ความเดิมต่อที่แล้ว อ่าน
สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ ๑.๐ : เชียงใหม่ 3rd time.
สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ ๑.๑ : ควันหลงโคมลอย ที่ท่าแพ
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : ฮักเบด แอนด์ เบรกฟัสท์ โฮสเทล จ.เชียงใหม่
เช้าวันนี้ .... เดี๋ยวๆ เก้าโมงครึ่งนี่เขาไม่เรียกว่าเช้านะคุณดรงค์ ... อันที่จริงก็คือเพลียจัดจากอาการเมื่อยล้าโดยเฉพาะบริเวณข้อเท้าที่ใช้ปั่นจักรยานและเดิน เลยถือโอกาสนอนพักร่างให้นานไปหน่อย ไอ้ที่กะว่าจะไปดูตลาดเช้าแถวๆ นั้นก็เป็นอันโมฆะกันไป ตื่นมาก็เอาจักรยานไปคืนร้านเช่า แล้วกลับเข้ามาอาบน้ำ เก็บของ และเช็กเอาท์คืนเตียงที่พัก ซึ่งมีกำหนดเส้นตายที่ ๑๑ นาฬิกา
ที่พักของผมเป็นโฮสเทลแบบเตียง ๒ ชั้น อยู่บนชั้น ๓ ของอาคารพาณิชย์ที่ถูกตกแต่งให้กลายเป็นโรงแรม ในห้องนี้น่าจะบรรจุที่นอนไว้ราวๆ ๑๒ เตียงได้ จริงๆ ก่อนที่จองก็เสิร์ชหาห้องพักหลายเจ้า ส่วนใหญ่ในเมืองจะมีแต่ประเภทเตียง ๒ ชั้นแบบโครงเหล็ก หรือไม้ ไม่มีผ้าม่านปิดกั้นความเป็นส่วนตัวระหว่างหลับ และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งให้ผมเลือกพักกับเจ้านี้ เพราะเขามีผ้ากั้น อีกอย่างราคาค่อนข้างถูก ราคาต่อเตียงตอนที่จองผ่านเว็บไซต์บุ๊กกิ้งดอทคอมไม่ถึง ๓๐๐ บาทต่อคืน มีอาหารเช้า ไม่สิ เขาบอกว่ากินได้ทั้งวัน ซึ่งก็มีพวกขนมปัง กาแฟซอง ผลไม้ ให้ทาน
สภาพภายในชั้นนอนเป็นเตียงขนาด ๑ คนนอนได้ไม่อึดอัดนัก มีหมอน ผ้าห่ม ช่องวางของมีค่า พร้อมปลั๊กไฟให้เสียบใช้งาน ระบบความปลอดภัยเขาใช้คีย์การ์ดเข้าออกประตูด้านหน้าอาคาร มีกล้องวงจรปิดติดตั้งไว้หลายจุด ส่วนใต้เตียงชั้นล่างมีล็อกเกอร์ไว้เก็บสัมภาระ หรือของมีค่า ห้องน้ำเป็นแบบรวม มีห้องอาบ ๒ ห้อง และห้องสุขา ๑ ห้อง มีอ่างล้างหน้าอยู่ด้านหน้า และไดรฟ์เป่าผมให้ใช้ แต่เสียอย่างเดียวไม่มีสบู่ หรือ แชมพูให้ใช้ ต้องพกมาเอง
ตอนที่ตื่นมาผมแอบเปิดประตูระเบียงออกไปสูดอากาศหรือควันรถอันนี้ก็ไม่แน่ใจนัก แต่ตรงนี้เห็นคูเมืองพอดี และจังหวะนั้นเขาได้มีการนำเด็กนักเรียนมาเดินเก็บกระทงที่ตกค้างจากคืนวันลอยกระทงด้วย ในหอพักรวมนี่มีฝรั่งเยอะพอสมควร มีเอเชียอยู่บ้างอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อันนี้เท่าที่ได้คุยกัน พอเคลียร์สัมภาระเสร็จสิ้นทุกสิ่งก็ลงไปคืนกุญแจ แล้วฝากกระเป๋า ขอไปหาอะไรกินสักแว่บก่อนจะเดินทางไปยังเมืองอื่นต่อ
จุดหมายต่อไปของผมอยู่ที่ “พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์” แน่นอนว่าผมเคยมาแล้ว แต่ตอนนั้นคือมาแค่ถ่ายรูป แล้วไปไหน จำไม่ได้จริงๆ มาวันนี้ขอสำรวจพื้นที่สักหน่อย ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนัก โดยพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ ประกอบด้วยพระบรมรูปกษัตริย์ ๓ พระองค์ ผู้สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ คือ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ประทับกลางเป็นประธาน พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ประทับอยู่เบื้องซ้าย และ พญางำเมือง กษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา ประทับอยู่เบื้องขวา มีความสูง ๒.๗๐ เมตร ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๖ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๗
ต้องถือเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเลยก็ว่าได้ โดยด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันคือ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ นอกจากตรงนี้จะเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปแล้ว เขาว่าแถวนี้ก็มีของอร่อยเยอะนัก แต่ด้วยความที่แทบไม่ได้หาข้อมูลอะไรมามาก เลยต้องเดินสุ่มๆ ไปเรื่อย มาถนนเล็กๆ ตรงทางซ้ายของพระบรมราชานุสาวรีย์ เจอสิ่งก่อสร้างคล้ายวิหารอยู่ริมถนน ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานหลายองค์ แต่องค์พระประธานมีสีขาวล้วน
