ขอเขียนถึงหม่อมท่านอีกสักตอนนะครับเพราะท่านกำลังฮ็อต
ผมพยายามติดตามอ่านความคิดของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องแนวทางจัดการกับองค์กรปกครองท้องถิ่นเพราะนอกจากท่านเป็นผู้จุดพลุให้กระแสสังคมกดดันการใช้จ่ายที่ไม่เข้าท่าของอปท.แล้วที่สำคัญกว่านั้นก็คือเรากำลังจะมีการปฏิรูปการบริหารราชการซึ่งคงรวมเอาอปท.และการกระจายอำนาจเข้าไปด้วย
เคยเขียนมาก่อนแล้วว่าหม่อมเหลนท่านไม่ใช่แค่รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลหากยังเป็นโรลโมเดลของระบอบคนดี เป็นตัวแบบที่เชิดหน้าชูตาระบบราชการ การเอาหม่อมเหลนไปเป็นรัฐมนตรีเปรียบเหมือนเป็นครีมแต่งหน้าเค้กทำให้ดูดีขึ้นมา (ส่วนเนื้อในจะอร่อยฟ่ามหยาบหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง)
ด้วยแนวโน้มของความคิดความเชื่อของระบบราชการไทยที่เป็นมากว่า 100 ปีคือการรวมอำนาจ มหาดไทยที่ตั้งขึ้นมาแต่แรกโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ท่านทวดของหม่อมเหลนเป็นเสนาบดียาวนานออกแบบมาเพื่อขีดเส้นพื้นที่การปกครองขึ้นมาแล้วก็รวมอำนาจ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฎรก็รับมรดกระบบราชการรวมศูนย์ดังกล่าวมาสืบต่อ ระบบการเมืองแบบล้มลุกคลุกคลานหลังจากนั้นยิ่งทำให้ระบบราชการรวมศูนย์โตขึ้นๆ จนกลายเป็นอำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Politics) เป็นพลังอำนาจหลักชี้นำควบคุมกำหนดสังคมมายาวนาน ตั้งแต่ยุคสิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยงมาสู่ยุคพ่อค้ากับพระยาสุมหัวเป็นเนื้อเดียวกัน
ลักษณะแนวโน้มดังกล่าวย่อมทำให้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการปฏิรูปปรับปรุงระบบบริหารราชการภายใต้สภาปฏิรูปที่กำลังจะเกิดขึ้นคงจะเป็นไปตามแนวทางกระชับรวบอำนาจมากกว่ากระจายอำนาจ แบบที่กลุ่มต่างๆ เคยเสนอมาไม่ว่าตามแนวประเวศ-อานันท์ หรือตามแนวกำนันเป่านกหวีด
หม่อมเหลนท่านเป็นบุคคลที่มีน้ำหนักมากคำพูดของท่านมีผลกับกระแสสังคม ดังนั้นการที่บอกว่า ระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค(ผู้ว่าฯ นายอำเภอ) กับ อปท.ต้องเป็นไปในลักษณะถ่วงดุลซึ่งกันและกันก็คือการเสนอตัวแบบแนวคิดปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินจากฟากของคณะรัฐมนตรีโยนเข้าสู่สภาปฏิรูปแห่งชาติเพราะสภานี้ย่อมต้องรวบรวมแนวคิดแนวทางหลากหลายไปพิจารณาอยู่แล้ว
