ภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมของการวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนยุคก่อนหน้าคือเมื่อทศวรรษก่อนย้อนกลับไป กับยุคนี้แตกต่างสิ้นเชิง เพราะสมัยก่อนนั้นพลังอำนาจของการสื่อสารอยู่ที่ “พื้นที่” เป็นสำคัญ
สื่อทีวี หรือวิทยุ มีจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ขึ้นกับการอนุญาตให้ใช้คลื่น ฟรีทีวีไทยจึงมีอยู่แค่ที่เห็นมายาวนาน หรือแม้กระทั่งจำนวนหนังสือพิมพ์ในท้องตลาดที่จะอยู่รอดได้ต้องใช้องค์ประกอบมากมายแบบที่ชาวบ้านทั่วไปทำกันไม่ได้ ต้องมีทั้งทุน ต้องรวบรวมผู้คน ต้องเกี่ยวกับการพิมพ์และการจัดจำหน่ายที่ยุ่งยากและไหนจะการแข่งขันการตลาดอีก ดังนั้นจำนวนหนังสือพิมพ์อาชีพจริงๆ จึงไม่มาก อย่างที่เห็นกันอยู่ตลอดสี่ห้าทศวรรษที่ผ่านมา
วงการวิชาการสื่อเขาจึงบอกว่า ด้วยการที่ “พื้นที่สื่อมีอยู่จำกัด” ดังนั้นสื่อจึงมีอำนาจกำหนดประเด็นของสังคมสูง คนในวงการนี้มีสถานะเป็น Gatekeepers ของข่าวสาร แต่ละวันมีข่าวสารอะไรต้องผ่านประตูให้สื่อเลือกสรรเสียก่อนเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
ศาสตร์ว่าด้วยวารสารและการสื่อสารมวลชนถือกำเนิดก่อนสงครามโลก ก่อนหน้านั้นมีสื่อหนังสือพิมพ์มาก่อนเป็นร้อยปีแต่ก็ไม่ได้จับมาขมวดเป็นหลักวิชาในฐานะศาสตร์ๆหนึ่ง ซึ่งจะว่าไปเนื้อหาหลักการต่างๆ ที่กำหนดออกมาให้คนร่ำเรียนและจดจำกัน ส่วนหนึ่งก็เพื่อความมั่นคง มั่นใจของนักลงทุนในกิจการสื่อสารด้วย มันจึงเป็นแบบแผนออกมาว่าสื่อจะต้องอย่างนี้ อย่างนั้น เข้ามาอยู่แล้วต้องมีอาชีวปฏิภาณอย่างไรสืบทอดกันมา เพราะธุรกิจสื่อในยุคที่กำลังเติบโตยุคแรกๆ โน้นมุ่งหวังจับตลาดที่กว้างขวางขึ้นๆ จากเมืองสู่ตลาดระดับชาติ เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก(Mass) ที่ต่างร้อยพ่อพันแม่คนละอุดมการณ์ความเห็น การจะขายข่าวสารเนื้อหาได้มีแต่ต้องทำให้มันดูปราศจากอคติแบบเนียนๆ มีแต่เนื้อ แยกข่าวสารกับความเห็นออกจากกันให้ชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อความน่าเชื่อถือ ถ้าสื่อปราศจากความน่าเชื่อถือแล้วธุรกิจสื่อนั้นๆ ก็รอเจ๊ง ขายเป็นแมสไม่ได้ ปรัชญาของสื่อคือขายข้อเท็จจริงเพื่อให้คนรู้
มันจึงมีคำว่า “กระจก” ขึ้นมา หมายความว่า ภาพสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม
สื่อได้สถาปนาตนเองมาเป็นสถาบันหลักหนึ่งของสังคม นี่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์แต่โบราณกาล ยิ่งสังคมซับซ้อนความต้องการสื่อสารระหว่างกัน ตัวกลางสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญ และสื่อคือภาพจำลองสังคมมนุษย์ในภาพใหญ่ ลองสังเกตดูสิครับ ไม่มีวงสนทนาใดที่มีแต่ข้อมูลล้วนๆ ไม่ว่าฝรั่งหรือไทยก็มีวงน้ำชา ทุกวงจะมีความเห็น และความพยายามสรุป ขมวดความเข้าใจให้ความหมายเพิ่มต่อข่าวสารที่ได้ยินมากันแทบทั้งนั้น บทบาทของสื่อที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือสถาบันที่รวบรวมเป็นสื่อกลางของความเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ข้อสังเกต มุมมองนำเสนอพร้อมกันไปด้วย