ซึ่งที่นี่ก็คือ “วัดอินทขีลสะดือเมือง” ครับ ตามประวัติว่า พญามังราย ทรงสร้างราว พ.ศ.๑๘๓๙ เพื่อเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองเชียงใหม่ หรือ อินทขีล ก่อนจะสร้างวัดขึ้น ต่อมาเมื่อพม่าเข้ายึดครองจึงกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๓๔๓ พระเจ้ากาวิละ ได้ขับไล่พม่าออกจากดินแดนและทำการฟื้นฟูเมือง โดยย้ายเสาหลักเมืองไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง แล้วสร้างวิหารคล่อมฐานเสาหลักเมืองเดิม ก่อนอัญเชิญพระอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่อขาว มาประดิษฐานเป็นพระประธาน แต่ต่อมาก็กลับกลายเป็นวัดร้างอีก โดยคาดการณ์ว่าได้ขาดการบูรณะตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ช่วงผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕
ปัจจุบันคงเหลือโบราณสถานไว้เพียงเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านหลังวิหาร และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ในรั้วของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งมีตำนานว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่พญามังรายต้องอัสนีบาตสวรรคต แล้วต่อมาพระยาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้ ส่วนวิหารหลังนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ตกแต่งตามศิลปะแบบล้านนาจนดูสวยงามเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ขณะที่พระอุ่นเมือง ก็ถูกจัดให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองซึ่งมีอายุยาวนานกว่า ๗๐๐ ปีเลยทีเดียว
นั่งไหว้พระขอพรเหมือนกับได้หยุดพักเหนื่อยสักนิดหน่อย ก่อนลุกขึ้นเดินทางต่อ ผมเลาะไปตามถนนข้างวิหารจนเจออาคารพาณิชย์หลายๆ ห้อง ดูท่าน่าจะมีร้านอาหารหลายๆ เจ้า ด้านหน้ามีรถยนต์จอดกันเต็มพื้นที่ สำรวจดูเขาขายข้าวมันไก่อยู่ใกล้กันราวๆ ๓ ร้าน ทั้งชื่อ เกียรติโอชา กฤชโอชา ไม่รู้ว่าเป็นญาติกันหรือเปล่า ดีนะไม่มีใครหัวใสมาเปิดร้านชื่อ จันทร์โอชา อยู่ข้างๆ ฮ่าๆ และอีกร้านชื่อ ศิริชัย เออ งงเหมือนกัน ก็เลยเลียบๆ เคียงๆ มองดูหลายๆ ร้านคนเยอะแยะ แล้วจะกินร้านไหนดีเนี่ย จะซัดทั้ง ๓ ร้านเลยดีมั้ย ว่าแล้วก็ตัดสินใจเข้ามันในร้านหัวมุมก่อนเลย
ร้านนี้มีป้ายเบ้อเริ่มเขียนว่า “ศิริชัย ข้าวมันไก่” ได้เชลล์ชวนชิมด้วย แต่ป้ายผ้าใบกันแดดหน้าร้านดันเขียนเน้นไปที่ข้าวซอยซะงั้น ไหนๆ ก็มาแล้วก็ต้องสั่งข้าวมันไก่ไม่หนังไม่เลือดมาสักจาน รอไม่นานก็ได้ทาน ไก่ต้มโปะเป็นชิ้นๆ น่าจะเป็นส่วนอก ก็เหมือนร้านทั่วไป แต่ไม่ได้แห้งนะ ส่วนข้าวมันเป็นเม็ดมีแฉะบ้างตามสภาพ น้ำจิ้มค่อนข้างหนักซีอิ้วดำ พอใส่ขิงสับแบบละเอียดสุดๆ ที่เขาวางไว้ให้ลงไปนี่โอ้โห รสชาติอร่อยขึ้นทันที น้ำซุปหวานนิดๆ ใส่ไชโป๊วสับด้วย โดยรวมก็อิ่มเลยครับ ๓๕ บาท ทานคู่กับน้ำชาของร้านนี่เข้ากันแท้
ว่าจะตระเวนชิมร้านที่ ๒ ต่อก็ไม่ไหวซะแล้ว เลยตัดสินใจกลับมาทางเดิม หยุดอยู่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ฝั่งตรงข้ามมีอาคารทรงยุโรป เห็นนักศึกษากำลังทำอะไรบางอย่าง ก็เลยเดินข้ามเข้าไปดู อ่อ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชื่อ “พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา” โอ้ ... น่าสนใจดีแหะ
แค่เห็นข้างหน้าก็ทำให้นึกถึงมิวเซียมสยาม แถววัดราชบพิธ ในเมืองกรุงเลย แล้วข้างในจะเป็นอย่างไรกันนะ
