คสช.ไฟเขียวให้ปตท.แยกกิจการท่อก๊าซตั้งบริษัทใหม่ นัยว่าเป็นการปฏิรูปอย่างหนึ่งแล้วนี่ก็น่าจะเป็นปัญหาตามมาแน่เพราะที่ผ่านๆ มาหลายปีมานี้วิวาทะว่าด้วยปตท.และการพลังงานส่วนหนึ่งก็เรื่องท่อก๊าซนี่ล่ะ คุณรสนาและพวกฟ้องศาลปกครองมาตั้งแต่โน่นจนบัดนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าปตท.ได้ทำตามคำสั่งศาลครบหรือยัง ปมเก่ายังไม่เคลียร์นี่ก็จะมาสร้างเงื่อนปมใหม่อีก
ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจจะทำอะไรต้องบอกประชาชนให้ชัด
กระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานไม่ใช่เพิ่งเกิด ระหว่างกำนันเป่านกหวีดคนก็เรียกร้องกันแต่เวทีใหญ่ของกำนันไม่เอาด้วย พอเกิดรัฐประหารคสช.ก็ใช้บริการปิยสวัสดิ์ ณ นกหวีด เป็นสำคัญ แล้วก็มีการตอบโต้ฝ่ายเรียกร้องให้ปฏิรูปแรงๆ เช่นกระทรวงพลังงานฟ้องม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ ทีมพีอาร์ ยกเครื่องใหม่เพื่อตอบโต้กระแสเรียกร้องทวงคืนพลังงาน ไอ้ตัวไหนไม่รู้ปล่อยข้อความ ASTV ไม่พอใจที่รสนา ประชัย ไม่ได้ตำแหน่งเลยออกมาคัดค้านการปฏิรูปพลังงานของรัฐ ซึ่งมันเป็นวิชามารต่ำๆ สาดโคลนสวมหมวกให้
แล้วก็พยายามยกเอาประเด็นบางประเด็นขึ้นมาทำลายฝ่ายเรียกร้องให้ปฏิรูป เช่นบอกว่าฝ่ายเรียกร้องยกเมฆ ว่าฝ่ายปฏิรูปเชื่อว่าประเทศนี้มีน้ำมันมากขนาดเป็นมหาอำนาจโอเปค ถ้าเอาปตท.คืนมาเป็นของรัฐ 100% แล้วราคาน้ำมันจะเหลือแค่ 20-30 บาท แล้วก็โต้ว่าเป็นข้อมูลบิดเบือน ใช้เรื่องนี้ไปทำลายขบวนการใหญ่ของฝ่ายปฏิรูปไปเลย
ซึ่งก็จริงอยู่บ้าง เพราะเวลาแชร์กันในเฟซบุ้คนี่มักจะแชร์เป็นภาพสื่อกันง่ายๆ เพื่อจูงใจ แต่ก็ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อไปแบบนี้จริงๆ โดยไม่ได้ดูเนื้อหารายละเอียดตามมา เหลี่ยมโต้มุมนี้มันมีน้ำหนักมากทีเดียวขนาดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาพูดเรื่องนี้ด้วยประมาณว่าที่พูดกันว่าพลังงานของเรามีมากมากจริงหรือ? อะไรทำนองนั้น คือพูดตามเกมของฝ่ายปตท.ที่ชูขึ้นเป็นกระแส ทั้งๆ ที่เป็นมุมเดียวของเรื่องทั้งหมด
กลบเกลื่อนประเด็นหัวใจและรายละเอียดอื่นของปัญหาการพลังงานไปเสียซะงั้น !