สื่อชี้นำสังคมได้เพราะสังคมต้องอาศัย “พื้นที่” (อันมีจำกัด) ของสื่อสารมวลชนในการรับรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร
นักวิชาสื่อชื่อดังของไทยอย่าง บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เคยใช้คำสรุปบทบาทของสื่อที่ครอบคลุมว่า “ระหว่างกระจก กับ ตะเกียง” โดยเปรียบกระจกกับบทบาทนำเสนอความจริง และตะเกียงในแง่บทความของความคิดความเห็น ชี้นำสังคม เป็นชุดคำสั้นๆ ที่กินความหมายครอบคลุมการสื่อสารมวลชน (ในยุคนั้น) ได้ชัดเจน
แต่มายุคนี้ภูมิทัศน์ของสื่อเปลี่ยนไปสิ้นเชิง อำนาจของสื่อสารมวลชนแบบเดิมที่อาศัย “พื้นที่” ผูกขาดบทบาทเป็นตัวกลางข่าวสารถูกลดทอนลง เพราะใครๆ ก็สามารถสื่อสารด้วยตนเองได้ การพึ่งพาอาศัยสื่อหลักวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ก็ลดลงไป... ไม่ใช่สื่อข่าวสารหนักๆ ด้วยนะ แม้กระทั่งสื่อเพื่อความบันเทิงแบบเดิมๆ ก็มีผลกระทบด้วยเช่นกัน ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีผลต่อพฤติกรรม การปรับตัว ความรับรู้ใหม่ การตามให้ทัน ฯลฯ จิปาถะ
พลังอำนาจของการสื่อสารมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์ไม่น้อยเลยนะครับ เพราะมันสามารถก่อให้เกิดทัศนคติ อุดมการณ์ อารมณ์ความรู้สึกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมได้ อย่าโกรธกันนะครับ ขอพูดตรงๆ ที่สังเกตดูประชาชนชาวเราจำนวนไม่น้อยมีอำนาจสื่อสารในมือแล้วใช้เหมือนนนทกได้นิ้วเพชร ...ชี้กราดไปทั่ว เจออะไรก็ถ่ายมาประจาน (แล้วก็เงิบ) จู่ๆ ก็ด่าเขาสาดเสียเทเสีย เพราะมันง่ายนี่ จิ้มด่าจากในส้วมยังได้เลย ทั้งๆ ที่ในชีวิตไม่เคยทำอย่างนั้น อำนาจสื่อสารที่ใช้จากมือถือทำให้คนเผลอไปคิดว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัว การสื่อจากมือถือรู้สึกปลอดภัยกว่าการไปพูดเจรจาด้วยตัวเอง ทำให้สารที่สื่อออกไปสะท้อนอารมณ์รู้สึกเบื้องลึกมากกว่าชีวิตปกติ เกลียดแรง โกรธแรง รักแรง ดุด่าแรงๆ สุดโต่งใส่ลงไปผ่านการสื่อสารใหม่
สภาวะที่กำลังเกิดขึ้นเปรียบเหมือนกับน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังไหลบ่า เกิดปรากฏการณ์อะไรมากมายในท่ามกลางโกลาหลนั้น เช่นเกิดมีเว็บไซต์ข่าวหน้าใหม่มุ่งทำยอดทราฟฟิคผู้เข้าชมโดยไม่สนวิธีการ, หรือการปรับตัวของช่องทางทำมาหากินเช่นการฝากร้านในอินสตาแกรมของเซเลปชื่อดัง, การไปโพสต์ขายของตามหน้าวอลล์ชาวบ้าน, การลากรวมกลุ่มขายของโดยไม่ขออนุญาตเจ้าตัว ฯลฯ สภาพโกลาหลนี้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความเสียหาย มีทั้งบวกและด้านลบ ยักษ์ใหญ่โซเชี่ยลมีเดียอย่างเฟซบุ้คก็เพิ่งมีนโยบายให้ผู้ใช้ลงทะเบียนด้วยตัวตนจริง ชื่อจริง หลังจากปล่อยให้ใช้นามแฝงรูปไม่จริงมาก่อน (แล้วก็พบว่ามันจะเป็นผลด้านลบกับสังคมในระยะยาว)