พอเดินเข้ามาในตัวอาคาร ๒ ชั้นก็จะเจอกับพนักงานต้อนรับ เขาดูยุ่งๆ กันนักผมก็เลยไม่ได้ถามอะไร เดิมดุ่มๆ ดูไปเรื่อยตามลูกศรที่เขาแปะไว้บนพื้นให้เดินตาม เริ่มตั้งแต่นิทรรศการหลักอย่าง ห้องโถงใหญ่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีทางพุทธศาสนาของชาวล้านนา โดยห้องแรกชื่อข่วงแก้วล้านนา ส่วนห้องที่อยู่คู่กันชื่อภายในวิหาร ก็จำลองลักษณะภายในวิหารของวัด
ที่เหลือในชั้นล่างก็จะมีห้องจัดแสดงเครื่องสักการะล้านนา อันนี้มีพวกเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา , ประติมากรรมล้านนา , แห่ครัวทาน นี่แสดงวิถีประเพณีพื้นบ้าน และห้องจิตรกรรมล้านนา ผมชอบห้องนี้สุดโดยเฉพาะการจำลองขั้นตอนการผลิตจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารที่เริ่มตั้งแต่อิฐก่อ ลงปูน ฉาบ ร่างภาพ และลงสี ที่บอกได้ว่ารายละเอียดอย่างนี้ถ้าไม่ได้เรียนมาก็หาชมการอธิบายให้เห็นภาพแบบนี้ได้ยากจริงๆ
ขึ้นมาบนชั้น ๒ ชั้นนี้เป็นเรื่องราวเครื่องปั้น เครื่องเขิน ,โซนหุ่นจำลองการจักสานทำมาหากินของชาวบ้าน ,ดนตรีกับวิถีชีวิต ,ผ้าล้านนา ซึ่งมีไฮไลท์ก็คือผ้าซิ่นตีนจกของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดมาเป็นห้องประวัติอาคาร แน่นอนครับที่นี่เคยเป็นศาลแขวงมาก่อน ฉะนั้นห้องนี้จึงจำลอง (หรือว่าของจริงวะ) บรรยากาศให้เหมือนกับอยู่ในห้องพิจารณาคดีในชั้นศาล ไหนๆ แล้วก็พูดถึงที่นี่สักเล็กน้อย แต่ก่อนพื้นที่นี้เคยเป็นคุ้มไม้สักของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ ก่อนจะถูกสร้างเป็นที่ทำงานของเจ้านายและข้าราชการในชื่อ "เค้าสนามหลวง" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ ก่อนจะย้ายไปใน พ.ศ.๒๔๖๒ พื้นที่ตรงนี้ก็เลยใช้ไปฝึกเสือป่าแทน
จากนั้นรัฐบาลได้ทำการซื้อที่ดินแปลงนี้จากเจ้าน้อยเลาแก้ว เพื่อสร้างเป็นศาลจังหวัดเชียงใหม่ หลายปีต่อมาที่นี่ก็ได้กลายเป็นศาลแขวงด้วย ก่อนจะย้ายศาลจังหวัดออกไป ทำให้อาคารหลังนี้ถูกใช้เป็นศาลแขวงอย่างเดียวจนกระทั่งในปี ๒๕๔๗ ศาลแขวงได้ย้ายไปอยู่อาคารใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่จึงขอใช้พื้นที่จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยเพิ่งแล้วเสร็จและเปิดให้ชมอย่างเป็นทางการเมื่อปี ๒๕๕๖ นี้เอง
และห้องสุดท้ายของนิทรรศการหลักบนชั้น ๒ มีชื่อว่า มหรรฆภัณฑ์ล้านนา จัดแสดงงานศิลป์ งานเครื่องสูงที่ใช้ในการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป ที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการย่อยตามห้องต่างๆ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องใช้ของชาวบ้านและชนชั้นสูงสมัยก่อนให้ได้ชมกันอีกด้วย
พอจะออกจากพิพิธภัณฑ์ผมก็เดินไปที่ประชาสัมพันธ์ เผื่อจะขอแผ่นพับมานั่งอ่านเล่น ปรากฏว่า ที่นี่ต้องเสียค่าเข้าชมด้วยครับ แบ่งเป็นคนไทย ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ถ้าต่างชาติ ๙๐ บาท อ้าว แล้ว ... ทำไมปล่อยให้ผมเข้าไปได้เลยซะงั้น หรือเขาอาจจะยังยุ่งๆ อยู่จริงๆ เลยมองไม่เห็นผมก็เป็นได้ ไอ้เราก็ไม่รู้ ก็เลยขอเข้าจ่ายค่าเข้าย้อนหลัง น้องพนักงานสาวก็เลยแนะนำให้ซื้อตั๋วเหมาเที่ยวได้ ๓ พิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ อันประกอบด้วยที่นี่ ,หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ด้านหลังศาลากลางเก่า เพียง ๔๐ บาท แถมมีอายุการใช้งานตั้ง ๗ วัน
แหม่... ทำเอาอยากจะควักสตางค์เพิ่มเลยจริงๆ แต่ถ้าเข้าชมทั้งหมดในวันนี้ก็คงจะตกรถเป็นแน่แท้ เลยบอกขอจ่ายแค่ค่าเข้าชมที่นี่พอแล้วกันนะ ก่อนจากน้องฝากบอกว่า ปีหน้า (๒๕๕๙) หอประวัติศาสตร์ฯ จะปิดปรับปรุงเพื่อทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม เราก็ตอบกลับเพียงว่า พอดีเลยงั้นพี่มาดูตอนมันเสร็จใหม่แล้วกันเนอะ ...