ปัญหาพลังงาน ไปจนถึงแนวคิดการปฏิรูปพลังงาน (ที่ผมเข้าใจ) มันเป็นคนละเรื่องกับข้อถกเถียงเหล่านี้ เพราะตลอดหลายปีมานี้กิจการด้านการพลังงานมันเป็นเรื่องของกลุ่มคนและกลุ่มผลประโยชน์ประชาชนคนเดินดินอย่างเราแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเขาเลย กำหนดราคาน้ำมัน ราคาก๊าซมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปตามนั้น ใครได้กำไรจากขั้นตอนไหนกี่แสนล้านบาทเราไม่รู้ และไม่เคยรู้ว่าน้ำมันและก๊าซจำนวนไม่น้อยก็ขุดมาจากประเทศเรานี่แหละ ดังนั้นหัวใจพื้นฐานเริ่มต้นก็คือทำให้มันเป็นของประชาชนอยู่ในสายตาประชาชนและเป็นธรรมกับประชาชน
ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปใหญ่เพื่อไม่ให้ประเทศตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ เดี๋ยวตกร่องซ้ายเผด็จการรัฐสภาโดยนายทุนเดี๋ยวก็ตกร่องขวารัฐประหารโดยคณะทหารวนเวียนกันไม่สิ้นสุด การปฏิรูปการเมืองเพื่อให้พลังอำนาจเกิดสมดุลป้องกันปัญหาที่เคยเกิดเป็นเรื่องหลัก แต่เรื่องอื่นๆ ก็ล้วนผูกพันอยู่ด้วยแยกไม่ออก การปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การปฏิรูปแนวคิดจัดการ(เฉลี่ย/จัดสรร)ทรัพยากรให้เป็นธรรมก็เรื่องเดียวกัน เพราะผู้มีอำนาจไม่ว่ายุคไหนล้วนหากินกับทรัพยากรโดยการคอรัปชั่นร่วมกันระหว่างทุน+นักการเมือง+ระบบราชการ
หัวใจที่เป็นปรัชญาของการปฏิรูปครั้งนี้ควรจะอยู่ที่การเพิ่มอำนาจประชาชนเข้าไปในดุลอำนาจ เป็นสมการใหม่ที่ไม่เคยเปิดมานับแต่ 2475
และปรัชญานี้ก็ควรจะนำมาใช้ในการปฏิรูปการพลังงานด้วย เพราะการพลังงานเป็นต้นทุนชีวิตและเป็นปัจจัยที่ห้าไปแล้ว การปฏิรูปพลังงานควรจะครอบคลุมถึง :-
ประการที่หนึ่ง -- ประเทศไทยจำเป็นต้องการนิยามความเป็นเจ้าของทรัพยากรให้ชัด
แหล่งพลังงานในประเทศ เป็นทรัพยากรของชาติและประชาชนเหมือนคลื่นสื่อสาร การจัดการผลประโยชน์ใดๆ อะไรต้องให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด / ต้องโปร่งใส / เป็นธรรม / ไม่มีนอกใน ไม่มีมหาเศรษฐีเพื่อนนายกฯ บินมาอยากได้สัมปทาน เผลอแผล็บเดียวตั้งบริษัทได้ไปแล้ว 4 บ่อมีอยู่บ่อหนึ่งไม่เคยทำอะไรคืบหน้าเลย แต่กลไกรัฐกลับต่ออายุสัมปทานให้ การนิยามความเป็นเจ้าของที่ชัดเจนขึ้นจะนำมาสู่ระบบขั้นตอนแบบใหม่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และเกิดระบบการกลั่นกรองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนที่สาธารณชนมีส่วนร่วม การนิยามความเป็นเจ้าของทรัพยากรไม่ใช่แค่ปิโตรเลียมเท่านั้นหากควรจะรวมไปถึงแร่ น้ำ ป่า ภูเขา ที่สาธารณะโดยรวม เพราะมันจะมีผลต่อกระบวนการรักษาและปกป้องสิทธิ์ตามมาในระบบกฎหมาย เรื่องนี้ว่ากันยาวคงต้องหาพื้นที่อื่นมาว่ากันใหม่
