อยู่ดีๆ ก็มีเรื่องประเภท “อยู่ดีไม่ว่าดี” ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ “สนช.” กลายเป็นผู้ต้องหาในคดีมโนสาเร่ของสังคมไปเสียได้โดยไม่จำเป็น
เริ่มตั้งแต่เมื่อมีสมาชิก สนช.จำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สนช.สายทหารทำท่าจะไม่ยอมยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัว เพราะตัวเป็น สนช.มิใช่ ส.ส. ส.ว. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถึงขนาดโต้แย้งคำสั่งไปฟ้องศาลปกครอง ซึ่งผลของการฟ้องร้องนั้น ศาลปกครองกลางได้ “สอนหน้าที่” แบบนิ่มๆ ผ่านคำสั่งไม่รับฟ้อง มีความตอนหนึ่งสรุปว่า
กฎหมาย ป.ป.ช.กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีความหมายถึงผู้เอาภาระของบ้านเมืองเป็นภาระของตน ไม่ว่าจะโดยสมัครใจเข้าสมัครรับการเลือกตั้ง หรือสมัครใจตามที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในการตรากฎหมายอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงมีหน้าที่ต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ เปิดเผยความจริงว่า ก่อนตนเข้ารับตำแหน่งมีทรัพย์สินใดบ้าง เพื่อให้สังคมรับรู้รับทราบถึงความโปร่งใสของผู้เข้ามารับภาระของบ้านเมืองว่า มิได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ แก่ตนเองและครอบครัว หน้าที่ดังกล่าว เป็นเรื่องส่วนตนโดยแท้ของผู้อาสาเข้ามารับภาระของบ้านเมือง หาใช่หน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะต้องเรียกให้มีคำสั่งให้ผู้ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินฯ ไม่ หากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมมีโทษในทางอาญา
อ่านเหตุผลของศาลท่านแล้ว น่าจะมีคนจุกๆ ชาๆ ที่แก้มกันบ้าง
และซ้ำด้วยการที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นอีก เรียกว่าเป็นอันหมดเรื่องกันไป ยุติว่าสมาชิก สนช.มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องยื่นบัญชี และแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
หลังจากนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของบรรดา สนช.ที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้ว ก็เป็นอันได้ฮือฮากันอีกครั้ง เมื่อปรากฏว่า สมาชิก สนช. หลายท่านมีทรัพย์สินมากระดับมหาเศรษฐีหลายสิบหลายร้อยล้าน ทั้งๆ ที่ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการโดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารตำรวจ หรือแม้แต่ศาล และนักวิชาการก็ตาม
เปิดช่องให้เครือข่ายเสื้อแดง หรือพวกฝ่ายตรงข้าม คสช.นั้นได้ทีขี่แพะไล่ บางคนเอาเงินเดือนของข้าราชการระดับเดียวกันท่านต่างๆ เหล่านั้น มาคำนวณดูว่าให้รับเงินเดือนในตำแหน่งนั้นตั้งแต่เริ่มรับราชการโดยไม่เอามาใช้เลยสักบาทก็ไม่น่าจะร่ำรวยได้ถึงขนาดนั้น
อันที่จริงถ้ากล่าวกันอย่างยุติธรรมแล้ว การที่ท่านจะมีเงินทองมากมายนั้นจะไปเหมาเอาว่าได้มาโดยไม่ถูกต้องหรือร่ำรวยผิดปกติ แบบเอาเงินเดือนมาคูณอายุงานกันดื้อๆ เลยนั้นก็เห็นจะไม่ถูก เพราะหลายท่านก็ได้รับมรดกมาแต่ครั้งบรรพบุรุษจริงๆ ก็มี
