ผมว่ามันก็ดีนะ ที่ผู้เฒ่ากลุ่มหนึ่งอาศัยเทศกาลสงกรานต์ลุกขึ้นมาขอขมาเด็กเยาวชนคนรุ่นหลัง แม้มันจะแหกขนบจารีตความเชื่อแบบกลับหัวกลับหางก็เหอะ
การรู้สำนึกเอ่ยปากขอโทษ ยังไงๆ ก็ดี...ดีกว่าไม่เอ่ยปาก ไม่รู้จักขอโทษเสียเลย ถึงแม้บางคนบอกว่า..ผู้เฒ่าลุกขึ้นมาจัดงานนี้ที่แท้ไม่ได้อยากขอขมาหรือมีสำนึกอะไร ก็แค่อาศัยช่องจังหวะตีกินนำเสนอ “สาร” ที่ต้องการสื่อ ทำกิจกรรมต่อต้านอำนาจรัฐแค่นั้นเอง ผมก็ยังคิดในแง่บวกว่ามันก็แค่สีสัน คือถ้ามันไม่ได้ระคายอะไรมาก ไม่เหมือนพวกวางระเบิดหรือยกพวกไปตะโกนด่า ก็ปล่อยๆ บ้าง เปิดรูระบายไว้บ้าง
และถ้าเราตัดปมเรื่องเป้าหมายไปก่อน มองเฉพาะวิธีการ ก็จะเห็นอะไรน่าสนใจซ่อนอยู่ไม่น้อย...วิธีการของผู้เฒ่าที่เลือกจะขอขมาเด็กเยาวชน แน่นอนชัดเจนว่ามันสะดุดใจต่อผู้พบเห็น เพราะมันสวนกับประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมา ว่าในวาระปีใหม่นี้ผู้น้อยทั้งหลายจะเข้าไปขอขมาที่ได้ล่วงเกินหรือประพฤติไม่ถูกต้องไปบ้างในรอบปีที่ผ่านมาพร้อมกับขอพรจากผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่ก็ให้ศีลให้พรกันต่ออันเป็นประเพณีดีงาม
มีด้วยหรือวะ ผู้ใหญ่ขอขมาผู้น้อย ? คนส่วนใหญ่ที่แสลงตามักจะคิดกันแบบนี้
ถ้าให้ผมตอบ...จะตอบว่า ประเพณีดั้งเดิมไม่มีครับ แต่สังคมไทยยุคใหม่น่าจะเปิดกว้างและยอมรับให้ได้ว่า หากผู้ใหญ่ประพฤติผิดแล้ว ก็สามารถจะเอ่ยปากขอขมาอภัยจากเด็กเยาวชนคนรุ่นหลังได้เช่นกัน จะอาศัยจังหวะสงกรานต์ ลอยกระทง คริสต์มาส หรือวาเลนไทน์ก็ได้ หากสำนึกได้ว่าตัวเองทำผิดพลาดไป ก็เอ่ยอัญเชิญเด็กๆ หัวดำมานั่งเรียงรายแล้วผู้ใหญ่ก็เอาขันน้ำไปรดมอบดอกไม้ขออภัยเด็กๆ ทำกันให้เป็นล่ำเป็นสัน เหมือนกับญี่ปุ่น เกาหลี ที่หากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบเดาะภาษาอังกฤษก็ได้ว่ามี Responsibility เกิดทำผิดมา ก็ออกมาโค้งแถลงข่าว โค้งแล้วโค้งอีกขออภัย บางคนขออภัยไม่พอลับหลังไปคว้านท้อง ผูกคอตายก็มี ถ้าเป็นเช่นนี้ประเทศไทยไปรอดแน่
ผมไม่แน่ใจว่าเหล่าผู้เฒ่าที่ริเริ่มงานขอขมาเด็กๆ มองไกลไปถึงขั้นนี้หรือไม่? หรือแค่อาศัยจังหวะตีกินสร้างกระแสกวนโอ๊ยเท่านั้น ?
