เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558 มีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นที่เนปาล เวลา 13.11 น. มีขนาด 7.8 ริกเตอร์โดยเกิดจากรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ ระหว่างแนวมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Thrust fault) ใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย (Eurosia Plate) ไปในทิศทางด้านเหนือ จุดศูนย์กลางเกิดห่างจากเมืองกาฏมัณฑุซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 80 กิโลเมตร อยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 15 กิโลเมตร ไหวอยู่ราว 20 วินาที และในวันถัดมา วันที่ 26 เมษายน ก็เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งหนึ่งขนาด 6.7
ในขณะนี้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน บาดเจ็บอีกราว 17,000 คน ตัวเลขนี้ยังคงไม่นิ่งยังมีการขยับอยู่เรื่อยๆ แม้จะผ่านไปหลายวันแล้วก็ตาม
แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังทำให้โบราณสถานสำคัญหลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว บางส่วนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถูกทำลายเสียหายยับเยิน อาทิเช่น ธาราฮาราหอคอยเก่าแก่ที่สูงที่สุดในเนปาล สถูปปูธานารถ เทวสถานสำคัญทางพุทธศาสนาในเนปาล สถูปเจดีย์เก่าแก่ ภายในจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์
เนปาล เป็นประเทศขนาดเล็กและยากจนในเอเชียใต้ มีชื่อทางการว่าสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล(Federal Democratic Republic of Nepal) มีพื้นที่ยาวแคบทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือติดทิเบต ทางใต้ติดอินเดีย
พื้นที่ประเทศเนปาล เล็กกว่าไทยมาก คือมีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร (ไทยมีพื้นที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรเพียง 28.1 ล้านคน (ปี 2557) ขณะที่ไทยมีประชากร 64ล้านคน(ปี 2557 )ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา ฮินดู ร้อยละ 86 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ7.8 และอื่นๆร้อย ละ 7
เนปาลเป็นประเทศเล็กๆ ยากจน รายได้ประชาชาติต่อหัว 694 ดอลล่าร์สหรัฐ(ข้อมูล ปี 2556) ถ้าเปรียบเทียบกับไทย รายได้ต่อหัว 5,130 ดอลล่าร์สหรัฐ( ข้อมูลปี 2554) เนปาลมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว สินค้าส่งออกคือ สิ่งทอ พรม ผ้าพาชมีนา ประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีอิทธิพลต่อเนปาลมาก คือ จีน อินเดีย
ดูข้อมูลพื้นฐานของเนปาลแล้ว นับเป็นประเทศที่เล็กทั้งขนาดและประชากร ไทยกับเนปาล มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางวัฒนธรรม และศาสนาพุทธ หนึ่งในสี่สังเวชนียสถานของชาวพุทธ อยู่ในเนปาล คือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าอยู่ที่เมืองลุมพินี เมืองสำคัญที่ชาวพุทธรวมทั้งคนไทยเดินทางไปสักการะ
เนปาลเป็นประเทศที่ยากจนขาดแคลนมากประเทศหนึ่งของโลก ผมเคยได้เข้าไปในเนปาลครั้งหนึ่งสมัยไปทัวร์ สี่ สังเวชนียสถาน ตามรอยพระพุทธเจ้า คน เนปาลยากจนไม่ต่างอะไรกับอินเดียมากนัก มีขอทานให้เห็นจำนวนมาก บ้านเมืองเก่าและทรุดโทรมมาก
แผ่นดินไหวในเนปาล สร้างความเสียหายครั้งหญ่ ประเทศไทยเราก็เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate) ล้อมรอบด้วยแผ่นเปลือกโลกอีก 2 แผ่น คือแผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Plate) จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ก็เคยปรากฏเหตุแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในประเทศไทยอยู่บ้างเล็กน้อย
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี แถลงผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเนปาลต่อไทยเมื่อวันที่ 27 เม.ย.58 ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลเมื่อ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา จากการตรวจวัดของเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่กรมทรัพยากรธรณีติดตั้งไว้เพื่อศึกษาพฤติกรรมรอยเลื่อนมีพลังของประเทศไทย พบว่ามีแผ่นดินไหวหลักและแผ่นดินไหวตามจนถึงวันที่ 27 เม.ย.รอบๆ แนวเกิดแผ่นดินไหวแล้ว 20 ครั้ง และพบว่ามีการไหวต่อเนื่องมายังรอยเลื่อนสะกายในพม่า จนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 และ 4.6 ริกเตอร์ในรัฐฉาน เมื่อบ่ายวันที่ 26 เม.ย.
