เข้าสู่เดือนธันวาคมเดือนสุดท้ายของปี เดือนที่มีวันหยุดหลายวันทั้งต้นเดือนและปลายเดือน ใกล้ช่วงเทศกาลปีใหม่ ใกล้วันหยุดยาว หลายคนวางแผนไปเที่ยว หลายคนวางแผนพักผ่อน ไปสวีทกับแฟน ไปสนุกกับครอบครัว
มีเพื่อนคนหนึ่งถามผมว่าแล้วผมละทำอะไรช่วงปีใหม่ช่วงวันหยุดยาว คำตอบของคำถามมันไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรหรอกครับ แต่ประเด็นคือเพื่อนผมคนนี้เป็นคนที่ชอบวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์มาก การสนทนาระหว่างเขากับผม เป็นที่มาของบทความในวันนี้
พักหลังๆมีคนพูดถึงสโลว์ไลฟ์กันมาก นิยามความหมายก็แตกต่างกันออกไป ก่อนหน้านี้ โน้ส อุดม ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่าเขาพูดว่า “ผมอยากจะบอกเลยว่าอย่าเพิ่งมาดัดจริตสโลว์ไลฟ์ เพราะคุณเพิ่งเรียนจบกันมาหมาดๆ ชีวิตต้องรีบก่อนเลย ต้องขยันทำงานหนักก่อน ก่อนที่จะมานั่งชิล ใช้ของแพงๆ ใช้ของที่ดูเหมือนง่าย ชีวิตที่ใช้กับชีวิตที่โชว์อันเดียวกันหรือเปล่าไม่รู้นะ แต่คุณผ่านการทำงานหนักหรือยัง
ถ้ายังไม่เคยผ่านอย่ามาโชว์สโลว์ไลฟ์ใส่กัน จะมานั่งจิบกาแฟ Drip ใส่กัน กาแฟถ้วยนึงราคาเท่าไร แล้วคุณหาเงินได้วันละเท่าไร คนที่ทำแบบนั้นจำเมืองนอกเขามา เพราะเขารวยแล้ว ญี่ปุ่นเขารวยแล้ว คุณยังไม่มีกิน อย่าเพิ่งดัดจริตสโลว์ไลฟ์ โอเคไหม มันต้องขยัน ผมขยัน ถ้าจะยืนยันทำสิ่งเดิม คุณก็จะเป็นฮิปสเตอร์ที่ยังนั่งจิบกาแฟแบบนี้ไปเรื่อยๆ คุณจะเป็นฮิปสเตอร์คนเดิมที่ผมหงอกขึ้น แต่ชีวิตไม่มีอะไรเลย มีแต่ความเท่ห์ไว้พูดกัน…”
แถมยังยกตัวอย่างสัตว์หน้าตาแปลกๆอย่างสล็อต ที่ใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า เนิบๆเอื่อยๆก็คิดดูละครับว่ามันสามารถนอนได้ 18ชม. และขยับตัว1-2 เมตรในเวลา 1 นาที วิถีสโลว์ไลฟ์นี้ของโน้ส อุดมออกแนวไม่ทำงาน นั่งชิลๆ จิบกาแฟ ใช้ของแพง คำพูดในเดี่ยวไมโครโฟนจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์
ที่มาของความหมายการใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ที่แพร่หลายไปทั่วในโลกโซเชียลมีเดียมีหลายคน เช่น ลีโอ บาบัวต้า เป็นบล็อกเกอร์และนักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันเชื้อสายกวม เขาเป็นผู้ก่อตั้งเว็บบล็อก Zen Habits ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 240,000 คนเลยทีเดียว ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ให้เป็นเว็บบล็อกยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกประจำปี 2010 เลยทีเดียว
ต่อมาคาร์ล โอนอเร นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ชาวแคนาดา เจ้าของหนังสือ In Praise of Slowness (แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น :ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตเนิบช้า) ซึ่งชายคนนี้ละครับที่นำความสโลว์ไลฟ์มาสู่โลกกว้าง
นอกจากสังคมตะวันตกแล้ว ในสังคมตะวันออกอย่างญี่ปุ่น ซึ่งชีวิตเร่งรีบมาก มีกระแสสโลว์ไลฟ์ และความพยายามสร้างเมืองแบบ Slow life city ขึ้นที่เมืองคะเคะงะวะ (Kakegawa-shi) จังหวัดชิซุโอกะ (Shizuoka-ken) โดยกำหนดเทศบัญญัติการพัฒนาเมืองกันเลยทีเดียวครับ