ทั้งนี้ บางท่านก็อาจจะประกอบธุรกิจที่โปร่งใส เช่น นักวิชาการก็มีรายได้จากการรับจ้างวิจัยหรือสอนหนังสือซึ่งถ้าขยันจริงปีหนึ่งก็ได้กันไม่น้อย หรือบางคนพอมีเงินก็นิยมลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นในสมัยก่อนที่ดินในต่างจังหวัดมีราคาถูก ข้าราชการย้ายไปต่างจังหวัดเงินเหลือใช้เพราะค่าครองชีพต่ำก็ไปซื้อไว้ ต่อมามีความเจริญเข้ามาที่ดินมีราคาก็ขายไป ทำอย่างนี้สองรอบสามรอบถ้าถูกช่องถูกจังหวะหรือมีดวงมีหัวทางนี้ก็ร่ำรวยได้เหมือนกัน
หรืออย่างบางท่านชอบออมเป็นทองคำตั้งแต่สมัยบาทละหลักพัน จนตอนนี้ทวีค่ามาเป็นหลักหมื่นนั่นก็มี หรืออย่างบางคนซื้อหุ้นบางกิจการมาตอนยังถูกๆ พอปัจจุบันมูลค่ากิจการนั้นสูงเป็นร้อยๆ เท่า เงินล้านในวันนั้นเป็นหลักร้อยล้านในวันนี้ก็มี สรุปคือว่า รับราชการแล้วถ้ารู้จักประหยัด มีธุรกิจหรือลงทุนทางอื่นจะรวยเป็นเศรษฐีก็ใช่จะเป็นไปไม่ได้ถึงขนาดที่มีคนตั้งข้อสงสัยว่ารับราชการทำไมรวยนัก
แต่เหตุที่เขา “แซะ” กันได้ก็เพราะพวกท่านดันไปทำพิรุธ โยเยจะไม่เปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกันนี่แหละครับ หรืออย่างที่ท่านประธาน สนช.ไม่เปิดเผยทรัพย์สินบางรายการโดยอ้างว่ามีคุณค่าทางจิตใจและกลัวจะเป็นการล่อคนมาปล้นบ้าน คนก็ได้จุดนี้แหละไปพูดกันต่อเลยเป็นโฟกัสให้ถูกจ้องจับผิด พอเปิดออกมาตัวเลขสินทรัพย์มากก็ถูกตั้งข้อสงสัยและ “แซะ” กันสนุกปากสนุกนิ้วของฝ่ายตรงข้าม
การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนั้นเป็นมาตรการขั้นต้น คล้ายกับการ“แบมือ” แสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้ามารับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบ้านเมือง การ “แบมือ” นี้ทำสองครั้ง คือก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว
ลองนึกสมมติว่า การเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองหรือรับตำแหน่งในภาครัฐนั้น เป็นเหมือนการเข้าไปทำงานในห้องเก็บเงินหรือห้องเก็บสมบัติของชาติ (ไม่ว่าจะเข้าไปนับเงิน เข้าไปทำความสะอาด เข้าไปวางระบบ ฯลฯ) ก็จะต้องมีการตรวจสอบทั้งขาเข้าและขาออกด้วยการขอให้แบมือตรวจเช่นนี้ เป็นการแบมือให้ดูว่า ถืออะไรเข้ามา และถืออะไรออกไปเพื่อความโปร่งใสว่าไม่ได้หยิบเอาอะไรเกินสิทธิเกินส่วนออกไปจากห้องเก็บสมบัติชาติที่ว่า
ดังนั้นใครที่ยุกยิกยึกยักไม่อยาก “แบมือ” จึงเป็นอันถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ทำไมไม่ยอมแบมือ ทั้งๆ ที่บางคนก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรจริงๆ หรอก อาจจะแค่รู้สึกว่าตัวเองรับอาสาเข้ามาแก้ปัญหาประเทศชาติในยามวิกฤตไม่ใช่นักการเมืองอาชีพ ทำไมต้องเปิดกระเป๋าเปิดบ้านให้คนดูด้วย หรือบางคนก็ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องมาเปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้ใคร เพราะไม่ได้คิดว่าจะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นก็ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นระบบ พอจะต้องทำก็เลยยุ่งยากไม่อยากทำ (เพราะถ้าทำผิดทำพลาดแสดงไม่หมดไม่ครบก็อาจจะมีความผิดอาญาหรือถูกถอดถอนได้)