ประการที่สอง – การจัดการที่เป็นธรรม
เมื่อหลังสงครามโลกฯ การพลังงานเป็นแค่ความมั่นคงของทหาร ต่อมาก็แค่ปัญหาจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการ ปตท.กำเนิดมาก็เพื่อภารกิจนั้น....แต่ทว่ายุคนี้ โจทย์ของประเทศไทยเปลี่ยนไป เพราะเรามีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง ทั้งก๊าซและน้ำมัน...โอเค ไม่มากเพราะต้องนำเข้าด้วย แต่โจทย์ของภารกิจการจัดการพลังงานก็เปลี่ยนไป....พลังงานดิบที่เรามีอยู่เอง...พวกท่านจัดการกันตามแต่ใจท่าน เอาเฉพาะที่ท่านคิดว่าเกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว แต่มันก็ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กองทุนที่ประชาชนสมทบไปตรึงราคา LPG ที่ก่อนหน้านี้รัฐนี่เองที่เอาไปอุ้มปิโตรเคมี หลักฐานเรื่องนี้ชัดเจน และรัฐบาลที่ผ่านๆ มาก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นธรรมขึ้นมาบ้าง....แต่ก็แสดงว่าก่อนหน้านี้ไม่เป็นธรรมกับประชาชนคนเดินดิน เราต้องการปฏิรูประบบการจัดการให้เป็นธรรมขึ้นบนฐานความคิดที่ว่าพลังงานในประเทศเป็นของรัฐและประชาชนร่วมกัน
ประการที่สาม – เราต้องการการบริหารจัดการพลังงานบนฐานประโยชน์ของประชาชนส่วนร่วม เป็นนโยบายพลังงานที่เน้นมาทางผู้บริโภค ไม่ใช่ ตลาดทุน+ผู้ถือหุ้น+อุตสาหกรรม !
ยุคสมัยของกิจการด้านพลังงานไทยเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ก่อนหน้าโน้นคือก่อน 2530 นโยบายพลังงานก็แค่จัดหาให้พอและให้ราคาพอสมควร จากนั้นนโยบายพลังงานก็คือให้มีการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นในแง่ของการผลิตเอง ควบคู่ไปกับการนำเข้าและหลังจากนั้นเพิ่มมาเป็นให้พลังงานเป็นหนึ่งในหัวจักรประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) อีสเทิร์นซีบอร์ด ปิโตรเคมี โรงกลั่น และศูนย์กลางน้ำมันสำเร็จรูปขายเพื่อนบ้าน การพลังงานเป็นเครื่องมือของรัฐ ความเข้มแข็งของรัฐ และภาคอุตสาหกรรม
แต่หลังจาก 2549 การพลังงานกลายเป็นตัวเพิ่มน้ำหนักให้กับตลาดทุนที่มีผู้เล่นหุ้นในประเทศรวมกันแต่ประมาณ 2 แสนบัญชี เป็นข้ออ้างว่าเฉพาะ PTT ตัวเดียวทำให้รัฐมีเม็ดเงินทุนเพิ่มหลายเท่าตัว นั่นคือ มองจากสายตาของตลาดทุนเป็นสำคัญ
ปัจจุบันนี้การพลังงานถูกแปลงจากกลไกของรัฐ มาเป็น กลไกของทุน ไปแล้ว ดังนั้นการออกแบบกำไรซ้ำซ้อนแต่ละขั้นตอนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำจึงเกิดขึ้นให้ทุกบริษัทในเครือกำไร นโยบายพลังงานแบบนี้ ไม่เป็นมิตรกับประชาชนผู้บริโภค