รากเหง้าของสังคมไทยเป็นสังคมลำดับชั้น และเป็นสังคมอุปถัมภ์ ขนบประเพณีให้ผู้น้อยเข้าไปขอสมาคารวะขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่น่ะสอดคล้องกับรากฐานของเราที่เป็นมาแบบนี้ ที่สำคัญผู้ใหญ่ของเราแต่เก่าก่อนท่านไม่ได้เพี้ยนบ้าเหมือนผู้ใหญ่ยุคนี้ ใช้พระคุณมากกว่าพระเดช มีหิริโอตัปปะสูง ไหว้ก็ไหว้ได้ด้วยความสนิทมือ แต่ผู้ใหญ่ยุคนี้จำนวนไม่น้อยที่ไหว้ไม่ลงจริงๆ แต่ดันมีอำนาจวาสนาตำแหน่งแห่งที่ พอถึงเทศกาลประเพณีเขาก็เชิญขึ้นนั่งให้คนมารดน้ำอวยพรซึ่งมันน่าเขม่นมาก และก็น่าจะดีที่หากสังคมกดดันให้พอมีเทศกาลที ผู้ใหญ่ที่ไหว้ไม่ลงเหล่านี้ต้องมาขอขมาคารวะต่อผู้น้อย ประกาศดังๆ ว่าที่ผ่านมาผิดพลาดเรื่องใดบ้าง มันก็น่าจะเป็นประเพณีที่ดี
อ่านจากโซเชี่ยลไทม์ไลน์ หลายท่านมองว่าพวกผู้เฒ่าเป็นพวกอุตริ คือคิดจัดงานสวนกระแส ขัดแย้งกับจารีตธรรมเนียมที่เคยทำกันมา ก็จริงอย่างที่ว่าแหละครับว่ามันสวนกระแส เพี้ยนไปจากกระแสปฏิบัติเดิม แต่ก็นั่นเอง..สำหรับผมแล้วผมไม่คิดว่าเหล่าผู้เฒ่าเป็นต้นเหตุหลักหรอกครับ นั่นเพราะว่าสงกรานต์ไทยเราน่ะมันเพี้ยนมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งมาเพี้ยนอีตอนผู้เฒ่าอุตริจัดหรอก ... ปกติเพี้ยนอยู่แล้วมีเพี้ยนมาเติมอีกหน่อยพอสมกันไป
สงกรานต์คือปีใหม่ตามปฏิทินโบราณที่ชนชาติเอเชียอาคเนย์รับมาจากอินเดียนานมาแล้ว แล้วก็มีปรับเพิ่มปรุงแต่งย่อยลงไปตามธรรมเนียมตน... ไทย ล้านนา ล้านช้าง ไต พม่า เขมร ก็ไม่ได้เหมือนกันในรายละเอียด หากแต่มีจุดร่วมอยู่ที่วิธีคำนวณพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษเป็นหมุดหมายเปลี่ยนผ่านสำคัญและต่างก็ยึดคำภีร์สุริยยาตร์เป็นหลัก ดังนั้นประกาศสงกรานต์ตามปฏิทินหลวง ตามวิธีของพม่า หรือปราชญ์ล้านนา ล้านช้างก็ไม่ได้ต่างกัน
ด้วยวิธีคำนวณแบบนี้บางปีสงกรานต์ตกระหว่าง 13-15 เมษายน บางปีมี 4 วัน 13-16 เมษายน วันมหาสงกรานต์/วันพญาวัน ซึ่งโบราณถือเป็นวันเปลี่ยนศักราชของแต่ละปีอาจจะไม่ตรงกัน ขึ้นตามการเคลื่อนของพระอาทิตย์และวิธีคำนวณในปีนั้น บางปีตก 14 บางปี 15 บางปี 16 เมษายนตามปฏิทินฝรั่ง....พระราชพิธีสิบสองเดือนระบุไว้ชัด แต่บังเอิญที่ราชการไทยได้ประกาศวันสงกรานต์ตายตัวอยู่บนปฏิทินฝรั่งที่ระหว่าง 13-15 เมษายนมายาวนานมาก นี่แหละที่เป็นผิดเป็นเพี้ยน
ครั้นถึงปีที่วันมหาสงกรานต์(พญาวัน)ตรงกับ 16 เมษายน ระบบราชการไทยเราบางปีก็ให้เป็นวันทำงานไปแล้ว ยิ่งมาหลังๆ การท่องเที่ยวมีน้ำหนักมากประกาศอีเวนท์สงกรานต์ล่วงหน้าไปแล้วว่า 13 ทำอะไร 14 มีขบวนอะไร 15 แห่ที่ไหน ไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในบางปีสงกรานต์ไทยเราจึงไม่ได้จัดให้ตรงกับโบราณประเพณีจริงๆ
