สัปดาห์ที่แล้ว เสาร์แรกของเดือนมกราคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ สักปดาห์ถัดมา วันที่ 16 ของเดือนมกราคม ไม่ใช่แค่เพียงวันหวยออก แต่ยังเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งก็คือวันครู
ความเป็นมาของวันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา มีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู และให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษา แก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
สิบปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2499 จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น เสนอในที่ประชุมสามัญประจำปีของคุรุสภา ให้มีวันครูแห่งชาติ เพื่อระลึกถึงพระคุณของครู กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดงานวันครูขึ้นครั้งแรกในปีถัดมา และจัดกันเรื่อยมาทุกปี
ผมเชื่อว่าหลายคน มีคุณครูในดวงใจ คุณครูที่เรารักและเคารพ วันนี้ผมขอถือโอกาสพูดถึงคุณครูของผมบางท่าน เผื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของครู ที่เปรียบดั่งเรือจ้าง เปรียบดั่งแม่คนที่สอง และเปรียบเทียบเป็นอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง ก็คงเป็นเพราะคำว่าครูนั้นมันมีความหมายลึกซึ้งมาก
สมัยเป็นเด็กอนุบาลและประถมผมเรียนที่โรงเรียนดรุโณทยาน ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2483 โดยคุณครูฉลบชลัยย์ พลางกูร ซึ่งตอนนี้ท่านก็อายุเกือบร้อยปีแล้วละครับ
ครูในชั้นอนุบาลของผม คือ ครูป้อม วิมลมาลี พลจันทร เป็นบุตรสาวของนายผี หรือคุณอัศนี พลจันทร กวีผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญนั่นเองครับ ถ้าผู้ปกครองมารับช้า หรือมืดค่ำ คุณครูต้องทำอาหารมื้อเย็นให้ทาน บางรายต้องเรียนพิเศษคุณครูให้มานอนค้างคืนที่โรงเรรียนเลยก็มี
เนื่องจากโรงเรียนนี้แรกเริ่มเดิมทีนั้นเป็นโรงเรียนหญิงล้วน เพิ่งมามีนักเรียนชายตอนหลัง ทำให้รุ่นของผมมีผู้ชายทั้งรุ่นไม่ถึงสิบคน หลายคนในรุ่นสนิทกันจนทุกวันนี้ โรงเรียนของผมเจ๋งมากในหลายเรื่อง
การเรียนการสอนที่นี่ถือว่าเข้มงวดมากโดยเฉพาะวิชาภาษาไทยตอนอนุบาล ที่พวกเราต้องไปยืนคัดไทยต่อหน้าคุณครูเล็ก หรือคุณครูเบญจางค์ พลจันทร น้องสาวของคุณครูฉลบที่สอนพวกเราคัดไทยชนิดตัวต่อตัว และอีกวิชาก็คือภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณครูฉลบลงมาสอนพวกเราเองและสอนต่อมาทุกชั้น ต้องท่องศัพทพ์คัดศัพท์ ตัวต่อตัว พูดออกเสียงให้ได้ ไม่งั้นเจอเคาะมือแน่ๆ คุณครูฉลบยังสอนพิเศษตอนเย็น โดยไม่เคยเก็บค่าเรียนจากนักเรียน
แถมที่นี่เรายังได้เรียนร้องเพลงกับคุณครูดุษฏี พนมยงค์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของท่านปรีดี พนมยงค์อีกด้วย ผมจำได้เลยว่าต้องฝึกออกเสียงกันนั่งไล่ตัวโน้ต อารมณ์ประมาณร้องเพลงประสานเสียงในโบสถ์เลยทีเดียว
ห้องอาหารของนักเรียนชั้นประถม ใช้จานชามกระเบื้องสีขาว เพราะฉะนั้นนักเรียนต้องรับประทานกันอย่างเรียบร้อยพยายามไม่ทำเลอะเทอะ หรือทำจานแตก เคยมีคนทักผมขณะนั่งรถไฟไปต่างจังหวัดว่า เป็นนักเรียนโรงเรียนดรุโณทยานหรือ เพราะสังเกตเห็นกิริยาบางอย่างและเห็นผมไหว้พนักงานเสิรฟอาหาร
