ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย การสั่งการ การให้ศึกษาแนวทาง หรืออะไรก็ตามแต่ แต่เรื่อง “ซิงเกิลเกตเวย์” (Single Gateway) ก็ถอยทัพไปแบบศพไม่สวยเสียแล้ว จากการรุมต่อต้านจากประชาชนทั่วทุกภาคส่วน
ถ้าให้กล่าวง่ายๆ แทนว่าประเทศไทยเป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ “เกตเวย์” หรือทางเข้าออกของอินเทอร์เน็ต ที่เป็นตัวนำเข้าส่งออกข้อมูลข่าวสารนั้น ก็คือประตูทางเข้าออกของสนามกีฬานั้น
ถ้ามีหลายประตู ข้อดีคือเข้าออกสะดวก คนก็กระจายๆ กันตามแต่ช่องทางที่ใครสะดวก ปัจจุบันประเทศไทยเรามีด้วยกันสิบประตู หรือสิบเกตเวย์
แต่ลองนึกดูว่า ข้อมูลที่เข้าออกผ่านเกตเวย์ต่างๆ นี้ มีทั้งข้อมูลที่ดีและไม่ดี เหมือนคนผ่านเข้าออกในสนามกีฬา ที่มีทั้งผู้เข้าไปชมกีฬาจริงๆ หรือนักล้วงกระเป๋าหรือโจรแฝงตัวเข้ามา สมมติว่ามีผู้มาก่อเหตุในสนามกีฬาแล้ววิ่งหนี ก็สามารถออกประตูไหนก็ได้ในสิบประตู การดักจับก็ทำได้ยาก
รัฐบาลก็เลยคิดจะใช้วิธีป้องกันแบบง่ายๆ ด้วยการปิดประตูเข้าออกทั้งหมด เหลือไว้ช่องเดียว อาจจะเปิดไว้ให้ใหญ่หน่อยก็ได้ ทีนี้ใครเข้าใครก่อเหตุก็ไปรอดักจับกันหน้าประตูได้เลย หรือสามารถป้องกันไม่ให้บุคคลอันตรายที่อยู่ในแบล็กลิสต์เข้าประตูมาได้อย่างง่ายด้วย เพราะทางเข้าออกมีแค่ทางเดียว
นี่คือภาพจำลองของการใช้งานซิงเกิลเกตเวย์ ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบนี้ ก็มักจะเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีทางเข้าออกของอินเทอร์เน็ตอยู่ทางเดียวหรือเกตเวย์เดียวก็พอแล้ว เช่นลาว หรือประเทศใหญ่ที่ใช้ ก็มีจีน เพราะโดยระบอบการปกครองแล้วรัฐของเขาจะต้องผูกขาดควบคุมข้อมูลข่าวสารได้ เหมือนที่จีนบล็อกบริการอินเทอร์เน็ตที่เป็นสากลหลายอย่าง เช่น Facebook Twitter หรือ Youtube พวกนี้ใช้ในจีนไม่ได้ คนจีนก็เลยต้องพัฒนาระบบเครือข่าย Social Network หรือเว็บวิดีโอของตัวเองอย่างที่เราทราบกัน ซึ่งในบทเรียนของต่างประเทศ การที่ประเทศจะใช้ซิงเกิลเกตเวย์ หรือยังใช้ซิงเกิลเกตเวย์อยู่นั้น จะเป็นกรณีที่ประเทศนั้นใช้ระบบดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะโดยข้อจำกัดด้านประชากรหรือเทคโนโลยี ซึ่งถ้าในอนาคตประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นหรือมีผู้เข้าใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ก็อาจจะเลิกใช้ซิงเกิลเกตเวย์ได้ และมีผู้ให้บริการมาเปิดเกตเวย์เพิ่ม
หรือไม่ก็ในกรณีที่รัฐนั้นกำหนดไว้เลยว่าประเทศนี้จะใช้ซิงเกิลเกตเวย์ ไม่ว่าประเทศจะพัฒนาอะไรต่อไปแค่ไหน เช่นในกรณีของจีน
ส่วนประเทศไทยนั้นสมัยแรกมีอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ ใช้กันในหมู่บริษัทต่างชาติ ในแวดวงวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย ก็เคยมีเกตเวย์เดียว จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า คอมพิวเตอร์พีซีราคาถูกลงจนใครๆ ก็มีไว้ใช้ที่บ้านได้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการก็เพิ่มขึ้นจนกระทั่งมีเกตเวย์เป็นสิบในปัจจุบัน