ยิ่งทางเหนือล้านนามีรายละเอียดของประเพณีต่างไปจากภาคกลาง เขาถือกันว่าจะดำหัวผู้ใหญ่ก่อนหน้าวันพญาวันไม่ได้ วันเนาหรือวันเน่าเขาจะหยุดไม่ทำอะไร แต่ปฏิทินท่องเที่ยวของราชการกำหนดแน่ชัดว่า วันที่ 15 (พญาวัน) จะมีแห่ขบวนดำหัวผู้ว่าฯ บังเอิญที่ระยะหลายปีหลังมานี้การคำนวณพญาวันหรือวันมหาสงกรานต์ ตกวันที่ 16 เมษายน ก็เท่ากับว่าวันที่ 15 เป็นวันเน่าที่คนไม่จัดกิจกรรมอะไรใหญ่ และไม่เหมาะกับการดำหัวอวยพร แต่ปฏิทินท่องเที่ยวราชการที่กำหนดไว้ ยังแห่เครื่องดำหัวผู้ว่าฯ อยู่เหมือนเดิม ดำหัวกันในวันเน่า/วันเนา ที่ท้องถิ่นเขาถือเป็นข้อห้ามก็ทำกันไปตามสะดวก เอาเฉพาะเรื่องนี้จะเห็นว่าราชการนั่นล่ะที่ทำให้ประเพณีผิดเพี้ยน มีที่ไหนที่ดำหัวกันในวันเน่า
อีกอย่างหนึ่งที่เพี้ยนไปจนกลายเป็นปกติแล้วก็คือการเอา “ผู้มีตำแหน่งใหญ่” ยกเป็น “ผู้ใหญ่” ขึ้นไปนั่งเอ้เต้ให้คนเขาคลานเข่าเข้าไปรดน้ำขอพร อย่างปีที่ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ ตอนนั้นอายุหล่อนคงจะแค่ 47 กระมัง นั่งยิ้มแป้นให้หัวหงอกหัวล้านแก่เฒ่ากันทั้งนั้นคลานเข่าเข้าไปรดน้ำที่มือขอพรว่ะ เห็นแล้วมันทุเรศนัยน์ตาเหลือเกิน จริงอยู่ครับสังคมไทยเราก็มีการจัดลำดับผู้ใหญ่จากยศตำแหน่งเช่นกันโดยเฉพาะในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมันก็เป็นคนละยุคกับปัจจุบัน ยุคนี้คนเดินดินทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้า อย่างนักการเมืองเอย ข้าราชการเอย นายกอบจ. นายกอบต. นายกเทศมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ เอย ยังสำคัญตนเหมือนกับสมัยโบร่ำโบราณยุคพระน้ำพระยา ทั้งๆ ที่อุดมการณ์ของสังคมแบบประชาธิปไตยถือว่าเป็นแค่ตำแหน่งหน้าที่ ไม่ได้สูงส่งอะไรนักหนา งานสงกรานต์เขาให้ดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ปู่ย่าและผู้ที่เคารพนับถือ(จริงๆ) ก็ต้องลากเอา ผู้หลักผู้ใหญ่ที่คนไม่ได้รับถือจริงเข้าไปด้วย โบราณจริงๆ นะครับถ้าอายุไม่ถึง 60 ปีและไม่ได้เป็นเจ้านายเขาไม่กล้าขึ้นนั่งบนตั่งให้คนคลานเข่ามารดน้ำหรอก เพราะเหามันจะกินหัว
ผมเสียดาย ที่ในคำแถลงของผู้เฒ่าขอขมาเยาวชนไทยที่ประกาศไว้ว่านี่เป็น “งานสงกรานต์แบบคนเสมอกัน” ดันไม่ได้บรรจุประเด็นความผิดเพี้ยนเรื่องคนไม่เสมอกันตามธรรมเนียมอำนาจนิยมเอาไว้ อย่างกรณีไอ้หัวหงอกหัวล้านรัฐมนตรีที่นำทีมข้าราชการนายทุนทั้งหลายคลานเข่าไปรดน้ำนายกฯอายุ 47 นี่แหละครับ คือตัวอย่างของคนไม่เสมอกัน ตอกย้ำธรรมเนียมอำนาจนิยมที่เป็นปฏิปักษ์กับหลักคิดแบบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน กรณีแบบดังกล่าวเกิดขึ้นจนเป็นปกติไปแล้วไม่ใช่แค่ตัวอย่างนางยิ่งลักษณ์ที่ยกมาเป็นกระสาย สังคมไทยเลยถูกตอกย้ำเรื่องคนไม่เท่ากันตามฐานะตำแหน่งหัวโขน ยิ่งพวกนักการเมืองนี่สำคัญนัก
ที่จริงเรื่องความเพี้ยนของสงกรานต์ไทยยังมีอีกมาก ขอยกตัวอย่างมาแค่นี้เพื่อยืนยันว่าเหล่าผู้เฒ่าไม่ได้เพิ่งมาทำเพี้ยน...ที่แท้น่ะเพี้ยนมาก่อนแล้ว
