐ น. และ เวลา ๑๖.๓๐ น. – ๒๐.๓๐ น. เท่านั้น!! โดยมีความถี่ ๑๕ นาที ต่อขบวน
อ้าว ... แล้วถ้าไม่ได้มาช่วงเวลานั้นทำอย่างไรล่ะ?
ก็ต้องไปวิธีที่ ๒ นั่นคือ รถเมล์!! ทาง รฟม.ก็จัดรถโดยสารปรับอากาศให้บริการฟรีทุกวันตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น. – ๒๔.๐๐ น.โดยมีรถให้บริการชุดละ ๓ คัน รวม ๕ ชุด วิ่งจากสถานี MRT เตาปูน ไปลงที่สถานี MRT บางซื่อ มีความถี่ ๖ – ๘ นาที ต่อชุด ใช้เวลาเดินทางขาไป เตาปูน – บางซื่อ ๗ นาที ส่วนขากลับใช้เวลา ๓ นาที อันนี้ตามที่เขาแจ้งมา แต่ในสภาพการจราจรจริงนี่ คาดว่าคงไม่ใช่...
มาถึงเรื่องสำคัญ ... ค่าโดยสาร
อัตราค่าโดยสารสตาร์ทที่ ๑๔ บาท เพิ่มป้ายละ ๓ บาท ไปสูงสุดที่ ๔๒ บาท หากจะเดินทางยาวต่อไปยังสายสีน้ำเงินสิ้นสุดที่หัวลำโพง ก็จะอยู่ที่ ๗๐ บาท โดยใช้วิธีคำนวนเอาค่าโดยสารสูงสุด ๔๒ บาท + ค่าโดยสารสถานีปลายทาง แล้วลบด้วยค่าแรกเข้า ๑๔ บาท พูดแล้วงงๆ สมมุติว่า นั่งจากคลองบางไผ่ มายังสถานี MRT สามย่าน ก็เอา ๔๒ + ๔๒ - ๑๔ ก็จะเท่ากับราคาค่าโดยสารนั้น
เมื่อมองถึงความคุ้มค่าในการใช้ของคนพื้นที่ละแวกนนทบุรีกันเอง ก็ต้องบอกเลยว่า ... ถ้าไม่รวย เอ๊ย ไม่รีบจริง คงไม่บ้าขึ้นแน่ๆ ครับ อย่างเส้นทางสถานีคลองบางไผ่ สู่สถานี ศูนย์ราชการนนทบุรี ราคาพี่ก็ล่อไปตั้ง ๔๐ บาท คาดว่าน่าจะใช้เวลาราวๆ ๑๕ นาทีถึง (หรืออาจจะเร็วกว่า) เมื่อเปรียบเทียบกับรถตู้โดยสารที่ให้บริการในราคา ๒๐ บาท (ลงป้ายศาลากลางจังหวัด หรือ เอสพละนาถ รัตนาธิเบศร์) และทำเวลาไม่ห่างกันมาก (ถ้ารถไม่ติดและไม่จอดแช่) ถ้าไม่ใช่ช่วงเร่งด่วนผมคงเลือกรถตู้โดยสารมากกว่า แถมยังสามารถนั่งต่อไปยังเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน หรือสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ได้ด้วย เช่นเดียวกับเส้นทางใกล้ๆ ที่ดูยังไงรถไฟฟ้าก็ยังเป็นตัวเลือกท้ายๆ อยู่ดี หากยังคงราคามหาโหดเช่นนี้
แต่ในมุมกลับมันอาจเป็นทางเลือกสำคัญในเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะช่วงเช้าที่การจราจรบริเวณสี่แยกแครายแทบเป็นอัมพาต คนอาจจะยอมจ่ายตังค์ ๔๙ บาท จากสถานีคลองบางไผ่ เพื่อนั่งรถไฟฟ้าเชื่อมต่อไปยังสถานี MRT จตุจักร ที่น่าจะเร็วกว่ารถโดยสารธรรมดา ๑ เท่าตัว
เช่นเดียวกับการเดินทางจากเมืองนนท์ฯ สู่ย่านห้วยขวาง อโศก คลองเตย สีลม ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่สะดวกขึ้นทั้งคนเมืองและชาวปริมณฑล (ถ้าระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามันสมบูรณ์นะ) ถ้าเทียบกับการนั่งแท๊กซี่จากบางบัวทองไปเที่ยวห้างเทอร์มินอล ๒๑ ตรงสถานีรถไฟฟ้าอโศก ก็ถือว่าเร็วและถูกกว่าด้วยซ้ำ