ยิ่งอ่านบทสัมภาษณ์ของท่านในโพสต์ทูเดย์ยิ่งมองเห็นแนวคิดแบบหม่อมเหลนอยากเห็นการจำกัดบทบาทของอปท. เช่นมองว่า
“งบประชานิยมต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือคนชรา นมโรงเรียน การรักษาพยาบาล สิ่งเหล่านี้จะให้ไปอยู่กับกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดีกว่าใช้งบในส่วนของท้องถิ่น เพราะถ้าท้องถิ่นบางแห่งรวย บางแห่งได้งบน้อยต้องใช้งบแบบรัดเข็มขัด” (คัดจากบทสัมภาษณ์)
อันที่จริงภารกิจเหล่านี้มีที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 (ต่อเนื่อง 2550) ที่ให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ถ่ายโอนอำนาจให้กับท้องถิ่นแต่แทนที่รัฐบาลกลางจะถ่ายโอนให้ทั้งงานและเงินพร้อมกันก็ขยักไว้อยู่ในหมวดงบอุดหนุน หากเกรงนักการเมืองจะเอาไปหลอกชาวบ้าน สมอ้างว่าเป็นผู้มอบให้แล้วก็เอาบุญคุณ ถ้าอย่างนั้นรัฐบาลคสช. หรือสปช. ก็ต้องเสนอแก้หลักการดั้งเดิมที่วางไว้มาแต่ 2540 ไปซะ จำกัดภารกิจอปท.แค่เก็บขยะ ตกแต่งบ้านเมือง ขุดลอกท่อน้ำเสีย ไม่ต้องมีโรงเรียนเทศบาล ไม่ต้องโรงพยาบาลระดับตำบล ไม่ต้องยุ่งเรื่องนมโรงเรียน ไม่ต้องไปแจกเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ฯลฯ
จะเอาแบบนี้จริงหรือครับท่านรัฐมนตรี...? ผมว่ามันยังไงๆ อยู่นา
ความคิดในเรื่องอปท.ของหม่อมเหลนอีกเรื่องที่ผมยังทะแม่งๆ อยู่ก็คือการบอกว่าให้ หน่วยงานส่วนภูมิภาคกับ อปท.ในท้องถิ่นคานอำนาจกันเพราะผู้ว่า นายอำเภอเป็นตัวแทนของส่วนกลาง ขณะที่นายกเทศมนตรีเป็นตัวแทนราษฎรในพื้นที่ ฟังเผินๆ เหมือนจะดีแต่พอมาคิดแปลงเป็นภาคปฏิบัติมันยังไงกัน..จะให้นายกอบต.ไปคานอำนาจนายอำเภออย่างไรเพราะต่างคนต่างก็มีกรอบภารกิจของตัว ที่เห็นก็มีแต่นายอำเภอนั่นล่ะที่ไปก้าวก่ายยุ่มย่ามกับอบต. หม่อมเหลนท่านก็พูดในบทสัมภาษณ์เองว่ามีผู้ว่าฯ ที่ใช้งบของท้องถิ่นไปดูงานต่างประเทศ (ซึ่งหม่อมเหลนท่านก็ไม่พอใจแบบนี้)
สิ่งที่ต้องชมเชยคือความมุ่งมั่นที่ไม่ให้แต่ละฝ่ายใช้เงินหลวงเกินเลย และไม่อยากเห็นการที่การเมืองส่วนกลางมาแทรกแซงอปท.จนอปท.กลายเป็นแขนขาทางการเมือง
ที่จริงเรื่องนี้เป็นประเด็นที่นักอยากเห็นการกระจายอำนาจ(ไม่ว่ากลุ่มไหน)อยากเห็นมานานแล้วครับ
แต่ปัญหาก็คือที่ผ่านมาระบบอำนาจแบบรวมศูนย์ ไม่ยอมกระจายออกต่างหากที่ทำให้อปท.ต้องกลายเป็นเมืองขึ้นให้กับระบบราชการส่วนกลางและนักการเมืองจากพรรคการเมือง
ลองไม่ยอมดูสิ งบประมาณอุดหนุนต่างๆ ก็ไม่ได้ ถูกกลั่นแกล้งสารพัด !
เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาอปท.ถูกการเมืองครอบงำกลายเป็นแขนขาของพรรคการเมืองจึงควรจะแก้ด้วยการกระจายอำนาจให้เต็มที่ไม่ครึ่งๆ กลางๆ แบบที่เป็นมา ไม่ใช่แก้ด้วยการรวมศูนย์อำนาจให้เข้มข้นขึ้นแล้วก็ตัดภารกิจท้องถิ่นให้เหลือแค่กวาดขยะกับขุดลอกคู เพราะหากเป็นแบบนั้นสมมติว่าพรรคการเมืองสามานย์หนึ่งชนะเลือกตั้งไป ก็เท่ากับคนพวกนั้นยึดอำนาจประเทศไทยไปทั้งหมดผ่านงบประมาณและก้อนภารกิจต่างๆ แจกนมโรงเรียน งบสูงอายุ โรงพยาบาลท้องถิ่นฯลฯ จะยิ่งเป็นอภิมหาประชานิยมที่นักการเมืองชนะเลือกตั้งยึดกุมเอาไว้ทั้งหมด
ผมจึงค่อนข้างมึนงงอยู่พอสมควรกับความของท่านที่นำเสนอผ่านบทสัมภาษณ์
ผมพยายามติดตามอ่านความคิดของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องแนวทางจัดการกับองค์กรปกครองท้องถิ่นเพราะนอกจากท่านเป็นผู้จุดพลุให้กระแสสังคมกดดันการใช้จ่ายที่ไม่เข้าท่าของอปท.แล้วที่สำคัญกว่านั้นก็คือเรากำลังจะมีการปฏิรูปการบริหารราชการซึ่งคงรวมเอาอปท.และการกระจายอำนาจเข้าไปด้วย
เคยเขียนมาก่อนแล้วว่าหม่อมเหลนท่านไม่ใช่แค่รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลหากยังเป็นโรลโมเดลของระบอบคนดี เป็นตัวแบบที่เชิดหน้าชูตาระบบราชการ การเอาหม่อมเหลนไปเป็นรัฐมนตรีเปรียบเหมือนเป็นครีมแต่งหน้าเค้กทำให้ดูดีขึ้นมา (ส่วนเนื้อในจะอร่อยฟ่ามหยาบหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง)
ด้วยแนวโน้มของความคิดความเชื่อของระบบราชการไทยที่เป็นมากว่า 100 ปีคือการรวมอำนาจ มหาดไทยที่ตั้งขึ้นมาแต่แรกโดยมีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ท่านทวดของหม่อมเหลนเป็นเสนาบดียาวนานออกแบบมาเพื่อขีดเส้นพื้นที่การปกครองขึ้นมาแล้วก็รวมอำนาจ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฎรก็รับมรดกระบบราชการรวมศูนย์ดังกล่าวมาสืบต่อ ระบบการเมืองแบบล้มลุกคลุกคลานหลังจากนั้นยิ่งทำให้ระบบราชการรวมศูนย์โตขึ้นๆ จนกลายเป็นอำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Politics) เป็นพลังอำนาจหลักชี้นำควบคุมกำหนดสังคมมายาวนาน ตั้งแต่ยุคสิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยงมาสู่ยุคพ่อค้ากับพระยาสุมหัวเป็นเนื้อเดียวกัน
ลักษณะแนวโน้มดังกล่าวย่อมทำให้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการปฏิรูปปรับปรุงระบบบริหารราชการภายใต้สภาปฏิรูปที่กำลังจะเกิดขึ้นคงจะเป็นไปตามแนวทางกระชับรวบอำนาจมากกว่ากระจายอำนาจ แบบที่กลุ่มต่างๆ เคยเสนอมาไม่ว่าตามแนวประเวศ-อานันท์ หรือตามแนวกำนันเป่านกหวีด
หม่อมเหลนท่านเป็นบุคคลที่มีน้ำหนักมากคำพูดของท่านมีผลกับกระแสสังคม ดังนั้นการที่บอกว่า ระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค(ผู้ว่าฯ นายอำเภอ) กับ อปท.ต้องเป็นไปในลักษณะถ่วงดุลซึ่งกันและกันก็คือการเสนอตัวแบบแนวคิดปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินจากฟากของคณะรัฐมนตรีโยนเข้าสู่สภาปฏิรูปแห่งชาติเพราะสภานี้ย่อมต้องรวบรวมแนวคิดแนวทางหลากหลายไปพิจารณาอยู่แล้ว
ยิ่งอ่านบทสัมภาษณ์ของท่านในโพสต์ทูเดย์ยิ่งมองเห็นแนวคิดแบบหม่อมเหลนอยากเห็นการจำกัดบทบาทของอปท. เช่นมองว่า