อำนาจของการสื่อการใหม่มีผลต่อผู้คนในสังคมมากอย่างไม่น่าเชื่อ! การรวมกลุ่มในโซเชียลมีเดียเป็นตามธรรมชาติของจริตและความสนใจของผู้คน เกิดวงสังคมของคนแบบเดียวกันชัดเจน บางกลุ่มสนใจเรื่องข้าวของเครื่องกายอาหารก็เจ๊าะแจ๊ะกันแบบหนึ่ง พวกที่เชียร์กีฬาก็เหน็บแนม หรือแค่อำอีกฝ่ายเอาสนุก แต่สำหรับคอการเมืองนี่ค่อนข้างจะดุดัน เอาจริงเอาจังกว่า
จิตวิทยาสังคมบอกว่าเมื่อคนรวมกลุ่มกันเยอะๆ กับคอเดียวกันเช่นไปเชียร์กีฬาในสนาม อาจจะนำไปสู่การยกพวกตีกันได้ง่ายๆ โซเชี่ยลมีเดียก็เหมือนกัน กลุ่มแวดวงทำให้อารมณ์รักแรง โกรธแรง เกลียดแรงขึ้นโดยไม่รู้ตัว และแวดวงก็ทำให้เรารับข่าวสารจากแหล่งหลากหลาย บางทีก็ไม่มีที่มาชัดเจน การแชร์ข่าวสารที่ไม่ได้ตรวจสอบ (แต่ถูกใจไว้ก่อน) เป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว มิหนำซ้ำเมื่อรู้ว่าผิดพลาดก็ยังไม่ “เงิบ” แปลว่าสักพักก็แชร์ใหม่ เอาถูกใจไว้ก่อน ด่าไว้ก่อนได้เปรียบ เช่นเดิม
ภาวะแบบนี้ต่างไปจากยุคก่อนหน้าซึ่ง “พื้นที่สื่อ” มีจำกัดแล้วก็มีสื่ออาชีพที่ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูข่าวสารที่จะปล่อยออกไปสู่กระแสสังคม (โอเคสื่อหลักเองก็ใช่ว่าจะดีกว่าประชาชนเท่าไรหรอก แต่อย่างน้อยก็มีแบบแผนและมาตรฐานการทำงานอยู่บ้าง) ภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่นำมาซึ่งข้อดีมากมาย เยอะแยะ โดยเฉพาะพลังอำนาจการสื่อสารของประชาชน แม้จุดดีมีมากมายแต่จุดอ่อนก็มีมากไม่น้อยเช่นกัน! เพราะมันเหมือนกับว่าทำนบใหญ่ถูกเปิดออก ปริมาณน้ำเสียมากกว่าน้ำดีมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วน้ำเน่าน้ำเสียกำลังไหลบ่าด้วยสิ
ภาวะแบบนี้ประชาชนที่พอมีสติ มีข้อมูลในมือและมีความยับยั้งชั่งใจอยู่รอดปลอดภัยแน่นอน แต่ปัญหาก็คือสังคมส่วนใหญ่ที่มักจะเฮโลสาระพา เห็นอะไรก็ไลค์ก็แชร์ หยิบไปดราม่าแสดงความเห็น Hate-speech แบบสุดโต่งของตัวเองต่อ อย่างกรณีล่าสุดวิวาทะว่าด้วยโรฮิงยาก็เห็นๆ กันอยู่ว่าสังคมแบบสุดโต่งนั้นแสดงอะไรออกมาบ้าง
และไม่ใช่แค่มวลชนดราม่าเท่านั้น สื่อมวลชนกระแสหลัก(เดิม) จำนวนไม่น้อยเองก็ร่วมดราม่าไปตามกระแสน้ำเน่าไหลบ่าด้วย บางสำนักเป็นแหล่งแพร่ข่าวสารเท็จเอง บางสำนักแพร่และกระตุ้นอารมณ์สุดโต่งเอง ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องโรฮิงยาแต่เป็นเรื่องอื่นๆ ก่อนหน้ามากมายที่สื่อกระแสหลักเองเป็นต้นตอปลุกกระแสดราม่าทางโซเชี่ยลมีเดีย หรือเอาดราม่าในโซเชี่ยลมีเดียไม่มีต้นตอแหล่งข่าวอะไรชัดเจนก็หยิบมาเป็นข่าวเสียอย่างนั้น!
ภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์แวดล้อมใหม่ของการสื่อสาร สื่อมวลชนที่เคยมีบทบาทเดิมต้องปรับตัวอยู่แล้ว ตั้งแต่สื่อใหญ่ยักษ์ในยุโรป อเมริกามาจนถึงเมืองไทยของเราต่างก็ทยอยปรับกันมาร่วม 10 ปีแล้ว แต่เท่าที่เห็นนั้นส่วนใหญ่มักจะเน้นไปทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในเชิงธุรกิจ ผสมผสานการผลิตข่าวสารต้นทางกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดใหม่เป็นหลัก ปัญหาปากท้องสำคัญกว่า คนในวงการเลยยังพูดถึงภาระบทบาทของสื่อ ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมใหม่น้อยไปหน่อย!