ยิ่งถ้าดูจากจำนวนสถานีบนถนนรัตนาธิเบศร์ ที่ดูถี่เกิ๊น รวมทั้งจุดจอดรถทั้ง ๔ จุด อย่างที่คลองบางไผ่ ก็คงเอาไว้รับคนจากบางบัวทอง ไทรน้อย ลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี) ,สถานี สามแยกบางใหญ่ ก็เป็นจุดจอดของชาวบางใหญ่ บางกรวย คนฝั่งธนบุรี ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา หรือแม้กระทั่ง บางเลน ศาลายา (นครปฐม) ส่วนสถานี บางรักน้อย ท่าอิฐ และสถานี แยกนนทบุรี ๑ ก็คงเพื่อรองรับชาวเมืองนนท์ฯ เป็นหลัก โครงการนี้คงมีความประสงค์ไว้ใช้ขนถ่ายคนตามหมู่บ้านต่างๆ จากชานเมืองเข้าสู่เมืองเป็นหลักมากกว่าจะเน้นไว้ใช้เดินทางกันเองภายในจังหวัดนนทบุรี
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ดูเหมือนทาง รฟม.จะมีผู้โดยสารหลักเพียงแค่ช่วงเช้า และ เย็นวันธรรมดาเท่านั้น กลางวันคงจะหงอยน่าดู ผมว่า ช่วงเวลานี้เองบรรดา องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลต่างๆ ที่รถไฟฟ้าผ่าน น่าจะใช้เป็นโอกาสในการดึงคนเมืองมาท่องเที่ยวในเขตของตนเองให้ได้ เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ... แต่ก็ไม่รู้พวกพี่ๆ เขาคิดกันหรือเปล่า ที่สำคัญจะหาอะไรมาขาย สร้างสิ่งใหม่ สร้างสิ่งเทียม หรือ บูรณะของเก่า ???
จริงๆ ก็สงสัยว่า ทำไมไม่ทำต่อมายัง ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย และ แยกไทรน้อย อ.บางบัวทอง เลยแฮะ ทั้งๆ ที่ เป็นเขตหมู่บ้านชุกชุมมากๆ ทั้งนั้น? อีกข้อที่โคตรสงสัยคือ ทำไมค่ารถไฟฟ้ามันถึงแพงจัง ถ้าเทียบกับของญี่ปุ่น (ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกครั้ง) รถไฟฟ้าใต้ดินเฉพาะในเมืองค่าโดยสารสูงสุดก็น่าจะไม่ถึงข้าว ๑ จาน (๕๐๐ เยน) แต่บ้านเรานี่ราคาเท่ากับกระเพราหมูไข่ดาว กับน้ำแข็งเปล่าแก้วนึงเลย?
เอาเป็นว่า ถ้าใครอยากลองรถไฟฟ้าสายใหม่ก็อดใจรออีกสัปดาห์นิดๆ ๖ สิงหาคมนี้ ก็จะได้ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบแล้ว หวังว่านี่จะเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ใช้ถนนให้หลีกเลี่ยงการจราจรที่แออัดจนไม่ต้องตัดถนนเพิ่มได้บ้างก็ยังดี .. แต่ถ้าใครจะขึ้นเพื่อต่อไปยังสายสีน้ำเงินในช่วงที่ยังเชื่อมต่อไม่เสร็จนี้ เผื่อเวลา เผื่อใจไว้หน่อยก็ดีนะครับ
เผอิญเพิ่งไปทดลองขึ้นรถไฟฟ้าสายสีม่วงมาครับ มีคนใจดีเอาบัตรโดยสารฟรีมาให้ ตอนแรกก็ไม่ค่อยอยากไปเท่าไหร่ เพราะขี้เกียจตื่น แต่ไหนๆ เขาอุตส่าห์ให้มาก็ฉลองศรัทธาเสียหน่อย แถมสถานีต้นทางก็ไม่ได้ไกลจากบ้านเราเลย