เสียดายที่โรงเรียนเลิกกิจการไปในที่สุดเมื่อสิบปีก่อน เพราะคุณครูฉลบชลัยย์อายุมากแล้ว นี่เป็นโรงเรียนที่สอนเด็กๆโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์กำไร หรือรางวัลจอมปลอมใดๆ คุณครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง ซึ่งหาได้ยากมากขึ้นทุกวันในสังคมปัจจุบัน
เมื่อเข้าช่วงมัธยมก็ได้เข้าไปเรียนที่สวนกุหลาบวิทยลัย นนทบุรี ซึ่งตอนนั้นจำได้ตอนแรกไม่ค่อยอยากเรียนที่นี่เท่าไรเพราะเพื่อนสนิทส่วนมากไปเรียนกันที่อื่นเราก็อยากไปด้วย เข้ามาทีนี้ก็ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นเต็มที่ ได้ลองทำหลายอย่างทั้งดีและไม่ดีแต่ก็ผ่านมาได้
คุณครูที่สวนกุหลาบนนท์ จริงๆผมก็สนิทหลายท่าน เพราะผมชอบกิจกรรม ทำโน่นทำนี่ตลอด แต่ที่สนิทสุดๆคงเป็นครูฝ่ายปกครองโดยเฉพาะช่วง ม. ปลาย ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นรองประธานนักเรียน ซึ่งต้องขอบอกว่าได้รับประสบการณ์หลายด้าน ตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้งประธานนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน จำได้ตอนนั้นต้องตั้งพรรค ทำใบปลิวหาเสียงสนุกมากๆครับ
กลับมาที่ฝ่ายปกครอง ผมจะสนิทกับอาจารย์บุญเลิศที่สุด อาจารย์เป็นผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เวลาทำอะไรปรึกษาอาจารย์ได้หมด และอาจารย์จะเรียกพวกเราว่าลูกทุกคำ เวลาไปไหนมาไหนกันเป็นกลุ่มก็จะเรียกว่าลูกสวนนนท์
นอกจากท่านอาจารย์บุญเลิศแล้ว อาจารย์ที่หมวดภาษาไทยก็เป็นอาจารย์อีกหมวดวิชาหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจการเขียนการทำหนังสือ โดยเฉพาะเรื่องของการยุให้เขียนบทความลงในวารสารโรงเรียนตั้งแต่ช่วง ม.3 และผมจำได้ว่าได้เงินด้วย ตอนลงผมยังจำชื่อบทความแรกและนามปากกาแรกของผมได้จนทุกวันนี้
ผมเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ มหาลัยกรุงเทพ ผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย คืออาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ท่านเป็นครูสร้างแรงบันดาลใจในการถ่ายรูป ชวนผมออกไปถ่ายรูปกับทีมสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งท่านเป็นนายกสมาคมอยู่หลายสมัย แถมสอนเทคนิคมากมายให้ผมด้วยในตอนนั้น
ผมเลือกเรียนเอกวารสารศาสตร์ เรียนที่นี่ก็ได้พบคุณครูอาจารย์หลายท่านที่เมตตาผมมากๆ ตอนนั้นก็เริ่มมีเหตุการณ์ทางการเมือง การชุมนุมประท้วงมากมายเริ่มเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของคุณทักษิณกับคุณสนธิ การถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์และการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร
อาจารย์ที่คอยห่วงใยผมเสมอๆ คืออาจารย์วัฒณี ภูวทิศ อาจารย์จะคอยเตือนเสมอว่าคิดดีๆไม่ว่าจะทำอะไร คิดก่อนทำ คิดก่อนพูด