ในฐานะที่อยู่ในแวดวงวิชาชีพนี้ ผมคิดว่า ในท่ามกลางภาวะกระแสสื่อใหม่ไหลบ่าพร้อมกับน้ำเสียน้ำเน่า (มากกว่าน้ำดี) เช่นนี้ บทบาทความเป็นกระจกของสื่อมวลชนยิ่งต้องเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ต้องไม่เป็นตัวการก่อน้ำเน่าเสียเอง เพราะแต่ก่อนเวลาน้ำเน่ามันไหลไปก็แค่ไหลตามร่อง ความเสียจำกัด มายุคนี้มันขยายออกเพิ่มปริมาณความเสียหายมากกว่ากันเยอะ แล้วก็ไม่ใช่เป็นตัวกระพือน้ำเน่าจากโซเชียลมีเดียเสียเอง
ส่วนบทบาทตะเกียง คือสื่อเป็นพื้นที่รวมเอานักคิด วงความคิดความเห็นดีๆ ที่จะชี้นำให้สติปัญญาสังคมมานำเสนอให้สาธารณะนั้น ในยุคนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงปัญญาชนสาธารณะ แหล่งความคิดความเห็นได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย “พื้นที่” ของสื่อเหมือนกับยุคก่อนหน้า ความคิดความเห็นและข้อวิพากษ์วิจารณ์ยังมีความจำเป็นต่อสังคมทุกสังคมโดยเฉพาะสังคมแบบเปิด บทบาทส่วนนี้ของสื่อหลักอาจจะแค่เพิ่มกลวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสำคัญ
ในยุคที่กระแสข่าวสารไหลบ่าแบบนี้ กระจก กับ ตะเกียง อาจจะไม่พอแล้วกระมังครับ !!
“พื้นที่” ไม่ใช่ปัญหาและสิ่งที่ต้องมาพิจารณาอะไรเหมือนเดิม “เนื้อหา” ต่างหากที่มีความสำคัญสูงสุด!!
ยิ่งสื่อสังคมไปเร็วเท่าไหร่ หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ขึ้นมาโอกาสที่ความผิดพลาดนั้นจะเดินทางแพร่กระจายต่อไปก็ยิ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น บทบาทส่วนที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้นมาคือบทบาทเหนี่ยวรั้ง ทัดทาน และให้ข้อเท็จจริงกับกระแสความเข้าใจผิดในสังคมให้ทันท่วงที
ที่จริงแล้วบทบาทเหนี่ยวรั้ง ทัดทาน และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีความเข้าใจผิดของสังคมเนื้อแท้คือการให้ข้อเท็จจริง หรือบทบาทของ “กระจก” นั่นล่ะ หากแต่ว่าต้องเป็นกระจกที่รีบส่องให้ทันสถานการณ์ บนความเร็วของการสื่อสารใหม่ เป็นกระจกที่มีหน้าที่เป็น “ห้ามล้อ” ไปในตัว
ซึ่งหากพัฒนาการของสังคมสื่อสารใหม่ยังขยายเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยียังเป็นไปตามแนวโน้มเดิม การสื่อสารสังคมจะเป็นพื้นที่หลัก หรือ Platform หลักของการสื่อสารในสังคมแทนที่สื่อเดิมๆ สังคมยิ่งจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่ยืนยันและตรวจสอบข้อเท็จจริง ช่วย “ห้ามล้อ” เหนี่ยวรั้งทัดทานข่าวสารผิดพลาด หรือที่ก่อให้เกิดผลด้านลบที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งนี่ควรจะเป็นบทบาทของสื่อสารมวลชนกระแสหลัก (ที่มีอยู่เดิม) ใช่หรือไม่?
เข้าใจ (ไปตามประสา) ว่า ศาสตร์ทางด้านสื่อสารมวลชนไม่เคยจำแนกชนิดของสื่อสารมวลชนประเภทที่ว่า ค้นดูหลายตำรา ถามกูเกิ้ลก็แล้วไม่รู้ว่าควรจะเรียกขานอย่างไร
ขออนุญาตเรียกบทบาทหน้าที่ดังกล่าวว่า การวารสารศาสตร์ทัดทาน - Admonishing journalist ไปพลางๆ!
