การบินไทยแถลงข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่าจะมีพนักงานออก 1,400 คน ตามโครงการเอ็มเอสพีสำหรับพนักงานทั่วไป และโครงการโกลเด้นแฮนด์เชกสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบอร์ดการบินไทยซึ่งดูเหมือนว่าจะมีคนรู้เรื่องดีเพียงคนเดียวคือคุณบรรยง พงษ์พานิช ซึ่งกล่าวกันว่าเขาคือดีดีหรือผู้อำนวยการใหญ่ตัวจริงที่ทำงานอยู่ข้างหลัง
สำหรับพนักงานที่ออกไปตามโครงการนั้นส่วนหนึ่งไม่ใช่พวกเช้าชามเย็นชาม แต่มีรายงานว่าจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอายุงานหลายปี และเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ มีฝีมือ แต่ไม่ทนอยู่เห็นการบินไทยตกต่ำเพราะบริหารงานอย่างที่รับทราบกันในปัจจุบันได้
ส่วนแผนการยกเลิกเส้นทางการบินและเที่ยวบินไปนั้น โดยอ้างว่ามีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเป็นมาตรฐานไว้เช่นผลการดำเนินการย้อนหลัง 10 ปี โดยดูศักยภาพของตลาดในการพัฒนา ฯลฯ
ข้ออ้างเหล่านี้ดูเหมือนจะฟังดูดีมีเหตุมีผล แต่มีเบื้องหลังที่ฝ่ายบริหารปิดบังไว้ใต้พรมเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่นการจะปิดเส้นทางบินโรมนั้น ข้อเท็จจริงมีว่าที่โรมนั้นไม่มีผู้จัดการประจำสำนักงานมา 2 ปีแล้ว ทั้งที่มีการเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการไปประจำอยู่ที่กรุงโรมมาตลอด นอกจากนี้ยังมีการตัดออนไลน์ของสำนักงานเสียด้วย อย่างนี้แล้วจะเอาอะไรเป็นมาตรฐานในการดำเนินการนอกเหนือจากจะชี้ว่า นี่คือการที่ผู้บริหารและบอร์ดขาดความรู้เรื่องการบริหารการบินและการตลาดโดยสิ้นเชิง
การสั่งปิดเส้นทางโรมนี้แม้แต่ท่านเอกอัครราชทูตประจำอิตาลียังไม่เห็นด้วย เนื่องจากโรมเป็นศูนย์กลางการบินทางยุโรปตอนใต้ และเป็นศูนย์กลางขององค์การระดับนานาชาติอีกหลายองค์การโดยเฉพาะระดับสหประชาชาติ
เพื่อให้เส้นทางบินยุโรปใต้อยู่ได้ ทำไมไม่ให้บินกรุงเทพฯ-โรม-มาดริด ซึ่งน่าจะขนผู้โดยสารได้ดีและก็อาจจะใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กลงมาก็ย่อมได้
การหยุดบินเส้นทางโรมทำให้การบินไทยเสียโอกาส และเท่ากับสิงคโปร์แอร์ไลน์และสายการบินอื่นได้ตลาดไปฟรีๆ ถึงกับเป็นที่รู้มาว่าสายการบินบางสายได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเตรียมการเพิ่มขยายตลาดเรียบร้อยแล้ว
การแถลงของการบินไทยเกี่ยวกับเรื่องการลดต้นทุนครั้งนี้จะยังมีเงื่อนงำอื่นๆ อีก เพราะเหตุว่าการบินไทยไม่ได้ลดต้นทุนอย่างเดียว แต่ก็เตรียมที่จะเพิ่มการลงทุนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมที่จะจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศเข้ามาศึกษาและยกเครื่องการบินไทยครั้งใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องใช้เงินอีกจำนวนมากแต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าคงไม่ได้ผล เพราะอะไรจะกล่าวต่อไป
ผู้อ่านคงสงสัยว่าการบินไทยเดินทางมาถึงจุดแห่งความหายนะได้อย่างไร
จุดแห่งความหายนะนี้มาจากการที่การบินไทยเปลี่ยนเป้าหมายนั่นเอง คือเปลี่ยนจากบริหารกำไรไปเป็นบริหารการขาดทุน