ผมว่าการใช้ชีวิตเร่งรีบส่วนใหญ่เป็นชีวิตในสังคมเมือง เป็นสังคมหลังการพัฒนาอุตสาหหกรรม การผลิตสินค้าด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และบริโภคนิยมขยายตัวครอบงำไปทั่วโลก
ชีวิตคนในเมืองเร่งรีบทุกภารกิจ จนเครียดอ่อนล้าหนักเข้า หลายคนมีคำถามกับชีวิตแบบนี้ อยากหนีห่างจากชีวิตเร่งรีบที่ทำลายความสุข ไม่มีเวลาให้ใส่ใจครอบครัวคนรอบข้าง ไม่มีเวลาชื่นชมความงามธรรมชาติรอบตัว ไม่มีเวลากินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อยากใช้ชีวิตที่แตกต่างสวนทางกับวิถีชีวิตเร่งรีบแบบเดิม ไปหาชีวิตที่ช้าลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่ามีความสุขมากกว่า เป็นสโลว์ไลฟ์ เป็นกระแสตีกลับ
วิถีชีวิตแบบช้าๆ ไม่ได้หมายความว่า ใช้ชีวิตแบบเฉื่อยๆ ขี้เกียจ ไม่ทำการทำงานนอนทอดหุ่ย แต่หมายถึง การใช้ชีวิตที่ย้อนกลับไปสู่ความเรียบง่าย ไม่เร่งรีบ ถอยห่างจากระบบอุตสาหกรรมและโลกทุนนิยม หันมาใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อม หันมากินอาหารที่ใส่ใจสุขภาพ ปลูกผักกินเองปรุงอาหารเอง เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง ดูแลใส่ใจคนในครอบครัวและชุมชน ใช้ชีวิตอย่างเพลิดเพลินมีความสุข
มีคนนิยามสโลว์ไลฟ์ เป็นเหมือนหลักการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีความสุขท่ามกลางสังคมที่รีบเร่งโดยมีหลักการ 9 ข้อด้วยกัน
1. คือรู้จักโฟกัสมากขึ้นและทำอะไรให้น้อยลง
2. ต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น
3. ใช้ชีวิตโลว์เทค ปิดมือถือและอุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่างในช่วงวันหยุด
4. ใส่ใจเพื่อนฝูง, ครอบครัว และคนรอบข้างให้มากขึ้น
5. หันมาชื่นชมกับความงดงามของธรรมชาติ ทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างการเดิน, ว่ายน้ำและขี่จักรยาน
6. การรับประทานอาหารให้ช้าลง โดยค่อยๆ เคี้ยวเพื่อรับรู้รสสัมผัสความอร่อยของอาหารแต่ละเมนู
7. ขับรถให้ช้าลงลดความเครียดและอาจเปิดเพลงคลอเบาๆ
8. มีความสุขง่ายๆ และรื่นรมย์กับทุกอย่างที่พบเจอ
9. ขจัดความเครียดด้วยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ กำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
คำนิยามเหล่านี้มองๆดูก็เป็นวิถีแห่งพุทธศาสนาดีๆนี่เองละครับ กล่าวคือทำอะไรก็ตามขอให้มีสติและสมาธิให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนบางคนบอกว่าสโลว์ไลฟง่ายๆด้วยการไปเที่ยวทะเล ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปเดินป่า ฯลฯ ก็แล้วแต่ใจชอบของแต่ละคน
นอกจากการใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์แล้ว มีหลายอย่างสโลว์ตามมาอีกด้วย เช่น สโลว์ฟู๊ด ที่ว่าด้วยการกินอาหารช้าๆ ปรุงอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ ได้คุณค่าทางอาหารกว่าพวกฟาสต์ฟู๊ด หรือคำว่าสโลว์ฟิช หมายถึงการทำประมงเชิงอนุรักษ์ไม่ทำลายธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ฯลฯ