สื่อทีวี หรือวิทยุ มีจำนวนไม่มาก ทั้งนี้ขึ้นกับการอนุญาตให้ใช้คลื่น ฟรีทีวีไทยจึงมีอยู่แค่ที่เห็นมายาวนาน หรือแม้กระทั่งจำนวนหนังสือพิมพ์ในท้องตลาดที่จะอยู่รอดได้ต้องใช้องค์ประกอบมากมายแบบที่ชาวบ้านทั่วไปทำกันไม่ได้ ต้องมีทั้งทุน ต้องรวบรวมผู้คน ต้องเกี่ยวกับการพิมพ์และการจัดจำหน่ายที่ยุ่งยากและไหนจะการแข่งขันการตลาดอีก ดังนั้นจำนวนหนังสือพิมพ์อาชีพจริงๆ จึงไม่มาก อย่างที่เห็นกันอยู่ตลอดสี่ห้าทศวรรษที่ผ่านมา
วงการวิชาการสื่อเขาจึงบอกว่า ด้วยการที่ “พื้นที่สื่อมีอยู่จำกัด” ดังนั้นสื่อจึงมีอำนาจกำหนดประเด็นของสังคมสูง คนในวงการนี้มีสถานะเป็น Gatekeepers ของข่าวสาร แต่ละวันมีข่าวสารอะไรต้องผ่านประตูให้สื่อเลือกสรรเสียก่อนเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
ศาสตร์ว่าด้วยวารสารและการสื่อสารมวลชนถือกำเนิดก่อนสงครามโลก ก่อนหน้านั้นมีสื่อหนังสือพิมพ์มาก่อนเป็นร้อยปีแต่ก็ไม่ได้จับมาขมวดเป็นหลักวิชาในฐานะศาสตร์ๆหนึ่ง ซึ่งจะว่าไปเนื้อหาหลักการต่างๆ ที่กำหนดออกมาให้คนร่ำเรียนและจดจำกัน ส่วนหนึ่งก็เพื่อความมั่นคง มั่นใจของนักลงทุนในกิจการสื่อสารด้วย มันจึงเป็นแบบแผนออกมาว่าสื่อจะต้องอย่างนี้ อย่างนั้น เข้ามาอยู่แล้วต้องมีอาชีวปฏิภาณอย่างไรสืบทอดกันมา เพราะธุรกิจสื่อในยุคที่กำลังเติบโตยุคแรกๆ โน้นมุ่งหวังจับตลาดที่กว้างขวางขึ้นๆ จากเมืองสู่ตลาดระดับชาติ เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก(Mass) ที่ต่างร้อยพ่อพันแม่คนละอุดมการณ์ความเห็น การจะขายข่าวสารเนื้อหาได้มีแต่ต้องทำให้มันดูปราศจากอคติแบบเนียนๆ มีแต่เนื้อ แยกข่าวสารกับความเห็นออกจากกันให้ชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อความน่าเชื่อถือ ถ้าสื่อปราศจากความน่าเชื่อถือแล้วธุรกิจสื่อนั้นๆ ก็รอเจ๊ง ขายเป็นแมสไม่ได้ ปรัชญาของสื่อคือขายข้อเท็จจริงเพื่อให้คนรู้
มันจึงมีคำว่า “กระจก” ขึ้นมา หมายความว่า ภาพสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม
สื่อได้สถาปนาตนเองมาเป็นสถาบันหลักหนึ่งของสังคม นี่เป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์แต่โบราณกาล ยิ่งสังคมซับซ้อนความต้องการสื่อสารระหว่างกัน ตัวกลางสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญ และสื่อคือภาพจำลองสังคมมนุษย์ในภาพใหญ่ ลองสังเกตดูสิครับ ไม่มีวงสนทนาใดที่มีแต่ข้อมูลล้วนๆ ไม่ว่าฝรั่งหรือไทยก็มีวงน้ำชา ทุกวงจะมีความเห็น และความพยายามสรุป ขมวดความเข้าใจให้ความหมายเพิ่มต่อข่าวสารที่ได้ยินมากันแทบทั้งนั้น บทบาทของสื่อที่ยอมรับกันโดยทั่วไปก็คือสถาบันที่รวบรวมเป็นสื่อกลางของความเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ข้อสังเกต มุมมองนำเสนอพร้อมกันไปด้วย
สื่อชี้นำสังคมได้เพราะสังคมต้องอาศัย “พื้นที่” (อันมีจำกัด) ของสื่อสารมวลชนในการรับรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร
นักวิชาสื่อชื่อดังของไทยอย่าง บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เคยใช้คำสรุปบทบาทของสื่อที่ครอบคลุมว่า “ระหว่างกระจก กับ ตะเกียง” โดยเปรียบกระจกกับบทบาทนำเสนอความจริง และตะเกียงในแง่บทความของความคิดความเห็น ชี้นำสังคม เป็นชุดคำสั้นๆ ที่กินความหมายครอบคลุมการสื่อสารมวลชน (ในยุคนั้น) ได้ชัดเจน
แต่มายุคนี้ภูมิทัศน์ของสื่อเปลี่ยนไปสิ้นเชิง อำนาจของสื่อสารมวลชนแบบเดิมที่อาศัย “พื้นที่” ผูกขาดบทบาทเป็นตัวกลางข่าวสารถูกลดทอนลง เพราะใครๆ ก็สามารถสื่อสารด้วยตนเองได้ การพึ่งพาอาศัยสื่อหลักวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ก็ลดลงไป... ไม่ใช่สื่อข่าวสารหนักๆ ด้วยนะ แม้กระทั่งสื่อเพื่อความบันเทิงแบบเดิมๆ ก็มีผลกระทบด้วยเช่นกัน ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีผลต่อพฤติกรรม การปรับตัว ความรับรู้ใหม่ การตามให้ทัน ฯลฯ จิปาถะ
พลังอำนาจของการสื่อสารมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์ไม่น้อยเลยนะครับ เพราะมันสามารถก่อให้เกิดทัศนคติ อุดมการณ์ อารมณ์ความรู้สึกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมได้ อย่าโกรธกันนะครับ ขอพูดตรงๆ ที่สังเกตดูประชาชนชาวเราจำนวนไม่น้อยมีอำนาจสื่อสารในมือแล้วใช้เหมือนนนทกได้นิ้วเพชร ...ชี้กราดไปทั่ว เจออะไรก็ถ่ายมาประจาน (แล้วก็เงิบ) จู่ๆ ก็ด่าเขาสาดเสียเทเสีย เพราะมันง่ายนี่ จิ้มด่าจากในส้วมยังได้เลย ทั้งๆ ที่ในชีวิตไม่เคยทำอย่างนั้น อำนาจสื่อสารที่ใช้จากมือถือทำให้คนเผลอไปคิดว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัว การสื่อจากมือถือรู้สึกปลอดภัยกว่าการไปพูดเจรจาด้วยตัวเอง ทำให้สารที่สื่อออกไปสะท้อนอารมณ์รู้สึกเบื้องลึกมากกว่าชีวิตปกติ เกลียดแรง โกรธแรง รักแรง ดุด่าแรงๆ สุดโต่งใส่ลงไปผ่านการสื่อสารใหม่
สภาวะที่กำลังเกิดขึ้นเปรียบเหมือนกับน้ำท่วมใหญ่ที่กำลังไหลบ่า เกิดปรากฏการณ์อะไรมากมายในท่ามกลางโกลาหลนั้น เช่นเกิดมีเว็บไซต์ข่าวหน้าใหม่มุ่งทำยอดทราฟฟิคผู้เข้าชมโดยไม่สนวิธีการ, หรือการปรับตัวของช่องทางทำมาหากินเช่นการฝากร้านในอินสตาแกรมของเซเลปชื่อดัง, การไปโพสต์ขายของตามหน้าวอลล์ชาวบ้าน, การลากรวมกลุ่มขายของโดยไม่ขออนุญาตเจ้าตัว ฯลฯ สภาพโกลาหลนี้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความเสียหาย มีทั้งบวกและด้านลบ ยักษ์ใหญ่โซเชี่ยลมีเดียอย่างเฟซบุ้คก็เพิ่งมีนโยบายให้ผู้ใช้ลงทะเบียนด้วยตัวตนจริง ชื่อจริง หลังจากปล่อยให้ใช้นามแฝงรูปไม่จริงมาก่อน (แล้วก็พบว่ามันจะเป็นผลด้านลบกับสังคมในระยะยาว)
อำนาจของการสื่อการใหม่มีผลต่อผู้คนในสังคมมากอย่างไม่น่าเชื่อ! การรวมกลุ่มในโซเชียลมีเดียเป็นตามธรรมชาติของจริตและความสนใจของผู้คน เกิดวงสังคมของคนแบบเดียวกันชัดเจน บางกลุ่มสนใจเรื่องข้าวของเครื่องกายอาหารก็เจ๊าะแจ๊ะกันแบบหนึ่ง พวกที่เชียร์กีฬาก็เหน็บแนม หรือแค่อำอีกฝ่ายเอาสนุก แต่สำหรับคอการเมืองนี่ค่อนข้างจะดุดัน เอาจริงเอาจังกว่า
