อ่านข่าวของสำนักข่าวบลูมเบิร์กยกย่องให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขเชิงเศรษฐกิจที่สุดในโลก ด้วยความมึนงง เอ๊ะ นี่เรากำลังมีความสุขทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกจริงหรือ? ถึงกับต้องไปค้นดูต้นฉบับข่าวพบว่ามันแบ่งออกเป็น 2 ข่าวพี่น้องฝาแฝด The 15 Most Miserable Economies in the World กับข่าว The 15 Happiest Economies in the World แกะความได้ว่าวิธีคำนวณหาค่าความสุขเชิงเศรษฐกิจนั้นเขาเปรียบเทียบจากดัชนีค่าของความขัดสน (Misery Index) เป็นสำคัญ คือถ้ามีความขัดสนทางเศรษฐกิจน้อยแปลว่าคนก็จะมีความสุขทางเศรษฐกิจมากนั่นเอง
ตัวแปรสำคัญของดัชนีค่าของความขัดสน (Misery Index) มาจากสองส่วนหลักคือ ดัชนีเงินเฟ้อ กับ ดัชนีผู้ว่างงาน เป็นสำคัญ เขาถือว่าหากมีคนว่างงานมากคนก็จะไม่มีกำลังจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับหากค่าเงินเฟ้อสูงแสดงว่าราคาข้าวของแพงขึ้นๆ คนก็ลังเลจะควักกระเป๋านี่ โดยรวมแล้วหากคนว่างงานเยอะเงินเฟ้อสูงก็จะไม่มีความสุขในทางเศรษฐกิจ บลูมเบิร์กสรุปว่าในปี 2015 มีประเทศที่ไม่มีความสุขเพราะมีค่าความขัดสนสูง ได้แก่ เวเนซุเอล่า อาร์เจนติน่า อาฟริกาใต้ ยูเครน กรีซ ซึ่งต่างก็เผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจในทางใดทางหนึ่งอยู่เช่นราคาน้ำมันตกต่ำที่เคยขายได้เงินเยอะก็ได้น้อยลงหรือเกิดสงครามอะไรก็ว่าไป
แปลความแบบทุนเสรีนิยมแบบบลูมเบิร์กมองว่าประเทศที่ขัดสน คนก็ไม่มีความสุขทางเศรษฐกิจ เพราะมีปัญหาในการควักกระเป๋าจับจ่ายนั่นแล
ในทางกลับกัน...ด้วยเทคนิควิธีการวัดแบบเดียวกันนี้ดลบันดาลให้ประเทศไทยที่รักของเราผงาดขึ้นกลายเป็นประเทศที่มีความสุขทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกในพริบตา
เพราะบังเอิญว่าปีนี้เขาสำรวจอัตราว่างงานกับอัตราเงินเฟ้อของเราต่ำ ดังนั้นจึงทำให้ค่าความขัดสน (Misery Index) ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่เขาสำรวจ
ฝรั่งนี่เวลาจะเลอะเทอะมันก็เลอะแบบไม่แยแสใครเลยนะครับนี่ ...อูวว์ ประเทศที่มีความสุขทางเศรษฐกิจ
เราท่านคนไทยที่กำลังผจญอยู่กับราคาน้ำมันที่กำลังทยอยขึ้นแพงกว่าประเทศอีกมากมายในโลกทั้งๆ ที่บอกว่าเราอิงตลาดโลก ค่าก๊าซหุงต้มแพง ค่าแท็กซี่ในกรุงขึ้นต่างจังหวัดก็ขึ้น ค้าขายอะไรก็ขายไม่ออกเพราะคนมีกำลังซื้อน้อยคอนโดบ้านจัดสรรใหม่ๆ โหรงเหรงแทบร้าง ยางพารา ราคาพืชผลตกต่ำ ฯลฯ คงไม่เห็นด้วยกับบลูมเบิร์กหรอก และคงไม่ได้ภาคภูมิใจอะไรด้วยแน่ ผมเชื่อเช่นนั้น ประมาณว่าจะจัดลำดับอะไรก็จัดไปเหอะขอตัวไปทำมาหากินก่อน ซึ่งหากจะมีคนฉีกยิ้มอยู่บ้างคงมีแถวทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงการคลังไม่กี่คน หุหุ
คือถ้าเห็นเป็นข่าวขำๆ แก้ร้อน เพราะเรื่องพระสงฆ์ ธรรมกาย ระเบิดเมืองนี่ก็ร้อนพออยู่แล้ว...ก็ได้
หรือหากซีเรียสขึ้นมาหน่อยหยิบมาพลิกๆ ดู เออ..ที่แท้ข่าวนี้มันก็มีแง่มุมชวนให้คิดอยู่เช่นกัน