ผมไม่รู้ว่าปีหน้าเหล่าผู้เฒ่าจะลุกขึ้นมาจัดงานสงกรานต์สวนกระแสแบบนี้อีกหรือไม่ เดาเอาว่าคงไม่ เพราะนี่คงแค่อีเวนท์เชิงกลยุทธ์หาช่องนำเสนอสารต่อต้านคณะทหารแค่นั้น ซึ่งไม่รู้จะได้ผลแค่ไหน-ขนาดไหน ทางหนึ่งโอเคอาจจะมีคนกล่าวถึงมาก สื่อนำเสนอมาก เพราะอีเวนท์นี้ออกแบบให้ “แสลงตา” หวังว่าจะนำไปสู่การ “สะดุดใจ” แต่อย่างไรก็ตามในทางกลับกันยังมีคนที่นอกจาก “แสลงตา” แล้วยัง “แสลงใจ” พาลไปเขม่นบรรดาผู้เฒ่าก็คงมีไม่น้อย นั่นเพราะมันมีหลายเหตุประการที่สามารถประหวัดต่อไปถึงความเป็นปฏิปักษ์กับความเชื่อเรื่องผู้น้อยผู้ใหญ่ระดับสถาบันทางสังคมที่ใหญ่ไปกว่าความสัมพันธ์ของคนในสังคมทั่วไป ก็เพราะมีคนหลายคนในคณะของผู้เฒ่าที่แสดงตนออกมาประมาณนั้นด้วย นี่คงโทษสังคมที่เขาคิดนับประหวัดไม่ได้ทั้งหมด
และสุดท้าย ผู้เฒ่าต้องยอมรับนะครับว่า...ในบรรดาผู้เฒ่าที่มาหลายคน ก็มีอยู่บ้างที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองไทยที่ทำให้ประเทศมีสภาพเช่นนี้ เอาล่ะ..ผู้เฒ่าที่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนพลเมืองเป็นสำคัญ ในฐานะที่มีสมองมีวิชาความรู้อยู่กว่าคนอื่นรัฐบาลไหนเข้ามาก็ทำหน้าที่สอดส่อง ทักท้วงดังๆ แทนประชาชนโดยไม่เลือกมักชัง ผู้เฒ่าแบบนี้น่ายกย่องเชิดชู... แต่หากเป็นผู้เฒ่าที่เอียงกะเท่เร่ อาจด้วยความคิดทฤษฎีที่ฝังหัวว่าต้องหนุนกระบวนการ/วิธีการประชาธิปไตยเป็นสำคัญ ต่อให้คนขับพาไปตกเหวตกคูเก็บเงินค่าตั๋วโดยสารแพงเกินเหตุ ผู้เฒ่าก็ยังหลับหูหลับตาเชียร์ อีแบบนี้ผู้เฒ่าก็สมควรขอขมาเด็กๆ เยาวชนแหละถูกแล้ว เพราะผู้เฒ่าก็เป็นส่วนสำคัญของปัญหาฉุดรั้งประเทศเหมือนกันกับพวกที่ผู้เฒ่าชี้นิ้วด่า
หลายปีมานี้สังคมเราถูกผู้เฒ่าหลอกลวงจำแนกว่ามีทางไปสองทาง หนึ่งคือทางเรือขับโดยทหารเผด็จการไม่เห็นฝั่ง ฉะนั้นต้องต่อต้าน ต้องไม่นั่งเรือเด็ดขาด กับอีกทางไปทางรถ ขับโดยนักการเมืองอาจจะอ้อมไกลไปหน่อย แต่(น่าจะ)ถึงที่หมายแน่ ดังนั้นให้อดทนกับคนขับนักการเมืองให้ถึงที่สุด ผู้เฒ่าบางคนเคยใช้วาทกรรมโอ้โลมปฏิโลมให้คนยังหนุนคนขับเมายาม้ายกพวกปล้นคนโดยสารซึ่งหน้าก็มี
ที่จริงแล้ว ไปทางรถนั่นแหละครับถูกต้อง แต่ทั้งคนโดยสารและผู้เฒ่าที่เชื่อมั่นในทางนี้ยิ่งต้องเข้มงวดกวดขันกับบรรดาคนขับและเด็กรถรวมไปถึงคนดูแลถนนทั้งหลายให้ทำหน้าที่ตรงไปตรงมาของตนอย่างเคร่งครัด มันจึงจะถูก
มิฉะนั้นคนขับและเด็กรถเฉโก พาเลี้ยวเข้าข้างทางนัดหมายโจรมาปล้นคนในรถอย่างที่ทำกันมาบ่อยครั้งก็ถมไป จนผู้โดยสารทนไม่ไหวหนีลงเรือยอมปะจระเข้ วนอยู่นั่น ไม่ได้ไปถึงจุดหมายเสียที
ดังนั้น ผู้เฒ่า (บางคน) ที่ขอขมาน่ะทำถูกแล้ว เพราะผู้เฒ่าเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา อือ...ปีหน้าถ้ายังจะจัดใหม่ ชวนพวกนักการเมืองทั้งหลาย อดีตนายกฯ อดีตรัฐมนตรี ข้าราชการใหญ่ๆ สูงๆ พ่อค้าใหญ่ รวมถึงนักวิชาการมาร่วมด้วย น่าจะเป็นเทศกาลเปลี่ยนผ่านปีที่ดีพิลึก.