ว่าแล้วก็ออกเดินกันต่อ จุดหมายของผมคือประตูท่าแพ ไปอีกแล้ว ไปทำไม ไม่รู้เหมือนกัน เดินไปตามถนนพระปกเกล้าเรื่อยๆ จนถึงสี่แยกถ้าเลี้ยวขวาจะไปวัดเจดีย์หลวง ซึ่งเราเคยไปแล้ว ลองเดินตรงมาสักหน่อยก็จะได้เจอกับ “วัดพันเตา” ศาสนาสถานเก่าแก่อีกแห่งของเมืองเชียงใหม่ ตามประวัติว่า เดิมเป็นพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ส่วนชื่อของวัดนั้น สันนิษฐานกันว่า แต่เดิมถูกเรียกว่าวัดปันเต้า หมายถึงมาทำบุญเพียงหนึ่งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า แต่ภายหลังเพี้ยนเป็นพันเตา แต่บ้างก็ว่า น่าจะมาจากการที่วัดนี้เคยเป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา
ความโดดเด่นของวัดนี้แน่นอนคงหนีไม่พ้นวิหารที่อยู่ติดกับรั้วของวัด เป็นไม้สักทั้งหลังตามศิลปะแบบเชียงแสนนามว่า พระวิหารหอคำหลวง ซึ่งพระเจ้าอินทวิชชานันท์ ทรงกรุณาโปรดให้รื้อคุ้มหลวงที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ใน ราชวงศ์กาวิละ ลำดับที่ 5 ถวายตั้งเป็นพระวิหารของวัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ซึ่งภายในมีพระเจ้าปันเต้า เป็นพระพุทธรูปองค์ประธาน โดยด้านหลังพระวิหาร มีเจดีย์องค์ประธานของวัด ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม รายล้อมด้วยเหล่าเจดีย์รายอีกด้วย
สิ่งที่ผมรู้สึกว่าจะเป็นจุดเด่นอีกแห่งในวัดก็คือโซนที่เป็นเสมือนเกาะมีน้ำล้อมรอบ ภายในเกาะมีพระพุทธรูปอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ถูกประดับด้วยโคมไฟเต็มไปหมด ผมได้ข่าวมาว่าช่วงงานยี่เป็งที่ผ่านมาที่นี่มีพิธีจุดประทีปให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกันด้วย เสียดายที่มาไม่ทันเพราะเขาจัดจบไปแล้ว
จากวัดพันเตาเราไปกันที่จุดสุดท้ายของการอยู่ในเมืองวันนี้ นั่นคือประตูท่าแพ ผมเดินตามถนนราชดำเนินออกไปไม่นานนัก ระหว่างทางเห็นบางสถานที่ติดป้ายประกาศหนึ่งที่รู้สึกสะดุดตา .... ห้ามถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง!! เฮ้ย ... คือมีคนมาแอบใช้สถานที่เขาถ่ายกันมากมายขนาดนั้นเชียวหรือ ผมก็เคยได้ทราบข่าวมาเหมือนกันเกี่ยวกับเรื่องการห้าม แต่ก็ไม่คิดว่าจะติดป้ายกันขนาดนี้ แสดงว่ามันต้องมีเหตุมาแล้วแน่ๆ
เดินมาเรื่อยๆ ตามเส้นทางจนในที่สุดก็เห็นปลายทางอันเด่นชัดกับอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองอย่าง "ประตูท่าแพ" สิ่งที่เราอาจจะไม่ทราบก็คือ ประตูที่เห็นนี่เพิ่งถูกสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เองนะ ซึ่งทางเทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาในขนาดจำลอง โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งภาพประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ที่ถูกถ่ายขึ้นเมื่อปี ๒๔๒๒ และประตูท่าแพจริงๆ ไม่ใช่ที่แห่งนี้ แต่เป็นประตูแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ส่วน ณ จุดนี้เดิมชื่อว่า ประตูเชียงเรือก เป็นประตูเมืองชั้นใน ต่อมามีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกก็เลยเหลือแต่ประตูแห่งนี้ ประกอบกับมีการสันนิษฐานที่ว่า คำว่าเชียงเรือกอาจมีความหมายถึงเมืองเรือ ทำให้ชาวบ้านที่คุ้นกับคำว่าท่าแพใช้เรียกประตูนี้แทนในเวลาต่อมา
เท่าที่ยืนสังเกตผู้คนไปมาก็มีแต่นักท่องเที่ยวที่เดินผ่านกันเป็นส่วนใหญ่ และหลายคนมักจะหยุดถ่ายรูปกับกำแพง ซุ้มประตู เพื่อเป็นที่ระลึก ก็ไม่ต่างกับภาพอันชินตาบนถนนพระอาทิตย์ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินผ่านและต่างหยุดถ่ายรูปป้อมพระสุเมรุไปอวดให้ใครต่อใครได้เห็นความงามของสถาปัตยกรรมเก่าอันโดดเด่นท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
พูดถึงกาลเวลาก็เหลือบมองนาฬิกา ไอ้หยา...นี่มันจะบ่ายสามโมงแล้ว เดี๋ยวก็ไม่ทันรถกันพอดี เลยต้องรีบจรลีลี้ออกจากพื้นที่ กลับเข้าไปยังที่พักเพื่อเอากระเป๋าสัมภาระแบกเดินไปยังสถานีขนส่งที่อยู่ไม่ไกล ไปสู่การเดินทางในดินแดนแห่งใหม่ที่เรายังไม่เคยไป อย่าง อ.เชียงดาว ....
อ่านต่อฉบับหน้า...
ที่มาข้อมูลบางส่วน : http://www.lannacorner.cmu.ac.th/lanna2014/article.php?id=00210&group=1 , http://www.cmocity.com/lanna/indexhall02.html , http://magazine.culture.go.th/2013/4/index.html#/95 ,http://culture.mome.co/phantao/ , วิกิพีเดีย
สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ ๑.๐ : เชียงใหม่ 3rd time.
สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ ๑.๑ : ควันหลงโคมลอย ที่ท่าแพ
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : ฮักเบด แอนด์ เบรกฟัสท์ โฮสเทล จ.เชียงใหม่
เช้าวันนี้ .... เดี๋ยวๆ เก้าโมงครึ่งนี่เขาไม่เรียกว่าเช้านะคุณดรงค์ ... อันที่จริงก็คือเพลียจัดจากอาการเมื่อยล้าโดยเฉพาะบริเวณข้อเท้าที่ใช้ปั่นจักรยานและเดิน เลยถือโอกาสนอนพักร่างให้นานไปหน่อย ไอ้ที่กะว่าจะไปดูตลาดเช้าแถวๆ นั้นก็เป็นอันโมฆะกันไป ตื่นมาก็เอาจักรยานไปคืนร้านเช่า แล้วกลับเข้ามาอาบน้ำ เก็บของ และเช็กเอาท์คืนเตียงที่พัก ซึ่งมีกำหนดเส้นตายที่ ๑๑ นาฬิกา
ที่พักของผมเป็นโฮสเทลแบบเตียง ๒ ชั้น อยู่บนชั้น ๓ ของอาคารพาณิชย์ที่ถูกตกแต่งให้กลายเป็นโรงแรม ในห้องนี้น่าจะบรรจุที่นอนไว้ราวๆ ๑๒ เตียงได้ จริงๆ ก่อนที่จองก็เสิร์ชหาห้องพักหลายเจ้า ส่วนใหญ่ในเมืองจะมีแต่ประเภทเตียง ๒ ชั้นแบบโครงเหล็ก หรือไม้ ไม่มีผ้าม่านปิดกั้นความเป็นส่วนตัวระหว่างหลับ และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งให้ผมเลือกพักกับเจ้านี้ เพราะเขามีผ้ากั้น อีกอย่างราคาค่อนข้างถูก ราคาต่อเตียงตอนที่จองผ่านเว็บไซต์บุ๊กกิ้งดอทคอมไม่ถึง ๓๐๐ บาทต่อคืน มีอาหารเช้า ไม่สิ เขาบอกว่ากินได้ทั้งวัน ซึ่งก็มีพวกขนมปัง กาแฟซอง ผลไม้ ให้ทาน
สภาพภายในชั้นนอนเป็นเตียงขนาด ๑ คนนอนได้ไม่อึดอัดนัก มีหมอน ผ้าห่ม ช่องวางของมีค่า พร้อมปลั๊กไฟให้เสียบใช้งาน ระบบความปลอดภัยเขาใช้คีย์การ์ดเข้าออกประตูด้านหน้าอาคาร มีกล้องวงจรปิดติดตั้งไว้หลายจุด ส่วนใต้เตียงชั้นล่างมีล็อกเกอร์ไว้เก็บสัมภาระ หรือของมีค่า ห้องน้ำเป็นแบบรวม มีห้องอาบ ๒ ห้อง และห้องสุขา ๑ ห้อง มีอ่างล้างหน้าอยู่ด้านหน้า และไดรฟ์เป่าผมให้ใช้ แต่เสียอย่างเดียวไม่มีสบู่ หรือ แชมพูให้ใช้ ต้องพกมาเอง
ตอนที่ตื่นมาผมแอบเปิดประตูระเบียงออกไปสูดอากาศหรือควันรถอันนี้ก็ไม่แน่ใจนัก แต่ตรงนี้เห็นคูเมืองพอดี และจังหวะนั้นเขาได้มีการนำเด็กนักเรียนมาเดินเก็บกระทงที่ตกค้างจากคืนวันลอยกระทงด้วย ในหอพักรวมนี่มีฝรั่งเยอะพอสมควร มีเอเชียอยู่บ้างอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อันนี้เท่าที่ได้คุยกัน พอเคลียร์สัมภาระเสร็จสิ้นทุกสิ่งก็ลงไปคืนกุญแจ แล้วฝากกระเป๋า ขอไปหาอะไรกินสักแว่บก่อนจะเดินทางไปยังเมืองอื่นต่อ
จุดหมายต่อไปของผมอยู่ที่ “พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์” แน่นอนว่าผมเคยมาแล้ว แต่ตอนนั้นคือมาแค่ถ่ายรูป แล้วไปไหน จำไม่ได้จริงๆ มาวันนี้ขอสำรวจพื้นที่สักหน่อย ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนัก โดยพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ ประกอบด้วยพระบรมรูปกษัตริย์ ๓ พระองค์ ผู้สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ คือ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ประทับกลางเป็นประธาน พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ประทับอยู่เบื้องซ้าย และ พญางำเมือง กษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา ประทับอยู่เบื้องขวา มีความสูง ๒.๗๐ เมตร ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๖ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๗
ต้องถือเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเลยก็ว่าได้ โดยด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันคือ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ นอกจากตรงนี้จะเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปแล้ว เขาว่าแถวนี้ก็มีของอร่อยเยอะนัก แต่ด้วยความที่แทบไม่ได้หาข้อมูลอะไรมามาก เลยต้องเดินสุ่มๆ ไปเรื่อย มาถนนเล็กๆ ตรงทางซ้ายของพระบรมราชานุสาวรีย์ เจอสิ่งก่อสร้างคล้ายวิหารอยู่ริมถนน ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานหลายองค์ แต่องค์พระประธานมีสีขาวล้วน