จิตวิทยาสังคมบอกว่าเมื่อคนรวมกลุ่มกันเยอะๆ กับคอเดียวกันเช่นไปเชียร์กีฬาในสนาม อาจจะนำไปสู่การยกพวกตีกันได้ง่ายๆ โซเชี่ยลมีเดียก็เหมือนกัน กลุ่มแวดวงทำให้อารมณ์รักแรง โกรธแรง เกลียดแรงขึ้นโดยไม่รู้ตัว และแวดวงก็ทำให้เรารับข่าวสารจากแหล่งหลากหลาย บางทีก็ไม่มีที่มาชัดเจน การแชร์ข่าวสารที่ไม่ได้ตรวจสอบ (แต่ถูกใจไว้ก่อน) เป็นเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว มิหนำซ้ำเมื่อรู้ว่าผิดพลาดก็ยังไม่ “เงิบ” แปลว่าสักพักก็แชร์ใหม่ เอาถูกใจไว้ก่อน ด่าไว้ก่อนได้เปรียบ เช่นเดิม
ภาวะแบบนี้ต่างไปจากยุคก่อนหน้าซึ่ง “พื้นที่สื่อ” มีจำกัดแล้วก็มีสื่ออาชีพที่ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูข่าวสารที่จะปล่อยออกไปสู่กระแสสังคม (โอเคสื่อหลักเองก็ใช่ว่าจะดีกว่าประชาชนเท่าไรหรอก แต่อย่างน้อยก็มีแบบแผนและมาตรฐานการทำงานอยู่บ้าง) ภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่นำมาซึ่งข้อดีมากมาย เยอะแยะ โดยเฉพาะพลังอำนาจการสื่อสารของประชาชน แม้จุดดีมีมากมายแต่จุดอ่อนก็มีมากไม่น้อยเช่นกัน! เพราะมันเหมือนกับว่าทำนบใหญ่ถูกเปิดออก ปริมาณน้ำเสียมากกว่าน้ำดีมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วน้ำเน่าน้ำเสียกำลังไหลบ่าด้วยสิ
ภาวะแบบนี้ประชาชนที่พอมีสติ มีข้อมูลในมือและมีความยับยั้งชั่งใจอยู่รอดปลอดภัยแน่นอน แต่ปัญหาก็คือสังคมส่วนใหญ่ที่มักจะเฮโลสาระพา เห็นอะไรก็ไลค์ก็แชร์ หยิบไปดราม่าแสดงความเห็น Hate-speech แบบสุดโต่งของตัวเองต่อ อย่างกรณีล่าสุดวิวาทะว่าด้วยโรฮิงยาก็เห็นๆ กันอยู่ว่าสังคมแบบสุดโต่งนั้นแสดงอะไรออกมาบ้าง
และไม่ใช่แค่มวลชนดราม่าเท่านั้น สื่อมวลชนกระแสหลัก(เดิม) จำนวนไม่น้อยเองก็ร่วมดราม่าไปตามกระแสน้ำเน่าไหลบ่าด้วย บางสำนักเป็นแหล่งแพร่ข่าวสารเท็จเอง บางสำนักแพร่และกระตุ้นอารมณ์สุดโต่งเอง ที่กล่าวมานี้ไม่ใช่เรื่องโรฮิงยาแต่เป็นเรื่องอื่นๆ ก่อนหน้ามากมายที่สื่อกระแสหลักเองเป็นต้นตอปลุกกระแสดราม่าทางโซเชี่ยลมีเดีย หรือเอาดราม่าในโซเชี่ยลมีเดียไม่มีต้นตอแหล่งข่าวอะไรชัดเจนก็หยิบมาเป็นข่าวเสียอย่างนั้น!
ภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์แวดล้อมใหม่ของการสื่อสาร สื่อมวลชนที่เคยมีบทบาทเดิมต้องปรับตัวอยู่แล้ว ตั้งแต่สื่อใหญ่ยักษ์ในยุโรป อเมริกามาจนถึงเมืองไทยของเราต่างก็ทยอยปรับกันมาร่วม 10 ปีแล้ว แต่เท่าที่เห็นนั้นส่วนใหญ่มักจะเน้นไปทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในเชิงธุรกิจ ผสมผสานการผลิตข่าวสารต้นทางกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดใหม่เป็นหลัก ปัญหาปากท้องสำคัญกว่า คนในวงการเลยยังพูดถึงภาระบทบาทของสื่อ ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมใหม่น้อยไปหน่อย!