การย้อนกลับไปใช้ซิงเกิลเกตเวย์ในตอนนี้คงต้องยอมรับโดยตรงว่า “ไม่ทัน” แล้ว และยากที่ประชาชนส่วนใหญ่จะยอมรับ
เพราะการมีประตูเดียว นอกจากความแออัดของข้อมูลมหาศาลที่จะส่งผลโดยรวมต่อความเร็วในการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานโดยรวมแล้ว หากเกตเวย์หนึ่งเดียวที่มีนี้มีปัญหาอะไร ก็เป็นอันว่าระบบอินเทอร์เน็ตจะล่มกันทั้งประเทศ เกิดความเสียหายต่อธุรกรรมมหาศาล
คล้ายๆ กับเหตุสลดเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในหลายครั้งหลายแห่งนั่นแหละครับ ที่สาเหตุมาจากมีประตูเข้าออกทางเดียว คนออกกันไม่ได้ สำลักควันตายหรือไม่ก็อาจจะเหยียบกันตายได้ ยิ่งถ้าไฟไหม้ตรงประตูที่มีประตูเดียวที่ว่า ก็เรียกว่าเป็นโศกนาฏกรรมกันได้
รวมถึงความปลอดภัยของระบบโดยรวมด้วย คือถ้ามีผู้ไม่หวังดีเข้ายึดช่องทางเกตเวย์ได้ ก็จะสามารถเข้าไปดักดึงข้อมูลเกือบทั้งประเทศที่วนเวียนอยู่ในเน็ตได้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลทางด้านความมั่นคงและทางเศรษฐกิจด้วย
ด้วยเหตุนี้ ซิงเกิลเกตเวย์จึงเป็นสิ่งที่ชาวเน็ตชาวไทยส่วนใหญ่นั้นไม่เอาด้วย ออกมาต่อต้านกันใหญ่โตทั่วทุกวงการ และหนักที่สุด คือการโจมตีระบบเว็บไซต์ภาครัฐที่เกี่ยวข้องไปเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา ด้วยวิธีการ Ddos ระดมยิงเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้น ที่เรียกว่าการโจมตีจากกองทัพ F5 คือการกดปุ่ม F5 ซึ่งเป็นปุ่มสำหรับใช้คำสั่ง Refresh หน้าเว็บปัจจุบันขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อทำพร้อมๆ กัน ก็เท่ากับมีคำสั่งเรียกใช้เว็บจากผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นหมื่นๆ คนแบบถี่ยิบ ทำให้เว็บล่มกันไปตามระเบียบ
หลังจากการโจมตี ทางฝ่ายรัฐก็ถอยกรูด ออกมาปฏิเสธว่า คำสั่งนายกฯ ที่ว่า เป็นเพียงการเสนอให้มีการศึกษาว่าจะทำเท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการทำอะไรจริงๆ เลย
ถือเป็นบทเรียนอีกกรณีที่รัฐบาลนี้ยอม “ถอย” หรือ “ทบทวน” ตามข้อเรียกร้องของประชาชน ในกรณีที่เล็งเห็นได้ว่า บรรดาผู้มาต่อต้านหรือแสดงความไม่เห็นด้วยนั้น เป็นประชาชนพลเมืองเน็ตส่วนใหญ่จริงๆ ไม่ใช่กลุ่มที่เจตนาป่วนรัฐบาลเพื่อหวังผลในการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางการเมือง
ส่วนฝ่าย “ขาประจำ” ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ได้โอกาสกินเปล่า ตีปี๊บว่าเป็นเพราะชาวเน็ตออกมาใช้กำลังต้านเผด็จการ เพราะว่ารัฐมุ่งทำซิงเกิลเกตเวย์เพื่อละเมิดสิทธิ สอดแนมประชาชนผู้คิดต่าง
ขาประจำทั้งหลายที่คุ้นชื่อคุ้นหน้าออกมาโหนกระแส กด “F5” ร่วมขย่มรัฐบาล
รวมถึงฝ่ายต่อต้านบางส่วนที่แม้ฝ่ายรัฐบาลจะยอมถอยย้อนกลับไปศึกษานโยบายนี้ใหม่แล้ว แต่ก็ยังไม่เลิกป่วน ยังคงนัดหมายกันจะไประดม F5 ใส่เว็บไซต์ของภาครัฐอีก เพียงแต่รอบนี้ผู้เข้าร่วมลดลง เพราะคนส่วนใหญ่พอใจไปตั้งแต่การแสดงการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์ในครั้งแรกจนรัฐยอมถอยไปแล้ว
