ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครองอำนาจในช่วงกึ่งพุทธกาลไปจนถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 นั้น ถือว่าเป็นนายกฯ ที่มีทั้งคนรักและคนชังอย่างชัดเจน
ด้วยเพราะการใช้อำนาจตามสไตล์ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”
ดังนั้น ใครจะเกลียดก็เกลียด รักก็รักไปคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยว ไม่เหมือนผู้ยิ่งใหญ่หลายคนทั้งก่อนหน้าและหลังจากนั้น ที่ยังมีบริวารคอยเกลี่ยผลงานทั้งทางร้ายทางดี
โดยในขณะนั้น เครื่องมือสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินเร่งด่วน คือการใช้อำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มาตรา 17 หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ม.17”
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และจดจำว่าเป็นการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจแทนศาลและสภาฯ โดยเด็ดขาดจบในตัว
แต่สิ่งที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งยังคงจดจำและระลึกถึง รวมทั้งยังนิยมในตัวจอมพลผ้าขาวม้าแดงอยู่มาก คือการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เข้มงวดดังกล่าวนั้น ก็ถูกใช้ไปในทางที่แก้ปัญหาเรื้อรังหลายๆ อย่างที่ชาวบ้านเดือดร้อน
ทั้งเรื่องนักเลงอันธพาลในยุคก่อนหน้าที่เรียกว่าเป็นยุค “อันธพาลครองเมือง” ซึ่งอันธพาลหลายคนเป็นผู้กว้างขวาง หรือเป็นมือเป็นไม้ของรัฐบาลก่อนหน้า ก็จะถูกจับไปขังไว้ในคุกด้วยข้อหาบ่อนทำลายเป็นภัยต่อสังคม
หรือการเผาไล่ที่หรือเผาเอาประกันที่เดือดร้อนคนอื่นผู้คนยังคงจดจำตำนานเรื่อง ที่ไหนไฟไหม้ บ้านต้นเพลิงถ้าถูกสงสัยว่าวางเพลิง ก็ต้องถูกยิงเป้ากัน ณ ที่เกิดเหตุนั่นเลย เพราะก่อนหน้านั้น ตรุษจีนทีไรที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัท ก็ต้องมีไฟไหม้ทุกครั้ง พอจอมพลสฤษดิ์มาจัดการเด็ดขาดแบบเชือดไก่ให้ลิงดูไป 3 ราย 5 ราย ก็ไม่เกิดไฟไหม้ลักษณะดังกล่าวอีกเลย
เพียงสองเรื่องนี้ จอมพลสฤษดิ์ก็เป็นที่รักและนิยมศรัทธาของคนไทยสมัยนั้น มาจนถึงสมัยนี้สำหรับคนที่เกิดทันยุคนั้นหรือเคยได้ยินตำนานจากผู้หลักผู้ใหญ่
ที่เล่ามาไม่ใช่เพื่อจะแสดงว่าการปกครองในระบอบเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่อย่างใด หากเพื่อจะให้เห็นว่า เหตุใดการใช้อำนาจอย่างที่เรียกว่าเผด็จการเบ็ดเสร็จ กลับมีคนชื่นชมชื่นชอบหรือยอมรับได้
นั่นก็เพราะการใช้อำนาจดังกล่าว เป็นการช่วยแก้ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่เรื้อรังมานาน โดยไม่มีใครคิดแก้ไข หรือแก้ไขก็ไม่จริงจังด้วยลูบหน้าปะจมูก (เช่นเรื่องอันธพาลก็เนื่องมาจากขั้วการเมืองสมัยก่อนเลี้ยงอันธพาลไว้เป็นมือเป็นเท้าด้วย)
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจเด็ดขาดปัดเป่าปัญหาที่เหมือนหมดหวังแก้ให้ได้สำเร็จ จึงเรียกเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญจากประชาชนคนธรรมดาที่ไม่ได้สนใจทฤษฎีการเมืองการปกครองอันใดนัก เอาว่าใครมาแก้ปัญหาให้อยู่ได้ใช้ชีวิตสงบ เพียงนั้นก็พอแล้ว