ถ้าจะมีการปฏิรูปกิจการด้านพลังงานจริง ไม่ใช่แค่ว่าแปรรูปหนีให้พ้นมือนักการเมืองแล้วจบแต่ควรจะคิดให้ไกลกว่านั้น
ก่อนที่จะคิดทำอะไรเรื่องการปฏิรูปพลังงานเราควรย้อนมาดูว่าปัจจุบันกิจการด้านนี้อยู่ในความโปร่งใสมีธรรมาภิบาลจริงแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ใช่ก็ป่วยการจะแปรรูปไปเพื่ออะไร เพราะประชาชนไม่ได้ประโยชน์ก็แค่มุบมิบทำกันประสาผู้มีอำนาจกับเทคโนแครตอำมาตย์พลังงาน อย่าให้แค่เปลี่ยนกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งมาอีกกลุ่มหนึ่ง
หากปฏิรูปจริงอันดับแรกกิจการพลังงานต้องอยู่ในที่สว่าง เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้
ประชาชนขอดูรายชื่อผู้ที่ได้รับจัดสรรหุ้นผู้มีอุปการคุณเมื่อครั้งปตท.เข้าตลาดทรัพย์ตั้งแต่ 2549 จนบัดนี้จะครบ 10 ปีอยู่แล้ว ปตท.ยังไม่เคยเปิดเผยชื่อเหล่านี้ให้สาธารณะได้รับรู้เลย
ปตท.เคยแถลงอะไรให้ชัดเจน อธิบายที่มาที่ไป เหตุและผลว่าทำไมต้องไปตั้งบริษัทลูกมากมายที่เกาะฟอกเงินแถวแคริบเบียน เขาเผยแพร่กันในโซเชี่ยลมีเดียกันหนาตาแล้วทำไมไม่ชี้แจงล่ะทีอย่างนี้
ปตท.จะแยกท่อก๊าซออกมาตั้งบริษัท ก็ต้องมีคณะกรรมการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อจะได้แยกบัญชีมา ที่ผ่านมามีการแจกแจงไหมว่า เวลาวางท่อก๊าซจะต้องอาศัยกฎหมายของรัฐ หรืออำนาจมหาชนของรัฐไปดำเนินการเสมือนราชการแล้วก็มีทีมงานไปเคลียร์กับชาวบ้านตามแนวท่อ ไปต่อรองกดราคาที่ดิน เรื่องแบบนี้นายเต้นณัฐวุฒิ ก่อแก้ว พิกุลทองรู้ดีเพราะรับงานปตท.มาก่อน รวมมูลค่าลงทุนจากงานนี้กี่บาท ใช้พลังอำนาจพิเศษของรัฐทำมา ใช้ที่ดินของการรถไฟ ของกรมทางหลวงแล้วจู่ๆ ก็จะแยกกิจการนี้ให้เป็นเอกชนเสียอย่างนั้น
ช่างสบายเอกชนเสียจริงๆ
เอ๊ะ ใครล่ะ? ภาคเอกชนที่ว่า ?
ถ้าโปร่งใสธรรมาภิบาลจริงปตท.ช่วยเปิดข้อมูลหน่อยได้ไหมว่าหลายปีมานี้ ใช้เงินวางท่อก๊าซแต่ละระยะไปเท่าไหร่ แปลงไหนจ่ายเงินชดเชยไปกี่บาท บางแปลงเจ้าของนึกว่ารัฐบาลเอาไปทำประโยชน์เลยให้ราคาถูก หารู้ไม่ว่าแปลงข้างๆ ได้เงินมากกว่าเยอะ รวมๆ แล้วเงินลงทุนตัวนี้กี่บาทกันแน่ ประชาชนจะได้รู้ยังไงว่าบัญชีทรัพย์สินเงินลงทุนท่อก๊าซก่อนจะแปรรูปเป็นมูลค่าเท่าไหร่
ทำเรื่องน่าฉงนที่เป็นความลับมืดดำให้กระจ่างก่อนดีไหมครับ
แค่ทำให้กิจการด้านพลังงานโปร่งใส มหาเศรษฐีต่างชาติเพื่อนอดีตนายกฯ มาตั้งบริษัทก็ได้สัมปทาน บริษัทไม่มีตัวตนจดทะเบียนที่เคย์แมนมาขอสัมปทานก็ได้ แบบนี้ไม่ควรจะเกิดแล้ว
นี่แหละครับคือประเด็นที่ประชาชนอยากเห็นในการปฏิรูปการพลังงาน ไม่ใช่แค่การยกท่อก๊าซของรัฐให้กับเอกชน หรือแค่บอกว่าป้องกันนักการเมืองมาล้วงลูกแล้วเป็นจบ.
ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจจะทำอะไรต้องบอกประชาชนให้ชัด
กระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปพลังงานไม่ใช่เพิ่งเกิด ระหว่างกำนันเป่านกหวีดคนก็เรียกร้องกันแต่เวทีใหญ่ของกำนันไม่เอาด้วย พอเกิดรัฐประหารคสช.ก็ใช้บริการปิยสวัสดิ์ ณ นกหวีด เป็นสำคัญ แล้วก็มีการตอบโต้ฝ่ายเรียกร้องให้ปฏิรูปแรงๆ เช่นกระทรวงพลังงานฟ้องม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ ทีมพีอาร์ ยกเครื่องใหม่เพื่อตอบโต้กระแสเรียกร้องทวงคืนพลังงาน ไอ้ตัวไหนไม่รู้ปล่อยข้อความ ASTV ไม่พอใจที่รสนา ประชัย ไม่ได้ตำแหน่งเลยออกมาคัดค้านการปฏิรูปพลังงานของรัฐ ซึ่งมันเป็นวิชามารต่ำๆ สาดโคลนสวมหมวกให้
แล้วก็พยายามยกเอาประเด็นบางประเด็นขึ้นมาทำลายฝ่ายเรียกร้องให้ปฏิรูป เช่นบอกว่าฝ่ายเรียกร้องยกเมฆ ว่าฝ่ายปฏิรูปเชื่อว่าประเทศนี้มีน้ำมันมากขนาดเป็นมหาอำนาจโอเปค ถ้าเอาปตท.คืนมาเป็นของรัฐ 100% แล้วราคาน้ำมันจะเหลือแค่ 20-30 บาท แล้วก็โต้ว่าเป็นข้อมูลบิดเบือน ใช้เรื่องนี้ไปทำลายขบวนการใหญ่ของฝ่ายปฏิรูปไปเลย
ซึ่งก็จริงอยู่บ้าง เพราะเวลาแชร์กันในเฟซบุ้คนี่มักจะแชร์เป็นภาพสื่อกันง่ายๆ เพื่อจูงใจ แต่ก็ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อไปแบบนี้จริงๆ โดยไม่ได้ดูเนื้อหารายละเอียดตามมา เหลี่ยมโต้มุมนี้มันมีน้ำหนักมากทีเดียวขนาดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาพูดเรื่องนี้ด้วยประมาณว่าที่พูดกันว่าพลังงานของเรามีมากมากจริงหรือ? อะไรทำนองนั้น คือพูดตามเกมของฝ่ายปตท.ที่ชูขึ้นเป็นกระแส ทั้งๆ ที่เป็นมุมเดียวของเรื่องทั้งหมด
กลบเกลื่อนประเด็นหัวใจและรายละเอียดอื่นของปัญหาการพลังงานไปเสียซะงั้น !