การรู้สำนึกเอ่ยปากขอโทษ ยังไงๆ ก็ดี...ดีกว่าไม่เอ่ยปาก ไม่รู้จักขอโทษเสียเลย ถึงแม้บางคนบอกว่า..ผู้เฒ่าลุกขึ้นมาจัดงานนี้ที่แท้ไม่ได้อยากขอขมาหรือมีสำนึกอะไร ก็แค่อาศัยช่องจังหวะตีกินนำเสนอ “สาร” ที่ต้องการสื่อ ทำกิจกรรมต่อต้านอำนาจรัฐแค่นั้นเอง ผมก็ยังคิดในแง่บวกว่ามันก็แค่สีสัน คือถ้ามันไม่ได้ระคายอะไรมาก ไม่เหมือนพวกวางระเบิดหรือยกพวกไปตะโกนด่า ก็ปล่อยๆ บ้าง เปิดรูระบายไว้บ้าง
และถ้าเราตัดปมเรื่องเป้าหมายไปก่อน มองเฉพาะวิธีการ ก็จะเห็นอะไรน่าสนใจซ่อนอยู่ไม่น้อย...วิธีการของผู้เฒ่าที่เลือกจะขอขมาเด็กเยาวชน แน่นอนชัดเจนว่ามันสะดุดใจต่อผู้พบเห็น เพราะมันสวนกับประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมา ว่าในวาระปีใหม่นี้ผู้น้อยทั้งหลายจะเข้าไปขอขมาที่ได้ล่วงเกินหรือประพฤติไม่ถูกต้องไปบ้างในรอบปีที่ผ่านมาพร้อมกับขอพรจากผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่ก็ให้ศีลให้พรกันต่ออันเป็นประเพณีดีงาม
มีด้วยหรือวะ ผู้ใหญ่ขอขมาผู้น้อย ? คนส่วนใหญ่ที่แสลงตามักจะคิดกันแบบนี้
ถ้าให้ผมตอบ...จะตอบว่า ประเพณีดั้งเดิมไม่มีครับ แต่สังคมไทยยุคใหม่น่าจะเปิดกว้างและยอมรับให้ได้ว่า หากผู้ใหญ่ประพฤติผิดแล้ว ก็สามารถจะเอ่ยปากขอขมาอภัยจากเด็กเยาวชนคนรุ่นหลังได้เช่นกัน จะอาศัยจังหวะสงกรานต์ ลอยกระทง คริสต์มาส หรือวาเลนไทน์ก็ได้ หากสำนึกได้ว่าตัวเองทำผิดพลาดไป ก็เอ่ยอัญเชิญเด็กๆ หัวดำมานั่งเรียงรายแล้วผู้ใหญ่ก็เอาขันน้ำไปรดมอบดอกไม้ขออภัยเด็กๆ ทำกันให้เป็นล่ำเป็นสัน เหมือนกับญี่ปุ่น เกาหลี ที่หากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบเดาะภาษาอังกฤษก็ได้ว่ามี Responsibility เกิดทำผิดมา ก็ออกมาโค้งแถลงข่าว โค้งแล้วโค้งอีกขออภัย บางคนขออภัยไม่พอลับหลังไปคว้านท้อง ผูกคอตายก็มี ถ้าเป็นเช่นนี้ประเทศไทยไปรอดแน่
ผมไม่แน่ใจว่าเหล่าผู้เฒ่าที่ริเริ่มงานขอขมาเด็กๆ มองไกลไปถึงขั้นนี้หรือไม่? หรือแค่อาศัยจังหวะตีกินสร้างกระแสกวนโอ๊ยเท่านั้น ?