กลับมาถึงสมัยนี้ ที่ “ท่านผู้นำ” คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ได้ใช้อำนาจแบบเดียวกับมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ไปบ้างแล้ว โดยมาตรา 17 สมัยนั้น ได้มาเกิดใหม่เป็นมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปัจจุบัน
หากการใช้อำนาจของบิ๊กตู่ยังแตกต่างจากจอมพลสฤษดิ์อยู่ กล่าวคือมีเพียงการใช้อำนาจในลักษณะบริหารและนิติบัญญัติ ในการสั่งการหรือวางกฎวางระเบียบหรือระงับใช้กฎหมายบางฉบับบางมาตราชั่วคราว เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นดำเนินไปได้โดยไม่ต้องติดขัดกับกฎระเบียบหรือขั้นตอนทางราชการปกติที่เยิ่นเย้อล่าช้า ไม่เหมาะกับการแก้ปัญหาในภาวะที่เกิดวิกฤต
แต่บิ๊กตู่ยังไม่เคยใช้อำนาจแบบตุลาการประเภทจับใครมาประหารชีวิต หรือจับไปขังคุกไว้โดยไม่ตั้งข้อหา หรือไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้เลย ซึ่งนี่เป็นจุดที่แตกต่างจากยุคจอมพลสฤษดิ์
และการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ก็เป็นการใช้เมื่อล่วงเลยมาเกือบหนึ่งปีของการรัฐประหาร เมื่อปรากฏว่าความพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามระบบระเบียบขั้นตอนของกฎหมายที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นไม่สามารถทำสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็วนัก แม้จะมีอำนาจเต็มที่แค่ไหนก็ตาม มาตรา 44 จึงเป็นเครื่องมือสุดท้ายหรือยาแรงที่จะมา “ทะลวงท่อ” ให้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ถูกแก้ไขไปได้ทันที แล้วไว้บ้านดีเมืองดีค่อยมาว่ากันเรื่องกฎเรื่องระเบียบกันใหม่
ในขณะที่ศรัทธาในรัฐบาลเริ่มลดลงเรื่อยๆ ด้วยปัญหาหลายอย่างยังไม่เห็นแนวทางแก้ไข แม้จะมีมาตรการออกมาแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาพรวมปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง และราคาสินค้าเกษตร ยังถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก
แม้ปัญหาการค้ามนุษย์ที่ทำให้ถูกสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศตั้งแง่จะกัดกันทางการค้า ก็ได้มีมาตรการออกมาแก้ไขแล้ว ซึ่งก็น่าจะมีผลดีขึ้น
ส่วนปัญหาทางการเมืองก็ยังฝุ่นตลบกันด้วยเรื่องของรัฐธรรมนูญซึ่งถูกตั้งแง่จากทุกฝ่าย
จึงอาจจะเป็นจังหวะที่ตัวนายกฯ จะออกมาใช้อำนาจเต็มตามมาตรา 44 แก้ปัญหาที่เรื้อรังมานานของประชาชน ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกหมดหวังมานาน หากถ้ามีใครสามารถมาแก้ไขไปได้ ก็น่าจะกลายเป็น “อัศวินม้าขาว” คนใหม่แห่งยุคก็ได้
ปัญหาเรื่องราคาหวยเกินราคา ซึ่งเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะเป็นสินค้าที่รัฐบาลทำเองขายเอง แต่ก็ปรากฏว่าการกำหนดราคาไว้บนสลากเป็นอันล้มเหลว ไม่มีที่ไหนเลยที่ประชาชนจะซื้อสลากกินแบ่งได้ตามราคาหน้าใบ