ปัญหาพลังงาน ไปจนถึงแนวคิดการปฏิรูปพลังงาน (ที่ผมเข้าใจ) มันเป็นคนละเรื่องกับข้อถกเถียงเหล่านี้ เพราะตลอดหลายปีมานี้กิจการด้านการพลังงานมันเป็นเรื่องของกลุ่มคนและกลุ่มผลประโยชน์ประชาชนคนเดินดินอย่างเราแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเขาเลย กำหนดราคาน้ำมัน ราคาก๊าซมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปตามนั้น ใครได้กำไรจากขั้นตอนไหนกี่แสนล้านบาทเราไม่รู้ และไม่เคยรู้ว่าน้ำมันและก๊าซจำนวนไม่น้อยก็ขุดมาจากประเทศเรานี่แหละ ดังนั้นหัวใจพื้นฐานเริ่มต้นก็คือทำให้มันเป็นของประชาชนอยู่ในสายตาประชาชนและเป็นธรรมกับประชาชน
ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปใหญ่เพื่อไม่ให้ประเทศตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ เดี๋ยวตกร่องซ้ายเผด็จการรัฐสภาโดยนายทุนเดี๋ยวก็ตกร่องขวารัฐประหารโดยคณะทหารวนเวียนกันไม่สิ้นสุด การปฏิรูปการเมืองเพื่อให้พลังอำนาจเกิดสมดุลป้องกันปัญหาที่เคยเกิดเป็นเรื่องหลัก แต่เรื่องอื่นๆ ก็ล้วนผูกพันอยู่ด้วยแยกไม่ออก การปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การปฏิรูปแนวคิดจัดการ(เฉลี่ย/จัดสรร)ทรัพยากรให้เป็นธรรมก็เรื่องเดียวกัน เพราะผู้มีอำนาจไม่ว่ายุคไหนล้วนหากินกับทรัพยากรโดยการคอรัปชั่นร่วมกันระหว่างทุน+นักการเมือง+ระบบราชการ
หัวใจที่เป็นปรัชญาของการปฏิรูปครั้งนี้ควรจะอยู่ที่การเพิ่มอำนาจประชาชนเข้าไปในดุลอำนาจ เป็นสมการใหม่ที่ไม่เคยเปิดมานับแต่ 2475
และปรัชญานี้ก็ควรจะนำมาใช้ในการปฏิรูปการพลังงานด้วย เพราะการพลังงานเป็นต้นทุนชีวิตและเป็นปัจจัยที่ห้าไปแล้ว การปฏิรูปพลังงานควรจะครอบคลุมถึง :-
ประการที่หนึ่ง -- ประเทศไทยจำเป็นต้องการนิยามความเป็นเจ้าของทรัพยากรให้ชัด
แหล่งพลังงานในประเทศ เป็นทรัพยากรของชาติและประชาชนเหมือนคลื่นสื่อสาร การจัดการผลประโยชน์ใดๆ อะไรต้องให้ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด / ต้องโปร่งใส / เป็นธรรม / ไม่มีนอกใน ไม่มีมหาเศรษฐีเพื่อนนายกฯ บินมาอยากได้สัมปทาน เผลอแผล็บเดียวตั้งบริษัทได้ไปแล้ว 4 บ่อมีอยู่บ่อหนึ่งไม่เคยทำอะไรคืบหน้าเลย แต่กลไกรัฐกลับต่ออายุสัมปทานให้ การนิยามความเป็นเจ้าของที่ชัดเจนขึ้นจะนำมาสู่ระบบขั้นตอนแบบใหม่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และเกิดระบบการกลั่นกรองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนที่สาธารณชนมีส่วนร่วม การนิยามความเป็นเจ้าของทรัพยากรไม่ใช่แค่ปิโตรเลียมเท่านั้นหากควรจะรวมไปถึงแร่ น้ำ ป่า ภูเขา ที่สาธารณะโดยรวม เพราะมันจะมีผลต่อกระบวนการรักษาและปกป้องสิทธิ์ตามมาในระบบกฎหมาย เรื่องนี้ว่ากันยาวคงต้องหาพื้นที่อื่นมาว่ากันใหม่