รอบล่าสุดนี้มีข่าวว่าฝ่ายต้านอาจจะใช้เครื่องทุ่นแรง เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการช่วยกันยิงคำสั่ง Refresh เว็บ แทนที่จะต้องใช้คนจริงๆ มานั่งกด F5 กันแล้ว
ซึ่งฝ่ายป่วนนี้บางส่วนเป็นแกมเมอร์นักเล่นเกมออนไลน์ หรือบางส่วนอาจจะเป็นแฮกเกอร์ ซึ่งก็น่าสงสัยว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะในเมื่อทางภาครัฐก็ถอยเรื่องซิงเกิลเกตเวย์นี้แล้ว ก็คงเป็นหน้าที่ที่ทางฝ่าย “นักรบไซเบอร์” ของภาครัฐที่จะต้องหาทางรับมือกันต่อไป
แม้ว่าการเสนอแนวคิดเรื่องซิงเกิลเกตเวย์นี้ อาจจะเป็นไปเพื่อการที่รัฐจะเข้ามาควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น ใช้เผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย หมิ่นสถาบัน หรือกระทั่งการก่อการร้ายหรือการลามกอนาจาร แต่กระนั้น การที่เข้า “จำกัด” ระบบอินเทอร์เน็ตกันแต่ต้นทางขนาดนี้ ก็ออกจะเป็นการไม่ได้สัดส่วนเกินไปหน่อย เหมือนเผาป่าหาแมวขโมย ซึ่งนอกจากไม่รับประกันว่าจะจับแมวขโมยหรือผู้กระทำความผิดได้หรือไม่แล้ว ยังทำให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อนไปด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ว่ารัฐควรจะปล่อยฟรีอินเทอร์เน็ตให้เป็นรัฐอิสระ ที่ปลอดจากอำนาจรัฐเงื้อมเข้าไป
เพียงแต่จะทำอย่างไรให้แยกพลเมืองเน็ตเสียๆ ออกมาจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีนี้ตามครรลองคลองธรรมและตามกฎหมายเท่านั้นเอง.
ถ้าให้กล่าวง่ายๆ แทนว่าประเทศไทยเป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ “เกตเวย์” หรือทางเข้าออกของอินเทอร์เน็ต ที่เป็นตัวนำเข้าส่งออกข้อมูลข่าวสารนั้น ก็คือประตูทางเข้าออกของสนามกีฬานั้น
ถ้ามีหลายประตู ข้อดีคือเข้าออกสะดวก คนก็กระจายๆ กันตามแต่ช่องทางที่ใครสะดวก ปัจจุบันประเทศไทยเรามีด้วยกันสิบประตู หรือสิบเกตเวย์
แต่ลองนึกดูว่า ข้อมูลที่เข้าออกผ่านเกตเวย์ต่างๆ นี้ มีทั้งข้อมูลที่ดีและไม่ดี เหมือนคนผ่านเข้าออกในสนามกีฬา ที่มีทั้งผู้เข้าไปชมกีฬาจริงๆ หรือนักล้วงกระเป๋าหรือโจรแฝงตัวเข้ามา สมมติว่ามีผู้มาก่อเหตุในสนามกีฬาแล้ววิ่งหนี ก็สามารถออกประตูไหนก็ได้ในสิบประตู การดักจับก็ทำได้ยาก
รัฐบาลก็เลยคิดจะใช้วิธีป้องกันแบบง่ายๆ ด้วยการปิดประตูเข้าออกทั้งหมด เหลือไว้ช่องเดียว อาจจะเปิดไว้ให้ใหญ่หน่อยก็ได้ ทีนี้ใครเข้าใครก่อเหตุก็ไปรอดักจับกันหน้าประตูได้เลย หรือสามารถป้องกันไม่ให้บุคคลอันตรายที่อยู่ในแบล็กลิสต์เข้าประตูมาได้อย่างง่ายด้วย เพราะทางเข้าออกมีแค่ทางเดียว