ในฐานะที่อยู่ในแวดวงวิชาชีพนี้ ผมคิดว่า ในท่ามกลางภาวะกระแสสื่อใหม่ไหลบ่าพร้อมกับน้ำเสียน้ำเน่า (มากกว่าน้ำดี) เช่นนี้ บทบาทความเป็นกระจกของสื่อมวลชนยิ่งต้องเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ต้องไม่เป็นตัวการก่อน้ำเน่าเสียเอง เพราะแต่ก่อนเวลาน้ำเน่ามันไหลไปก็แค่ไหลตามร่อง ความเสียจำกัด มายุคนี้มันขยายออกเพิ่มปริมาณความเสียหายมากกว่ากันเยอะ แล้วก็ไม่ใช่เป็นตัวกระพือน้ำเน่าจากโซเชียลมีเดียเสียเอง
ส่วนบทบาทตะเกียง คือสื่อเป็นพื้นที่รวมเอานักคิด วงความคิดความเห็นดีๆ ที่จะชี้นำให้สติปัญญาสังคมมานำเสนอให้สาธารณะนั้น ในยุคนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงปัญญาชนสาธารณะ แหล่งความคิดความเห็นได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัย “พื้นที่” ของสื่อเหมือนกับยุคก่อนหน้า ความคิดความเห็นและข้อวิพากษ์วิจารณ์ยังมีความจำเป็นต่อสังคมทุกสังคมโดยเฉพาะสังคมแบบเปิด บทบาทส่วนนี้ของสื่อหลักอาจจะแค่เพิ่มกลวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นสำคัญ
ในยุคที่กระแสข่าวสารไหลบ่าแบบนี้ กระจก กับ ตะเกียง อาจจะไม่พอแล้วกระมังครับ !!
“พื้นที่” ไม่ใช่ปัญหาและสิ่งที่ต้องมาพิจารณาอะไรเหมือนเดิม “เนื้อหา” ต่างหากที่มีความสำคัญสูงสุด!!
ยิ่งสื่อสังคมไปเร็วเท่าไหร่ หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ขึ้นมาโอกาสที่ความผิดพลาดนั้นจะเดินทางแพร่กระจายต่อไปก็ยิ่งเร็วมากขึ้นเท่านั้น บทบาทส่วนที่ต้องพิจารณาเพิ่มขึ้นมาคือบทบาทเหนี่ยวรั้ง ทัดทาน และให้ข้อเท็จจริงกับกระแสความเข้าใจผิดในสังคมให้ทันท่วงที
ที่จริงแล้วบทบาทเหนี่ยวรั้ง ทัดทาน และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกรณีความเข้าใจผิดของสังคมเนื้อแท้คือการให้ข้อเท็จจริง หรือบทบาทของ “กระจก” นั่นล่ะ หากแต่ว่าต้องเป็นกระจกที่รีบส่องให้ทันสถานการณ์ บนความเร็วของการสื่อสารใหม่ เป็นกระจกที่มีหน้าที่เป็น “ห้ามล้อ” ไปในตัว
ซึ่งหากพัฒนาการของสังคมสื่อสารใหม่ยังขยายเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยียังเป็นไปตามแนวโน้มเดิม การสื่อสารสังคมจะเป็นพื้นที่หลัก หรือ Platform หลักของการสื่อสารในสังคมแทนที่สื่อเดิมๆ สังคมยิ่งจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่ยืนยันและตรวจสอบข้อเท็จจริง ช่วย “ห้ามล้อ” เหนี่ยวรั้งทัดทานข่าวสารผิดพลาด หรือที่ก่อให้เกิดผลด้านลบที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งนี่ควรจะเป็นบทบาทของสื่อสารมวลชนกระแสหลัก (ที่มีอยู่เดิม) ใช่หรือไม่?
เข้าใจ (ไปตามประสา) ว่า ศาสตร์ทางด้านสื่อสารมวลชนไม่เคยจำแนกชนิดของสื่อสารมวลชนประเภทที่ว่า ค้นดูหลายตำรา ถามกูเกิ้ลก็แล้วไม่รู้ว่าควรจะเรียกขานอย่างไร
ขออนุญาตเรียกบทบาทหน้าที่ดังกล่าวว่า การวารสารศาสตร์ทัดทาน - Admonishing journalist ไปพลางๆ!