การจัดอันดับของบลูมเบิร์กสะท้อนโลกทัศน์และปรัชญาแบบทุนตะวันตกและมาตรฐานแบบโลกตะวันตกมาประเมินผลของมันจึงออกจะแปร่งๆ แบบที่แชมป์โลกความสุขก็งง เช่น การใช้ดัชนีการว่างงานมาผูกกับความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนเป็นวิธีคิดแบบฝรั่งและใช้มาตรฐานฝรั่งมาจับ เพราะฝรั่งเข้าใจตามประสาเขาว่าคนที่มีงานทำย่อมมีรายได้เลี้ยงชีพและจับจ่ายแน่นอน สังคมเขามีมาตรฐานอัตราค่าจ้างสูงเขาก็มองแบบเขา โดยลืมมองสภาพแวดล้อมที่ต่างไปของซีกโลกอื่น เพราะสำหรับเมืองไทยหากตกงานจากโรงงานมาทำนา ก็ไม่แน่ว่าจะมีเงินในกระเป๋าจริง มียุคหนึ่งรัฐบาลถึงขนาดค้างค่าจำนำข้าวจำได้ไหม การมีงานทำแบบไทยๆ อาจจะไม่ใช่ตัวเลขของพลังอำนาจการจับจ่ายแบบที่ฝรั่งคิด
โลกแบบทุนนิยมนิยามความสุขและสรวงสวรรค์จากจำนวนเงินในกระเป๋า เขามองว่าที่แห่งใดที่คนมีอำนาจจับจ่ายใช้สอยสูงล่ะก็ที่นั่นเป็นสวรรค์ บลูมเบิร์กใช้คำว่า consumer-friendly place to live และคำว่า consumer dreamland ในเนื้อข่าว...บ่งบอกไว้ชัดว่ามุมคิดของเขามันเป็นแบบนี้
ความคิดแบบทุนไม่ได้สนใจเรื่องหนี้สินว่าเป็นเครื่องถ่วงหรือเป็นความทุกข์ ( unhappiness )ในทางกลับกันยังมองว่าความสามารถเป็นหนี้ หรือการมีเครดิตไปจับจ่ายนี่สิ คือสวรรค์น้อยๆ มีงานทำ มีเครดิต สามารถเป็นหนี้ได้ ถือเป็นภาพด้านบวกของความสำเร็จ ไม่เหมือนวิธีคิดแบบไทยๆ หรืออาจจะเรียกว่าแบบพอเพียงที่สอนให้ระมัดระวัง ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่เป็นหนี้
พุทธสุภาษิตบอกว่า การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก - ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
หรือทางอิสลามก็มีคำสอนเกี่ยวกับหนี้สินอยู่มาก หลักๆ ก็คือไม่สนับสนุนผู้มีหนี้สินตกค้าง
สวรรค์แบบเสรีนิยมจึงต่างจากหลักเศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ หรือเศรษฐศาสตร์แบบอิสลามที่เห็นว่าการเป็นหนี้ก็สร้างสุขได้ (หมายเหตุ – เศรษฐศาสตร์แบบชาวพุทธอาจต่างจากมุมของลัทธินิกายจานบินที่มองว่ากู้หนี้ยืมสินมาทำบุญก็ไปสวรรค์ได้ ความคิดแบบธรรมกายสอดคล้องกับสวรรค์แบบทุนเสรีนิยมมากกว่า)
อ่านข่าวการจัดลำดับของฝรั่งชิ้นนี้ทำให้นึกถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งบรรดานักเสรีนิยมก้าวหน้าทั้งหลายมักจะหยิบมาค่อนแคะเย้ยหยันให้กลับไปเลี้ยงควายนุ่งเปลือกไม้ใช้เกวียนเดินทางอะไรทำนองนั้น ที่แท้ปรัชญาพอเพียงคืออย่าให้เกินตัว ต่อให้มีอำนาจซื้อสูงแต่ก็ชั่งใจไม่ควักจ่ายไปตามอำนาจซื้อหรือสิ่งเร้าให้ซื้อ สวรรค์แบบทุน กับสวรรค์แบบพอเพียงนี่ก็ไม่เหมือนกันอีก
สมมติถ้าเราลองมากำหนดดัชนีชี้วัดความสุขทางเศรษฐกิจอีกแบบก็ไม่แน่ว่าประเทศไทยจะได้ลำดับต้นอีกหรือไม่ เช่น เอาดัชนีภาวะหนี้สินของบุคคล ดัชนีรายได้เทียบกับเงินเฟ้อ มาประกอบเพิ่มเราคงเห็นสถานะของประเทศไทยในตารางในอีกแบบหนึ่ง
ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกจึงเป็นเรื่องขำๆ ที่บลูมเบิร์กส่งมาให้เราอ่านเล่นแก้เครียดเท่านั้น อ่านข่าวของบลูมเบิร์กทำให้นึกถึงคำสอนลัทธิศาสนาที่สอนให้เป็นหนี้ ให้สร้างหนี้เพื่อทำบุญ แนวทางเดียวกันเลย.