ซึ่งที่นี่ก็คือ “วัดอินทขีลสะดือเมือง” ครับ ตามประวัติว่า พญามังราย ทรงสร้างราว พ.ศ.๑๘๓๙ เพื่อเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองเชียงใหม่ หรือ อินทขีล ก่อนจะสร้างวัดขึ้น ต่อมาเมื่อพม่าเข้ายึดครองจึงกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๓๔๓ พระเจ้ากาวิละ ได้ขับไล่พม่าออกจากดินแดนและทำการฟื้นฟูเมือง โดยย้ายเสาหลักเมืองไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง แล้วสร้างวิหารคล่อมฐานเสาหลักเมืองเดิม ก่อนอัญเชิญพระอุ่นเมือง หรือ หลวงพ่อขาว มาประดิษฐานเป็นพระประธาน แต่ต่อมาก็กลับกลายเป็นวัดร้างอีก โดยคาดการณ์ว่าได้ขาดการบูรณะตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ช่วงผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕
ปัจจุบันคงเหลือโบราณสถานไว้เพียงเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ด้านหลังวิหาร และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ในรั้วของศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งมีตำนานว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่พญามังรายต้องอัสนีบาตสวรรคต แล้วต่อมาพระยาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้ ส่วนวิหารหลังนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่ตกแต่งตามศิลปะแบบล้านนาจนดูสวยงามเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ขณะที่พระอุ่นเมือง ก็ถูกจัดให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองซึ่งมีอายุยาวนานกว่า ๗๐๐ ปีเลยทีเดียว
นั่งไหว้พระขอพรเหมือนกับได้หยุดพักเหนื่อยสักนิดหน่อย ก่อนลุกขึ้นเดินทางต่อ ผมเลาะไปตามถนนข้างวิหารจนเจออาคารพาณิชย์หลายๆ ห้อง ดูท่าน่าจะมีร้านอาหารหลายๆ เจ้า ด้านหน้ามีรถยนต์จอดกันเต็มพื้นที่ สำรวจดูเขาขายข้าวมันไก่อยู่ใกล้กันราวๆ ๓ ร้าน ทั้งชื่อ เกียรติโอชา กฤชโอชา ไม่รู้ว่าเป็นญาติกันหรือเปล่า ดีนะไม่มีใครหัวใสมาเปิดร้านชื่อ จันทร์โอชา อยู่ข้างๆ ฮ่าๆ และอีกร้านชื่อ ศิริชัย เออ งงเหมือนกัน ก็เลยเลียบๆ เคียงๆ มองดูหลายๆ ร้านคนเยอะแยะ แล้วจะกินร้านไหนดีเนี่ย จะซัดทั้ง ๓ ร้านเลยดีมั้ย ว่าแล้วก็ตัดสินใจเข้ามันในร้านหัวมุมก่อนเลย
ร้านนี้มีป้ายเบ้อเริ่มเขียนว่า “ศิริชัย ข้าวมันไก่” ได้เชลล์ชวนชิมด้วย แต่ป้ายผ้าใบกันแดดหน้าร้านดันเขียนเน้นไปที่ข้าวซอยซะงั้น ไหนๆ ก็มาแล้วก็ต้องสั่งข้าวมันไก่ไม่หนังไม่เลือดมาสักจาน รอไม่นานก็ได้ทาน ไก่ต้มโปะเป็นชิ้นๆ น่าจะเป็นส่วนอก ก็เหมือนร้านทั่วไป แต่ไม่ได้แห้งนะ ส่วนข้าวมันเป็นเม็ดมีแฉะบ้างตามสภาพ น้ำจิ้มค่อนข้างหนักซีอิ้วดำ พอใส่ขิงสับแบบละเอียดสุดๆ ที่เขาวางไว้ให้ลงไปนี่โอ้โห รสชาติอร่อยขึ้นทันที น้ำซุปหวานนิดๆ ใส่ไชโป๊วสับด้วย โดยรวมก็อิ่มเลยครับ ๓๕ บาท ทานคู่กับน้ำชาของร้านนี่เข้ากันแท้
ว่าจะตระเวนชิมร้านที่ ๒ ต่อก็ไม่ไหวซะแล้ว เลยตัดสินใจกลับมาทางเดิม หยุดอยู่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ ฝั่งตรงข้ามมีอาคารทรงยุโรป เห็นนักศึกษากำลังทำอะไรบางอย่าง ก็เลยเดินข้ามเข้าไปดู อ่อ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชื่อ “พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา” โอ้ ... น่าสนใจดีแหะ
แค่เห็นข้างหน้าก็ทำให้นึกถึงมิวเซียมสยาม แถววัดราชบพิธ ในเมืองกรุงเลย แล้วข้างในจะเป็นอย่างไรกันนะ