อันที่จริงทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เขาได้เปิดให้ขึ้นฟรี มาตั้งแต่กลางเดือน มิถุนายน เฉพาะวันจันทร์ พุธ ศุกร์ มี ๒ ช่วงเวลา คือ ๗ – ๙ โมงเช้า และ ๕ – ๖ โมงเย็น โดยรอบสุดท้ายเพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคมที่ผ่านมา แรกๆ นี่มีคนแห่ไปรับบัตรกันเพียบเลย ใครๆ ก็เห่อ .. ผมก็ด้วย แหม... จะไม่เห่อได้ยังไง เห็นกันมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ผ่านน้ำท่วมมาด้วยกันจนเลื่อนเวลาเปิดจริงไปตั้งปีนึง พอสร้างเสร็จใครๆ ก็อยากจะลองเป็นธรรมดา และนี่ถือเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ผ่าน จ.นนทบุรี ด้วย
“รถไฟฟ้าสายสีม่วง” หรือ “รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม” ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมากมายเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ หรืออื่นๆ เพราะคงได้อ่านกันผ่านตามาจากหลายแหล่งที่มา (ขี้เกียจเขียนก็บอกเขาไปเถอะ) แต่ที่แน่ๆ คือเปิดให้บริการ ๖ สิงหาคมนี้ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งถึงสถานีเตาปูน ในเวลา ๑๔.๐๐ น. จากนั้นจะเสด็จประทับขึ้นรถไฟฟ้าพระที่นั่งไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าคลองบางไผ่ เพื่อทรงกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถไฟฟ้าขบวนแรกให้บริการผู้โดยสาร จากสถานีคลองบางไผ่มายังสถานีเตาปูน
รถไฟฟ้าสายนี้มีทั้งหมด ๑๖ สถานี ก็คือ S01 สถานีคลองบางไผ่ S02 สถานีตลาดบางใหญ่ S03 สถานีสามแยกบางใหญ่ S04 สถานีบางพลู S05 สถานีบางรักใหญ่ S06 สถานีท่าอิฐ S07 สถานีไทรม้า S08 สถานีสะพานพระนั่งเกล้า S09 สถานีแยกนนทบุรี ๑ S10 สถานีศรีพรสวรรค์ S11 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี S12 สถานีกระทรวงสาธารณสุข S13 สถานีแยกติวานนท์ S14 สถานีวงศ์สว่าง S15 สถานีบางซ่อน และ S16 สถานีเตาปูน รวม ๒๓ กิโลเมตร ซึ่งสถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะขยายจากเตาปูน ไปยัง ราษฎร์บูรณะด้วย
ส่วนรถไฟเป็นรถไฟที่ผลิตจากโรงงาน J-TREC ประเทศญี่ปุ่น ให้บริการวิ่ง ๓ ตู้ ต่อ ๑ ขบวน ด้วยอัตราความเร็วไม่เกิน ๘๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง มีศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถบริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่ และ มีอาคารจอดแล้วจร (park and ride) อยู่ที่สถานีคลองบางไผ่ ,สถานีสามแยกบางใหญ่ ,สถานีบางรักน้อย-ท่าอิฐ และ สถานีแยกนนทบุรี ๑
นั่นเป็นข้อมูลคร่าวๆ ของรถไฟเส้นทางนี้ ... และนี่คือเรื่องของผมครับ ..
