แม้ว่าตอนนี้เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ที่กะคร่าวๆ แล้ว จะค่อนไปทางเห็นด้วยกับหลักการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่โดย คสช.และยังอยากเห็นรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้บริหารประเทศต่อไปจนกว่าจะปฏิรูปได้แล้วเสร็จ
ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้น ถ้าไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้พรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้มีผลประโยชน์กับการเลือกตั้ง กับพวกนักประชาธิปไตยที่ท่องคาถาเลือกตั้งสรณัง คัจฉามิ การเลือกตั้งคือสรณะหนึ่งเดียวของข้าพเจ้า นอกนั้นก็ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญเท่าไรแล้ว
และอาจจะถือว่านี่เป็นโอกาสอันดี ที่จะได้ทบทวนกันเรื่องการปฏิรูปประเทศ โดยตัดเอาผู้มีผลประโยชน์ได้เสียขัดกัน คือนักการเมืองออกจากระบบเป็นการชั่วคราว
แต่กระนั้นสำหรับฝ่าย คสช.และรัฐบาลเอง ก็ไม่ใคร่จะอยากอยู่นานเสียเท่าไร
นั่นเพราะยิ่งอยู่นานยิ่งเปลืองตัว และนานเข้าก็กลายเป็นความรับผิดชอบว่าจะต้องคอยล้างเช็ดผลงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลก่อนๆ ซึ่งอย่าว่าแต่แก้ไขเลย เอาแค่ประคับประคองกันไปให้ได้ก็แย่แล้ว
ประกอบกับสาเหตุสำคัญอีกประการก็คือ เรื่องการยอมรับของต่างชาติ ที่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังเรียกร้องรัฐบาลประชาธิปไตยตามรูปแบบ คือรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
เพราะที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาอะไรต่างๆ ของทางรัฐบาล ไม่ว่าจะปัญหาเรื่องการบินพาณิชย์ หรือเรื่องการประมงก็ตาม ก็ปรากฏว่า ให้พยายามเท่าไร แต่ก็เหมือนกับทางประเทศที่เป็นผู้ประเมินนั้นจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น ไม่ได้รับการปรับอันดับหรือได้รับการประเมินว่าดีขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนการส่งสัญญาณบีบกลายๆ ว่าจะยอมคุยด้วย ก็แต่รัฐบาลที่มาจากกระบวนการเลือกตั้งเท่านั้นซึ่งก็อาจจะต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ หากเรายังเป็นประเทศที่จะต้องหวังค้าขายกับทางชาติตะวันตกอย่างยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาอยู่
ด้วยเหตุผลหลักสองเรื่องนี้เอง ทำให้ทางฝ่ายรัฐบาล คสช.และผู้เกี่ยวข้อง คงจะพยายามเร่งโรดแมปเพื่อจัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นอีก จากที่เคยกะกันไว้คร่าวๆ ว่าจะให้มีการเลือกตั้งภายใน 20 เดือนนั้น อาจจะลดลงเร็วขึ้นได้เป็น 18 เดือน โดยร่นเวลาการร่างรัฐธรรมนูญเข้ามา โดยอาจจะใช้วิธีการรวมเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และร่างฉบับของคณะกรรมาธิการที่เพิ่งแท้งไปเข้าด้วยกัน
ส่วนกระบวนการในการทำประชามติก็คงจะร่นไม่ได้
แต่กระนั้น การปฏิรูปก็ต้องกระทำต่อไปไม่ให้เสียเปล่า ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มปรากฏเห็นบ้างแล้วว่า จากการที่ไม่มีนักการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือรบกวน กระบวนยุติธรรมทั้งหลายก็เดินหน้าไปได้
เช่นคดีแกนนำเสื้อแดงพาคนไปบุกเข้ารบกวนบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของรัฐบุรุษอาวุโส และประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2550 ในที่สุดก็มีคำพิพากษาจากศาลแล้วให้จำคุกแกนนำกันไปคนละ 4 ปี