ประการที่สอง – การจัดการที่เป็นธรรม
เมื่อหลังสงครามโลกฯ การพลังงานเป็นแค่ความมั่นคงของทหาร ต่อมาก็แค่ปัญหาจัดหาให้เพียงพอกับความต้องการ ปตท.กำเนิดมาก็เพื่อภารกิจนั้น....แต่ทว่ายุคนี้ โจทย์ของประเทศไทยเปลี่ยนไป เพราะเรามีแหล่งพลังงานเป็นของตนเอง ทั้งก๊าซและน้ำมัน...โอเค ไม่มากเพราะต้องนำเข้าด้วย แต่โจทย์ของภารกิจการจัดการพลังงานก็เปลี่ยนไป....พลังงานดิบที่เรามีอยู่เอง...พวกท่านจัดการกันตามแต่ใจท่าน เอาเฉพาะที่ท่านคิดว่าเกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว แต่มันก็ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ กองทุนที่ประชาชนสมทบไปตรึงราคา LPG ที่ก่อนหน้านี้รัฐนี่เองที่เอาไปอุ้มปิโตรเคมี หลักฐานเรื่องนี้ชัดเจน และรัฐบาลที่ผ่านๆ มาก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นธรรมขึ้นมาบ้าง....แต่ก็แสดงว่าก่อนหน้านี้ไม่เป็นธรรมกับประชาชนคนเดินดิน เราต้องการปฏิรูประบบการจัดการให้เป็นธรรมขึ้นบนฐานความคิดที่ว่าพลังงานในประเทศเป็นของรัฐและประชาชนร่วมกัน
ประการที่สาม – เราต้องการการบริหารจัดการพลังงานบนฐานประโยชน์ของประชาชนส่วนร่วม เป็นนโยบายพลังงานที่เน้นมาทางผู้บริโภค ไม่ใช่ ตลาดทุน+ผู้ถือหุ้น+อุตสาหกรรม !
ยุคสมัยของกิจการด้านพลังงานไทยเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ก่อนหน้าโน้นคือก่อน 2530 นโยบายพลังงานก็แค่จัดหาให้พอและให้ราคาพอสมควร จากนั้นนโยบายพลังงานก็คือให้มีการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นในแง่ของการผลิตเอง ควบคู่ไปกับการนำเข้าและหลังจากนั้นเพิ่มมาเป็นให้พลังงานเป็นหนึ่งในหัวจักรประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (นิกส์) อีสเทิร์นซีบอร์ด ปิโตรเคมี โรงกลั่น และศูนย์กลางน้ำมันสำเร็จรูปขายเพื่อนบ้าน การพลังงานเป็นเครื่องมือของรัฐ ความเข้มแข็งของรัฐ และภาคอุตสาหกรรม
แต่หลังจาก 2549 การพลังงานกลายเป็นตัวเพิ่มน้ำหนักให้กับตลาดทุนที่มีผู้เล่นหุ้นในประเทศรวมกันแต่ประมาณ 2 แสนบัญชี เป็นข้ออ้างว่าเฉพาะ PTT ตัวเดียวทำให้รัฐมีเม็ดเงินทุนเพิ่มหลายเท่าตัว นั่นคือ มองจากสายตาของตลาดทุนเป็นสำคัญ
ปัจจุบันนี้การพลังงานถูกแปลงจากกลไกของรัฐ มาเป็น กลไกของทุน ไปแล้ว ดังนั้นการออกแบบกำไรซ้ำซ้อนแต่ละขั้นตอนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำจึงเกิดขึ้นให้ทุกบริษัทในเครือกำไร นโยบายพลังงานแบบนี้ ไม่เป็นมิตรกับประชาชนผู้บริโภค