การบินไทยในยุครุ่งเรือง ประมาณว่าปี 2520 -2540 ซึ่งในยุคนั้นเป้าหมายมีอยู่ชัดเจนดังนี้
ประการแรก เป็นสายการบินแข่งขันในระดับโลกได้
ประการที่สอง เป็นสายการบินที่แสวงหากำไร
ประการที่สาม เป็นสายการบินที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดในบรรดาสายการบินหนึ่งในห้าของโลก
การบินไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง 3 ประการ
การบินไทยมีความเข้มแข็งพอที่จะแข่งขันกับสายการบินอื่นๆ ในระดับนานาชาติได้ เป็นสายการบินที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างสม่ำเสมอในระดับสากล ได้รับรางวัลหลายประเภทจากหลายสถาบันว่าเป็นสายการบินดีเด่น หนึ่งในห้าสายการบินของโลก
การบินไทยในยุคทองเป็นสายการบินที่ทำกำไรต่อเนื่องกันหลายปี พนักงานต่างก็ได้รับรางวัลเป็นโบนัส
ในประการที่สาม สายการบินไทยมีภาพลักษณ์ทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างดีอย่างต่อเนื่อง โครงการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมก่อตั้งรางวัลซีไรต์ การเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพงานระดับนานาชาติเส้นทางแพรไหมขององค์การยูเนสโก ซึ่งสร้างเกียรติประวัติให้กับการบินไทย ในส่วนภาพลักษณ์อื่นลูกเรือของการบินไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้บริการผู้โดยสารที่ได้รับการตอบรับได้ยอดเยี่ยมจากการประเมินผลจากนิตยสารหลายเล่ม
สิ่งที่การบินไทยในยุครุ่งเรืองมีดีมากที่สุดคือ พนักงานมีสปิริตรักองค์กร
พนักงานการบินไทยในยุคนั้นทำงานอย่างกระตือรือร้น เข้าทำงานแต่เช้า เลิกงานหลังชั่วโมงทำงาน พนักงานเขียนข้อความเสนองานมักเป็นภาษาอังกฤษ ทำงานเหมือนชาวตะวันตก
ในแต่ละฝ่ายไม่ว่าฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบิน ฝ่ายช่าง ฯลฯ จะมีผู้อำนวยการใหญ่ ทุกคนล้วนเป็นผู้นำที่ใกล้ชิดลูกน้อง และลูกน้องรักใคร่
ในระดับบริหาร ความใกล้ชิดกลมเกลียวกันทำให้เกิดการผนึกกำลังในการทำงานบริหารและการตัดสินใจ
ข้อได้เปรียบที่สุดคือในระดับผู้บริหารระดับกลางมีความเหนียวแน่นมาก และผู้บริหารระดับกลางนี้มีทุกฝ่ายรวมอยู่ด้วย
จุดแข็งที่สุด คือการทำงานระดับสากลจริงๆ เพราะในทุกปีในยุคนั้นมีการประชุมฝ่ายการตลาดโดยผู้จัดการสำนักงานจากทั่วโลกมาประชุมรวมกันในกรุงเทพฯ การประชุมแม็ปนี้ฝ่ายการตลาดยังเชิญสื่อมวลชนทั่วโลกในด้านการบิน และเชิญผู้มีเกียรติมีชื่อเสียงระดับโลกเป็นผู้มาอภิปรายในเรื่องที่น่าสนใจ
สำคัญที่สุด คือเวทีประชุมฝ่ายการตลาดทั่วโลกเป็นศูนย์กลางให้ผู้แทน และพนักงานระดับสูงจากสาขาทั่วโลกได้พบปะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนนี้ยังทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันของฝ่ายอื่นๆ นอกจากฝ่ายการตลาดด้วย
การประชุมฝ่ายการตลาดจึงเป็นการให้ผู้จัดการประจำประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้พบกับผู้แทนสื่อมวลชนที่สำคัญในแวดวงนิตยสารสายการบินและการท่องเที่ยว เป็นการสร้างภาพลักษณ์และพันธมิตรที่ดียิ่ง