รากเหง้าของสังคมไทยเป็นสังคมลำดับชั้น และเป็นสังคมอุปถัมภ์ ขนบประเพณีให้ผู้น้อยเข้าไปขอสมาคารวะขอศีลขอพรจากผู้ใหญ่น่ะสอดคล้องกับรากฐานของเราที่เป็นมาแบบนี้ ที่สำคัญผู้ใหญ่ของเราแต่เก่าก่อนท่านไม่ได้เพี้ยนบ้าเหมือนผู้ใหญ่ยุคนี้ ใช้พระคุณมากกว่าพระเดช มีหิริโอตัปปะสูง ไหว้ก็ไหว้ได้ด้วยความสนิทมือ แต่ผู้ใหญ่ยุคนี้จำนวนไม่น้อยที่ไหว้ไม่ลงจริงๆ แต่ดันมีอำนาจวาสนาตำแหน่งแห่งที่ พอถึงเทศกาลประเพณีเขาก็เชิญขึ้นนั่งให้คนมารดน้ำอวยพรซึ่งมันน่าเขม่นมาก และก็น่าจะดีที่หากสังคมกดดันให้พอมีเทศกาลที ผู้ใหญ่ที่ไหว้ไม่ลงเหล่านี้ต้องมาขอขมาคารวะต่อผู้น้อย ประกาศดังๆ ว่าที่ผ่านมาผิดพลาดเรื่องใดบ้าง มันก็น่าจะเป็นประเพณีที่ดี
อ่านจากโซเชี่ยลไทม์ไลน์ หลายท่านมองว่าพวกผู้เฒ่าเป็นพวกอุตริ คือคิดจัดงานสวนกระแส ขัดแย้งกับจารีตธรรมเนียมที่เคยทำกันมา ก็จริงอย่างที่ว่าแหละครับว่ามันสวนกระแส เพี้ยนไปจากกระแสปฏิบัติเดิม แต่ก็นั่นเอง..สำหรับผมแล้วผมไม่คิดว่าเหล่าผู้เฒ่าเป็นต้นเหตุหลักหรอกครับ นั่นเพราะว่าสงกรานต์ไทยเราน่ะมันเพี้ยนมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งมาเพี้ยนอีตอนผู้เฒ่าอุตริจัดหรอก ... ปกติเพี้ยนอยู่แล้วมีเพี้ยนมาเติมอีกหน่อยพอสมกันไป
สงกรานต์คือปีใหม่ตามปฏิทินโบราณที่ชนชาติเอเชียอาคเนย์รับมาจากอินเดียนานมาแล้ว แล้วก็มีปรับเพิ่มปรุงแต่งย่อยลงไปตามธรรมเนียมตน... ไทย ล้านนา ล้านช้าง ไต พม่า เขมร ก็ไม่ได้เหมือนกันในรายละเอียด หากแต่มีจุดร่วมอยู่ที่วิธีคำนวณพระอาทิตย์ยกสู่ราศีเมษเป็นหมุดหมายเปลี่ยนผ่านสำคัญและต่างก็ยึดคำภีร์สุริยยาตร์เป็นหลัก ดังนั้นประกาศสงกรานต์ตามปฏิทินหลวง ตามวิธีของพม่า หรือปราชญ์ล้านนา ล้านช้างก็ไม่ได้ต่างกัน
ด้วยวิธีคำนวณแบบนี้บางปีสงกรานต์ตกระหว่าง 13-15 เมษายน บางปีมี 4 วัน 13-16 เมษายน วันมหาสงกรานต์/วันพญาวัน ซึ่งโบราณถือเป็นวันเปลี่ยนศักราชของแต่ละปีอาจจะไม่ตรงกัน ขึ้นตามการเคลื่อนของพระอาทิตย์และวิธีคำนวณในปีนั้น บางปีตก 14 บางปี 15 บางปี 16 เมษายนตามปฏิทินฝรั่ง....พระราชพิธีสิบสองเดือนระบุไว้ชัด แต่บังเอิญที่ราชการไทยได้ประกาศวันสงกรานต์ตายตัวอยู่บนปฏิทินฝรั่งที่ระหว่าง 13-15 เมษายนมายาวนานมาก นี่แหละที่เป็นผิดเป็นเพี้ยน
ครั้นถึงปีที่วันมหาสงกรานต์(พญาวัน)ตรงกับ 16 เมษายน ระบบราชการไทยเราบางปีก็ให้เป็นวันทำงานไปแล้ว ยิ่งมาหลังๆ การท่องเที่ยวมีน้ำหนักมากประกาศอีเวนท์สงกรานต์ล่วงหน้าไปแล้วว่า 13 ทำอะไร 14 มีขบวนอะไร 15 แห่ที่ไหน ไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในบางปีสงกรานต์ไทยเราจึงไม่ได้จัดให้ตรงกับโบราณประเพณีจริงๆ