เรื่องเล็กๆ แต่ก็สะท้อนความล้มเหลวของภาครัฐในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย จนต้องใช้มาตรการยาแรงมาตรา 44 มาล้างบางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตลอดถึงทบทวนมาตรการยี่ปั๊วซาปั๊วและโควตาสลากกันใหม่ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยมีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถขายได้ตามราคาหน้าสลากถูกกฎหมายได้
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ประชาชนเรียกร้องอย่างเช่น ปัญหาเรื่องเมาแล้วขับที่เป็นข่าวสลดใจติดต่อกันมาตลอดสัปดาห์ ด้วยกฎหมายไม่เข้มแข็งเด็ดขาด คนเมาแล้วขับเหมือนเป็นเรื่องขำๆ ไม่เป่าหรือเป่าแล้วเกินก็ทำอะไรไม่ได้ จับไปฟ้องศาล จ่ายค่าปรับ รอลงอาญาแล้วบำเพ็ญประโยชน์ไม่นาน ไม่มีใครเข็ดหลาบ
ก็อาจจะแก้ไขกฎหมายให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่าเมาแล้วขับต้องติดคุก ถูกยึดใบขับขี่ให้ไปสอบใหม่ ส่วนใครเมาแล้วขับไปชนคนตายเข้า ก็ลงโทษเท่าฆ่าคนตายสถานหนัก และห้ามขับรถตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้กระทำโดยอำนาจศาล แต่ผ่านกฎหมายพิเศษที่ประกาศใช้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ก็ได้
เชือดไก่ให้ดูสักรายสองราย ต่อไปเรื่องเมาแล้วขับนี้อาจจะเป็นตำนาน เหมือนเรื่องเผาเอาประกันที่สมัยนี้ไม่มีแล้ว
ไม่แน่ว่าพล.อ.ประยุทธ์ อาจจะกลายเป็นตำนานให้คนในอนาคตเล่าขานกันว่า สมัยก่อนคนเมาแล้วขับกันไม่เกรงกลัวกฎหมาย แต่พอ “บิ๊กตู่” มาเป็นนายกฯ ใช้นโยบายเด็ดขาด พวกเมาแล้วขับติดคุกกันลืมบ้าน ไม่มีใครกล้าขับรถหลังจากดื่มสุรากันอีกเลย
รับรองว่าถ้าใช้มาตรา 44 แบบนี้ จะมีแต่คนอนุโมทนาสาธุ.
ด้วยเพราะการใช้อำนาจตามสไตล์ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”
ดังนั้น ใครจะเกลียดก็เกลียด รักก็รักไปคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยว ไม่เหมือนผู้ยิ่งใหญ่หลายคนทั้งก่อนหน้าและหลังจากนั้น ที่ยังมีบริวารคอยเกลี่ยผลงานทั้งทางร้ายทางดี
โดยในขณะนั้น เครื่องมือสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินเร่งด่วน คือการใช้อำนาจตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 มาตรา 17 หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ม.17”
การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์และจดจำว่าเป็นการใช้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจแทนศาลและสภาฯ โดยเด็ดขาดจบในตัว
แต่สิ่งที่ชาวบ้านจำนวนหนึ่งยังคงจดจำและระลึกถึง รวมทั้งยังนิยมในตัวจอมพลผ้าขาวม้าแดงอยู่มาก คือการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เข้มงวดดังกล่าวนั้น ก็ถูกใช้ไปในทางที่แก้ปัญหาเรื้อรังหลายๆ อย่างที่ชาวบ้านเดือดร้อน
ทั้งเรื่องนักเลงอันธพาลในยุคก่อนหน้าที่เรียกว่าเป็นยุค “อันธพาลครองเมือง” ซึ่งอันธพาลหลายคนเป็นผู้กว้างขวาง หรือเป็นมือเป็นไม้ของรัฐบาลก่อนหน้า ก็จะถูกจับไปขังไว้ในคุกด้วยข้อหาบ่อนทำลายเป็นภัยต่อสังคม