ส่วนแนวรอยเลื่อนแขนงในไทยที่ต่อเนื่องจากแนวรอยเลื่อนสกายมี 3 รอยเลื่อนที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ คือ รอยเลื่อนแม่ปิง-เมย (จ.ตาก) รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ (กาญจนบุรี) และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่เป็นแขนงเล็กๆ ความรุนแรงอาจจะน้อย
แผ่นดินไหวในไทยถูกกำหนดด้วย รอยเลื่อนตามแนวแม่น้ำแดงซึ่งส่งผลต่อทางภาคเหนือ รอยเลื่อนสกายในพม่าที่ส่งผลต่อฝั่งตะวันตกของไทย ตั้งแต่แม่ฮ่องสอน ตาก สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และรอยเลื่อนตามแนวมุดตัวในสุมาตราและอันดามัน ที่ส่งผลต่อรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยและรอยเลื่อนระนอง ถ้า 3 รอยเลื่อนนี้ขยับตัว ไทยต้องเตรียมแผนรับมือ
ข้อมูลจากนักวิชาการ รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ว่าภูเก็ตไม่จมทะเลง่ายๆ อย่างที่กลัวกัน เนื่องจากตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า100 ล้านปี
ก่อนหน้านี้รอยเลื่อนในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจที่สุดคือรอยเลื่อนแม่จันที่พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุดและเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนละแวกใกล้เคียงแล้วคือรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานของจีนที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2552 และรอยเลื่อนน้ำมาในลาวและพม่าที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2554 แต่รอยเลื่อนแม่จันยังไม่ขยับและกำลังสะสมพลังงานอยู่ ซึ่งเมื่อ1,000 กว่าปีที่แล้วเคยแผลงฤทธิ์ ทำให้นครโยนกในอดีตต้องล่มสลาย ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร
หลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเมื่อ2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ "ใกล้คาบอุบัติซ้ำ" ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว รอยเลื่อนกำลังสะสมพลังงานอยู่ ไม่รู้ว่าปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาเกือบ 40 ปี มีแผ่นดินไหวขนาดกลาง (5.0-5.9 ริกเตอร์) เกิดขึ้น 8 ครั้ง หรือเฉลี่ย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 ครั้ง ภาคตะวันตก 3 ครั้ง โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบ้านเราส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 6.0 ริกเตอร์
สำหรับพื้นที่และบริเวณเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเรามีดังนี้ คือ
1.พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี
2.พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
3.พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ใครอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ก็ต้องตื่นตัวหาความรู้ ติดตามข่าวสาร ส่วน อาคารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ ตึกแถวที่มีเสาขนาดเล็กเกินไปและมีคานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสูงไม่เกิน 4-5 ชั้น อาคารพื้นท้องเรียบไร้คานรองรับ เช่น อาคารจอดรถ อาคารสำนักงานบางแห่ง อาคารสูงที่มีดีไซน์แปลกๆ รูปทรงซับซ้อน มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนยื่น หรือลูกเล่นมากๆ อาคารหรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เช่น ใช้คาน หรือเสาสำเร็จรูปมาต่อกัน อาคารที่ทำการต่อเติมและทำทางเดินเชื่อมต่อกัน อาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น อาคารทำจากอิฐไม่เสริมเหล็ก อาคารที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีความเสี่ยงทุกความสูง ส่วนอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความสูงตั้งแต่ 5-6 ชั้น และอาคารเตี้ยที่ก่อสร้างไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ถือว่ามีความเสี่ยง