ตัวแปรสำคัญของดัชนีค่าของความขัดสน (Misery Index) มาจากสองส่วนหลักคือ ดัชนีเงินเฟ้อ กับ ดัชนีผู้ว่างงาน เป็นสำคัญ เขาถือว่าหากมีคนว่างงานมากคนก็จะไม่มีกำลังจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับหากค่าเงินเฟ้อสูงแสดงว่าราคาข้าวของแพงขึ้นๆ คนก็ลังเลจะควักกระเป๋านี่ โดยรวมแล้วหากคนว่างงานเยอะเงินเฟ้อสูงก็จะไม่มีความสุขในทางเศรษฐกิจ บลูมเบิร์กสรุปว่าในปี 2015 มีประเทศที่ไม่มีความสุขเพราะมีค่าความขัดสนสูง ได้แก่ เวเนซุเอล่า อาร์เจนติน่า อาฟริกาใต้ ยูเครน กรีซ ซึ่งต่างก็เผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจในทางใดทางหนึ่งอยู่เช่นราคาน้ำมันตกต่ำที่เคยขายได้เงินเยอะก็ได้น้อยลงหรือเกิดสงครามอะไรก็ว่าไป
แปลความแบบทุนเสรีนิยมแบบบลูมเบิร์กมองว่าประเทศที่ขัดสน คนก็ไม่มีความสุขทางเศรษฐกิจ เพราะมีปัญหาในการควักกระเป๋าจับจ่ายนั่นแล
ในทางกลับกัน...ด้วยเทคนิควิธีการวัดแบบเดียวกันนี้ดลบันดาลให้ประเทศไทยที่รักของเราผงาดขึ้นกลายเป็นประเทศที่มีความสุขทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกในพริบตา
เพราะบังเอิญว่าปีนี้เขาสำรวจอัตราว่างงานกับอัตราเงินเฟ้อของเราต่ำ ดังนั้นจึงทำให้ค่าความขัดสน (Misery Index) ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่เขาสำรวจ
ฝรั่งนี่เวลาจะเลอะเทอะมันก็เลอะแบบไม่แยแสใครเลยนะครับนี่ ...อูวว์ ประเทศที่มีความสุขทางเศรษฐกิจ
เราท่านคนไทยที่กำลังผจญอยู่กับราคาน้ำมันที่กำลังทยอยขึ้นแพงกว่าประเทศอีกมากมายในโลกทั้งๆ ที่บอกว่าเราอิงตลาดโลก ค่าก๊าซหุงต้มแพง ค่าแท็กซี่ในกรุงขึ้นต่างจังหวัดก็ขึ้น ค้าขายอะไรก็ขายไม่ออกเพราะคนมีกำลังซื้อน้อยคอนโดบ้านจัดสรรใหม่ๆ โหรงเหรงแทบร้าง ยางพารา ราคาพืชผลตกต่ำ ฯลฯ คงไม่เห็นด้วยกับบลูมเบิร์กหรอก และคงไม่ได้ภาคภูมิใจอะไรด้วยแน่ ผมเชื่อเช่นนั้น ประมาณว่าจะจัดลำดับอะไรก็จัดไปเหอะขอตัวไปทำมาหากินก่อน ซึ่งหากจะมีคนฉีกยิ้มอยู่บ้างคงมีแถวทำเนียบรัฐบาลและกระทรวงการคลังไม่กี่คน หุหุ
คือถ้าเห็นเป็นข่าวขำๆ แก้ร้อน เพราะเรื่องพระสงฆ์ ธรรมกาย ระเบิดเมืองนี่ก็ร้อนพออยู่แล้ว...ก็ได้
หรือหากซีเรียสขึ้นมาหน่อยหยิบมาพลิกๆ ดู เออ..ที่แท้ข่าวนี้มันก็มีแง่มุมชวนให้คิดอยู่เช่นกัน
การจัดอันดับของบลูมเบิร์กสะท้อนโลกทัศน์และปรัชญาแบบทุนตะวันตกและมาตรฐานแบบโลกตะวันตกมาประเมินผลของมันจึงออกจะแปร่งๆ แบบที่แชมป์โลกความสุขก็งง เช่น การใช้ดัชนีการว่างงานมาผูกกับความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนเป็นวิธีคิดแบบฝรั่งและใช้มาตรฐานฝรั่งมาจับ เพราะฝรั่งเข้าใจตามประสาเขาว่าคนที่มีงานทำย่อมมีรายได้เลี้ยงชีพและจับจ่ายแน่นอน สังคมเขามีมาตรฐานอัตราค่าจ้างสูงเขาก็มองแบบเขา โดยลืมมองสภาพแวดล้อมที่ต่างไปของซีกโลกอื่น เพราะสำหรับเมืองไทยหากตกงานจากโรงงานมาทำนา ก็ไม่แน่ว่าจะมีเงินในกระเป๋าจริง มียุคหนึ่งรัฐบาลถึงขนาดค้างค่าจำนำข้าวจำได้ไหม การมีงานทำแบบไทยๆ อาจจะไม่ใช่ตัวเลขของพลังอำนาจการจับจ่ายแบบที่ฝรั่งคิด