ส่วนคดีการทุจริตระดับใหญ่ๆ ของนักการเมืองในรัฐบาลที่แล้ว ที่ยังค้างอยู่ในศาลใดๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ควรที่จะต้องเร่งให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ตัดเอาคนโกงออกจากระบบไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แม้จะได้ไม่หมด แต่ก็เท่ากับลดโอกาสไปได้พอสมควร หรือที่ยังไม่ได้ส่งฟ้อง องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ควรต้องรีบขันน็อตกันหน่อย
รวมถึงกรณีของข้าราชการระดับรองๆ ลงมาที่มีปัญหา ก็คงจะต้องมีกระบวนการที่เด็ดขาด ในระหว่างที่ คสช.ยังมีอำนาจเต็มที่อยู่ ล่าสุดก็ได้ข่าวว่ามีการสรุป “บัญชีสีเทา” ล็อตใหม่จะถูกส่งเข้าให้ คสช.พิจารณาดำเนินการตามล็อตแรกที่โดนฟันกันไปแล้ว ด้วยคำสั่งตามมาตรา 44
ส่วนแผนการปฏิรูปที่มาจากทาง สปช.นั้น นอกจากการจัดตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปแล้ว ก็ยังควรต้องดำเนินการให้แผนการปฏิรูปดังกล่าวเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นอีก
ด้วยการนำเอาแผนการปฏิรูปนั้นมาพิจารณากันจริงจังว่า เรื่องใดบ้างที่จะกระทำได้เลย ก็ได้วางนโยบายกันไป อะไรที่ขัดต่อระเบียบราชการเดิมๆ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะแก้ไข ฝ่ายที่รับผิดชอบก็น่าจะต้องช่วยกันไปแก้ไขหรือเขียนระเบียบขึ้นใหม่ เร่งด่วนจริงๆ ก็อาจจะต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาจัดการกัน
หรือถ้าถึงขั้นต้องแก้ไขกฎหมาย ก็อาจจะต้องแก้ไขกฎหมายซึ่งตอนนี้ สนช.มีอยู่ ก็ควรจะต้องให้ช่วยกันทำงานเพื่อภารกิจในการปฏิรูป
เรียกว่าวางเค้าโครง และเครื่องมือกระบวนการกันให้เสร็จค่อยปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ส่วนจะไปกำหนดให้มีคณะกรรมการที่คอยติดตามผลการปฏิรูปเหมือน คปป. ตามร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งตกไปหรือไม่นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องคิดกัน เพราะถ้าหากเขียนเอาไว้ไม่ดี ให้ฝ่ายการเมืองรู้สึกตัวว่าเป็นองค์กรรัฐซ้อนรัฐ โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปจะไม่ผ่านประชามติเพราะฐานเสียงจากพรรคการเมืองส่งสัญญาณให้คว่ำก็มีสูง
หรือไม่ก็อาจจะถูก “ต่างชาติ” หาเรื่องมาชี้จุดเพ่งโทษเอาว่าไม่เป็น “ประชาธิปไตย” อีกก็ได้ ไม่ว่าจะออกทางไหน ก็ถือว่าเป็นการเสียเวลาของชาติไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น
แต่ถ้า คสช.เลือกใช้กระบวนการในมือ เพื่อวางเค้าโครงปฏิรูปและตั้งกลไกปฏิรูปให้เสร็จ ไม่ว่าจะโดยการตั้งหน่วยงานในชั้นปฏิบัติขึ้นมารองรับ หรือจะโดยการออกกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่มีผลใช้บังคับได้ก่อนมีการเลือกตั้ง ซึ่งการตั้งเป็นหน่วยงานแล้ว หรือมีกฎหมายแล้ว การยกเลิกนั้นยากแน่
ถึงอย่างไร จะมีหรือไม่มีองค์กรรูปแบบเดียวกับ คปป.ก็คงไม่มีปัญหาอะไร
การที่นักการเมืองผ่านการเลือกตั้งเข้ามาในภายหลัง จะมาใช้อำนาจยุบเลิกหน่วยงานหรือกฎหมายเพื่อการปฏิรูปที่จัดตั้งหรือตราขึ้นเพื่อการนี้ ก็จะมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม และถูกตั้งคำถามจากประชาชนได้
เร่งทำกันเถิดครับ ถ้าจะร่นโรดแมปกันจริงๆ ก็ไม่ควรให้การปฏิรูปประเทศที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุดในครั้งนี้เสียเปล่า.