“งบประชานิยมต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือคนชรา นมโรงเรียน การรักษาพยาบาล สิ่งเหล่านี้จะให้ไปอยู่กับกระทรวงที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดีกว่าใช้งบในส่วนของท้องถิ่น เพราะถ้าท้องถิ่นบางแห่งรวย บางแห่งได้งบน้อยต้องใช้งบแบบรัดเข็มขัด” (คัดจากบทสัมภาษณ์)
อันที่จริงภารกิจเหล่านี้มีที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2540 (ต่อเนื่อง 2550) ที่ให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ถ่ายโอนอำนาจให้กับท้องถิ่นแต่แทนที่รัฐบาลกลางจะถ่ายโอนให้ทั้งงานและเงินพร้อมกันก็ขยักไว้อยู่ในหมวดงบอุดหนุน หากเกรงนักการเมืองจะเอาไปหลอกชาวบ้าน สมอ้างว่าเป็นผู้มอบให้แล้วก็เอาบุญคุณ ถ้าอย่างนั้นรัฐบาลคสช. หรือสปช. ก็ต้องเสนอแก้หลักการดั้งเดิมที่วางไว้มาแต่ 2540 ไปซะ จำกัดภารกิจอปท.แค่เก็บขยะ ตกแต่งบ้านเมือง ขุดลอกท่อน้ำเสีย ไม่ต้องมีโรงเรียนเทศบาล ไม่ต้องโรงพยาบาลระดับตำบล ไม่ต้องยุ่งเรื่องนมโรงเรียน ไม่ต้องไปแจกเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ฯลฯ
จะเอาแบบนี้จริงหรือครับท่านรัฐมนตรี...? ผมว่ามันยังไงๆ อยู่นา
ความคิดในเรื่องอปท.ของหม่อมเหลนอีกเรื่องที่ผมยังทะแม่งๆ อยู่ก็คือการบอกว่าให้ หน่วยงานส่วนภูมิภาคกับ อปท.ในท้องถิ่นคานอำนาจกันเพราะผู้ว่า นายอำเภอเป็นตัวแทนของส่วนกลาง ขณะที่นายกเทศมนตรีเป็นตัวแทนราษฎรในพื้นที่ ฟังเผินๆ เหมือนจะดีแต่พอมาคิดแปลงเป็นภาคปฏิบัติมันยังไงกัน..จะให้นายกอบต.ไปคานอำนาจนายอำเภออย่างไรเพราะต่างคนต่างก็มีกรอบภารกิจของตัว ที่เห็นก็มีแต่นายอำเภอนั่นล่ะที่ไปก้าวก่ายยุ่มย่ามกับอบต. หม่อมเหลนท่านก็พูดในบทสัมภาษณ์เองว่ามีผู้ว่าฯ ที่ใช้งบของท้องถิ่นไปดูงานต่างประเทศ (ซึ่งหม่อมเหลนท่านก็ไม่พอใจแบบนี้)
สิ่งที่ต้องชมเชยคือความมุ่งมั่นที่ไม่ให้แต่ละฝ่ายใช้เงินหลวงเกินเลย และไม่อยากเห็นการที่การเมืองส่วนกลางมาแทรกแซงอปท.จนอปท.กลายเป็นแขนขาทางการเมือง
ที่จริงเรื่องนี้เป็นประเด็นที่นักอยากเห็นการกระจายอำนาจ(ไม่ว่ากลุ่มไหน)อยากเห็นมานานแล้วครับ
แต่ปัญหาก็คือที่ผ่านมาระบบอำนาจแบบรวมศูนย์ ไม่ยอมกระจายออกต่างหากที่ทำให้อปท.ต้องกลายเป็นเมืองขึ้นให้กับระบบราชการส่วนกลางและนักการเมืองจากพรรคการเมือง
ลองไม่ยอมดูสิ งบประมาณอุดหนุนต่างๆ ก็ไม่ได้ ถูกกลั่นแกล้งสารพัด !
เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาอปท.ถูกการเมืองครอบงำกลายเป็นแขนขาของพรรคการเมืองจึงควรจะแก้ด้วยการกระจายอำนาจให้เต็มที่ไม่ครึ่งๆ กลางๆ แบบที่เป็นมา ไม่ใช่แก้ด้วยการรวมศูนย์อำนาจให้เข้มข้นขึ้นแล้วก็ตัดภารกิจท้องถิ่นให้เหลือแค่กวาดขยะกับขุดลอกคู เพราะหากเป็นแบบนั้นสมมติว่าพรรคการเมืองสามานย์หนึ่งชนะเลือกตั้งไป ก็เท่ากับคนพวกนั้นยึดอำนาจประเทศไทยไปทั้งหมดผ่านงบประมาณและก้อนภารกิจต่างๆ แจกนมโรงเรียน งบสูงอายุ โรงพยาบาลท้องถิ่นฯลฯ จะยิ่งเป็นอภิมหาประชานิยมที่นักการเมืองชนะเลือกตั้งยึดกุมเอาไว้ทั้งหมด
ผมจึงค่อนข้างมึนงงอยู่พอสมควรกับความของท่านที่นำเสนอผ่านบทสัมภาษณ์