อาคารที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาหลังจากที่มีกฎกระทรวงปี พ.ศ. 2550 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550) ออกมา หากออกแบบและก่อสร้างอาคารตามกฎหมายนี้ก็จะทำให้อาคารมีความปลอดภัย แต่อาคารเก่าจำนวนมากที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว
อาคารบ้านช่องและที่ทำงานใกล้ตัวของใครอยู่ในข่ายความเสี่ยงเหล่านี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เตรียมแผนปรับปรุง รับมือไว้บ้างนะครับ
แผ่นดินไหวที่เนปาล บอกอะไรคนไทยบ้าง ผมว่าคนไทยต้องมีความรู้และเตรียมพร้อมรับมือมากกว่าที่เป็นอยู่ ต้องตระหนักว่า พื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือและฝั่งอันดามันมีรอยเลื่อนหลายรอย ที่กำลังสะสมพลังงาน เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรงบ่อยขึ้น และอาจเกิดรุนแรงเกิน 6 ริกเตอร์ จะส่งผลเสียหายหนักอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
และเมื่อเราได้เห็นบทเรียนจากเนปาลแล้ว ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่าเราก็มีตัวอย่างดีๆในการรับมือกับภัยภิบัติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหว เรื่องนี้คงต้องยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการเตรียมพร้อมรับมือในเรื่องนี้อย่างดี ทั้งการออกแบบตัวอาคารให้รับมือแผ่นดินไหวได้ การทำงานที่รวดเร็วและแม่นยำในการแจ้งเตือนหากจะเกิดแผ่นดินไหว เช่นการส่งข้อความเตือนประชาชนก่อนเกิดเหตุการณ์เพือที่จะได้ลดการสูญเสียลง และที่สำคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนตั้งแต่เด็กๆเลยทีเดียว ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีความรู้และพร้อมเสมอเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
ในขณะนี้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 7,000 คน บาดเจ็บอีกราว 17,000 คน ตัวเลขนี้ยังคงไม่นิ่งยังมีการขยับอยู่เรื่อยๆ แม้จะผ่านไปหลายวันแล้วก็ตาม
แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังทำให้โบราณสถานสำคัญหลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว บางส่วนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ถูกทำลายเสียหายยับเยิน อาทิเช่น ธาราฮาราหอคอยเก่าแก่ที่สูงที่สุดในเนปาล สถูปปูธานารถ เทวสถานสำคัญทางพุทธศาสนาในเนปาล สถูปเจดีย์เก่าแก่ ภายในจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์
เนปาล เป็นประเทศขนาดเล็กและยากจนในเอเชียใต้ มีชื่อทางการว่าสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล(Federal Democratic Republic of Nepal) มีพื้นที่ยาวแคบทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือติดทิเบต ทางใต้ติดอินเดีย
พื้นที่ประเทศเนปาล เล็กกว่าไทยมาก คือมีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร (ไทยมีพื้นที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรเพียง 28.1 ล้านคน (ปี 2557) ขณะที่ไทยมีประชากร 64ล้านคน(ปี 2557 )ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา ฮินดู ร้อยละ 86 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ7.8 และอื่นๆร้อย ละ 7
เนปาลเป็นประเทศเล็กๆ ยากจน รายได้ประชาชาติต่อหัว 694 ดอลล่าร์สหรัฐ(ข้อมูล ปี 2556) ถ้าเปรียบเทียบกับไทย รายได้ต่อหัว 5,130 ดอลล่าร์สหรัฐ( ข้อมูลปี 2554) เนปาลมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว สินค้าส่งออกคือ สิ่งทอ พรม ผ้าพาชมีนา ประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีอิทธิพลต่อเนปาลมาก คือ จีน อินเดีย