สิ่งที่ว่ามาทุกเรื่องในยุคทองของการบินไทยนั้น ไม่เคยมีการดำเนินการไม่ว่าเรื่องใดๆ ในยุคปัจจุบันนี้เลยแม้แต่น้อย
การบินไทยจึงเข้าสู่ยุคแห่งความหายนะโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้. (ยังมีต่อ)
สำหรับพนักงานที่ออกไปตามโครงการนั้นส่วนหนึ่งไม่ใช่พวกเช้าชามเย็นชาม แต่มีรายงานว่าจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอายุงานหลายปี และเป็นพนักงานที่มีคุณภาพ มีฝีมือ แต่ไม่ทนอยู่เห็นการบินไทยตกต่ำเพราะบริหารงานอย่างที่รับทราบกันในปัจจุบันได้
ส่วนแผนการยกเลิกเส้นทางการบินและเที่ยวบินไปนั้น โดยอ้างว่ามีหลักเกณฑ์ที่กำหนดเป็นมาตรฐานไว้เช่นผลการดำเนินการย้อนหลัง 10 ปี โดยดูศักยภาพของตลาดในการพัฒนา ฯลฯ
ข้ออ้างเหล่านี้ดูเหมือนจะฟังดูดีมีเหตุมีผล แต่มีเบื้องหลังที่ฝ่ายบริหารปิดบังไว้ใต้พรมเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่นการจะปิดเส้นทางบินโรมนั้น ข้อเท็จจริงมีว่าที่โรมนั้นไม่มีผู้จัดการประจำสำนักงานมา 2 ปีแล้ว ทั้งที่มีการเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการไปประจำอยู่ที่กรุงโรมมาตลอด นอกจากนี้ยังมีการตัดออนไลน์ของสำนักงานเสียด้วย อย่างนี้แล้วจะเอาอะไรเป็นมาตรฐานในการดำเนินการนอกเหนือจากจะชี้ว่า นี่คือการที่ผู้บริหารและบอร์ดขาดความรู้เรื่องการบริหารการบินและการตลาดโดยสิ้นเชิง
การสั่งปิดเส้นทางโรมนี้แม้แต่ท่านเอกอัครราชทูตประจำอิตาลียังไม่เห็นด้วย เนื่องจากโรมเป็นศูนย์กลางการบินทางยุโรปตอนใต้ และเป็นศูนย์กลางขององค์การระดับนานาชาติอีกหลายองค์การโดยเฉพาะระดับสหประชาชาติ
เพื่อให้เส้นทางบินยุโรปใต้อยู่ได้ ทำไมไม่ให้บินกรุงเทพฯ-โรม-มาดริด ซึ่งน่าจะขนผู้โดยสารได้ดีและก็อาจจะใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กลงมาก็ย่อมได้
การหยุดบินเส้นทางโรมทำให้การบินไทยเสียโอกาส และเท่ากับสิงคโปร์แอร์ไลน์และสายการบินอื่นได้ตลาดไปฟรีๆ ถึงกับเป็นที่รู้มาว่าสายการบินบางสายได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเตรียมการเพิ่มขยายตลาดเรียบร้อยแล้ว
การแถลงของการบินไทยเกี่ยวกับเรื่องการลดต้นทุนครั้งนี้จะยังมีเงื่อนงำอื่นๆ อีก เพราะเหตุว่าการบินไทยไม่ได้ลดต้นทุนอย่างเดียว แต่ก็เตรียมที่จะเพิ่มการลงทุนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมที่จะจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศเข้ามาศึกษาและยกเครื่องการบินไทยครั้งใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องใช้เงินอีกจำนวนมากแต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าคงไม่ได้ผล เพราะอะไรจะกล่าวต่อไป
ผู้อ่านคงสงสัยว่าการบินไทยเดินทางมาถึงจุดแห่งความหายนะได้อย่างไร
จุดแห่งความหายนะนี้มาจากการที่การบินไทยเปลี่ยนเป้าหมายนั่นเอง คือเปลี่ยนจากบริหารกำไรไปเป็นบริหารการขาดทุน
การบินไทยในยุครุ่งเรือง ประมาณว่าปี 2520 -2540 ซึ่งในยุคนั้นเป้าหมายมีอยู่ชัดเจนดังนี้
ประการแรก เป็นสายการบินแข่งขันในระดับโลกได้