หรือการเผาไล่ที่หรือเผาเอาประกันที่เดือดร้อนคนอื่นผู้คนยังคงจดจำตำนานเรื่อง ที่ไหนไฟไหม้ บ้านต้นเพลิงถ้าถูกสงสัยว่าวางเพลิง ก็ต้องถูกยิงเป้ากัน ณ ที่เกิดเหตุนั่นเลย เพราะก่อนหน้านั้น ตรุษจีนทีไรที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนบริษัท ก็ต้องมีไฟไหม้ทุกครั้ง พอจอมพลสฤษดิ์มาจัดการเด็ดขาดแบบเชือดไก่ให้ลิงดูไป 3 ราย 5 ราย ก็ไม่เกิดไฟไหม้ลักษณะดังกล่าวอีกเลย
เพียงสองเรื่องนี้ จอมพลสฤษดิ์ก็เป็นที่รักและนิยมศรัทธาของคนไทยสมัยนั้น มาจนถึงสมัยนี้สำหรับคนที่เกิดทันยุคนั้นหรือเคยได้ยินตำนานจากผู้หลักผู้ใหญ่
ที่เล่ามาไม่ใช่เพื่อจะแสดงว่าการปกครองในระบอบเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่อย่างใด หากเพื่อจะให้เห็นว่า เหตุใดการใช้อำนาจอย่างที่เรียกว่าเผด็จการเบ็ดเสร็จ กลับมีคนชื่นชมชื่นชอบหรือยอมรับได้
นั่นก็เพราะการใช้อำนาจดังกล่าว เป็นการช่วยแก้ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่เรื้อรังมานาน โดยไม่มีใครคิดแก้ไข หรือแก้ไขก็ไม่จริงจังด้วยลูบหน้าปะจมูก (เช่นเรื่องอันธพาลก็เนื่องมาจากขั้วการเมืองสมัยก่อนเลี้ยงอันธพาลไว้เป็นมือเป็นเท้าด้วย)
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจเด็ดขาดปัดเป่าปัญหาที่เหมือนหมดหวังแก้ให้ได้สำเร็จ จึงเรียกเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญจากประชาชนคนธรรมดาที่ไม่ได้สนใจทฤษฎีการเมืองการปกครองอันใดนัก เอาว่าใครมาแก้ปัญหาให้อยู่ได้ใช้ชีวิตสงบ เพียงนั้นก็พอแล้ว
กลับมาถึงสมัยนี้ ที่ “ท่านผู้นำ” คือพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ได้ใช้อำนาจแบบเดียวกับมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ไปบ้างแล้ว โดยมาตรา 17 สมัยนั้น ได้มาเกิดใหม่เป็นมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปัจจุบัน
หากการใช้อำนาจของบิ๊กตู่ยังแตกต่างจากจอมพลสฤษดิ์อยู่ กล่าวคือมีเพียงการใช้อำนาจในลักษณะบริหารและนิติบัญญัติ ในการสั่งการหรือวางกฎวางระเบียบหรือระงับใช้กฎหมายบางฉบับบางมาตราชั่วคราว เพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นดำเนินไปได้โดยไม่ต้องติดขัดกับกฎระเบียบหรือขั้นตอนทางราชการปกติที่เยิ่นเย้อล่าช้า ไม่เหมาะกับการแก้ปัญหาในภาวะที่เกิดวิกฤต
แต่บิ๊กตู่ยังไม่เคยใช้อำนาจแบบตุลาการประเภทจับใครมาประหารชีวิต หรือจับไปขังคุกไว้โดยไม่ตั้งข้อหา หรือไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้เลย ซึ่งนี่เป็นจุดที่แตกต่างจากยุคจอมพลสฤษดิ์
และการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ก็เป็นการใช้เมื่อล่วงเลยมาเกือบหนึ่งปีของการรัฐประหาร เมื่อปรากฏว่าความพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามระบบระเบียบขั้นตอนของกฎหมายที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นไม่สามารถทำสำเร็จลงได้อย่างรวดเร็วนัก แม้จะมีอำนาจเต็มที่แค่ไหนก็ตาม มาตรา 44 จึงเป็นเครื่องมือสุดท้ายหรือยาแรงที่จะมา “ทะลวงท่อ” ให้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ถูกแก้ไขไปได้ทันที แล้วไว้บ้านดีเมืองดีค่อยมาว่ากันเรื่องกฎเรื่องระเบียบกันใหม่