นี่คือภาพจำลองของการใช้งานซิงเกิลเกตเวย์ ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบนี้ ก็มักจะเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีทางเข้าออกของอินเทอร์เน็ตอยู่ทางเดียวหรือเกตเวย์เดียวก็พอแล้ว เช่นลาว หรือประเทศใหญ่ที่ใช้ ก็มีจีน เพราะโดยระบอบการปกครองแล้วรัฐของเขาจะต้องผูกขาดควบคุมข้อมูลข่าวสารได้ เหมือนที่จีนบล็อกบริการอินเทอร์เน็ตที่เป็นสากลหลายอย่าง เช่น Facebook Twitter หรือ Youtube พวกนี้ใช้ในจีนไม่ได้ คนจีนก็เลยต้องพัฒนาระบบเครือข่าย Social Network หรือเว็บวิดีโอของตัวเองอย่างที่เราทราบกัน ซึ่งในบทเรียนของต่างประเทศ การที่ประเทศจะใช้ซิงเกิลเกตเวย์ หรือยังใช้ซิงเกิลเกตเวย์อยู่นั้น จะเป็นกรณีที่ประเทศนั้นใช้ระบบดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะโดยข้อจำกัดด้านประชากรหรือเทคโนโลยี ซึ่งถ้าในอนาคตประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นหรือมีผู้เข้าใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ก็อาจจะเลิกใช้ซิงเกิลเกตเวย์ได้ และมีผู้ให้บริการมาเปิดเกตเวย์เพิ่ม
หรือไม่ก็ในกรณีที่รัฐนั้นกำหนดไว้เลยว่าประเทศนี้จะใช้ซิงเกิลเกตเวย์ ไม่ว่าประเทศจะพัฒนาอะไรต่อไปแค่ไหน เช่นในกรณีของจีน
ส่วนประเทศไทยนั้นสมัยแรกมีอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ ใช้กันในหมู่บริษัทต่างชาติ ในแวดวงวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัย ก็เคยมีเกตเวย์เดียว จนกระทั่งเมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า คอมพิวเตอร์พีซีราคาถูกลงจนใครๆ ก็มีไว้ใช้ที่บ้านได้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการก็เพิ่มขึ้นจนกระทั่งมีเกตเวย์เป็นสิบในปัจจุบัน
การย้อนกลับไปใช้ซิงเกิลเกตเวย์ในตอนนี้คงต้องยอมรับโดยตรงว่า “ไม่ทัน” แล้ว และยากที่ประชาชนส่วนใหญ่จะยอมรับ
เพราะการมีประตูเดียว นอกจากความแออัดของข้อมูลมหาศาลที่จะส่งผลโดยรวมต่อความเร็วในการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานโดยรวมแล้ว หากเกตเวย์หนึ่งเดียวที่มีนี้มีปัญหาอะไร ก็เป็นอันว่าระบบอินเทอร์เน็ตจะล่มกันทั้งประเทศ เกิดความเสียหายต่อธุรกรรมมหาศาล
คล้ายๆ กับเหตุสลดเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในหลายครั้งหลายแห่งนั่นแหละครับ ที่สาเหตุมาจากมีประตูเข้าออกทางเดียว คนออกกันไม่ได้ สำลักควันตายหรือไม่ก็อาจจะเหยียบกันตายได้ ยิ่งถ้าไฟไหม้ตรงประตูที่มีประตูเดียวที่ว่า ก็เรียกว่าเป็นโศกนาฏกรรมกันได้
รวมถึงความปลอดภัยของระบบโดยรวมด้วย คือถ้ามีผู้ไม่หวังดีเข้ายึดช่องทางเกตเวย์ได้ ก็จะสามารถเข้าไปดักดึงข้อมูลเกือบทั้งประเทศที่วนเวียนอยู่ในเน็ตได้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลทางด้านความมั่นคงและทางเศรษฐกิจด้วย
ด้วยเหตุนี้ ซิงเกิลเกตเวย์จึงเป็นสิ่งที่ชาวเน็ตชาวไทยส่วนใหญ่นั้นไม่เอาด้วย ออกมาต่อต้านกันใหญ่โตทั่วทุกวงการ และหนักที่สุด คือการโจมตีระบบเว็บไซต์ภาครัฐที่เกี่ยวข้องไปเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา ด้วยวิธีการ Ddos ระดมยิงเซิร์ฟเวอร์เหล่านั้น ที่เรียกว่าการโจมตีจากกองทัพ F5 คือการกดปุ่ม F5 ซึ่งเป็นปุ่มสำหรับใช้คำสั่ง Refresh หน้าเว็บปัจจุบันขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อทำพร้อมๆ กัน ก็เท่ากับมีคำสั่งเรียกใช้เว็บจากผู้ใช้งานพร้อมๆ กันเป็นหมื่นๆ คนแบบถี่ยิบ ทำให้เว็บล่มกันไปตามระเบียบ