ใครจะเลือกวิถีสโลว์ไลฟ์แบบไหน ขึ้นอยู่กับวิธีคิดและเงื่อนไขของแต่ละคนครับ ใช้ชีวิตกันอย่างมีสติ ใช้วันหยุดอย่างปลอดภัยมีความสุขกันนะครับ
มีเพื่อนคนหนึ่งถามผมว่าแล้วผมละทำอะไรช่วงปีใหม่ช่วงวันหยุดยาว คำตอบของคำถามมันไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรหรอกครับ แต่ประเด็นคือเพื่อนผมคนนี้เป็นคนที่ชอบวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์มาก การสนทนาระหว่างเขากับผม เป็นที่มาของบทความในวันนี้
พักหลังๆมีคนพูดถึงสโลว์ไลฟ์กันมาก นิยามความหมายก็แตกต่างกันออกไป ก่อนหน้านี้ โน้ส อุดม ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่าเขาพูดว่า “ผมอยากจะบอกเลยว่าอย่าเพิ่งมาดัดจริตสโลว์ไลฟ์ เพราะคุณเพิ่งเรียนจบกันมาหมาดๆ ชีวิตต้องรีบก่อนเลย ต้องขยันทำงานหนักก่อน ก่อนที่จะมานั่งชิล ใช้ของแพงๆ ใช้ของที่ดูเหมือนง่าย ชีวิตที่ใช้กับชีวิตที่โชว์อันเดียวกันหรือเปล่าไม่รู้นะ แต่คุณผ่านการทำงานหนักหรือยัง
ถ้ายังไม่เคยผ่านอย่ามาโชว์สโลว์ไลฟ์ใส่กัน จะมานั่งจิบกาแฟ Drip ใส่กัน กาแฟถ้วยนึงราคาเท่าไร แล้วคุณหาเงินได้วันละเท่าไร คนที่ทำแบบนั้นจำเมืองนอกเขามา เพราะเขารวยแล้ว ญี่ปุ่นเขารวยแล้ว คุณยังไม่มีกิน อย่าเพิ่งดัดจริตสโลว์ไลฟ์ โอเคไหม มันต้องขยัน ผมขยัน ถ้าจะยืนยันทำสิ่งเดิม คุณก็จะเป็นฮิปสเตอร์ที่ยังนั่งจิบกาแฟแบบนี้ไปเรื่อยๆ คุณจะเป็นฮิปสเตอร์คนเดิมที่ผมหงอกขึ้น แต่ชีวิตไม่มีอะไรเลย มีแต่ความเท่ห์ไว้พูดกัน…”
แถมยังยกตัวอย่างสัตว์หน้าตาแปลกๆอย่างสล็อต ที่ใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า เนิบๆเอื่อยๆก็คิดดูละครับว่ามันสามารถนอนได้ 18ชม. และขยับตัว1-2 เมตรในเวลา 1 นาที วิถีสโลว์ไลฟ์นี้ของโน้ส อุดมออกแนวไม่ทำงาน นั่งชิลๆ จิบกาแฟ ใช้ของแพง คำพูดในเดี่ยวไมโครโฟนจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์
ที่มาของความหมายการใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ที่แพร่หลายไปทั่วในโลกโซเชียลมีเดียมีหลายคน เช่น ลีโอ บาบัวต้า เป็นบล็อกเกอร์และนักเขียนชื่อดังชาวอเมริกันเชื้อสายกวม เขาเป็นผู้ก่อตั้งเว็บบล็อก Zen Habits ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 240,000 คนเลยทีเดียว ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ให้เป็นเว็บบล็อกยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลกประจำปี 2010 เลยทีเดียว
ต่อมาคาร์ล โอนอเร นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ชาวแคนาดา เจ้าของหนังสือ In Praise of Slowness (แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ เร็วไม่ว่า ช้าให้เป็น :ศิลปะแห่งการใช้ชีวิตเนิบช้า) ซึ่งชายคนนี้ละครับที่นำความสโลว์ไลฟ์มาสู่โลกกว้าง
นอกจากสังคมตะวันตกแล้ว ในสังคมตะวันออกอย่างญี่ปุ่น ซึ่งชีวิตเร่งรีบมาก มีกระแสสโลว์ไลฟ์ และความพยายามสร้างเมืองแบบ Slow life city ขึ้นที่เมืองคะเคะงะวะ (Kakegawa-shi) จังหวัดชิซุโอกะ (Shizuoka-ken) โดยกำหนดเทศบัญญัติการพัฒนาเมืองกันเลยทีเดียวครับ