ในขณะที่ศรัทธาในรัฐบาลเริ่มลดลงเรื่อยๆ ด้วยปัญหาหลายอย่างยังไม่เห็นแนวทางแก้ไข แม้จะมีมาตรการออกมาแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาพรวมปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง และราคาสินค้าเกษตร ยังถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก
แม้ปัญหาการค้ามนุษย์ที่ทำให้ถูกสหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศตั้งแง่จะกัดกันทางการค้า ก็ได้มีมาตรการออกมาแก้ไขแล้ว ซึ่งก็น่าจะมีผลดีขึ้น
ส่วนปัญหาทางการเมืองก็ยังฝุ่นตลบกันด้วยเรื่องของรัฐธรรมนูญซึ่งถูกตั้งแง่จากทุกฝ่าย
จึงอาจจะเป็นจังหวะที่ตัวนายกฯ จะออกมาใช้อำนาจเต็มตามมาตรา 44 แก้ปัญหาที่เรื้อรังมานานของประชาชน ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกหมดหวังมานาน หากถ้ามีใครสามารถมาแก้ไขไปได้ ก็น่าจะกลายเป็น “อัศวินม้าขาว” คนใหม่แห่งยุคก็ได้
ปัญหาเรื่องราคาหวยเกินราคา ซึ่งเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะเป็นสินค้าที่รัฐบาลทำเองขายเอง แต่ก็ปรากฏว่าการกำหนดราคาไว้บนสลากเป็นอันล้มเหลว ไม่มีที่ไหนเลยที่ประชาชนจะซื้อสลากกินแบ่งได้ตามราคาหน้าใบ
เรื่องเล็กๆ แต่ก็สะท้อนความล้มเหลวของภาครัฐในการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย จนต้องใช้มาตรการยาแรงมาตรา 44 มาล้างบางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลตลอดถึงทบทวนมาตรการยี่ปั๊วซาปั๊วและโควตาสลากกันใหม่ เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยมีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถขายได้ตามราคาหน้าสลากถูกกฎหมายได้
ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ประชาชนเรียกร้องอย่างเช่น ปัญหาเรื่องเมาแล้วขับที่เป็นข่าวสลดใจติดต่อกันมาตลอดสัปดาห์ ด้วยกฎหมายไม่เข้มแข็งเด็ดขาด คนเมาแล้วขับเหมือนเป็นเรื่องขำๆ ไม่เป่าหรือเป่าแล้วเกินก็ทำอะไรไม่ได้ จับไปฟ้องศาล จ่ายค่าปรับ รอลงอาญาแล้วบำเพ็ญประโยชน์ไม่นาน ไม่มีใครเข็ดหลาบ
ก็อาจจะแก้ไขกฎหมายให้เป็นวาระแห่งชาติ ว่าเมาแล้วขับต้องติดคุก ถูกยึดใบขับขี่ให้ไปสอบใหม่ ส่วนใครเมาแล้วขับไปชนคนตายเข้า ก็ลงโทษเท่าฆ่าคนตายสถานหนัก และห้ามขับรถตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้กระทำโดยอำนาจศาล แต่ผ่านกฎหมายพิเศษที่ประกาศใช้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ก็ได้
เชือดไก่ให้ดูสักรายสองราย ต่อไปเรื่องเมาแล้วขับนี้อาจจะเป็นตำนาน เหมือนเรื่องเผาเอาประกันที่สมัยนี้ไม่มีแล้ว
ไม่แน่ว่าพล.อ.ประยุทธ์ อาจจะกลายเป็นตำนานให้คนในอนาคตเล่าขานกันว่า สมัยก่อนคนเมาแล้วขับกันไม่เกรงกลัวกฎหมาย แต่พอ “บิ๊กตู่” มาเป็นนายกฯ ใช้นโยบายเด็ดขาด พวกเมาแล้วขับติดคุกกันลืมบ้าน ไม่มีใครกล้าขับรถหลังจากดื่มสุรากันอีกเลย
รับรองว่าถ้าใช้มาตรา 44 แบบนี้ จะมีแต่คนอนุโมทนาสาธุ.