ผมมาถึงสถานีคลองบางไผ่ ราวๆ ๘ โมงเศษ ขึ้นไปบนสถานีก็มีพนักงาน รฟม.มาต้อนรับด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างดี (ตั้งแต่คนตรวจกระเป๋าเลยทีเดียว) เจ้าหน้าที่รับบัตรโดยสารและให้เข้าผ่านทางช่องปกติ ตัวอาคารตกแต่งด้วยสีม่วงสมกับชื่อสาย มีป้ายบอกทางทั้งขาขึ้น และขาลงอย่างชัดเจนเหมือนกับสถานีรถไฟฟ้าอื่นๆ โชคดีที่พอผมเข้าไปในขบวนนั้น ไม่นานนักรถไฟก็ออก สังเกตว่า วันนี้มีผู้โดยสารมาขึ้นฟรีกันราวๆ ๑๐๐ คนได้ หลายคนดูตื่นเต้นโดยเฉพาะคนชรา เด็ก และคนพิการ
ภายในรถไฟก็เหมือนกับรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่เหนือประตูรถมีป้ายบอกเส้นทางพร้อมไฟกระพริบถึงตำแหน่งของรถไฟว่าอยู่ที่สถานีไหน สิ่งที่ผมชอบคือ การเขียนชื่อสถานีใช้การทับศัพท์ภาษาไทยแทบทุกสถานที่ (ตรงนี้บริษัทที่ทำเส้นทางป้ายรถเมล์ควรมาดูไว้เป็นตัวอย่าง) บนสถานีทุกสถานีมีประตูกั้นระหว่างชานชาลา กับตัวรถไฟอีกชั้น ๑ ด้วย แต่หลายครั้งที่พบก็คือคนขับขับจอดไม่ตรงกับประตูกั้น (บางสถานีประตูกั้นก็ไม่เปิดออกซะงั้น) มีช่วงสถานีสะพานพระนั่งเกล้าฯ ที่รถไฟหยุดรอค่อนข้างนาน แต่พอเริ่มเดินเครื่องรถกลับขับอย่างผิดปกติ มีการเหวี่ยงตรงโค้งช่วงที่จะถึงสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี บางจังหวะมีกระตุกเหมือนแตะเบรกอยู่บ่อยครั้ง
รถไฟขับอย่างช้าๆ กว่ารถไฟฟ้าปกติ ใช้เวลา ๑ สถานีราวๆ ๕ - ๑๐ นาที ได้ กว่าจะถึงสถานีเตาปูนก็ปาไปประมาณ ๔๕ นาที คือรู้สึกว่านานจริงๆ ภายหลังมีน้องผู้เชียวชาญด้านการคมนาคมมาบอกว่า น่าจะเป็นเพราะเขาทดสอบระบบด้วยการขับขี่แบบแมนนวล เผื่อในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งหาเป็นช่วงปกติคงใช้ระบบออโต้เมติกทำงาน
ข้อดีอีกอย่างที่พบจากการนั่งก็คือทำให้เห็นแถวบ้านเราในมุมสูง จึงได้รู้ว่า เออ มุมสวยๆ จากธรรมชาติมันก็มีเยอะเหมือนกันนะ เช่นเดียวกับหมู่บ้านจัดสรรที่มากมาย บรรยากาศแบบนี้จะพบเห็นในตั้งแต่ช่วงสถานีคลองบางไผ่ – สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ครับ นอกนั้นก็เหมือนในเมืองปกติ
สุดเส้นทางที่สถานีเตาปูน ที่นี่เป็นจุดเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน หรือ สายเฉลิมรัชมงคล จากที่ไปแอบส่อง เพราะเขาเอาฉากกั้นไว้ดูแล้วตรงจุดเชื่อมต่อน่าจะเสร็จเกือบ ๑๐๐% แล้วนะ ทั้งรางก็มี ทางกั้น ตัวอาคาร ดูเหมือนเสร็จพร้อมกับสถานีนี้ไปแล้วด้วยซ้ำ แต่ที่น่าฉงนก็คือ ... จุดเชื่อมต่อที่เป็นสายสีน้ำเงิน แต่ดันไม่มีการทาสีให้เป็นสีน้ำเงิน? ทั้งสถานีกลายเป็นสีม่วงไปหมด คือ มันตลกอ่ะ อย่างที่ญี่ปุ่น (ขออนุญาตยกตัวอย่าง) ในสถานีรถไฟใต้ดินแม้จะเป็นชื่อเดียวกัน แต่ตัวจุดเชื่อมต่อจะใช้สีของสายนั้นๆ เพื่อให้ผู้โดยสารที่เดินทางสามารถเข้าใจได้ว่า ชานชาลานี้คือไปสายสีน้ำเงินนะ อันนี้คือไปสีม่วงนะ ...อันนี้ก็ไม่รู้เขาจะแก้กันหรือเปล่า?