ส่วนเรื่องการเลือกตั้งนั้น ถ้าไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้พรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้มีผลประโยชน์กับการเลือกตั้ง กับพวกนักประชาธิปไตยที่ท่องคาถาเลือกตั้งสรณัง คัจฉามิ การเลือกตั้งคือสรณะหนึ่งเดียวของข้าพเจ้า นอกนั้นก็ไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญเท่าไรแล้ว
และอาจจะถือว่านี่เป็นโอกาสอันดี ที่จะได้ทบทวนกันเรื่องการปฏิรูปประเทศ โดยตัดเอาผู้มีผลประโยชน์ได้เสียขัดกัน คือนักการเมืองออกจากระบบเป็นการชั่วคราว
แต่กระนั้นสำหรับฝ่าย คสช.และรัฐบาลเอง ก็ไม่ใคร่จะอยากอยู่นานเสียเท่าไร
นั่นเพราะยิ่งอยู่นานยิ่งเปลืองตัว และนานเข้าก็กลายเป็นความรับผิดชอบว่าจะต้องคอยล้างเช็ดผลงานความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลก่อนๆ ซึ่งอย่าว่าแต่แก้ไขเลย เอาแค่ประคับประคองกันไปให้ได้ก็แย่แล้ว
ประกอบกับสาเหตุสำคัญอีกประการก็คือ เรื่องการยอมรับของต่างชาติ ที่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังเรียกร้องรัฐบาลประชาธิปไตยตามรูปแบบ คือรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
เพราะที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาอะไรต่างๆ ของทางรัฐบาล ไม่ว่าจะปัญหาเรื่องการบินพาณิชย์ หรือเรื่องการประมงก็ตาม ก็ปรากฏว่า ให้พยายามเท่าไร แต่ก็เหมือนกับทางประเทศที่เป็นผู้ประเมินนั้นจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น ไม่ได้รับการปรับอันดับหรือได้รับการประเมินว่าดีขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนการส่งสัญญาณบีบกลายๆ ว่าจะยอมคุยด้วย ก็แต่รัฐบาลที่มาจากกระบวนการเลือกตั้งเท่านั้นซึ่งก็อาจจะต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ หากเรายังเป็นประเทศที่จะต้องหวังค้าขายกับทางชาติตะวันตกอย่างยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาอยู่
ด้วยเหตุผลหลักสองเรื่องนี้เอง ทำให้ทางฝ่ายรัฐบาล คสช.และผู้เกี่ยวข้อง คงจะพยายามเร่งโรดแมปเพื่อจัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นอีก จากที่เคยกะกันไว้คร่าวๆ ว่าจะให้มีการเลือกตั้งภายใน 20 เดือนนั้น อาจจะลดลงเร็วขึ้นได้เป็น 18 เดือน โดยร่นเวลาการร่างรัฐธรรมนูญเข้ามา โดยอาจจะใช้วิธีการรวมเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และร่างฉบับของคณะกรรมาธิการที่เพิ่งแท้งไปเข้าด้วยกัน
ส่วนกระบวนการในการทำประชามติก็คงจะร่นไม่ได้
แต่กระนั้น การปฏิรูปก็ต้องกระทำต่อไปไม่ให้เสียเปล่า ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มปรากฏเห็นบ้างแล้วว่า จากการที่ไม่มีนักการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือรบกวน กระบวนยุติธรรมทั้งหลายก็เดินหน้าไปได้
เช่นคดีแกนนำเสื้อแดงพาคนไปบุกเข้ารบกวนบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของรัฐบุรุษอาวุโส และประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ซึ่งเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2550 ในที่สุดก็มีคำพิพากษาจากศาลแล้วให้จำคุกแกนนำกันไปคนละ 4 ปี