โลกแบบทุนนิยมนิยามความสุขและสรวงสวรรค์จากจำนวนเงินในกระเป๋า เขามองว่าที่แห่งใดที่คนมีอำนาจจับจ่ายใช้สอยสูงล่ะก็ที่นั่นเป็นสวรรค์ บลูมเบิร์กใช้คำว่า consumer-friendly place to live และคำว่า consumer dreamland ในเนื้อข่าว...บ่งบอกไว้ชัดว่ามุมคิดของเขามันเป็นแบบนี้
ความคิดแบบทุนไม่ได้สนใจเรื่องหนี้สินว่าเป็นเครื่องถ่วงหรือเป็นความทุกข์ ( unhappiness )ในทางกลับกันยังมองว่าความสามารถเป็นหนี้ หรือการมีเครดิตไปจับจ่ายนี่สิ คือสวรรค์น้อยๆ มีงานทำ มีเครดิต สามารถเป็นหนี้ได้ ถือเป็นภาพด้านบวกของความสำเร็จ ไม่เหมือนวิธีคิดแบบไทยๆ หรืออาจจะเรียกว่าแบบพอเพียงที่สอนให้ระมัดระวัง ใช้จ่ายเท่าที่มี ไม่เป็นหนี้
พุทธสุภาษิตบอกว่า การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก - ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
หรือทางอิสลามก็มีคำสอนเกี่ยวกับหนี้สินอยู่มาก หลักๆ ก็คือไม่สนับสนุนผู้มีหนี้สินตกค้าง
สวรรค์แบบเสรีนิยมจึงต่างจากหลักเศรษฐศาสตร์แบบพอเพียง เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ หรือเศรษฐศาสตร์แบบอิสลามที่เห็นว่าการเป็นหนี้ก็สร้างสุขได้ (หมายเหตุ – เศรษฐศาสตร์แบบชาวพุทธอาจต่างจากมุมของลัทธินิกายจานบินที่มองว่ากู้หนี้ยืมสินมาทำบุญก็ไปสวรรค์ได้ ความคิดแบบธรรมกายสอดคล้องกับสวรรค์แบบทุนเสรีนิยมมากกว่า)
อ่านข่าวการจัดลำดับของฝรั่งชิ้นนี้ทำให้นึกถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งบรรดานักเสรีนิยมก้าวหน้าทั้งหลายมักจะหยิบมาค่อนแคะเย้ยหยันให้กลับไปเลี้ยงควายนุ่งเปลือกไม้ใช้เกวียนเดินทางอะไรทำนองนั้น ที่แท้ปรัชญาพอเพียงคืออย่าให้เกินตัว ต่อให้มีอำนาจซื้อสูงแต่ก็ชั่งใจไม่ควักจ่ายไปตามอำนาจซื้อหรือสิ่งเร้าให้ซื้อ สวรรค์แบบทุน กับสวรรค์แบบพอเพียงนี่ก็ไม่เหมือนกันอีก
สมมติถ้าเราลองมากำหนดดัชนีชี้วัดความสุขทางเศรษฐกิจอีกแบบก็ไม่แน่ว่าประเทศไทยจะได้ลำดับต้นอีกหรือไม่ เช่น เอาดัชนีภาวะหนี้สินของบุคคล ดัชนีรายได้เทียบกับเงินเฟ้อ มาประกอบเพิ่มเราคงเห็นสถานะของประเทศไทยในตารางในอีกแบบหนึ่ง
ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกจึงเป็นเรื่องขำๆ ที่บลูมเบิร์กส่งมาให้เราอ่านเล่นแก้เครียดเท่านั้น อ่านข่าวของบลูมเบิร์กทำให้นึกถึงคำสอนลัทธิศาสนาที่สอนให้เป็นหนี้ ให้สร้างหนี้เพื่อทำบุญ แนวทางเดียวกันเลย.