อีกจุดที่น่าจะมีปัญหา และเขาพยายามแก้ก็คือการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจากสถานีเตาปูน ไปยังสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ จนถึงขนาดที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จำต้องงัด ม.๔๔ มาใช้ สาระสำคัญ คือให้คณะกรรมการคัดเลือก และคณะกรรมการกำกับดูแล โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาการดำเนินการในส่วนของงานระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลและโครงการส่วนต่อขยาย โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน และเมื่อได้ข้อยุติแล้วให้เจรจาร่วมกันกับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าโครงการนี้ ให้ดำเนินการโครงการส่วนต่อขยาย และดำเนินการให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายนี้กับผู้รับสัมปทานดังกล่าว เพื่อให้สามารถเดินรถแบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยให้ดำเนินการเจรจาและแก้ไขสัญญาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
แต่ระหว่างที่เปิดใช้งานสายสีม่วงก็หาวิธีการอื่นเชื่อมต่อไปก่อน ซึ่งทาง รฟม.ก็มีให้ผู้โดยสารเลือก ๒ วิธี วิธีแรก ไปต่อรถไฟ ที่สถานี MRT บางซ่อน โดยให้เดินไปยังสถานีรถไฟบางซ่อน ไปลงที่สถานีรถไฟบางซื่อ แล้วเดินไปต่อรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยจะใช้รถไฟดีเซลรางปรับอากาศมาวิ่งฟรี ก็ดูน่าจะเร็วดี แต่!! ไม่ได้มีทุกวันนะครับ ... ให้บริการเฉพาะจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๐๖.๓๐ น. – ๐๙.๓๐ น. และ เวลา ๑๖.๓๐ น. – ๒๐.๓๐ น. เท่านั้น!! โดยมีความถี่ ๑๕ นาที ต่อขบวน
อ้าว ... แล้วถ้าไม่ได้มาช่วงเวลานั้นทำอย่างไรล่ะ?
ก็ต้องไปวิธีที่ ๒ นั่นคือ รถเมล์!! ทาง รฟม.ก็จัดรถโดยสารปรับอากาศให้บริการฟรีทุกวันตั้งแต่ ๐๖.๐๐ น. – ๒๔.๐๐ น.โดยมีรถให้บริการชุดละ ๓ คัน รวม ๕ ชุด วิ่งจากสถานี MRT เตาปูน ไปลงที่สถานี MRT บางซื่อ มีความถี่ ๖ – ๘ นาที ต่อชุด ใช้เวลาเดินทางขาไป เตาปูน – บางซื่อ ๗ นาที ส่วนขากลับใช้เวลา ๓ นาที อันนี้ตามที่เขาแจ้งมา แต่ในสภาพการจราจรจริงนี่ คาดว่าคงไม่ใช่...
มาถึงเรื่องสำคัญ ... ค่าโดยสาร
อัตราค่าโดยสารสตาร์ทที่ ๑๔ บาท เพิ่มป้ายละ ๓ บาท ไปสูงสุดที่ ๔๒ บาท หากจะเดินทางยาวต่อไปยังสายสีน้ำเงินสิ้นสุดที่หัวลำโพง ก็จะอยู่ที่ ๗๐ บาท โดยใช้วิธีคำนวนเอาค่าโดยสารสูงสุด ๔๒ บาท + ค่าโดยสารสถานีปลายทาง แล้วลบด้วยค่าแรกเข้า ๑๔ บาท พูดแล้วงงๆ สมมุติว่า นั่งจากคลองบางไผ่ มายังสถานี MRT สามย่าน ก็เอา ๔๒ + ๔๒ - ๑๔ ก็จะเท่ากับราคาค่าโดยสารนั้น
เมื่อมองถึงความคุ้มค่าในการใช้ของคนพื้นที่ละแวกนนทบุรีกันเอง ก็ต้องบอกเลยว่า ... ถ้าไม่รวย เอ๊ย ไม่รีบจริง คงไม่บ้าขึ้นแน่ๆ ครับ อย่างเส้นทางสถานีคลองบางไผ่ สู่สถานี ศูนย์ราชการนนทบุรี ราคาพี่ก็ล่อไปตั้ง ๔๐ บาท คาดว่าน่าจะใช้เวลาราวๆ ๑๕ นาทีถึง (หรืออาจจะเร็วกว่า) เมื่อเปรียบเทียบกับรถตู้โดยสารที่ให้บริการในราคา ๒๐ บาท (ลงป้ายศาลากลางจังหวัด หรือ เอสพละนาถ รัตนาธิเบศร์) และทำเวลาไม่ห่างกันมาก (ถ้ารถไม่ติดและไม่จอดแช่) ถ้าไม่ใช่ช่วงเร่งด่วนผมคงเลือกรถตู้โดยสารมากกว่า แถมยังสามารถนั่งต่อไปยังเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน หรือสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต ได้ด้วย เช่นเดียวกับเส้นทางใกล้ๆ ที่ดูยังไงรถไฟฟ้าก็ยังเป็นตัวเลือกท้ายๆ อยู่ดี หากยังคงราคามหาโหดเช่นนี้