ยิ่งทางเหนือล้านนามีรายละเอียดของประเพณีต่างไปจากภาคกลาง เขาถือกันว่าจะดำหัวผู้ใหญ่ก่อนหน้าวันพญาวันไม่ได้ วันเนาหรือวันเน่าเขาจะหยุดไม่ทำอะไร แต่ปฏิทินท่องเที่ยวของราชการกำหนดแน่ชัดว่า วันที่ 15 (พญาวัน) จะมีแห่ขบวนดำหัวผู้ว่าฯ บังเอิญที่ระยะหลายปีหลังมานี้การคำนวณพญาวันหรือวันมหาสงกรานต์ ตกวันที่ 16 เมษายน ก็เท่ากับว่าวันที่ 15 เป็นวันเน่าที่คนไม่จัดกิจกรรมอะไรใหญ่ และไม่เหมาะกับการดำหัวอวยพร แต่ปฏิทินท่องเที่ยวราชการที่กำหนดไว้ ยังแห่เครื่องดำหัวผู้ว่าฯ อยู่เหมือนเดิม ดำหัวกันในวันเน่า/วันเนา ที่ท้องถิ่นเขาถือเป็นข้อห้ามก็ทำกันไปตามสะดวก เอาเฉพาะเรื่องนี้จะเห็นว่าราชการนั่นล่ะที่ทำให้ประเพณีผิดเพี้ยน มีที่ไหนที่ดำหัวกันในวันเน่า
อีกอย่างหนึ่งที่เพี้ยนไปจนกลายเป็นปกติแล้วก็คือการเอา “ผู้มีตำแหน่งใหญ่” ยกเป็น “ผู้ใหญ่” ขึ้นไปนั่งเอ้เต้ให้คนเขาคลานเข่าเข้าไปรดน้ำขอพร อย่างปีที่ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ ตอนนั้นอายุหล่อนคงจะแค่ 47 กระมัง นั่งยิ้มแป้นให้หัวหงอกหัวล้านแก่เฒ่ากันทั้งนั้นคลานเข่าเข้าไปรดน้ำที่มือขอพรว่ะ เห็นแล้วมันทุเรศนัยน์ตาเหลือเกิน จริงอยู่ครับสังคมไทยเราก็มีการจัดลำดับผู้ใหญ่จากยศตำแหน่งเช่นกันโดยเฉพาะในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมันก็เป็นคนละยุคกับปัจจุบัน ยุคนี้คนเดินดินทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้า อย่างนักการเมืองเอย ข้าราชการเอย นายกอบจ. นายกอบต. นายกเทศมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ เอย ยังสำคัญตนเหมือนกับสมัยโบร่ำโบราณยุคพระน้ำพระยา ทั้งๆ ที่อุดมการณ์ของสังคมแบบประชาธิปไตยถือว่าเป็นแค่ตำแหน่งหน้าที่ ไม่ได้สูงส่งอะไรนักหนา งานสงกรานต์เขาให้ดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ปู่ย่าและผู้ที่เคารพนับถือ(จริงๆ) ก็ต้องลากเอา ผู้หลักผู้ใหญ่ที่คนไม่ได้รับถือจริงเข้าไปด้วย โบราณจริงๆ นะครับถ้าอายุไม่ถึง 60 ปีและไม่ได้เป็นเจ้านายเขาไม่กล้าขึ้นนั่งบนตั่งให้คนคลานเข่ามารดน้ำหรอก เพราะเหามันจะกินหัว
ผมเสียดาย ที่ในคำแถลงของผู้เฒ่าขอขมาเยาวชนไทยที่ประกาศไว้ว่านี่เป็น “งานสงกรานต์แบบคนเสมอกัน” ดันไม่ได้บรรจุประเด็นความผิดเพี้ยนเรื่องคนไม่เสมอกันตามธรรมเนียมอำนาจนิยมเอาไว้ อย่างกรณีไอ้หัวหงอกหัวล้านรัฐมนตรีที่นำทีมข้าราชการนายทุนทั้งหลายคลานเข่าไปรดน้ำนายกฯอายุ 47 นี่แหละครับ คือตัวอย่างของคนไม่เสมอกัน ตอกย้ำธรรมเนียมอำนาจนิยมที่เป็นปฏิปักษ์กับหลักคิดแบบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน กรณีแบบดังกล่าวเกิดขึ้นจนเป็นปกติไปแล้วไม่ใช่แค่ตัวอย่างนางยิ่งลักษณ์ที่ยกมาเป็นกระสาย สังคมไทยเลยถูกตอกย้ำเรื่องคนไม่เท่ากันตามฐานะตำแหน่งหัวโขน ยิ่งพวกนักการเมืองนี่สำคัญนัก
ที่จริงเรื่องความเพี้ยนของสงกรานต์ไทยยังมีอีกมาก ขอยกตัวอย่างมาแค่นี้เพื่อยืนยันว่าเหล่าผู้เฒ่าไม่ได้เพิ่งมาทำเพี้ยน...ที่แท้น่ะเพี้ยนมาก่อนแล้ว