หลังจากการโจมตี ทางฝ่ายรัฐก็ถอยกรูด ออกมาปฏิเสธว่า คำสั่งนายกฯ ที่ว่า เป็นเพียงการเสนอให้มีการศึกษาว่าจะทำเท่านั้น ยังไม่ได้ดำเนินการทำอะไรจริงๆ เลย
ถือเป็นบทเรียนอีกกรณีที่รัฐบาลนี้ยอม “ถอย” หรือ “ทบทวน” ตามข้อเรียกร้องของประชาชน ในกรณีที่เล็งเห็นได้ว่า บรรดาผู้มาต่อต้านหรือแสดงความไม่เห็นด้วยนั้น เป็นประชาชนพลเมืองเน็ตส่วนใหญ่จริงๆ ไม่ใช่กลุ่มที่เจตนาป่วนรัฐบาลเพื่อหวังผลในการเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อขับเคลื่อนประเด็นทางการเมือง
ส่วนฝ่าย “ขาประจำ” ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ได้โอกาสกินเปล่า ตีปี๊บว่าเป็นเพราะชาวเน็ตออกมาใช้กำลังต้านเผด็จการ เพราะว่ารัฐมุ่งทำซิงเกิลเกตเวย์เพื่อละเมิดสิทธิ สอดแนมประชาชนผู้คิดต่าง
ขาประจำทั้งหลายที่คุ้นชื่อคุ้นหน้าออกมาโหนกระแส กด “F5” ร่วมขย่มรัฐบาล
รวมถึงฝ่ายต่อต้านบางส่วนที่แม้ฝ่ายรัฐบาลจะยอมถอยย้อนกลับไปศึกษานโยบายนี้ใหม่แล้ว แต่ก็ยังไม่เลิกป่วน ยังคงนัดหมายกันจะไประดม F5 ใส่เว็บไซต์ของภาครัฐอีก เพียงแต่รอบนี้ผู้เข้าร่วมลดลง เพราะคนส่วนใหญ่พอใจไปตั้งแต่การแสดงการต่อต้านเชิงสัญลักษณ์ในครั้งแรกจนรัฐยอมถอยไปแล้ว
รอบล่าสุดนี้มีข่าวว่าฝ่ายต้านอาจจะใช้เครื่องทุ่นแรง เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการช่วยกันยิงคำสั่ง Refresh เว็บ แทนที่จะต้องใช้คนจริงๆ มานั่งกด F5 กันแล้ว
ซึ่งฝ่ายป่วนนี้บางส่วนเป็นแกมเมอร์นักเล่นเกมออนไลน์ หรือบางส่วนอาจจะเป็นแฮกเกอร์ ซึ่งก็น่าสงสัยว่ามีวาระอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะในเมื่อทางภาครัฐก็ถอยเรื่องซิงเกิลเกตเวย์นี้แล้ว ก็คงเป็นหน้าที่ที่ทางฝ่าย “นักรบไซเบอร์” ของภาครัฐที่จะต้องหาทางรับมือกันต่อไป
แม้ว่าการเสนอแนวคิดเรื่องซิงเกิลเกตเวย์นี้ อาจจะเป็นไปเพื่อการที่รัฐจะเข้ามาควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น ใช้เผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย หมิ่นสถาบัน หรือกระทั่งการก่อการร้ายหรือการลามกอนาจาร แต่กระนั้น การที่เข้า “จำกัด” ระบบอินเทอร์เน็ตกันแต่ต้นทางขนาดนี้ ก็ออกจะเป็นการไม่ได้สัดส่วนเกินไปหน่อย เหมือนเผาป่าหาแมวขโมย ซึ่งนอกจากไม่รับประกันว่าจะจับแมวขโมยหรือผู้กระทำความผิดได้หรือไม่แล้ว ยังทำให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อนไปด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ว่ารัฐควรจะปล่อยฟรีอินเทอร์เน็ตให้เป็นรัฐอิสระ ที่ปลอดจากอำนาจรัฐเงื้อมเข้าไป
เพียงแต่จะทำอย่างไรให้แยกพลเมืองเน็ตเสียๆ ออกมาจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยีนี้ตามครรลองคลองธรรมและตามกฎหมายเท่านั้นเอง.