ถ้าจะมีการปฏิรูปกิจการด้านพลังงานจริง ไม่ใช่แค่ว่าแปรรูปหนีให้พ้นมือนักการเมืองแล้วจบแต่ควรจะคิดให้ไกลกว่านั้น
ก่อนที่จะคิดทำอะไรเรื่องการปฏิรูปพลังงานเราควรย้อนมาดูว่าปัจจุบันกิจการด้านนี้อยู่ในความโปร่งใสมีธรรมาภิบาลจริงแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ใช่ก็ป่วยการจะแปรรูปไปเพื่ออะไร เพราะประชาชนไม่ได้ประโยชน์ก็แค่มุบมิบทำกันประสาผู้มีอำนาจกับเทคโนแครตอำมาตย์พลังงาน อย่าให้แค่เปลี่ยนกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งมาอีกกลุ่มหนึ่ง
หากปฏิรูปจริงอันดับแรกกิจการพลังงานต้องอยู่ในที่สว่าง เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้
ประชาชนขอดูรายชื่อผู้ที่ได้รับจัดสรรหุ้นผู้มีอุปการคุณเมื่อครั้งปตท.เข้าตลาดทรัพย์ตั้งแต่ 2549 จนบัดนี้จะครบ 10 ปีอยู่แล้ว ปตท.ยังไม่เคยเปิดเผยชื่อเหล่านี้ให้สาธารณะได้รับรู้เลย
ปตท.เคยแถลงอะไรให้ชัดเจน อธิบายที่มาที่ไป เหตุและผลว่าทำไมต้องไปตั้งบริษัทลูกมากมายที่เกาะฟอกเงินแถวแคริบเบียน เขาเผยแพร่กันในโซเชี่ยลมีเดียกันหนาตาแล้วทำไมไม่ชี้แจงล่ะทีอย่างนี้
ปตท.จะแยกท่อก๊าซออกมาตั้งบริษัท ก็ต้องมีคณะกรรมการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อจะได้แยกบัญชีมา ที่ผ่านมามีการแจกแจงไหมว่า เวลาวางท่อก๊าซจะต้องอาศัยกฎหมายของรัฐ หรืออำนาจมหาชนของรัฐไปดำเนินการเสมือนราชการแล้วก็มีทีมงานไปเคลียร์กับชาวบ้านตามแนวท่อ ไปต่อรองกดราคาที่ดิน เรื่องแบบนี้นายเต้นณัฐวุฒิ ก่อแก้ว พิกุลทองรู้ดีเพราะรับงานปตท.มาก่อน รวมมูลค่าลงทุนจากงานนี้กี่บาท ใช้พลังอำนาจพิเศษของรัฐทำมา ใช้ที่ดินของการรถไฟ ของกรมทางหลวงแล้วจู่ๆ ก็จะแยกกิจการนี้ให้เป็นเอกชนเสียอย่างนั้น
ช่างสบายเอกชนเสียจริงๆ
เอ๊ะ ใครล่ะ? ภาคเอกชนที่ว่า ?
ถ้าโปร่งใสธรรมาภิบาลจริงปตท.ช่วยเปิดข้อมูลหน่อยได้ไหมว่าหลายปีมานี้ ใช้เงินวางท่อก๊าซแต่ละระยะไปเท่าไหร่ แปลงไหนจ่ายเงินชดเชยไปกี่บาท บางแปลงเจ้าของนึกว่ารัฐบาลเอาไปทำประโยชน์เลยให้ราคาถูก หารู้ไม่ว่าแปลงข้างๆ ได้เงินมากกว่าเยอะ รวมๆ แล้วเงินลงทุนตัวนี้กี่บาทกันแน่ ประชาชนจะได้รู้ยังไงว่าบัญชีทรัพย์สินเงินลงทุนท่อก๊าซก่อนจะแปรรูปเป็นมูลค่าเท่าไหร่
ทำเรื่องน่าฉงนที่เป็นความลับมืดดำให้กระจ่างก่อนดีไหมครับ
แค่ทำให้กิจการด้านพลังงานโปร่งใส มหาเศรษฐีต่างชาติเพื่อนอดีตนายกฯ มาตั้งบริษัทก็ได้สัมปทาน บริษัทไม่มีตัวตนจดทะเบียนที่เคย์แมนมาขอสัมปทานก็ได้ แบบนี้ไม่ควรจะเกิดแล้ว
นี่แหละครับคือประเด็นที่ประชาชนอยากเห็นในการปฏิรูปการพลังงาน ไม่ใช่แค่การยกท่อก๊าซของรัฐให้กับเอกชน หรือแค่บอกว่าป้องกันนักการเมืองมาล้วงลูกแล้วเป็นจบ.