แต่นั่นแหละครับ ในฐานะที่พวกท่านเข้ามาอย่าง “สะอาดกว่า” นักการเมืองที่เข้ามาเพราะผลประโยชน์ สังคมจึงตั้งมาตรฐานท่านเอาไว้ว่าต้องสูงกว่านักการเมือง (ที่เหมือนเป็นตัวปัญหาที่ทำให้ต้องเกิดการรัฐประหารควบคุมอำนาจ) ดังนั้นเมื่อท่านจะร้องขอมาตรฐานระดับต่ำกว่านักการเมือง ก็เลยถูกชาวบ้านตำหนิติฉินกันเป็นธรรมดา
หากจะเปรียบเทียบกับเรื่องห้องเก็บสมบัติข้างต้น ก็เหมือนนักการเมืองนั้น หน้าตาไม่น่าไว้วางใจ แต่พอขอให้แบมือ เขาก็ยอมแบบมือให้ดูดีๆ ทั้งขาเข้าขาออก (แต่ไม่รู้ว่าแอบเอาอะไรซุกกระเป๋าหรือซ่อนไว้ตามเสื้อหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง - ซึ่งถ้าถูกตรวจพบภายหลังก็มีโทษว่ากันไป)
แต่สำหรับพวกท่านที่เข้ามาอย่างองอาจมาดผู้ดี เป็นข้าราชการระดับสูงมาจากบนยอดของแต่ละหน่วยละกอง กลับยึกยักจะไม่ยอมแบมือให้ตรวจก่อนเข้าห้อง เช่นนี้ก็ถูกเอาไปเทียบกับมาตรฐานของนักการเมืองเป็นธรรมดา
จากนี้ไป ใครที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นข้าราชการทำไมจึงมีทรัพย์สินอย่างกับมหาเศรษฐีหรือคนมีธุรกิจ ก็อาจจะต้องเหนื่อยในการชี้แจงบ้าง บางท่านก็บอกว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิดทำบัญชีพลาดก็ว่ากันไป
หากกระนั้น ก็ขอให้เป็นบทเรียนสำหรับพวกท่าน และผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งอื่นใดในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องอยู่บนมาตรฐานแห่งความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตั้งคำถามได้ ในระดับที่ไม่น้อยกว่านักการเมืองอาชีพ.
เริ่มตั้งแต่เมื่อมีสมาชิก สนช.จำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สนช.สายทหารทำท่าจะไม่ยอมยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยอ้างว่าไม่ใช่หน้าที่ของตัว เพราะตัวเป็น สนช.มิใช่ ส.ส. ส.ว. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถึงขนาดโต้แย้งคำสั่งไปฟ้องศาลปกครอง ซึ่งผลของการฟ้องร้องนั้น ศาลปกครองกลางได้ “สอนหน้าที่” แบบนิ่มๆ ผ่านคำสั่งไม่รับฟ้อง มีความตอนหนึ่งสรุปว่า
กฎหมาย ป.ป.ช.กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีความหมายถึงผู้เอาภาระของบ้านเมืองเป็นภาระของตน ไม่ว่าจะโดยสมัครใจเข้าสมัครรับการเลือกตั้ง หรือสมัครใจตามที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในการตรากฎหมายอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงมีหน้าที่ต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจ จริงใจ เปิดเผยความจริงว่า ก่อนตนเข้ารับตำแหน่งมีทรัพย์สินใดบ้าง เพื่อให้สังคมรับรู้รับทราบถึงความโปร่งใสของผู้เข้ามารับภาระของบ้านเมืองว่า มิได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ แก่ตนเองและครอบครัว หน้าที่ดังกล่าว เป็นเรื่องส่วนตนโดยแท้ของผู้อาสาเข้ามารับภาระของบ้านเมือง หาใช่หน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะต้องเรียกให้มีคำสั่งให้ผู้ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินฯ ไม่ หากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมมีโทษในทางอาญา
อ่านเหตุผลของศาลท่านแล้ว น่าจะมีคนจุกๆ ชาๆ ที่แก้มกันบ้าง
และซ้ำด้วยการที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษายืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้นอีก เรียกว่าเป็นอันหมดเรื่องกันไป ยุติว่าสมาชิก สนช.มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องยื่นบัญชี และแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
หลังจากนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของบรรดา สนช.ที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้ว ก็เป็นอันได้ฮือฮากันอีกครั้ง เมื่อปรากฏว่า สมาชิก สนช. หลายท่านมีทรัพย์สินมากระดับมหาเศรษฐีหลายสิบหลายร้อยล้าน ทั้งๆ ที่ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการโดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหารตำรวจ หรือแม้แต่ศาล และนักวิชาการก็ตาม
เปิดช่องให้เครือข่ายเสื้อแดง หรือพวกฝ่ายตรงข้าม คสช.นั้นได้ทีขี่แพะไล่ บางคนเอาเงินเดือนของข้าราชการระดับเดียวกันท่านต่างๆ เหล่านั้น มาคำนวณดูว่าให้รับเงินเดือนในตำแหน่งนั้นตั้งแต่เริ่มรับราชการโดยไม่เอามาใช้เลยสักบาทก็ไม่น่าจะร่ำรวยได้ถึงขนาดนั้น
อันที่จริงถ้ากล่าวกันอย่างยุติธรรมแล้ว การที่ท่านจะมีเงินทองมากมายนั้นจะไปเหมาเอาว่าได้มาโดยไม่ถูกต้องหรือร่ำรวยผิดปกติ แบบเอาเงินเดือนมาคูณอายุงานกันดื้อๆ เลยนั้นก็เห็นจะไม่ถูก เพราะหลายท่านก็ได้รับมรดกมาแต่ครั้งบรรพบุรุษจริงๆ ก็มี
ทั้งนี้ บางท่านก็อาจจะประกอบธุรกิจที่โปร่งใส เช่น นักวิชาการก็มีรายได้จากการรับจ้างวิจัยหรือสอนหนังสือซึ่งถ้าขยันจริงปีหนึ่งก็ได้กันไม่น้อย หรือบางคนพอมีเงินก็นิยมลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นในสมัยก่อนที่ดินในต่างจังหวัดมีราคาถูก ข้าราชการย้ายไปต่างจังหวัดเงินเหลือใช้เพราะค่าครองชีพต่ำก็ไปซื้อไว้ ต่อมามีความเจริญเข้ามาที่ดินมีราคาก็ขายไป ทำอย่างนี้สองรอบสามรอบถ้าถูกช่องถูกจังหวะหรือมีดวงมีหัวทางนี้ก็ร่ำรวยได้เหมือนกัน
หรืออย่างบางท่านชอบออมเป็นทองคำตั้งแต่สมัยบาทละหลักพัน จนตอนนี้ทวีค่ามาเป็นหลักหมื่นนั่นก็มี หรืออย่างบางคนซื้อหุ้นบางกิจการมาตอนยังถูกๆ พอปัจจุบันมูลค่ากิจการนั้นสูงเป็นร้อยๆ เท่า เงินล้านในวันนั้นเป็นหลักร้อยล้านในวันนี้ก็มี สรุปคือว่า รับราชการแล้วถ้ารู้จักประหยัด มีธุรกิจหรือลงทุนทางอื่นจะรวยเป็นเศรษฐีก็ใช่จะเป็นไปไม่ได้ถึงขนาดที่มีคนตั้งข้อสงสัยว่ารับราชการทำไมรวยนัก
แต่เหตุที่เขา “แซะ” กันได้ก็เพราะพวกท่านดันไปทำพิรุธ โยเยจะไม่เปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกันนี่แหละครับ หรืออย่างที่ท่านประธาน สนช.ไม่เปิดเผยทรัพย์สินบางรายการโดยอ้างว่ามีคุณค่าทางจิตใจและกลัวจะเป็นการล่อคนมาปล้นบ้าน คนก็ได้จุดนี้แหละไปพูดกันต่อเลยเป็นโฟกัสให้ถูกจ้องจับผิด พอเปิดออกมาตัวเลขสินทรัพย์มากก็ถูกตั้งข้อสงสัยและ “แซะ” กันสนุกปากสนุกนิ้วของฝ่ายตรงข้าม
การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนั้นเป็นมาตรการขั้นต้น คล้ายกับการ“แบมือ” แสดงความบริสุทธิ์ก่อนเข้ามารับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบ้านเมือง การ “แบมือ” นี้ทำสองครั้ง คือก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว
ลองนึกสมมติว่า การเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองหรือรับตำแหน่งในภาครัฐนั้น เป็นเหมือนการเข้าไปทำงานในห้องเก็บเงินหรือห้องเก็บสมบัติของชาติ (ไม่ว่าจะเข้าไปนับเงิน เข้าไปทำความสะอาด เข้าไปวางระบบ ฯลฯ) ก็จะต้องมีการตรวจสอบทั้งขาเข้าและขาออกด้วยการขอให้แบมือตรวจเช่นนี้ เป็นการแบมือให้ดูว่า ถืออะไรเข้ามา และถืออะไรออกไปเพื่อความโปร่งใสว่าไม่ได้หยิบเอาอะไรเกินสิทธิเกินส่วนออกไปจากห้องเก็บสมบัติชาติที่ว่า
ดังนั้นใครที่ยุกยิกยึกยักไม่อยาก “แบมือ” จึงเป็นอันถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ทำไมไม่ยอมแบมือ ทั้งๆ ที่บางคนก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรจริงๆ หรอก อาจจะแค่รู้สึกว่าตัวเองรับอาสาเข้ามาแก้ปัญหาประเทศชาติในยามวิกฤตไม่ใช่นักการเมืองอาชีพ ทำไมต้องเปิดกระเป๋าเปิดบ้านให้คนดูด้วย หรือบางคนก็ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องมาเปิดบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้ใคร เพราะไม่ได้คิดว่าจะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นก็ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นระบบ พอจะต้องทำก็เลยยุ่งยากไม่อยากทำ (เพราะถ้าทำผิดทำพลาดแสดงไม่หมดไม่ครบก็อาจจะมีความผิดอาญาหรือถูกถอดถอนได้)
แต่นั่นแหละครับ ในฐานะที่พวกท่านเข้ามาอย่าง “สะอาดกว่า” นักการเมืองที่เข้ามาเพราะผลประโยชน์ สังคมจึงตั้งมาตรฐานท่านเอาไว้ว่าต้องสูงกว่านักการเมือง (ที่เหมือนเป็นตัวปัญหาที่ทำให้ต้องเกิดการรัฐประหารควบคุมอำนาจ) ดังนั้นเมื่อท่านจะร้องขอมาตรฐานระดับต่ำกว่านักการเมือง ก็เลยถูกชาวบ้านตำหนิติฉินกันเป็นธรรมดา
หากจะเปรียบเทียบกับเรื่องห้องเก็บสมบัติข้างต้น ก็เหมือนนักการเมืองนั้น หน้าตาไม่น่าไว้วางใจ แต่พอขอให้แบมือ เขาก็ยอมแบบมือให้ดูดีๆ ทั้งขาเข้าขาออก (แต่ไม่รู้ว่าแอบเอาอะไรซุกกระเป๋าหรือซ่อนไว้ตามเสื้อหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง - ซึ่งถ้าถูกตรวจพบภายหลังก็มีโทษว่ากันไป)
แต่สำหรับพวกท่านที่เข้ามาอย่างองอาจมาดผู้ดี เป็นข้าราชการระดับสูงมาจากบนยอดของแต่ละหน่วยละกอง กลับยึกยักจะไม่ยอมแบมือให้ตรวจก่อนเข้าห้อง เช่นนี้ก็ถูกเอาไปเทียบกับมาตรฐานของนักการเมืองเป็นธรรมดา
จากนี้ไป ใครที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นข้าราชการทำไมจึงมีทรัพย์สินอย่างกับมหาเศรษฐีหรือคนมีธุรกิจ ก็อาจจะต้องเหนื่อยในการชี้แจงบ้าง บางท่านก็บอกว่าเป็นเรื่องเข้าใจผิดทำบัญชีพลาดก็ว่ากันไป
หากกระนั้น ก็ขอให้เป็นบทเรียนสำหรับพวกท่าน และผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งอื่นใดในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องอยู่บนมาตรฐานแห่งความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตั้งคำถามได้ ในระดับที่ไม่น้อยกว่านักการเมืองอาชีพ.