พอเดินเข้ามาในตัวอาคาร ๒ ชั้นก็จะเจอกับพนักงานต้อนรับ เขาดูยุ่งๆ กันนักผมก็เลยไม่ได้ถามอะไร เดิมดุ่มๆ ดูไปเรื่อยตามลูกศรที่เขาแปะไว้บนพื้นให้เดินตาม เริ่มตั้งแต่นิทรรศการหลักอย่าง ห้องโถงใหญ่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีทางพุทธศาสนาของชาวล้านนา โดยห้องแรกชื่อข่วงแก้วล้านนา ส่วนห้องที่อยู่คู่กันชื่อภายในวิหาร ก็จำลองลักษณะภายในวิหารของวัด
ที่เหลือในชั้นล่างก็จะมีห้องจัดแสดงเครื่องสักการะล้านนา อันนี้มีพวกเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา , ประติมากรรมล้านนา , แห่ครัวทาน นี่แสดงวิถีประเพณีพื้นบ้าน และห้องจิตรกรรมล้านนา ผมชอบห้องนี้สุดโดยเฉพาะการจำลองขั้นตอนการผลิตจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารที่เริ่มตั้งแต่อิฐก่อ ลงปูน ฉาบ ร่างภาพ และลงสี ที่บอกได้ว่ารายละเอียดอย่างนี้ถ้าไม่ได้เรียนมาก็หาชมการอธิบายให้เห็นภาพแบบนี้ได้ยากจริงๆ
ขึ้นมาบนชั้น ๒ ชั้นนี้เป็นเรื่องราวเครื่องปั้น เครื่องเขิน ,โซนหุ่นจำลองการจักสานทำมาหากินของชาวบ้าน ,ดนตรีกับวิถีชีวิต ,ผ้าล้านนา ซึ่งมีไฮไลท์ก็คือผ้าซิ่นตีนจกของเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดมาเป็นห้องประวัติอาคาร แน่นอนครับที่นี่เคยเป็นศาลแขวงมาก่อน ฉะนั้นห้องนี้จึงจำลอง (หรือว่าของจริงวะ) บรรยากาศให้เหมือนกับอยู่ในห้องพิจารณาคดีในชั้นศาล ไหนๆ แล้วก็พูดถึงที่นี่สักเล็กน้อย แต่ก่อนพื้นที่นี้เคยเป็นคุ้มไม้สักของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ ก่อนจะถูกสร้างเป็นที่ทำงานของเจ้านายและข้าราชการในชื่อ "เค้าสนามหลวง" เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓ ก่อนจะย้ายไปใน พ.ศ.๒๔๖๒ พื้นที่ตรงนี้ก็เลยใช้ไปฝึกเสือป่าแทน
จากนั้นรัฐบาลได้ทำการซื้อที่ดินแปลงนี้จากเจ้าน้อยเลาแก้ว เพื่อสร้างเป็นศาลจังหวัดเชียงใหม่ หลายปีต่อมาที่นี่ก็ได้กลายเป็นศาลแขวงด้วย ก่อนจะย้ายศาลจังหวัดออกไป ทำให้อาคารหลังนี้ถูกใช้เป็นศาลแขวงอย่างเดียวจนกระทั่งในปี ๒๕๔๗ ศาลแขวงได้ย้ายไปอยู่อาคารใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่จึงขอใช้พื้นที่จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยเพิ่งแล้วเสร็จและเปิดให้ชมอย่างเป็นทางการเมื่อปี ๒๕๕๖ นี้เอง
และห้องสุดท้ายของนิทรรศการหลักบนชั้น ๒ มีชื่อว่า มหรรฆภัณฑ์ล้านนา จัดแสดงงานศิลป์ งานเครื่องสูงที่ใช้ในการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป ที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการย่อยตามห้องต่างๆ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องใช้ของชาวบ้านและชนชั้นสูงสมัยก่อนให้ได้ชมกันอีกด้วย
พอจะออกจากพิพิธภัณฑ์ผมก็เดินไปที่ประชาสัมพันธ์ เผื่อจะขอแผ่นพับมานั่งอ่านเล่น ปรากฏว่า ที่นี่ต้องเสียค่าเข้าชมด้วยครับ แบ่งเป็นคนไทย ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท ถ้าต่างชาติ ๙๐ บาท อ้าว แล้ว ... ทำไมปล่อยให้ผมเข้าไปได้เลยซะงั้น หรือเขาอาจจะยังยุ่งๆ อยู่จริงๆ เลยมองไม่เห็นผมก็เป็นได้ ไอ้เราก็ไม่รู้ ก็เลยขอเข้าจ่ายค่าเข้าย้อนหลัง น้องพนักงานสาวก็เลยแนะนำให้ซื้อตั๋วเหมาเที่ยวได้ ๓ พิพิธภัณฑ์ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ อันประกอบด้วยที่นี่ ,หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ที่อยู่ด้านหลังศาลากลางเก่า เพียง ๔๐ บาท แถมมีอายุการใช้งานตั้ง ๗ วัน
แหม่... ทำเอาอยากจะควักสตางค์เพิ่มเลยจริงๆ แต่ถ้าเข้าชมทั้งหมดในวันนี้ก็คงจะตกรถเป็นแน่แท้ เลยบอกขอจ่ายแค่ค่าเข้าชมที่นี่พอแล้วกันนะ ก่อนจากน้องฝากบอกว่า ปีหน้า (๒๕๕๙) หอประวัติศาสตร์ฯ จะปิดปรับปรุงเพื่อทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม เราก็ตอบกลับเพียงว่า พอดีเลยงั้นพี่มาดูตอนมันเสร็จใหม่แล้วกันเนอะ ...