ผมว่าการใช้ชีวิตเร่งรีบส่วนใหญ่เป็นชีวิตในสังคมเมือง เป็นสังคมหลังการพัฒนาอุตสาหหกรรม การผลิตสินค้าด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และบริโภคนิยมขยายตัวครอบงำไปทั่วโลก
ชีวิตคนในเมืองเร่งรีบทุกภารกิจ จนเครียดอ่อนล้าหนักเข้า หลายคนมีคำถามกับชีวิตแบบนี้ อยากหนีห่างจากชีวิตเร่งรีบที่ทำลายความสุข ไม่มีเวลาให้ใส่ใจครอบครัวคนรอบข้าง ไม่มีเวลาชื่นชมความงามธรรมชาติรอบตัว ไม่มีเวลากินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อยากใช้ชีวิตที่แตกต่างสวนทางกับวิถีชีวิตเร่งรีบแบบเดิม ไปหาชีวิตที่ช้าลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่ามีความสุขมากกว่า เป็นสโลว์ไลฟ์ เป็นกระแสตีกลับ
วิถีชีวิตแบบช้าๆ ไม่ได้หมายความว่า ใช้ชีวิตแบบเฉื่อยๆ ขี้เกียจ ไม่ทำการทำงานนอนทอดหุ่ย แต่หมายถึง การใช้ชีวิตที่ย้อนกลับไปสู่ความเรียบง่าย ไม่เร่งรีบ ถอยห่างจากระบบอุตสาหกรรมและโลกทุนนิยม หันมาใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อม หันมากินอาหารที่ใส่ใจสุขภาพ ปลูกผักกินเองปรุงอาหารเอง เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง ดูแลใส่ใจคนในครอบครัวและชุมชน ใช้ชีวิตอย่างเพลิดเพลินมีความสุข
มีคนนิยามสโลว์ไลฟ์ เป็นเหมือนหลักการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีความสุขท่ามกลางสังคมที่รีบเร่งโดยมีหลักการ 9 ข้อด้วยกัน
1. คือรู้จักโฟกัสมากขึ้นและทำอะไรให้น้อยลง
2. ต้องมีสติอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น
3. ใช้ชีวิตโลว์เทค ปิดมือถือและอุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่างในช่วงวันหยุด
4. ใส่ใจเพื่อนฝูง, ครอบครัว และคนรอบข้างให้มากขึ้น
5. หันมาชื่นชมกับความงดงามของธรรมชาติ ทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างการเดิน, ว่ายน้ำและขี่จักรยาน
6. การรับประทานอาหารให้ช้าลง โดยค่อยๆ เคี้ยวเพื่อรับรู้รสสัมผัสความอร่อยของอาหารแต่ละเมนู
7. ขับรถให้ช้าลงลดความเครียดและอาจเปิดเพลงคลอเบาๆ
8. มีความสุขง่ายๆ และรื่นรมย์กับทุกอย่างที่พบเจอ
9. ขจัดความเครียดด้วยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ กำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
คำนิยามเหล่านี้มองๆดูก็เป็นวิถีแห่งพุทธศาสนาดีๆนี่เองละครับ กล่าวคือทำอะไรก็ตามขอให้มีสติและสมาธิให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนบางคนบอกว่าสโลว์ไลฟง่ายๆด้วยการไปเที่ยวทะเล ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปเดินป่า ฯลฯ ก็แล้วแต่ใจชอบของแต่ละคน
นอกจากการใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์แล้ว มีหลายอย่างสโลว์ตามมาอีกด้วย เช่น สโลว์ฟู๊ด ที่ว่าด้วยการกินอาหารช้าๆ ปรุงอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ ได้คุณค่าทางอาหารกว่าพวกฟาสต์ฟู๊ด หรือคำว่าสโลว์ฟิช หมายถึงการทำประมงเชิงอนุรักษ์ไม่ทำลายธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี ฯลฯ
ใครจะเลือกวิถีสโลว์ไลฟ์แบบไหน ขึ้นอยู่กับวิธีคิดและเงื่อนไขของแต่ละคนครับ ใช้ชีวิตกันอย่างมีสติ ใช้วันหยุดอย่างปลอดภัยมีความสุขกันนะครับ