นอกจากนี้ก็ยังมีอาจารย์ สามารถ ศิริบุญ ผมจะสนิทกับอาจารย์มาก อาจารย์สอนผมเกี่ยวกับปรัชญาและการเมือง แถมอาจารย์ยังเจ้าบทเจ้ากลอนเอามากๆ อาจารย์เป็นที่ปรึกษาผมเสมอๆเวลาจะเคลื่อนไหวกิจกรรมเกี่ยวกับการเมือง อาจารย์เป็นครูสมกับที่มักจะเรียกตัวเองหรือใช้คำแทนตัวเองว่าครูเสมอ
นอกจากอาจารย์สองท่านนี้แล้วผมยังต้องขอบคุณอาจารย์ที่คณะนิเทศศาสตร์โดยเฉพาะที่ภาควิชาวารสารศาสตร์ทุกๆคนครับ ที่สอนผมให้มีจิตวิญญาณความเป็นสื่อจนทุกวันนี้
ขีวิตผมเดินก้าวแรกได้เพราะครูคนแรกของผมอย่างพ่อและแม่ เป็นครูในบ้าน ครูคนแรกของชีวิตที่เดินมาได้ไกลขนาดนี้เพราะคุณครูทุกๆท่านที่สอนผม หล่อหลอมผมให้ผมเป็นผมในวันนี้ ผมเคยเขียนในเฟสบุ๊คว่าผมถือว่าทุกๆคนที่เดินเข้ามาในชีวิตผม เป็นครูผมแทบทั้งนั้น แต่ละคนสอนและให้บทเรียนกับชีวิตผมแตกต่างกันไป แต่มันก็ทำให้ผมแกร่งและเข้มแข็งขึ้น
เมื่อทบทวนดู ผมว่าครูดีๆยังมีอยู่ในทุกที่ ครูที่ดีของศิษย์ ครูที่มีจิตวิญญาณครู ต้องเป็นครูที่มีความรักความเมตตาในหัวใจ เป็นครูใจดี ให้คำปรึกษาแนะนำทั้งเรื่องการเรี่ยนและการใช้ชีวิต ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียวโมโหรำคาญนักเรียน ครูที่ดี ต้องอดทน ใจเย็นในการสั่งสอนอบรมอธิบายเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ครูที่ดี ต้องมีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง หาความรู้เตรียมการสอนอย่างดีทุกครั้งที่เข้าสอน ครูที่ดี ต้องสุจริตไม่คดโกง ไม่หาประโยชน์ เงินทองจากลูกศิษย์และผู้ปกครอง ครูที่ดี ต้องไม่ขาดสอนเว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริงๆหรือเจ็บป่วย ครูที่ดี ต้องใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้สิน ห่างไกลอบายมุข เป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
เนื่องในวันครูที่พึ่งผ่านไป ผมก็ขอสดุดีคารวะคุณครูที่ดีทุกๆท่านครับ
ความเป็นมาของวันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา มีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู และให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษา แก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
สิบปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2499 จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น เสนอในที่ประชุมสามัญประจำปีของคุรุสภา ให้มีวันครูแห่งชาติ เพื่อระลึกถึงพระคุณของครู กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดงานวันครูขึ้นครั้งแรกในปีถัดมา และจัดกันเรื่อยมาทุกปี
ผมเชื่อว่าหลายคน มีคุณครูในดวงใจ คุณครูที่เรารักและเคารพ วันนี้ผมขอถือโอกาสพูดถึงคุณครูของผมบางท่าน เผื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของครู ที่เปรียบดั่งเรือจ้าง เปรียบดั่งแม่คนที่สอง และเปรียบเทียบเป็นอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง ก็คงเป็นเพราะคำว่าครูนั้นมันมีความหมายลึกซึ้งมาก
สมัยเป็นเด็กอนุบาลและประถมผมเรียนที่โรงเรียนดรุโณทยาน ซึ่งเป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2483 โดยคุณครูฉลบชลัยย์ พลางกูร ซึ่งตอนนี้ท่านก็อายุเกือบร้อยปีแล้วละครับ