ประการที่สอง เป็นสายการบินที่แสวงหากำไร
ประการที่สาม เป็นสายการบินที่มีภาพลักษณ์ดีที่สุดในบรรดาสายการบินหนึ่งในห้าของโลก
การบินไทยในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง 3 ประการ
การบินไทยมีความเข้มแข็งพอที่จะแข่งขันกับสายการบินอื่นๆ ในระดับนานาชาติได้ เป็นสายการบินที่ได้รับการกล่าวขวัญอย่างสม่ำเสมอในระดับสากล ได้รับรางวัลหลายประเภทจากหลายสถาบันว่าเป็นสายการบินดีเด่น หนึ่งในห้าสายการบินของโลก
การบินไทยในยุคทองเป็นสายการบินที่ทำกำไรต่อเนื่องกันหลายปี พนักงานต่างก็ได้รับรางวัลเป็นโบนัส
ในประการที่สาม สายการบินไทยมีภาพลักษณ์ทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างดีอย่างต่อเนื่อง โครงการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมก่อตั้งรางวัลซีไรต์ การเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพงานระดับนานาชาติเส้นทางแพรไหมขององค์การยูเนสโก ซึ่งสร้างเกียรติประวัติให้กับการบินไทย ในส่วนภาพลักษณ์อื่นลูกเรือของการบินไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้บริการผู้โดยสารที่ได้รับการตอบรับได้ยอดเยี่ยมจากการประเมินผลจากนิตยสารหลายเล่ม
สิ่งที่การบินไทยในยุครุ่งเรืองมีดีมากที่สุดคือ พนักงานมีสปิริตรักองค์กร
พนักงานการบินไทยในยุคนั้นทำงานอย่างกระตือรือร้น เข้าทำงานแต่เช้า เลิกงานหลังชั่วโมงทำงาน พนักงานเขียนข้อความเสนองานมักเป็นภาษาอังกฤษ ทำงานเหมือนชาวตะวันตก
ในแต่ละฝ่ายไม่ว่าฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบิน ฝ่ายช่าง ฯลฯ จะมีผู้อำนวยการใหญ่ ทุกคนล้วนเป็นผู้นำที่ใกล้ชิดลูกน้อง และลูกน้องรักใคร่
ในระดับบริหาร ความใกล้ชิดกลมเกลียวกันทำให้เกิดการผนึกกำลังในการทำงานบริหารและการตัดสินใจ
ข้อได้เปรียบที่สุดคือในระดับผู้บริหารระดับกลางมีความเหนียวแน่นมาก และผู้บริหารระดับกลางนี้มีทุกฝ่ายรวมอยู่ด้วย
จุดแข็งที่สุด คือการทำงานระดับสากลจริงๆ เพราะในทุกปีในยุคนั้นมีการประชุมฝ่ายการตลาดโดยผู้จัดการสำนักงานจากทั่วโลกมาประชุมรวมกันในกรุงเทพฯ การประชุมแม็ปนี้ฝ่ายการตลาดยังเชิญสื่อมวลชนทั่วโลกในด้านการบิน และเชิญผู้มีเกียรติมีชื่อเสียงระดับโลกเป็นผู้มาอภิปรายในเรื่องที่น่าสนใจ
สำคัญที่สุด คือเวทีประชุมฝ่ายการตลาดทั่วโลกเป็นศูนย์กลางให้ผู้แทน และพนักงานระดับสูงจากสาขาทั่วโลกได้พบปะแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การแลกเปลี่ยนนี้ยังทำให้เกิดความเข้าใจในการทำงานร่วมกันของฝ่ายอื่นๆ นอกจากฝ่ายการตลาดด้วย
การประชุมฝ่ายการตลาดจึงเป็นการให้ผู้จัดการประจำประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้พบกับผู้แทนสื่อมวลชนที่สำคัญในแวดวงนิตยสารสายการบินและการท่องเที่ยว เป็นการสร้างภาพลักษณ์และพันธมิตรที่ดียิ่ง
สิ่งที่ว่ามาทุกเรื่องในยุคทองของการบินไทยนั้น ไม่เคยมีการดำเนินการไม่ว่าเรื่องใดๆ ในยุคปัจจุบันนี้เลยแม้แต่น้อย
การบินไทยจึงเข้าสู่ยุคแห่งความหายนะโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้. (ยังมีต่อ)