ส่วนคดีการทุจริตระดับใหญ่ๆ ของนักการเมืองในรัฐบาลที่แล้ว ที่ยังค้างอยู่ในศาลใดๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ควรที่จะต้องเร่งให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ตัดเอาคนโกงออกจากระบบไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แม้จะได้ไม่หมด แต่ก็เท่ากับลดโอกาสไปได้พอสมควร หรือที่ยังไม่ได้ส่งฟ้อง องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ควรต้องรีบขันน็อตกันหน่อย
รวมถึงกรณีของข้าราชการระดับรองๆ ลงมาที่มีปัญหา ก็คงจะต้องมีกระบวนการที่เด็ดขาด ในระหว่างที่ คสช.ยังมีอำนาจเต็มที่อยู่ ล่าสุดก็ได้ข่าวว่ามีการสรุป “บัญชีสีเทา” ล็อตใหม่จะถูกส่งเข้าให้ คสช.พิจารณาดำเนินการตามล็อตแรกที่โดนฟันกันไปแล้ว ด้วยคำสั่งตามมาตรา 44
ส่วนแผนการปฏิรูปที่มาจากทาง สปช.นั้น นอกจากการจัดตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปแล้ว ก็ยังควรต้องดำเนินการให้แผนการปฏิรูปดังกล่าวเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นอีก
ด้วยการนำเอาแผนการปฏิรูปนั้นมาพิจารณากันจริงจังว่า เรื่องใดบ้างที่จะกระทำได้เลย ก็ได้วางนโยบายกันไป อะไรที่ขัดต่อระเบียบราชการเดิมๆ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะแก้ไข ฝ่ายที่รับผิดชอบก็น่าจะต้องช่วยกันไปแก้ไขหรือเขียนระเบียบขึ้นใหม่ เร่งด่วนจริงๆ ก็อาจจะต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาจัดการกัน
หรือถ้าถึงขั้นต้องแก้ไขกฎหมาย ก็อาจจะต้องแก้ไขกฎหมายซึ่งตอนนี้ สนช.มีอยู่ ก็ควรจะต้องให้ช่วยกันทำงานเพื่อภารกิจในการปฏิรูป
เรียกว่าวางเค้าโครง และเครื่องมือกระบวนการกันให้เสร็จค่อยปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ส่วนจะไปกำหนดให้มีคณะกรรมการที่คอยติดตามผลการปฏิรูปเหมือน คปป. ตามร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งตกไปหรือไม่นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องคิดกัน เพราะถ้าหากเขียนเอาไว้ไม่ดี ให้ฝ่ายการเมืองรู้สึกตัวว่าเป็นองค์กรรัฐซ้อนรัฐ โอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปจะไม่ผ่านประชามติเพราะฐานเสียงจากพรรคการเมืองส่งสัญญาณให้คว่ำก็มีสูง
หรือไม่ก็อาจจะถูก “ต่างชาติ” หาเรื่องมาชี้จุดเพ่งโทษเอาว่าไม่เป็น “ประชาธิปไตย” อีกก็ได้ ไม่ว่าจะออกทางไหน ก็ถือว่าเป็นการเสียเวลาของชาติไปโดยเปล่าประโยชน์ทั้งสิ้น
แต่ถ้า คสช.เลือกใช้กระบวนการในมือ เพื่อวางเค้าโครงปฏิรูปและตั้งกลไกปฏิรูปให้เสร็จ ไม่ว่าจะโดยการตั้งหน่วยงานในชั้นปฏิบัติขึ้นมารองรับ หรือจะโดยการออกกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่มีผลใช้บังคับได้ก่อนมีการเลือกตั้ง ซึ่งการตั้งเป็นหน่วยงานแล้ว หรือมีกฎหมายแล้ว การยกเลิกนั้นยากแน่
ถึงอย่างไร จะมีหรือไม่มีองค์กรรูปแบบเดียวกับ คปป.ก็คงไม่มีปัญหาอะไร
การที่นักการเมืองผ่านการเลือกตั้งเข้ามาในภายหลัง จะมาใช้อำนาจยุบเลิกหน่วยงานหรือกฎหมายเพื่อการปฏิรูปที่จัดตั้งหรือตราขึ้นเพื่อการนี้ ก็จะมีปัญหาเรื่องความชอบธรรม และถูกตั้งคำถามจากประชาชนได้
เร่งทำกันเถิดครับ ถ้าจะร่นโรดแมปกันจริงๆ ก็ไม่ควรให้การปฏิรูปประเทศที่มีโอกาสสำเร็จมากที่สุดในครั้งนี้เสียเปล่า.