ครูในชั้นอนุบาลของผม คือ ครูป้อม วิมลมาลี พลจันทร เป็นบุตรสาวของนายผี หรือคุณอัศนี พลจันทร กวีผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญนั่นเองครับ ถ้าผู้ปกครองมารับช้า หรือมืดค่ำ คุณครูต้องทำอาหารมื้อเย็นให้ทาน บางรายต้องเรียนพิเศษคุณครูให้มานอนค้างคืนที่โรงเรรียนเลยก็มี
เนื่องจากโรงเรียนนี้แรกเริ่มเดิมทีนั้นเป็นโรงเรียนหญิงล้วน เพิ่งมามีนักเรียนชายตอนหลัง ทำให้รุ่นของผมมีผู้ชายทั้งรุ่นไม่ถึงสิบคน หลายคนในรุ่นสนิทกันจนทุกวันนี้ โรงเรียนของผมเจ๋งมากในหลายเรื่อง
การเรียนการสอนที่นี่ถือว่าเข้มงวดมากโดยเฉพาะวิชาภาษาไทยตอนอนุบาล ที่พวกเราต้องไปยืนคัดไทยต่อหน้าคุณครูเล็ก หรือคุณครูเบญจางค์ พลจันทร น้องสาวของคุณครูฉลบที่สอนพวกเราคัดไทยชนิดตัวต่อตัว และอีกวิชาก็คือภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณครูฉลบลงมาสอนพวกเราเองและสอนต่อมาทุกชั้น ต้องท่องศัพทพ์คัดศัพท์ ตัวต่อตัว พูดออกเสียงให้ได้ ไม่งั้นเจอเคาะมือแน่ๆ คุณครูฉลบยังสอนพิเศษตอนเย็น โดยไม่เคยเก็บค่าเรียนจากนักเรียน
แถมที่นี่เรายังได้เรียนร้องเพลงกับคุณครูดุษฏี พนมยงค์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของท่านปรีดี พนมยงค์อีกด้วย ผมจำได้เลยว่าต้องฝึกออกเสียงกันนั่งไล่ตัวโน้ต อารมณ์ประมาณร้องเพลงประสานเสียงในโบสถ์เลยทีเดียว
ห้องอาหารของนักเรียนชั้นประถม ใช้จานชามกระเบื้องสีขาว เพราะฉะนั้นนักเรียนต้องรับประทานกันอย่างเรียบร้อยพยายามไม่ทำเลอะเทอะ หรือทำจานแตก เคยมีคนทักผมขณะนั่งรถไฟไปต่างจังหวัดว่า เป็นนักเรียนโรงเรียนดรุโณทยานหรือ เพราะสังเกตเห็นกิริยาบางอย่างและเห็นผมไหว้พนักงานเสิรฟอาหาร
เสียดายที่โรงเรียนเลิกกิจการไปในที่สุดเมื่อสิบปีก่อน เพราะคุณครูฉลบชลัยย์อายุมากแล้ว นี่เป็นโรงเรียนที่สอนเด็กๆโดยไม่คิดถึงผลประโยชน์กำไร หรือรางวัลจอมปลอมใดๆ คุณครูมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง ซึ่งหาได้ยากมากขึ้นทุกวันในสังคมปัจจุบัน
เมื่อเข้าช่วงมัธยมก็ได้เข้าไปเรียนที่สวนกุหลาบวิทยลัย นนทบุรี ซึ่งตอนนั้นจำได้ตอนแรกไม่ค่อยอยากเรียนที่นี่เท่าไรเพราะเพื่อนสนิทส่วนมากไปเรียนกันที่อื่นเราก็อยากไปด้วย เข้ามาทีนี้ก็ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นเต็มที่ ได้ลองทำหลายอย่างทั้งดีและไม่ดีแต่ก็ผ่านมาได้
คุณครูที่สวนกุหลาบนนท์ จริงๆผมก็สนิทหลายท่าน เพราะผมชอบกิจกรรม ทำโน่นทำนี่ตลอด แต่ที่สนิทสุดๆคงเป็นครูฝ่ายปกครองโดยเฉพาะช่วง ม. ปลาย ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นรองประธานนักเรียน ซึ่งต้องขอบอกว่าได้รับประสบการณ์หลายด้าน ตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้งประธานนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน จำได้ตอนนั้นต้องตั้งพรรค ทำใบปลิวหาเสียงสนุกมากๆครับ
กลับมาที่ฝ่ายปกครอง ผมจะสนิทกับอาจารย์บุญเลิศที่สุด อาจารย์เป็นผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง เวลาทำอะไรปรึกษาอาจารย์ได้หมด และอาจารย์จะเรียกพวกเราว่าลูกทุกคำ เวลาไปไหนมาไหนกันเป็นกลุ่มก็จะเรียกว่าลูกสวนนนท์