ว่าแล้วก็ออกเดินกันต่อ จุดหมายของผมคือประตูท่าแพ ไปอีกแล้ว ไปทำไม ไม่รู้เหมือนกัน เดินไปตามถนนพระปกเกล้าเรื่อยๆ จนถึงสี่แยกถ้าเลี้ยวขวาจะไปวัดเจดีย์หลวง ซึ่งเราเคยไปแล้ว ลองเดินตรงมาสักหน่อยก็จะได้เจอกับ “วัดพันเตา” ศาสนาสถานเก่าแก่อีกแห่งของเมืองเชียงใหม่ ตามประวัติว่า เดิมเป็นพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัด ส่วนชื่อของวัดนั้น สันนิษฐานกันว่า แต่เดิมถูกเรียกว่าวัดปันเต้า หมายถึงมาทำบุญเพียงหนึ่งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า แต่ภายหลังเพี้ยนเป็นพันเตา แต่บ้างก็ว่า น่าจะมาจากการที่วัดนี้เคยเป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา
ความโดดเด่นของวัดนี้แน่นอนคงหนีไม่พ้นวิหารที่อยู่ติดกับรั้วของวัด เป็นไม้สักทั้งหลังตามศิลปะแบบเชียงแสนนามว่า พระวิหารหอคำหลวง ซึ่งพระเจ้าอินทวิชชานันท์ ทรงกรุณาโปรดให้รื้อคุ้มหลวงที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ใน ราชวงศ์กาวิละ ลำดับที่ 5 ถวายตั้งเป็นพระวิหารของวัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๙ ซึ่งภายในมีพระเจ้าปันเต้า เป็นพระพุทธรูปองค์ประธาน โดยด้านหลังพระวิหาร มีเจดีย์องค์ประธานของวัด ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม รายล้อมด้วยเหล่าเจดีย์รายอีกด้วย
สิ่งที่ผมรู้สึกว่าจะเป็นจุดเด่นอีกแห่งในวัดก็คือโซนที่เป็นเสมือนเกาะมีน้ำล้อมรอบ ภายในเกาะมีพระพุทธรูปอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ถูกประดับด้วยโคมไฟเต็มไปหมด ผมได้ข่าวมาว่าช่วงงานยี่เป็งที่ผ่านมาที่นี่มีพิธีจุดประทีปให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกันด้วย เสียดายที่มาไม่ทันเพราะเขาจัดจบไปแล้ว
จากวัดพันเตาเราไปกันที่จุดสุดท้ายของการอยู่ในเมืองวันนี้ นั่นคือประตูท่าแพ ผมเดินตามถนนราชดำเนินออกไปไม่นานนัก ระหว่างทางเห็นบางสถานที่ติดป้ายประกาศหนึ่งที่รู้สึกสะดุดตา .... ห้ามถ่ายรูปพรีเวดดิ้ง!! เฮ้ย ... คือมีคนมาแอบใช้สถานที่เขาถ่ายกันมากมายขนาดนั้นเชียวหรือ ผมก็เคยได้ทราบข่าวมาเหมือนกันเกี่ยวกับเรื่องการห้าม แต่ก็ไม่คิดว่าจะติดป้ายกันขนาดนี้ แสดงว่ามันต้องมีเหตุมาแล้วแน่ๆ
เดินมาเรื่อยๆ ตามเส้นทางจนในที่สุดก็เห็นปลายทางอันเด่นชัดกับอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองอย่าง "ประตูท่าแพ" สิ่งที่เราอาจจะไม่ทราบก็คือ ประตูที่เห็นนี่เพิ่งถูกสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ เองนะ ซึ่งทางเทศบาลนครเชียงใหม่และกรมศิลปากรได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาในขนาดจำลอง โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งภาพประตูเมืองเชียงใหม่ประตูหนึ่ง ที่ถูกถ่ายขึ้นเมื่อปี ๒๔๒๒ และประตูท่าแพจริงๆ ไม่ใช่ที่แห่งนี้ แต่เป็นประตูแนวกำแพงเมืองชั้นนอก ส่วน ณ จุดนี้เดิมชื่อว่า ประตูเชียงเรือก เป็นประตูเมืองชั้นใน ต่อมามีการรื้อแนวกำแพงชั้นนอกก็เลยเหลือแต่ประตูแห่งนี้ ประกอบกับมีการสันนิษฐานที่ว่า คำว่าเชียงเรือกอาจมีความหมายถึงเมืองเรือ ทำให้ชาวบ้านที่คุ้นกับคำว่าท่าแพใช้เรียกประตูนี้แทนในเวลาต่อมา
เท่าที่ยืนสังเกตผู้คนไปมาก็มีแต่นักท่องเที่ยวที่เดินผ่านกันเป็นส่วนใหญ่ และหลายคนมักจะหยุดถ่ายรูปกับกำแพง ซุ้มประตู เพื่อเป็นที่ระลึก ก็ไม่ต่างกับภาพอันชินตาบนถนนพระอาทิตย์ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินผ่านและต่างหยุดถ่ายรูปป้อมพระสุเมรุไปอวดให้ใครต่อใครได้เห็นความงามของสถาปัตยกรรมเก่าอันโดดเด่นท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
พูดถึงกาลเวลาก็เหลือบมองนาฬิกา ไอ้หยา...นี่มันจะบ่ายสามโมงแล้ว เดี๋ยวก็ไม่ทันรถกันพอดี เลยต้องรีบจรลีลี้ออกจากพื้นที่ กลับเข้าไปยังที่พักเพื่อเอากระเป๋าสัมภาระแบกเดินไปยังสถานีขนส่งที่อยู่ไม่ไกล ไปสู่การเดินทางในดินแดนแห่งใหม่ที่เรายังไม่เคยไป อย่าง อ.เชียงดาว ....
อ่านต่อฉบับหน้า...
ที่มาข้อมูลบางส่วน : http://www.lannacorner.cmu.ac.th/lanna2014/article.php?id=00210&group=1 , http://www.cmocity.com/lanna/indexhall02.html , http://magazine.culture.go.th/2013/4/index.html#/95 ,http://culture.mome.co/phantao/ , วิกิพีเดีย