ดูข้อมูลพื้นฐานของเนปาลแล้ว นับเป็นประเทศที่เล็กทั้งขนาดและประชากร ไทยกับเนปาล มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางวัฒนธรรม และศาสนาพุทธ หนึ่งในสี่สังเวชนียสถานของชาวพุทธ อยู่ในเนปาล คือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าอยู่ที่เมืองลุมพินี เมืองสำคัญที่ชาวพุทธรวมทั้งคนไทยเดินทางไปสักการะ
เนปาลเป็นประเทศที่ยากจนขาดแคลนมากประเทศหนึ่งของโลก ผมเคยได้เข้าไปในเนปาลครั้งหนึ่งสมัยไปทัวร์ สี่ สังเวชนียสถาน ตามรอยพระพุทธเจ้า คน เนปาลยากจนไม่ต่างอะไรกับอินเดียมากนัก มีขอทานให้เห็นจำนวนมาก บ้านเมืองเก่าและทรุดโทรมมาก
แผ่นดินไหวในเนปาล สร้างความเสียหายครั้งหญ่ ประเทศไทยเราก็เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian Plate) ล้อมรอบด้วยแผ่นเปลือกโลกอีก 2 แผ่น คือแผ่นเปลือกโลกอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) และแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Plate) จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ ก็เคยปรากฏเหตุแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ในประเทศไทยอยู่บ้างเล็กน้อย
อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี แถลงผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเนปาลต่อไทยเมื่อวันที่ 27 เม.ย.58 ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลเมื่อ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา จากการตรวจวัดของเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่กรมทรัพยากรธรณีติดตั้งไว้เพื่อศึกษาพฤติกรรมรอยเลื่อนมีพลังของประเทศไทย พบว่ามีแผ่นดินไหวหลักและแผ่นดินไหวตามจนถึงวันที่ 27 เม.ย.รอบๆ แนวเกิดแผ่นดินไหวแล้ว 20 ครั้ง และพบว่ามีการไหวต่อเนื่องมายังรอยเลื่อนสะกายในพม่า จนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 และ 4.6 ริกเตอร์ในรัฐฉาน เมื่อบ่ายวันที่ 26 เม.ย.
ส่วนแนวรอยเลื่อนแขนงในไทยที่ต่อเนื่องจากแนวรอยเลื่อนสกายมี 3 รอยเลื่อนที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ คือ รอยเลื่อนแม่ปิง-เมย (จ.ตาก) รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ (กาญจนบุรี) และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่เป็นแขนงเล็กๆ ความรุนแรงอาจจะน้อย
แผ่นดินไหวในไทยถูกกำหนดด้วย รอยเลื่อนตามแนวแม่น้ำแดงซึ่งส่งผลต่อทางภาคเหนือ รอยเลื่อนสกายในพม่าที่ส่งผลต่อฝั่งตะวันตกของไทย ตั้งแต่แม่ฮ่องสอน ตาก สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และรอยเลื่อนตามแนวมุดตัวในสุมาตราและอันดามัน ที่ส่งผลต่อรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยและรอยเลื่อนระนอง ถ้า 3 รอยเลื่อนนี้ขยับตัว ไทยต้องเตรียมแผนรับมือ
ข้อมูลจากนักวิชาการ รศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ว่าภูเก็ตไม่จมทะเลง่ายๆ อย่างที่กลัวกัน เนื่องจากตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า100 ล้านปี
ก่อนหน้านี้รอยเลื่อนในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจที่สุดคือรอยเลื่อนแม่จันที่พาดผ่านเชียงรายและเชียงใหม่ เป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุดและเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากรอยเลื่อนละแวกใกล้เคียงแล้วคือรอยเลื่อนในมณฑลยูนนานของจีนที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2552 และรอยเลื่อนน้ำมาในลาวและพม่าที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อปี2554 แต่รอยเลื่อนแม่จันยังไม่ขยับและกำลังสะสมพลังงานอยู่ ซึ่งเมื่อ1,000 กว่าปีที่แล้วเคยแผลงฤทธิ์ ทำให้นครโยนกในอดีตต้องล่มสลาย ซึ่งมีการบันทึกไว้ในพงศาวดาร
หลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวบนบก 6-7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยเมื่อ2,000 ปีที่แล้วและ 4,000 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้ "ใกล้คาบอุบัติซ้ำ" ของการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้ว รอยเลื่อนกำลังสะสมพลังงานอยู่ ไม่รู้ว่าปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่ผ่านมาเกือบ 40 ปี มีแผ่นดินไหวขนาดกลาง (5.0-5.9 ริกเตอร์) เกิดขึ้น 8 ครั้ง หรือเฉลี่ย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 ครั้ง ภาคตะวันตก 3 ครั้ง โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบ้านเราส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 6.0 ริกเตอร์
สำหรับพื้นที่และบริเวณเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเรามีดังนี้ คือ
1.พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี
2.พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
3.พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ใครอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ก็ต้องตื่นตัวหาความรู้ ติดตามข่าวสาร ส่วน อาคารที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ได้แก่ ตึกแถวที่มีเสาขนาดเล็กเกินไปและมีคานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอาคารสูงไม่เกิน 4-5 ชั้น อาคารพื้นท้องเรียบไร้คานรองรับ เช่น อาคารจอดรถ อาคารสำนักงานบางแห่ง อาคารสูงที่มีดีไซน์แปลกๆ รูปทรงซับซ้อน มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ส่วนยื่น หรือลูกเล่นมากๆ อาคารหรือบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป เช่น ใช้คาน หรือเสาสำเร็จรูปมาต่อกัน อาคารที่ทำการต่อเติมและทำทางเดินเชื่อมต่อกัน อาคารที่ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น อาคารทำจากอิฐไม่เสริมเหล็ก อาคารที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกของประเทศไทย มีความเสี่ยงทุกความสูง ส่วนอาคารในกรุงเทพฯ ที่มีความสูงตั้งแต่ 5-6 ชั้น และอาคารเตี้ยที่ก่อสร้างไม่ดี ไม่มีมาตรฐาน ถือว่ามีความเสี่ยง
อาคารที่สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาหลังจากที่มีกฎกระทรวงปี พ.ศ. 2550 (กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550) ออกมา หากออกแบบและก่อสร้างอาคารตามกฎหมายนี้ก็จะทำให้อาคารมีความปลอดภัย แต่อาคารเก่าจำนวนมากที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้ต้านทานแผ่นดินไหว
อาคารบ้านช่องและที่ทำงานใกล้ตัวของใครอยู่ในข่ายความเสี่ยงเหล่านี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เตรียมแผนปรับปรุง รับมือไว้บ้างนะครับ
แผ่นดินไหวที่เนปาล บอกอะไรคนไทยบ้าง ผมว่าคนไทยต้องมีความรู้และเตรียมพร้อมรับมือมากกว่าที่เป็นอยู่ ต้องตระหนักว่า พื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือและฝั่งอันดามันมีรอยเลื่อนหลายรอย ที่กำลังสะสมพลังงาน เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรงบ่อยขึ้น และอาจเกิดรุนแรงเกิน 6 ริกเตอร์ จะส่งผลเสียหายหนักอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
และเมื่อเราได้เห็นบทเรียนจากเนปาลแล้ว ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่าเราก็มีตัวอย่างดีๆในการรับมือกับภัยภิบัติ โดยเฉพาะแผ่นดินไหว เรื่องนี้คงต้องยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการเตรียมพร้อมรับมือในเรื่องนี้อย่างดี ทั้งการออกแบบตัวอาคารให้รับมือแผ่นดินไหวได้ การทำงานที่รวดเร็วและแม่นยำในการแจ้งเตือนหากจะเกิดแผ่นดินไหว เช่นการส่งข้อความเตือนประชาชนก่อนเกิดเหตุการณ์เพือที่จะได้ลดการสูญเสียลง และที่สำคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนตั้งแต่เด็กๆเลยทีเดียว ทำให้ชาวญี่ปุ่นมีความรู้และพร้อมเสมอเมื่อเกิดแผ่นดินไหว