ผมไม่รู้ว่าปีหน้าเหล่าผู้เฒ่าจะลุกขึ้นมาจัดงานสงกรานต์สวนกระแสแบบนี้อีกหรือไม่ เดาเอาว่าคงไม่ เพราะนี่คงแค่อีเวนท์เชิงกลยุทธ์หาช่องนำเสนอสารต่อต้านคณะทหารแค่นั้น ซึ่งไม่รู้จะได้ผลแค่ไหน-ขนาดไหน ทางหนึ่งโอเคอาจจะมีคนกล่าวถึงมาก สื่อนำเสนอมาก เพราะอีเวนท์นี้ออกแบบให้ “แสลงตา” หวังว่าจะนำไปสู่การ “สะดุดใจ” แต่อย่างไรก็ตามในทางกลับกันยังมีคนที่นอกจาก “แสลงตา” แล้วยัง “แสลงใจ” พาลไปเขม่นบรรดาผู้เฒ่าก็คงมีไม่น้อย นั่นเพราะมันมีหลายเหตุประการที่สามารถประหวัดต่อไปถึงความเป็นปฏิปักษ์กับความเชื่อเรื่องผู้น้อยผู้ใหญ่ระดับสถาบันทางสังคมที่ใหญ่ไปกว่าความสัมพันธ์ของคนในสังคมทั่วไป ก็เพราะมีคนหลายคนในคณะของผู้เฒ่าที่แสดงตนออกมาประมาณนั้นด้วย นี่คงโทษสังคมที่เขาคิดนับประหวัดไม่ได้ทั้งหมด
และสุดท้าย ผู้เฒ่าต้องยอมรับนะครับว่า...ในบรรดาผู้เฒ่าที่มาหลายคน ก็มีอยู่บ้างที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองไทยที่ทำให้ประเทศมีสภาพเช่นนี้ เอาล่ะ..ผู้เฒ่าที่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนพลเมืองเป็นสำคัญ ในฐานะที่มีสมองมีวิชาความรู้อยู่กว่าคนอื่นรัฐบาลไหนเข้ามาก็ทำหน้าที่สอดส่อง ทักท้วงดังๆ แทนประชาชนโดยไม่เลือกมักชัง ผู้เฒ่าแบบนี้น่ายกย่องเชิดชู... แต่หากเป็นผู้เฒ่าที่เอียงกะเท่เร่ อาจด้วยความคิดทฤษฎีที่ฝังหัวว่าต้องหนุนกระบวนการ/วิธีการประชาธิปไตยเป็นสำคัญ ต่อให้คนขับพาไปตกเหวตกคูเก็บเงินค่าตั๋วโดยสารแพงเกินเหตุ ผู้เฒ่าก็ยังหลับหูหลับตาเชียร์ อีแบบนี้ผู้เฒ่าก็สมควรขอขมาเด็กๆ เยาวชนแหละถูกแล้ว เพราะผู้เฒ่าก็เป็นส่วนสำคัญของปัญหาฉุดรั้งประเทศเหมือนกันกับพวกที่ผู้เฒ่าชี้นิ้วด่า
หลายปีมานี้สังคมเราถูกผู้เฒ่าหลอกลวงจำแนกว่ามีทางไปสองทาง หนึ่งคือทางเรือขับโดยทหารเผด็จการไม่เห็นฝั่ง ฉะนั้นต้องต่อต้าน ต้องไม่นั่งเรือเด็ดขาด กับอีกทางไปทางรถ ขับโดยนักการเมืองอาจจะอ้อมไกลไปหน่อย แต่(น่าจะ)ถึงที่หมายแน่ ดังนั้นให้อดทนกับคนขับนักการเมืองให้ถึงที่สุด ผู้เฒ่าบางคนเคยใช้วาทกรรมโอ้โลมปฏิโลมให้คนยังหนุนคนขับเมายาม้ายกพวกปล้นคนโดยสารซึ่งหน้าก็มี
ที่จริงแล้ว ไปทางรถนั่นแหละครับถูกต้อง แต่ทั้งคนโดยสารและผู้เฒ่าที่เชื่อมั่นในทางนี้ยิ่งต้องเข้มงวดกวดขันกับบรรดาคนขับและเด็กรถรวมไปถึงคนดูแลถนนทั้งหลายให้ทำหน้าที่ตรงไปตรงมาของตนอย่างเคร่งครัด มันจึงจะถูก
มิฉะนั้นคนขับและเด็กรถเฉโก พาเลี้ยวเข้าข้างทางนัดหมายโจรมาปล้นคนในรถอย่างที่ทำกันมาบ่อยครั้งก็ถมไป จนผู้โดยสารทนไม่ไหวหนีลงเรือยอมปะจระเข้ วนอยู่นั่น ไม่ได้ไปถึงจุดหมายเสียที
ดังนั้น ผู้เฒ่า (บางคน) ที่ขอขมาน่ะทำถูกแล้ว เพราะผู้เฒ่าเองก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา อือ...ปีหน้าถ้ายังจะจัดใหม่ ชวนพวกนักการเมืองทั้งหลาย อดีตนายกฯ อดีตรัฐมนตรี ข้าราชการใหญ่ๆ สูงๆ พ่อค้าใหญ่ รวมถึงนักวิชาการมาร่วมด้วย น่าจะเป็นเทศกาลเปลี่ยนผ่านปีที่ดีพิลึก.