แต่ในมุมกลับมันอาจเป็นทางเลือกสำคัญในเวลาเร่งด่วน โดยเฉพาะช่วงเช้าที่การจราจรบริเวณสี่แยกแครายแทบเป็นอัมพาต คนอาจจะยอมจ่ายตังค์ ๔๙ บาท จากสถานีคลองบางไผ่ เพื่อนั่งรถไฟฟ้าเชื่อมต่อไปยังสถานี MRT จตุจักร ที่น่าจะเร็วกว่ารถโดยสารธรรมดา ๑ เท่าตัว
เช่นเดียวกับการเดินทางจากเมืองนนท์ฯ สู่ย่านห้วยขวาง อโศก คลองเตย สีลม ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่สะดวกขึ้นทั้งคนเมืองและชาวปริมณฑล (ถ้าระบบเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามันสมบูรณ์นะ) ถ้าเทียบกับการนั่งแท๊กซี่จากบางบัวทองไปเที่ยวห้างเทอร์มินอล ๒๑ ตรงสถานีรถไฟฟ้าอโศก ก็ถือว่าเร็วและถูกกว่าด้วยซ้ำ
ยิ่งถ้าดูจากจำนวนสถานีบนถนนรัตนาธิเบศร์ ที่ดูถี่เกิ๊น รวมทั้งจุดจอดรถทั้ง ๔ จุด อย่างที่คลองบางไผ่ ก็คงเอาไว้รับคนจากบางบัวทอง ไทรน้อย ลาดหลุมแก้ว (ปทุมธานี) ,สถานี สามแยกบางใหญ่ ก็เป็นจุดจอดของชาวบางใหญ่ บางกรวย คนฝั่งธนบุรี ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา หรือแม้กระทั่ง บางเลน ศาลายา (นครปฐม) ส่วนสถานี บางรักน้อย ท่าอิฐ และสถานี แยกนนทบุรี ๑ ก็คงเพื่อรองรับชาวเมืองนนท์ฯ เป็นหลัก โครงการนี้คงมีความประสงค์ไว้ใช้ขนถ่ายคนตามหมู่บ้านต่างๆ จากชานเมืองเข้าสู่เมืองเป็นหลักมากกว่าจะเน้นไว้ใช้เดินทางกันเองภายในจังหวัดนนทบุรี
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ดูเหมือนทาง รฟม.จะมีผู้โดยสารหลักเพียงแค่ช่วงเช้า และ เย็นวันธรรมดาเท่านั้น กลางวันคงจะหงอยน่าดู ผมว่า ช่วงเวลานี้เองบรรดา องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลต่างๆ ที่รถไฟฟ้าผ่าน น่าจะใช้เป็นโอกาสในการดึงคนเมืองมาท่องเที่ยวในเขตของตนเองให้ได้ เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ... แต่ก็ไม่รู้พวกพี่ๆ เขาคิดกันหรือเปล่า ที่สำคัญจะหาอะไรมาขาย สร้างสิ่งใหม่ สร้างสิ่งเทียม หรือ บูรณะของเก่า ???
จริงๆ ก็สงสัยว่า ทำไมไม่ทำต่อมายัง ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย และ แยกไทรน้อย อ.บางบัวทอง เลยแฮะ ทั้งๆ ที่ เป็นเขตหมู่บ้านชุกชุมมากๆ ทั้งนั้น? อีกข้อที่โคตรสงสัยคือ ทำไมค่ารถไฟฟ้ามันถึงแพงจัง ถ้าเทียบกับของญี่ปุ่น (ขออนุญาตยกตัวอย่างอีกครั้ง) รถไฟฟ้าใต้ดินเฉพาะในเมืองค่าโดยสารสูงสุดก็น่าจะไม่ถึงข้าว ๑ จาน (๕๐๐ เยน) แต่บ้านเรานี่ราคาเท่ากับกระเพราหมูไข่ดาว กับน้ำแข็งเปล่าแก้วนึงเลย?
เอาเป็นว่า ถ้าใครอยากลองรถไฟฟ้าสายใหม่ก็อดใจรออีกสัปดาห์นิดๆ ๖ สิงหาคมนี้ ก็จะได้ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบแล้ว หวังว่านี่จะเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ใช้ถนนให้หลีกเลี่ยงการจราจรที่แออัดจนไม่ต้องตัดถนนเพิ่มได้บ้างก็ยังดี .. แต่ถ้าใครจะขึ้นเพื่อต่อไปยังสายสีน้ำเงินในช่วงที่ยังเชื่อมต่อไม่เสร็จนี้ เผื่อเวลา เผื่อใจไว้หน่อยก็ดีนะครับ