นอกจากท่านอาจารย์บุญเลิศแล้ว อาจารย์ที่หมวดภาษาไทยก็เป็นอาจารย์อีกหมวดวิชาหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจการเขียนการทำหนังสือ โดยเฉพาะเรื่องของการยุให้เขียนบทความลงในวารสารโรงเรียนตั้งแต่ช่วง ม.3 และผมจำได้ว่าได้เงินด้วย ตอนลงผมยังจำชื่อบทความแรกและนามปากกาแรกของผมได้จนทุกวันนี้
ผมเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ มหาลัยกรุงเทพ ผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย คืออาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ท่านเป็นครูสร้างแรงบันดาลใจในการถ่ายรูป ชวนผมออกไปถ่ายรูปกับทีมสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งท่านเป็นนายกสมาคมอยู่หลายสมัย แถมสอนเทคนิคมากมายให้ผมด้วยในตอนนั้น
ผมเลือกเรียนเอกวารสารศาสตร์ เรียนที่นี่ก็ได้พบคุณครูอาจารย์หลายท่านที่เมตตาผมมากๆ ตอนนั้นก็เริ่มมีเหตุการณ์ทางการเมือง การชุมนุมประท้วงมากมายเริ่มเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของคุณทักษิณกับคุณสนธิ การถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์และการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร
อาจารย์ที่คอยห่วงใยผมเสมอๆ คืออาจารย์วัฒณี ภูวทิศ อาจารย์จะคอยเตือนเสมอว่าคิดดีๆไม่ว่าจะทำอะไร คิดก่อนทำ คิดก่อนพูด
นอกจากนี้ก็ยังมีอาจารย์ สามารถ ศิริบุญ ผมจะสนิทกับอาจารย์มาก อาจารย์สอนผมเกี่ยวกับปรัชญาและการเมือง แถมอาจารย์ยังเจ้าบทเจ้ากลอนเอามากๆ อาจารย์เป็นที่ปรึกษาผมเสมอๆเวลาจะเคลื่อนไหวกิจกรรมเกี่ยวกับการเมือง อาจารย์เป็นครูสมกับที่มักจะเรียกตัวเองหรือใช้คำแทนตัวเองว่าครูเสมอ
นอกจากอาจารย์สองท่านนี้แล้วผมยังต้องขอบคุณอาจารย์ที่คณะนิเทศศาสตร์โดยเฉพาะที่ภาควิชาวารสารศาสตร์ทุกๆคนครับ ที่สอนผมให้มีจิตวิญญาณความเป็นสื่อจนทุกวันนี้
ขีวิตผมเดินก้าวแรกได้เพราะครูคนแรกของผมอย่างพ่อและแม่ เป็นครูในบ้าน ครูคนแรกของชีวิตที่เดินมาได้ไกลขนาดนี้เพราะคุณครูทุกๆท่านที่สอนผม หล่อหลอมผมให้ผมเป็นผมในวันนี้ ผมเคยเขียนในเฟสบุ๊คว่าผมถือว่าทุกๆคนที่เดินเข้ามาในชีวิตผม เป็นครูผมแทบทั้งนั้น แต่ละคนสอนและให้บทเรียนกับชีวิตผมแตกต่างกันไป แต่มันก็ทำให้ผมแกร่งและเข้มแข็งขึ้น
เมื่อทบทวนดู ผมว่าครูดีๆยังมีอยู่ในทุกที่ ครูที่ดีของศิษย์ ครูที่มีจิตวิญญาณครู ต้องเป็นครูที่มีความรักความเมตตาในหัวใจ เป็นครูใจดี ให้คำปรึกษาแนะนำทั้งเรื่องการเรี่ยนและการใช้ชีวิต ไม่หงุดหงิดฉุนเฉียวโมโหรำคาญนักเรียน ครูที่ดี ต้องอดทน ใจเย็นในการสั่งสอนอบรมอธิบายเหตุผลไม่ใช้อารมณ์ ครูที่ดี ต้องมีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างลึกซึ้ง หาความรู้เตรียมการสอนอย่างดีทุกครั้งที่เข้าสอน ครูที่ดี ต้องสุจริตไม่คดโกง ไม่หาประโยชน์ เงินทองจากลูกศิษย์และผู้ปกครอง ครูที่ดี ต้องไม่ขาดสอนเว้นแต่มีเหตุจำเป็นจริงๆหรือเจ็บป่วย ครูที่ดี ต้องใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้สิน ห่างไกลอบายมุข เป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
เนื่องในวันครูที่พึ่งผ่านไป ผมก็ขอสดุดีคารวะคุณครูที่ดีทุกๆท่านครับ